ทำไมอิชิตันต้องซื้อกิจการ “ไบเล่”
หลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ทันไร อิชิตัน ก็รุกก้าวซื้อกิจการ และสิทธิ์เครื่องหมายการค้า “ไบเล่” (BIRELEY) จากบริษัท ซันนี่ เฮิร์บ อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอรเรจ จำกัด (sunny) รวมมูลค่า 1,780 ล้านบาท
จากข้อมูลที่แจ้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า สิ่งที่อิชิตันจะได้จากการซื้อกิจการครั้งนี้ คือ สิทธิ์เครื่องหมายการค้า “ไบเล่” พร้อมสูตรการผลิตจากบริษัท sunny รวมที่ดิน อาคาร ระบบติดตั้งภายใน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ดังนี้
เครื่องหมายการค้าพร้อมสูตรการผลิต มูลค่า 240 ล้านบาท
ที่ดินเนื้อที่ 76 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา มูลค่า 244.9 ล้านบาท
การลงทุนก่อสร้างอาคารระบบติดตั้งภายในเครื่องจักรและอุปกรณ์ มูลค่ารวม 1,291 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 200 ล้านขวดต่อปี
การซื้อเครื่องหมายการค้า “ไบเล่” พร้อมสูตรการผลิต ยังครอบคลุมไปถึง 16 ประเทศ ไทย กัมพูชา เกาหลีใต้ แคนาดา พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ฮ่องกง บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ไต้หวัน และเวียดนาม ซึ่งไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้แบรนด์ ไบเล่
การซื้อกิจการครั้งนี้ นอกจากเป็นการกระจายความเสี่ยงให้กับอิชิตัน ไปยังตลาดน้ำผลไม้ ที่เน้นความสดชื่นซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ เหมาะกับผู้บริโภคได้ทุกวัย และยังออกแนวสุขภาพ
ยังเป็น “สปริงบอร์ด” ให้กับอิชิตันในการรุกขยายเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ตามที่ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทอิชิตัน เคยให้สัมภาษณ์ว่า หนึ่งในโจทย์สำคัญของอิชิตันต่อจากนี้ คือ การรับมือแข่งขันหลังจากไทยเข้าสู่ “เออีซี” ซึ่งส่งผลตลาดเครื่องดื่มในไทยแข่งขันรุนแรงมากขึ้น จากคู่แข่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในตลาดไทยที่เตรียมพร้อมจะกระโจนเข้ามาในตลาด
ทำให้ อิชิตันเองต้องมองหาโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งการซื้อกิจการเครื่องดื่มไบเล่ เป็นก้าวกระโดดให้กับ อิชิตันในการรุกออกสู่ตลาดประเทศ จากฐานลูกค้าและการผลิต ทีบริษัท SUNNY ได้ลงทุนใน 16 ประเทศอยู่แล้ว ทำให้อิชิตันไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เพราะหากจะใช้ “อิชิตัน” ในการบุกตลาดต่างประเทศ กว่าจะสร้างแบรนด์และทำตลาดกว่าจะเป็นที่รับรู้ในตลาดก็ต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ ซึ่งก็ไมรู้จึงต้องใช้กลยุทธแบบ “ช้อตคัท”
อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มไบเล่ แม้จะแบรนด์เครื่องดื่มที่อยู่ในตลาดไทยมานานหลายสิบปี แต่ช่วงหลังค่อนข้างเงียบหายไปจากตลาด ขาดการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือทำตลาด รวมทั้งการกระจายสินค้ายังไม่ครอบคลุมมากนัก
ที่มา : positioningmag.com
ICHI. ทำไมอิชิตันต้องซื้อกิจการ “ไบเล่”
หลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ทันไร อิชิตัน ก็รุกก้าวซื้อกิจการ และสิทธิ์เครื่องหมายการค้า “ไบเล่” (BIRELEY) จากบริษัท ซันนี่ เฮิร์บ อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอรเรจ จำกัด (sunny) รวมมูลค่า 1,780 ล้านบาท
จากข้อมูลที่แจ้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า สิ่งที่อิชิตันจะได้จากการซื้อกิจการครั้งนี้ คือ สิทธิ์เครื่องหมายการค้า “ไบเล่” พร้อมสูตรการผลิตจากบริษัท sunny รวมที่ดิน อาคาร ระบบติดตั้งภายใน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ดังนี้
เครื่องหมายการค้าพร้อมสูตรการผลิต มูลค่า 240 ล้านบาท
ที่ดินเนื้อที่ 76 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา มูลค่า 244.9 ล้านบาท
การลงทุนก่อสร้างอาคารระบบติดตั้งภายในเครื่องจักรและอุปกรณ์ มูลค่ารวม 1,291 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 200 ล้านขวดต่อปี
การซื้อเครื่องหมายการค้า “ไบเล่” พร้อมสูตรการผลิต ยังครอบคลุมไปถึง 16 ประเทศ ไทย กัมพูชา เกาหลีใต้ แคนาดา พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ฮ่องกง บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ไต้หวัน และเวียดนาม ซึ่งไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้แบรนด์ ไบเล่
การซื้อกิจการครั้งนี้ นอกจากเป็นการกระจายความเสี่ยงให้กับอิชิตัน ไปยังตลาดน้ำผลไม้ ที่เน้นความสดชื่นซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ เหมาะกับผู้บริโภคได้ทุกวัย และยังออกแนวสุขภาพ
ยังเป็น “สปริงบอร์ด” ให้กับอิชิตันในการรุกขยายเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ตามที่ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทอิชิตัน เคยให้สัมภาษณ์ว่า หนึ่งในโจทย์สำคัญของอิชิตันต่อจากนี้ คือ การรับมือแข่งขันหลังจากไทยเข้าสู่ “เออีซี” ซึ่งส่งผลตลาดเครื่องดื่มในไทยแข่งขันรุนแรงมากขึ้น จากคู่แข่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในตลาดไทยที่เตรียมพร้อมจะกระโจนเข้ามาในตลาด
ทำให้ อิชิตันเองต้องมองหาโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งการซื้อกิจการเครื่องดื่มไบเล่ เป็นก้าวกระโดดให้กับ อิชิตันในการรุกออกสู่ตลาดประเทศ จากฐานลูกค้าและการผลิต ทีบริษัท SUNNY ได้ลงทุนใน 16 ประเทศอยู่แล้ว ทำให้อิชิตันไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เพราะหากจะใช้ “อิชิตัน” ในการบุกตลาดต่างประเทศ กว่าจะสร้างแบรนด์และทำตลาดกว่าจะเป็นที่รับรู้ในตลาดก็ต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ ซึ่งก็ไมรู้จึงต้องใช้กลยุทธแบบ “ช้อตคัท”
อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มไบเล่ แม้จะแบรนด์เครื่องดื่มที่อยู่ในตลาดไทยมานานหลายสิบปี แต่ช่วงหลังค่อนข้างเงียบหายไปจากตลาด ขาดการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือทำตลาด รวมทั้งการกระจายสินค้ายังไม่ครอบคลุมมากนัก
ที่มา : positioningmag.com