เปิดผังโครงสร้างอำนาจเต็ม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช.

กระทู้สนทนา


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เว็บไซต์เรื่องเล่าเช้านี้, รายการเรื่องเล่าเช้านี้ โพสต์โดย คุณ เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
           
            คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. เปิดผังโครงสร้างอำนาจเต็ม ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ

            วันนี้ (27 พฤษภาคม 2557) รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 ได้นำเสนอ "โครงสร้างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช." ในโครงสร้างอำนาจเต็ม หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว เพื่อความสงบของบ้านเมือง โดยทางรายการได้สรุปผังโครงสร้างอย่างเข้าใจง่ายให้ได้ทราบกัน



อำนาจฝ่ายบริหาร - โดยหัวหน้าคณะ คสช. คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี กล่าวคือ หากมีกฎหมายฉบับใดที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในส่วนใด พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะใช้อำนาจในส่วนนั้น ตามประกาศฉบับที่ 10

            อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ - หลังจากประกาศรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ได้มีการประกาศยุบวุฒิสภา ซึ่งส่วนไหนที่กฎหมายมอบให้เป็นอำนาจของวุฒิสภา, สภาผู้แทน และรัฐสภา ให้อำนาจเหล่านั้น ตกเป็นอำนาจของ หัวหน้า คสช. คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในส่วนของประกาศ คสช. และคำสั่ง คสช. พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ให้ทุกฉบับที่ออกมานั้นถือเป็นกฎหมาย

            อำนาจฝ่ายตุลาการ - ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิม แต่ในส่วนของศาลทหารนั้น กำหนดให้คดีความ 3 ลักษณะ เข้าไปอยู่ภายใต้การพิจารณาคดีในศาลทหาร  ได้แก่

             ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ
             ความผิดต่อความมั่นคง (ยกเว้น กรณีที่ได้เกิดขึ้นในช่วง พ.ร.บ.มั่นคง และ พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ก่อนหน้านี้)
             ความผิดต่อประกาศหรือคำสั่งของ คสช.

            อย่างไรก็ดี ขั้นตอนกระบวนการต่อไป พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า จะต้องมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ คสช. ได้บอกกับทางรายการคร่าว ๆ ว่า หลังจากนี้จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว มีการตั้งสภานิติบัญญัติ และตั้งสภาปฏิรูป แต่ภาพรวมขณะนี้ ยังไม่มีการทูลเกล้าเป็นนายกฯ ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จึงต้องใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้



ระดับหัวหน้า คสช. ทำหน้าที่ประหนึ่งนายกรัฐมนตรี

             ระดับหัวหน้าส่วนต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม เปรียบหัวหน้าในส่วนนี้เป็นรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลกำกับในส่วนต่าง ๆ

             ระดับหัวหน้ากระทรวง ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่ตามปกติ แต่พ่วงด้วยตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆ ทั้งนี้ หากจะดำเนินการในโครงการใดจะต้องได้รับความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วย ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนต่าง ๆ ทั้ง 7 กลุ่มนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่