เมื่อวันที่ 23 พ.ค. นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Banyong Pongpanich โดยมีเนื้อหาว่าด้วยการรัฐประหารครั้งล่าสุดดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประวัติศาสตร์จะบันทึกเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหารครั้งนี้ว่าอย่างไร....(23พค. 2557)
ลองนั่งนึกดูว่า อีกห้าสิบปีร้อยปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกว่าการปฏิวัติรัฐประหาร 2557 นี้ เป็นอย่างไร...ผมคิดว่ามันมีทางเป็นไปได้อยู่สามทาง
- ทางที่หนึ่งถูกจารึกไว้ว่า...เป็นการรัฐประหารชั้นเลิศ ....สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศจากหลังตีนเป็นหน้ามือได้เลยทีเดียวสามารถฉุดรั้งประเทศออกจากความขัดแย้งที่ไม่มีทางออกฉุดออกมาจากหายนะที่ไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วให้หลีกเลี่ยงฉุดออกมาจากเงื้อมมือของกลุ่มคนโฉดชั่วแถมยิ่งกว่านั้น...ยังสามารถปฏิรูปให้ยั่งยืนถาวรเจริญก้าวหน้าปราศจากคอร์รัปชั่นลดความเหลื่อมล้ำสังคมสันติสุขร่มเย็น ประวัติศาสตร์แซ่ซ้องยกย่องเทอดทูนไปทั่วกลายเป็นตัวอย่างไปทั้งสากล ...จนกระทั่งพวกชาติอารยะทั้งหลายไม่กล้าประณามใครประเทศไหนที่ทำรัฐประหารตั้งแต่วันแรกเหมือนที่เรากำลังโดนจนสามารถเปลี่ยน International Normได้ว่าต่อไปเวลามีใครปฏิวัติที่ไหนนานาชาติก็ได้แต่ร้องว่า "หวังว่าจะเป็นอย่าง Thailand"
- ทางที่สองถูกจดจำแค่เพียงว่า...เป็นการรัฐประหารครั้งหนึ่งในสิบสามครั้ง...เหมือนๆ กับทุกๆ ครั้งคือ แค่ไปหยุดยั้งกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย Reset ให้ทุกอย่างกลับไปนับหนึ่งใหม่ต้องเริ่มต้นกันใหม่ เริ่มกระบวนการขัดแย้งรอบใหม่ ตัวละครหน้าเดิมๆ บุคคลิกเดิมๆ มีเสริมเพิ่มบ้าง เพียงแค่รอเวลาให้ความขัดแย้งสุกงอมแล้วก็คอยคนมากดปุ่มรีเซ็ทอีกที
- ทางที่สาม ถูกประณามว่า ...เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความหายนะยาวนานของชนชาติไทยเป็นการนำพาประเทศเข้าสู่การเป็น "ประเทศที่ล้มเหลว" (Failed State) ที่อย่างเลวที่สุดก็ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองยืดเยื้อยาวนานหรืออย่างเลวน้อยลงมาก็ทำให้เกิดความเจริญถดถอยชะงักงันยาวนานเกิดภาวะที่เรียกได้เลยว่า "สูญหายไปหลายชั่วอายุคน"
แล้ว"คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" รวมทั้งท่านหัวหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ล่ะ... จะถูกจดจำไว้ในประวัติศาสตร์ว่าอย่างไร...
ถ้าเกิดเป็นทางที่หนึ่ง...ท่านก็คงจะถูกจารึกไว้ให้เป็นวีรบุรุษคนสำคัญของชาติคงจะถึงกับเป็นวีรบุรุษคนสามัญที่สำคัญที่สุดที่ชาติเราเคยมีเลยทีเดียว ถ้ามีการให้รางวัลย้อนหลังได้ท่านก็คงได้รับ NobelPeace Prize และถูกนับรวมเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โลกที่สามารถใช้กำลังทหารยึดอำนาจพัฒนาชาติได้ดีเยี่ยมอยู่ในกลุ่มเดียวกับ...เหมือนๆ กับ...(แหะๆ ขอโทษนะครับผมนึกชื่อใครไม่ออกเลยใครรู้ช่วยเติมให้ทีนะครับ)
ถ้าเกิดเป็นทางที่สอง...เราก็คงจดจำคสช.กับท่านหัวหน้าไว้ได้เหมือนๆ กับที่เราจำบิ๊กบัง บิ๊กจ๊อด พล.ร.อ.สงัด จอมพลถนอม จอมพลสฤษดิ์ จอมพล ป. พล.ท.ผิน พระยาพหลฯ...และใครอีกหว่า ...ที่เคยเป็นผู้นำรัฐประหาร (ไม่นับรวมที่ไม่สำเร็จที่เราเรียกว่า "กบฏ") ประเทศเราเคยมีปฏิวัติรัฐประหารมา 13 ครั้ง ไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่นับได้ว่าเป็นแบบที่หนึ่ง ถึงแม้การปฏิวัติ 2475และการปฏิวัติโดยประชาชน 2516 นับเป็นสองครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านบวกมากที่สุดแต่ในระยะต่อมาก็ไม่สามารถรักษา "ความยั่งยืน" ของการเปลี่ยนแปลงด้านดีไว้ได้
(ถ้าใครจำชื่อคณะปฏิวัติในอดีต และชื่อ นามสกุลของหัวหน้าทุกคนได้ผมขอคารวะนะครับ)
แต่ถ้าเกิดอย่างทางที่สาม (ที่โชคดีที่เมืองไทยพอนับได้ว่าไม่เคยเกิด)...ท่านหัวหน้าก็คงได้รับการจดจำ ไว้เหมือนกับ ท่าน คิม อิลซุง...ผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือท่านนายพลเนวิน...ผู้ทำให้พม่าหยุดอยู่กับที่ได้นานสี่สิบปี ท่าน Marcos แห่ง Philippines ท่านนายพล Franco แห่ง Spain ท่านนายพล Tito แห่ง Yugoslavia ท่าน Fidel Castro แห่ง Cuba ...ซึ่งจอมเผด็จการทุกท่านนั้น ตอนมีชีวิตอยู่ถึงจะยิ่งใหญ่มีคนสอพลอปานใด แต่ในที่สุด ประวัติศาสตร์ก็บันทึกไว้ว่านำพาชาติสู่ความหายนะยาวนาน ลูกหลานต้องสูญเสียอนาคตที่ควรมีไปหลายสิบปีทีเดียวจัดว่าเป็น "ทรราช" ได้อย่างเต็มภาคภูมิเลยทีเดียว
ถึงผมจะคัดค้าน ต่อต้าน ...ไม่เคยคิดว่าการปฏิวัติรัฐประหารจะเป็นทางออกระยะยาวให้กับชาติได้อย่างไร...แต่ในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็ได้แต่หวังว่ามันจะจบลงโดยมีผลเป็นอย่างที่หนึ่งหรืออย่างเลวก็ขอให้เป็นอย่างที่สอง อย่าให้ได้เลวร้ายไปจนถึงเป็นอย่างที่สามเลย...ซึ่งอย่าประมาทไปนะครับในสมัยปัจจุบัน ในเงื่อนไขที่แตกต่างจากอดีตถึงแม้เราไม่เคยเจออย่างที่สาม ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงนี้ต่ำ (ลองนึกถึงหน้าบิ๊กจ๊อด กับ บิ๊กบัง ดูสิครับท่านจะนึกออกว่าทำไมเราถึงไม่นองเลือด)
...แล้วผมมีอะไรจะแนะนำท่าน "คสช." บ้างล่ะครับ ...ถึงจะหลีกเลี่ยงทางที่สามได้
คำแนะนำ ...หรือจะเรียกว่า "คำอ้อนวอนขอร้อง" ก็ได้นะครับ ของผม...ก็คือ
"ทำให้น้อย..แล้ว..ถอยให้เร็ว" ....ซึ่งหมายความว่า
ขอให้...ทำแต่เพียงสิ่งที่จำเป็น (ซึ่งท่านก็ประกาศว่าเป็นเจตนารมณ์อยู่แล้ว) แล้วก็คืนอำนาจให้กับคนที่ได้รับเลือกตั้งทำต่อไป ใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข้อเสนอของผม ก็คือ ...ไหนๆ ท่านก็ยึดอำนาจถือรัฎฐาธิปัตย์ไม่ต้องทำตามรัฐธรรมนูญแล้ว (ทำให้มีความคล่องตัวไม่ต้องมีกฎรุ่มร่ามรัดตัวจนกระดิกไม่ออก) ก็ให้ท่านวางกรอบการปฏิรูปเสียเลยตั้งคณะกรรมการที่ค่อนข้างเป็นที่ยอมรับมากำหนดหัวข้อที่จะปฏิรูปมากำหนดวิธีการปฏิรูปว่าจะมีกี่ด้านตั้งคณะอนุกรรมการวางแผนปฎิรูปด้านต่างๆ เช่นด้านการเมือง ด้านการศึกษา ด้านการปราบคอร์รัปชั่น ฯลฯ ทั้งหมดนี้แค่เพียงสามสี่เดือนก็น่าจะเสร็จ (ตั้งแค่กรอบ แค่วางหัวข้อ วิธีการและคนที่จะมาศึกษาวางแผนนะครับ ไม่ใช่ปฏิรูปให้เสร็จ ที่ต้องใช้เวลานับสิบปี)
ควบคู่กันไป ท่านก็เตรียมการเลือกตั้ง ...ไม่เกินห้าเดือนเราน่าจะเลือกตั้งได้ในระหว่างนี้ ท่านจะรักษาการเอง หรือจะให้ข้าราชการประจำเค้าทำงานให้ก็ได้ใช้อำนาจเต็ม ทำงบประมาณชั่วคราว เอามาใช้ก่อน อย่าให้เกิดสุญญากาศหนี้ชาวนาใช้เขาไป เงินลงทุนที่จำเป็นก็เดินหน้าได้
ในขณะเดียวกัน ท่านก็ใช้อำนาจแก้รัฐธรรมนูญเท่าที่จำเป็น (โดยใช้ฉบับ 2540 หรือ2550 เป็นหลักก็ได้) เช่น เรื่องที่จะต้องดำเนินการวางแผนตามกรอบปฏิรูปหรือท่านจะแก้บางเรื่องที่มีเหตุผลชัดบ้างก็ได้ อย่างการห้ามใช้ประชานิยมเกินขอบเขตอย่างกลไกการต้านโกง ฯลฯ และท่านอาจใส่บทเฉพาะกาล เช่นว่า เมื่อแผนปฏิรูปเสร็จ (กำหนดให้ไม่เกิน1 ปี) ต้องมีการขอประชามติแผน ไม่ว่าผ่านหรือไม่ ให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ (ถ้าแผนผ่าน ใครเป็นรัฐบาล ก็ต้องทำตามแผน ถ้าไม่ผ่าน ก็แปลว่าประชาชนส่วนใหญ่เขาไม่ต้องการปฏิรูป ดื้อรั้นไปย่อมไม่ดีแน่)
นี่เป็นข้อเสนออ้อนวอน...ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในรายละเอียดอาจมีปรับได้บ้างแต่แนวหลักก็คือ "ทำให้น้อยแล้ว ถอยให้เร็ว" นี่แหละครับ
ที่ผมกลัวที่สุด...ก็คือ ท่านเกิดอยากบริหาร อยากทำการปฏิรูปเองให้เสร็จ หรือเกิดเชื่อว่า คณะบุคคลที่ท่านเลือก ท่านเห็นว่าเก่ง ว่าดี ว่าเป็นกลางเท่านั้นที่จะบริหาร และปฏิรูปให้แล้วเสร็จได้ ก่อนที่จะคืนอำนาจประชาธิปไตยให้ประชาชนซึ่งผมกล้าบอกได้เลยว่า อย่างนั้นสุ่มเสี่ยง ใช้เวลานานและจะเกิดความขัดแย้งใหญ่หลวงตลอดทาง โอกาสเกิดสงครามกลางเมืองหรือสงครามกองโจรจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยสูงมาก
อันว่า "การปฏิรูป" (Reform) ชื่อมันก็บอกว่ามันต้องเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ต้องมีกลไกผู้มีส่วนได้เสียต้องมีส่วนร่วม มันไม่ใช่เรื่องที่คณะกรรมการใดๆ จะกำหนดเอาได้แต่ถ่ายเดียวว่าไปแล้ว มันเป็น Continuous Process ที่ต้องดำเนินตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วยซ้ำการที่ท่าน "ปฏิวัติ" เพื่อ "ปฏิรูป" มันก็ขัดๆ กันเองในตัวอยู่แล้ว ก็ได้แต่หวังว่าท่านจะเข้าใจแล้วรีบถอยแต่เร็ววัน
ผมเป็น "นักประสิทธิผลนิยม" (Pragmatism) ถึงจะไม่ชอบไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติรัฐประหาร แต่เมื่อทำไปแล้ว เป็นไปแล้วก็ได้แต่หวังว่าจะใช้วิกฤติที่ก่อขึ้นนี้ให้เป็นโอกาสได้นะครับ ได้แต่หวังว่าอีกห้าสิบปี (ที่ผมก็ไม่อยู่แล้ว) ลูกหลานเขาจะไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับเหตุการณ์นี้
เชื่อผมเถอะครับ ...ถ้าอยากทำมากทำนาน ท่านมีโอกาสสูงที่จะได้จัดอยู่ในกลุ่มของ "ทรราช" ในประวัติศาสตร์ (เป็นแบบที่สาม) ถ้ายิ่งทำน้อยทำเร็วท่านถึงจะมีโอกาสที่จะได้เป็นวีรบุรุษ
"ทำให้น้อย แล้ว ถอยให้เร็ว" นะครับ...ได้โปรด
"บรรยง พงษ์พานิช" วิเคราะห์ความเป็นไปได้ "3ทาง" ของคสช. แนะสูตรเด็ด "ทำให้น้อย ถอยให้เร็ว"
ประวัติศาสตร์จะบันทึกเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหารครั้งนี้ว่าอย่างไร....(23พค. 2557)
ลองนั่งนึกดูว่า อีกห้าสิบปีร้อยปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกว่าการปฏิวัติรัฐประหาร 2557 นี้ เป็นอย่างไร...ผมคิดว่ามันมีทางเป็นไปได้อยู่สามทาง
- ทางที่หนึ่งถูกจารึกไว้ว่า...เป็นการรัฐประหารชั้นเลิศ ....สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศจากหลังตีนเป็นหน้ามือได้เลยทีเดียวสามารถฉุดรั้งประเทศออกจากความขัดแย้งที่ไม่มีทางออกฉุดออกมาจากหายนะที่ไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้วให้หลีกเลี่ยงฉุดออกมาจากเงื้อมมือของกลุ่มคนโฉดชั่วแถมยิ่งกว่านั้น...ยังสามารถปฏิรูปให้ยั่งยืนถาวรเจริญก้าวหน้าปราศจากคอร์รัปชั่นลดความเหลื่อมล้ำสังคมสันติสุขร่มเย็น ประวัติศาสตร์แซ่ซ้องยกย่องเทอดทูนไปทั่วกลายเป็นตัวอย่างไปทั้งสากล ...จนกระทั่งพวกชาติอารยะทั้งหลายไม่กล้าประณามใครประเทศไหนที่ทำรัฐประหารตั้งแต่วันแรกเหมือนที่เรากำลังโดนจนสามารถเปลี่ยน International Normได้ว่าต่อไปเวลามีใครปฏิวัติที่ไหนนานาชาติก็ได้แต่ร้องว่า "หวังว่าจะเป็นอย่าง Thailand"
- ทางที่สองถูกจดจำแค่เพียงว่า...เป็นการรัฐประหารครั้งหนึ่งในสิบสามครั้ง...เหมือนๆ กับทุกๆ ครั้งคือ แค่ไปหยุดยั้งกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย Reset ให้ทุกอย่างกลับไปนับหนึ่งใหม่ต้องเริ่มต้นกันใหม่ เริ่มกระบวนการขัดแย้งรอบใหม่ ตัวละครหน้าเดิมๆ บุคคลิกเดิมๆ มีเสริมเพิ่มบ้าง เพียงแค่รอเวลาให้ความขัดแย้งสุกงอมแล้วก็คอยคนมากดปุ่มรีเซ็ทอีกที
- ทางที่สาม ถูกประณามว่า ...เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความหายนะยาวนานของชนชาติไทยเป็นการนำพาประเทศเข้าสู่การเป็น "ประเทศที่ล้มเหลว" (Failed State) ที่อย่างเลวที่สุดก็ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองยืดเยื้อยาวนานหรืออย่างเลวน้อยลงมาก็ทำให้เกิดความเจริญถดถอยชะงักงันยาวนานเกิดภาวะที่เรียกได้เลยว่า "สูญหายไปหลายชั่วอายุคน"
แล้ว"คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" รวมทั้งท่านหัวหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ล่ะ... จะถูกจดจำไว้ในประวัติศาสตร์ว่าอย่างไร...
ถ้าเกิดเป็นทางที่หนึ่ง...ท่านก็คงจะถูกจารึกไว้ให้เป็นวีรบุรุษคนสำคัญของชาติคงจะถึงกับเป็นวีรบุรุษคนสามัญที่สำคัญที่สุดที่ชาติเราเคยมีเลยทีเดียว ถ้ามีการให้รางวัลย้อนหลังได้ท่านก็คงได้รับ NobelPeace Prize และถูกนับรวมเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โลกที่สามารถใช้กำลังทหารยึดอำนาจพัฒนาชาติได้ดีเยี่ยมอยู่ในกลุ่มเดียวกับ...เหมือนๆ กับ...(แหะๆ ขอโทษนะครับผมนึกชื่อใครไม่ออกเลยใครรู้ช่วยเติมให้ทีนะครับ)
ถ้าเกิดเป็นทางที่สอง...เราก็คงจดจำคสช.กับท่านหัวหน้าไว้ได้เหมือนๆ กับที่เราจำบิ๊กบัง บิ๊กจ๊อด พล.ร.อ.สงัด จอมพลถนอม จอมพลสฤษดิ์ จอมพล ป. พล.ท.ผิน พระยาพหลฯ...และใครอีกหว่า ...ที่เคยเป็นผู้นำรัฐประหาร (ไม่นับรวมที่ไม่สำเร็จที่เราเรียกว่า "กบฏ") ประเทศเราเคยมีปฏิวัติรัฐประหารมา 13 ครั้ง ไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่นับได้ว่าเป็นแบบที่หนึ่ง ถึงแม้การปฏิวัติ 2475และการปฏิวัติโดยประชาชน 2516 นับเป็นสองครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านบวกมากที่สุดแต่ในระยะต่อมาก็ไม่สามารถรักษา "ความยั่งยืน" ของการเปลี่ยนแปลงด้านดีไว้ได้
(ถ้าใครจำชื่อคณะปฏิวัติในอดีต และชื่อ นามสกุลของหัวหน้าทุกคนได้ผมขอคารวะนะครับ)
แต่ถ้าเกิดอย่างทางที่สาม (ที่โชคดีที่เมืองไทยพอนับได้ว่าไม่เคยเกิด)...ท่านหัวหน้าก็คงได้รับการจดจำ ไว้เหมือนกับ ท่าน คิม อิลซุง...ผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือท่านนายพลเนวิน...ผู้ทำให้พม่าหยุดอยู่กับที่ได้นานสี่สิบปี ท่าน Marcos แห่ง Philippines ท่านนายพล Franco แห่ง Spain ท่านนายพล Tito แห่ง Yugoslavia ท่าน Fidel Castro แห่ง Cuba ...ซึ่งจอมเผด็จการทุกท่านนั้น ตอนมีชีวิตอยู่ถึงจะยิ่งใหญ่มีคนสอพลอปานใด แต่ในที่สุด ประวัติศาสตร์ก็บันทึกไว้ว่านำพาชาติสู่ความหายนะยาวนาน ลูกหลานต้องสูญเสียอนาคตที่ควรมีไปหลายสิบปีทีเดียวจัดว่าเป็น "ทรราช" ได้อย่างเต็มภาคภูมิเลยทีเดียว
ถึงผมจะคัดค้าน ต่อต้าน ...ไม่เคยคิดว่าการปฏิวัติรัฐประหารจะเป็นทางออกระยะยาวให้กับชาติได้อย่างไร...แต่ในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็ได้แต่หวังว่ามันจะจบลงโดยมีผลเป็นอย่างที่หนึ่งหรืออย่างเลวก็ขอให้เป็นอย่างที่สอง อย่าให้ได้เลวร้ายไปจนถึงเป็นอย่างที่สามเลย...ซึ่งอย่าประมาทไปนะครับในสมัยปัจจุบัน ในเงื่อนไขที่แตกต่างจากอดีตถึงแม้เราไม่เคยเจออย่างที่สาม ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงนี้ต่ำ (ลองนึกถึงหน้าบิ๊กจ๊อด กับ บิ๊กบัง ดูสิครับท่านจะนึกออกว่าทำไมเราถึงไม่นองเลือด)
...แล้วผมมีอะไรจะแนะนำท่าน "คสช." บ้างล่ะครับ ...ถึงจะหลีกเลี่ยงทางที่สามได้
คำแนะนำ ...หรือจะเรียกว่า "คำอ้อนวอนขอร้อง" ก็ได้นะครับ ของผม...ก็คือ
"ทำให้น้อย..แล้ว..ถอยให้เร็ว" ....ซึ่งหมายความว่า
ขอให้...ทำแต่เพียงสิ่งที่จำเป็น (ซึ่งท่านก็ประกาศว่าเป็นเจตนารมณ์อยู่แล้ว) แล้วก็คืนอำนาจให้กับคนที่ได้รับเลือกตั้งทำต่อไป ใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข้อเสนอของผม ก็คือ ...ไหนๆ ท่านก็ยึดอำนาจถือรัฎฐาธิปัตย์ไม่ต้องทำตามรัฐธรรมนูญแล้ว (ทำให้มีความคล่องตัวไม่ต้องมีกฎรุ่มร่ามรัดตัวจนกระดิกไม่ออก) ก็ให้ท่านวางกรอบการปฏิรูปเสียเลยตั้งคณะกรรมการที่ค่อนข้างเป็นที่ยอมรับมากำหนดหัวข้อที่จะปฏิรูปมากำหนดวิธีการปฏิรูปว่าจะมีกี่ด้านตั้งคณะอนุกรรมการวางแผนปฎิรูปด้านต่างๆ เช่นด้านการเมือง ด้านการศึกษา ด้านการปราบคอร์รัปชั่น ฯลฯ ทั้งหมดนี้แค่เพียงสามสี่เดือนก็น่าจะเสร็จ (ตั้งแค่กรอบ แค่วางหัวข้อ วิธีการและคนที่จะมาศึกษาวางแผนนะครับ ไม่ใช่ปฏิรูปให้เสร็จ ที่ต้องใช้เวลานับสิบปี)
ควบคู่กันไป ท่านก็เตรียมการเลือกตั้ง ...ไม่เกินห้าเดือนเราน่าจะเลือกตั้งได้ในระหว่างนี้ ท่านจะรักษาการเอง หรือจะให้ข้าราชการประจำเค้าทำงานให้ก็ได้ใช้อำนาจเต็ม ทำงบประมาณชั่วคราว เอามาใช้ก่อน อย่าให้เกิดสุญญากาศหนี้ชาวนาใช้เขาไป เงินลงทุนที่จำเป็นก็เดินหน้าได้
ในขณะเดียวกัน ท่านก็ใช้อำนาจแก้รัฐธรรมนูญเท่าที่จำเป็น (โดยใช้ฉบับ 2540 หรือ2550 เป็นหลักก็ได้) เช่น เรื่องที่จะต้องดำเนินการวางแผนตามกรอบปฏิรูปหรือท่านจะแก้บางเรื่องที่มีเหตุผลชัดบ้างก็ได้ อย่างการห้ามใช้ประชานิยมเกินขอบเขตอย่างกลไกการต้านโกง ฯลฯ และท่านอาจใส่บทเฉพาะกาล เช่นว่า เมื่อแผนปฏิรูปเสร็จ (กำหนดให้ไม่เกิน1 ปี) ต้องมีการขอประชามติแผน ไม่ว่าผ่านหรือไม่ ให้ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ (ถ้าแผนผ่าน ใครเป็นรัฐบาล ก็ต้องทำตามแผน ถ้าไม่ผ่าน ก็แปลว่าประชาชนส่วนใหญ่เขาไม่ต้องการปฏิรูป ดื้อรั้นไปย่อมไม่ดีแน่)
นี่เป็นข้อเสนออ้อนวอน...ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในรายละเอียดอาจมีปรับได้บ้างแต่แนวหลักก็คือ "ทำให้น้อยแล้ว ถอยให้เร็ว" นี่แหละครับ
ที่ผมกลัวที่สุด...ก็คือ ท่านเกิดอยากบริหาร อยากทำการปฏิรูปเองให้เสร็จ หรือเกิดเชื่อว่า คณะบุคคลที่ท่านเลือก ท่านเห็นว่าเก่ง ว่าดี ว่าเป็นกลางเท่านั้นที่จะบริหาร และปฏิรูปให้แล้วเสร็จได้ ก่อนที่จะคืนอำนาจประชาธิปไตยให้ประชาชนซึ่งผมกล้าบอกได้เลยว่า อย่างนั้นสุ่มเสี่ยง ใช้เวลานานและจะเกิดความขัดแย้งใหญ่หลวงตลอดทาง โอกาสเกิดสงครามกลางเมืองหรือสงครามกองโจรจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยสูงมาก
อันว่า "การปฏิรูป" (Reform) ชื่อมันก็บอกว่ามันต้องเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ต้องมีกลไกผู้มีส่วนได้เสียต้องมีส่วนร่วม มันไม่ใช่เรื่องที่คณะกรรมการใดๆ จะกำหนดเอาได้แต่ถ่ายเดียวว่าไปแล้ว มันเป็น Continuous Process ที่ต้องดำเนินตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วยซ้ำการที่ท่าน "ปฏิวัติ" เพื่อ "ปฏิรูป" มันก็ขัดๆ กันเองในตัวอยู่แล้ว ก็ได้แต่หวังว่าท่านจะเข้าใจแล้วรีบถอยแต่เร็ววัน
ผมเป็น "นักประสิทธิผลนิยม" (Pragmatism) ถึงจะไม่ชอบไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติรัฐประหาร แต่เมื่อทำไปแล้ว เป็นไปแล้วก็ได้แต่หวังว่าจะใช้วิกฤติที่ก่อขึ้นนี้ให้เป็นโอกาสได้นะครับ ได้แต่หวังว่าอีกห้าสิบปี (ที่ผมก็ไม่อยู่แล้ว) ลูกหลานเขาจะไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับเหตุการณ์นี้
เชื่อผมเถอะครับ ...ถ้าอยากทำมากทำนาน ท่านมีโอกาสสูงที่จะได้จัดอยู่ในกลุ่มของ "ทรราช" ในประวัติศาสตร์ (เป็นแบบที่สาม) ถ้ายิ่งทำน้อยทำเร็วท่านถึงจะมีโอกาสที่จะได้เป็นวีรบุรุษ
"ทำให้น้อย แล้ว ถอยให้เร็ว" นะครับ...ได้โปรด