ขอบคุณภาพจาก
http://jawoperations.com
การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน คือการจัดระเบียบฟันให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องในขากรรไกร การรักษานี้มีขอบเขตจำกัด ได้ผลดีในกลุ่มของคนไข้ที่มีความผิดปรกติที่เกี่ยวกับฟัน (Dental Malocclusion) เท่านั้น และมีความรุนแรงไม่มากนัก
แต่ในคนไข้หลายรายที่มีความผิดปกติของขากรรไกรร่วมไปด้วย (Dental and Skeletal Malocclusion) เช่น มีขนาดของขากรรไกรบนและล่างที่ไม่ได้สัดส่วนกัน หรือตำแหน่งอยู่ต่างกันมาก คนไข้กลุ่มนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอายุมาก ต้องการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร (Surgical Orthodontics)
จุดประสงค์ของการทำการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสบฟัน การสบฟันที่ดีจะทำให้ท่านสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ดี
ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การสบฟันมิได้ทำงานโดย การอาศัยฟันบนและฟันล่างมาสบกันในภาวะนิ่งเท่านั้น (Static Occlusion ) เราต้องคำนึงถึงการสบฟันในสภาพเคลื่อนไหว การยื่นคางไปข้างหน้า การเยื้องคางไปทางซ้ายและขวา ( Functional Occlusion – Protrusion - Rt. & Lt. Lateral Movement ) นอกจากนี้การสบฟันจะต้องเป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับ ข้อต่อขากรรไกรซ้ายขวา และกล้ามเนื้อหลายมัดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระบบหลอดโลหิตและระบบประสาทสั่งงาน
ในกรณีที่คนไข้ มีขากรรไกรบน ล่าง ที่ไม่ได้ขนาดสมส่วนกัน จะทำให้ฟันบางซี่ หรือหลายซี่สบกันได้ไม่ถูกต้อง แม้จะเคลื่อนฟันไปจนสุดระยะบนขากรรไกรแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดการสบฟันได้ หากเคลื่อนฟันต่อไปอีก ฟันก็จะตกหรือหลุดออกจากสันเหงือกหรือขากรรไกร ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อ ฟัน และ เนื้อเยื่อรอบๆฟัน ดังนั้นจึงต้องมีการนำศัลยกรรมขากรรไกรมาช่วยปรับให้ขากรรไกรมีขนาด และตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การเคลื่อนฟัน
คนไข้ที่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติมีฟันล่างครอบฟันบน หรือขากรรไกรล่างมีขนาดยาวผิดปกติ เมื่อเทียบกับขากรรไกรบน ที่เรียกว่า Class III Skeletal Malocclusion มักจะมีปัญหาในการบดเคี้ยวอย่างมาก หลายรายต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ชื่นชอบบางชนิด บางรายไม่สามารถบดเคี้ยวได้อย่างปรกติ จึงใช้วิธีกลืนอาหารที่ยังบดเคี้ยวไม่เสร็จ ทำให้กระเพาะอาหารต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อชดเชยการบดเคี้ยวในปาก คนไข้เหล่านี้อาจให้ประวัติท้องอืดท้องเฟ้อเรื้อรัง และใช้ยาช่วยย่อยเป็นระยะเวลายาวนาน
2. แก้ไขความผิดปรกติของการหายใจ (Mouth Breather)
คนไข้ที่มีการหายใจที่ผิดปกติ หรือหายใจทางปาก มีจมูกและทางเดินอากาศส่วนต้น ตีบตัน (Upper Respiratory Tract Obstruction Syndrome) หรือมีสันจมูก หรือ ผนังกั้นจมูกคด มีอาการแพ้อากาศหรือผงฝุ่นเรื้อรัง ( Chronic Allergic rhinitis) มีต่อม Tonsil และ Adenoid อักเสบ เป็นหวัดตลอดปี และอายุไม่เกิน 16 ปี สามารถแก้ไขได้ หรือช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวข้างต้นได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผลของการหายใจทางปาก ในขณะที่เด็กยังมีการเจริญเติบโต จะทำให้ขากรรไกรเจริญเติบโตผิดปรกติไปด้วย หลายรายมีลิ้นยื่นออกมาอยู่ระหว่างฟันหน้าบนและล่าง ทำให้มีพัฒนาการของการสบฟันไปเป็นการสบฟันแบบเปิด –นั่นคือ คนไข้ไม่สามารถกัดฟันหน้าได้ (Open Bite) (see photo)
คนไข้ประเภทนี้สามารถให้การรักษาได้โดยการทำการขยายขากรรไกรบน หรือเพดาน แบบเร่งด่วนโดยใช้เครื่องมือ Rapid Maxillary Expander (RME) จะช่วยให้คนไข้กลับมาหายใจทางจมูกเป็นปรกติได้ และจะช่วยให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน เพื่อแก้ไขการสบฟันแบบเปิดได้ผลดีด้วย
สำหรับคนไข้ที่อายุเกิน 16 ปี ก็สามารถแก้ไขได้ หรือช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวข้างต้นได้ โดยการทำศัลยกรรมขากรรไกรบน เพื่อลดแรงต้านจากกระดูกร่วมกับการขยายเพดาน หรือขากรรไกรบนแบบเร่งด่วน (RME) จะช่วยให้คนไข้กลับมาหายใจทางจมูกเป็นปรกติได้ และจะช่วยให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน เพื่อแก้ไขการสบฟันแบบเปิดได้ผลดีด้วย
สำหรับคนไข้ที่อายุประมาณ 30 ปีหรือมากกว่า ไม่สามารถแก้ไขได้ แม้ว่าจะทำการศัลยกรรมขากรรไกรก็จะไม่เกิดประโยชน์ เพราะรอยต่อต่างๆ ของกระดูกขากรรไกรบนได้ประสานปิดตัวลง ทำให้เกิดการรวมขากรรไกรบนเป็นกระดูกชิ้นเดียว
3. เพื่อเพิ่มความสวยงาม การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเพื่อแก้ไขการสบฟัน จะทำให้เกิดความสวยงามด้วย ทำให้การยิ้มทำได้ด้วยความมั่นใจ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น เพิ่มบุคลิกภาพ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร ยังสามารถทำให้ท่านมีสัดส่วนของใบหน้าที่ดีขึ้นได้ด้วย (Balanced Facial Proportion )
คนไข้ที่ยิ้มแล้วเห็นเหงือกมาก ( Gummy Smile) (see photo) สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้ศัลยกรรม ถ้าหากมีอายุ ประมาณ 10 - 13 ปี โดยใช้เครื่องมือพิเศษและใช้แรงที่เรียกว่า Orthopedic Force แต่สำหรับคนไข้ที่อายุมาก เช่น 18 ปีขึ้นไป ก็สามารถแก้ไขได้โดยการให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกรบน เมื่อขากรรไกรบนถูกตัดออกและ ถูกนำไปวางในตำแหน่งใหม่ โดยการเลื่อนขึ้นไปด้านบน ประมาณ 5-6 ม.ม. ก็จะทำให้สามารถซ่อนเหงือกไว้ด้านในหลังริมฝีปากบนได้ ทำให้การยิ้มมีความสวยงามเพิ่มขึ้นอีกอย่างมาก
คนไข้ที่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติมีฟันล่างครอบฟันบน หรือขากรรไกรล่างมีขนาดยาวผิดปกติ เมื่อเทียบกับขากรรไกรบน ที่เรียกว่า Class III Skeletal Malocclusion การใช้ Orthopedic Force เพื่อดึง ฟันบนและ ขากรรไกรบนให้ออกมาครอบ ฟันล่างหรือขากรรไกรล่าง ใช้ได้ผลดีในคนไข้ที่มีอายุ ประมาณ 10 ปี การรักษานี้เป็นการรักษาในระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน และ มีโอกาสสำเร็จสูง สามารถช่วยคนไข้ มิให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกรได้หลายราย สำหรับคนไข้ส่วนใหญ่แล้วมักจะโชคไม่ดี เมื่อมาถึงมือแพทย์ ก็มีอายุมาก เช่นเลย 14 ปีขึ้นไปแล้ว แต่ถ้าความผิดปรกตินั้นไม่รุนแรงมาก ก็ยังสามารถแก้ไขได้โดยการให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันอย่างเดียว ( อ่านรายละเอียดในหัวข้อ Camouflage treatment )
คนไข้ที่มาถึงมือทันตแพทย์เมื่ออายุมาก และการเจริญเติบโตได้สิ้นสุดลงแล้ว เช่น 17 ปีในเพศหญิง หรือ 19 ปี ในเพศชาย ทันตแพทย์สามารถให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร การทำศัลยกรรมส่วนใหญ่จะกระทำในขากรรไกรทั้งบน และล่าง โดยการดึงขากรรไกรบนออกมาข้างหน้า (Advancement) ร่วมกับการถอยขากรรไกรล่างเข้าไป (Set back) ซึ่งจะให้ผลดีกว่า มีความเสถียรกว่า (better Stability)
การทำศัลยกรรมในขากรรไกรล่างแต่เพียงอย่างเดียว หรือศัลยแพทย์ที่พยายามที่จะกระทำศัลยกรรมในขากรรไกรล่าง และถอยหลังแต่เพียงอย่างเดียว จะก่อให้เกิดการคืนตัว ของตำแหน่งของขากรรไกรล่าง (Relapse) อย่างรวดเร็วหลังศัลยกรรม
Class II Skeletal Malocclusion (see photo)
คนไข้ที่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปรกติ มีฟันบน ครอบฟันล่างมากๆ หรือฟันบนยื่นมากๆ หรือขากรรไกรล่างมีขนาดเล็กผิดปรกติ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ถอยไปด้านหลังมากเมื่อเทียบกับขากรรไกรบน ที่เรียกว่า Class II Skeletal Malocclusion สามารถใช้แรง Orthopedic Force เพื่อดึงให้ขากรรไกรบนชลอการเจริญเติบโตลง และปล่อยให้ ขากรรไกรล่าง มีการเร่งการเจริญเติบโต แต่การรักษานี้ จะใช้ได้ผลดี ในคนไข้ที่มีอายุ ประมาณ 10 ปีเท่านั้น การรักษานี้มีโอกาสสำเร็จสูง และสามารถช่วยคนไข้ มิให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกรได้หลายราย
ในกรณีที่ความผิดปรกติมีความรุนแรงไม่มากนัก เมื่อมาถึงมือทันตแพทย์ แม้จะมีอายุมาก เช่นมีอายุมากกว่า 18 ปี ก็ยังสามารถแก้ไขได้โดยการให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันแต่เพียงอย่างเดียว ( อ่านรายละเอียดในหัวข้อ Camouflage treatment )
กรณีที่มีความรุนแรงมาก เช่น มีช่องว่างระหว่างฟันบนและฟันล่าง (Overjet) ถึง 8 ม.ม. ก็อาจจะต้องให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร การทำศัลยกรรมส่วนใหญ่จะกระทำทั้งในขากรรไกรบน และล่าง โดยการถอยขากรรไกรบนเข้าไป (Set back) ร่วมกับการดึง ขากรรไกรล่างออกมาข้างหน้า (Advancement) ซึ่งจะให้ผลดีกว่า (better Stability) ความพยายามที่จะกระทำศัลยกรรมในขากรรไกรล่างโดยการยืดออกมาแต่เพียงอย่างเดียว การทำศัลยกรรมในขากรรไกรล่างแต่เพียงอย่างเดียว จะก่อให้เกิดการคืนตัว ของตำแหน่งของขากรรไกรล่าง (Relapse)
4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพูดออกเสียง การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน สามารถทำให้บุคคลที่พูดออกเสียงไม่ชัด เช่น เสียง พยัญชนะ “พ” และ “ส” อันเป็นผลมาจากการมีฟันห่าง หรือ ฟันล่างครอบฟันบน (Class III Skeletal Malocclusion) สามารถมีการออกเสียงที่ดีขึ้นได้ ภายหลังการรักษา
5. เพื่อลดระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา (Treatment Time) ให้เป็นที่ยอมรับได้ หลายครั้งที่ ทันตแพทย์จัดฟันได้รับการขอร้องจากคนไข้หรือ ผู้ปกครองให้ช่วยทำการรักษา โดยการหลีกเลี่ยงศัลยกรรม (อ่านรายละเอียด ในหัวข้อ Camouflage Treatment)
แม้ว่าอาจจะทำได้ในบางราย แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรักษานานมากๆ ซึ่งอาจจะเป็น 2 – 4 เท่าของเวลาที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร
บางรายไม่อาจให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันแต่เพียงอย่างเดียวได้เลย และที่น่าเศร้าที่สุดก็คือ แม้ว่าการรักษาจะดำเนินไปถึง 4 - 5 ปีแล้วก็ตาม ก็ยังไม่ทราบว่าการรักษาจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นต้น การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร (Surgical Orthodontics) เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของท่าน การรักษานี้ใช้เวลาระหว่าง 9 - 24 เดือนโดยสามารถให้การพยากรณ์เวลาที่ใช้ในการรักษาได้ใกล้เคียงมากกว่าการรักษาแบบอื่น
6. เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของการสบฟันหลังการรักษา ( Post-Treatment Stability) บ่อยครั้งที่ ทันตแพทย์จัดฟันพยายามทำการรักษา โดยการหลีกเลี่ยงศัลยกรรม และจบการรักษาในลักษณะ ประนีประนอม ( Compromised Treatment) กล่าวคือ ผลการรักษาไม่ดีนัก แต่ก็ยอมรับได้ จากประสบการณ์ และผลการศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่า ผลการรักษาเหล่านี้ ไม่มีความคงสภาพเหมือนหลังการรักษาใหม่ๆ บางรายอาจทำได้ แต่ก็ใช้เวลามากจริงๆ และเกิดผลข้างเคียงถาวรต่อฟัน, รากฟัน และกระดูกรอบๆรากฟัน การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร ( Surgical Orthodontics ) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคนิคที่ให้ความคงสภาพเหมือนหลังการผ่าตัดใหม่ๆ (Post-Treatment Stability) เหนือกว่าการใช้เทคนิคเดิมๆที่มุ่งหวังที่จะหลบศัลยกรรมเพียงอย่างเดียว
7. ในแง่ของการป้องกัน การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร สามารถทำให้คนไข้ที่มีฟันเกมากๆ ยากแก่การทำความสะอาด ( Severe Dental and Skeletal Malocclusion ) หรือคนไข้ที่มีอายุมากๆ ให้มีโอกาสได้รับการรักษา มีการจัดเรียงตัวของฟันที่ถูกต้อง ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเหงือก ฟัน และความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้ คนไข้ที่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปรกติ มีฟันล่างครอบฟันบน หรือขากรรไกรล่างมีขนาดยาวผิดปรกติ เมื่อเทียบกับขากรรไกรบน ที่เรียกว่า Class III Skeletal Malocclusion คนไข้เหล่านี้ จะพบกับความลำบากในภายหลังเมื่อต้องการใส่ฟันปลอม ดังนั้นการตัดสินใจทำการรักษา ทันตกรรมจัดฟันร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร เสียแต่ต้น ในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเป็นการลดความยุ่งยากในการใส่ฟันปลอม ที่จะตามมาในอนาคตได้
ขอบคุณข้อมูล ศูนย์ทันตกรรมจัดฟัน และข้อต่อขากรรไกร dental-tmd อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม ได้ที่
http://www.dental-tmd.com
[[จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร]] คางยื่น คางสั้น คางเบี้ยว น่ากลัวไหมจัดที่ไหนดี เริ่มอย่างไรดี มาแชร์กัน
ขอบคุณภาพจาก http://jawoperations.com
การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน คือการจัดระเบียบฟันให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องในขากรรไกร การรักษานี้มีขอบเขตจำกัด ได้ผลดีในกลุ่มของคนไข้ที่มีความผิดปรกติที่เกี่ยวกับฟัน (Dental Malocclusion) เท่านั้น และมีความรุนแรงไม่มากนัก
แต่ในคนไข้หลายรายที่มีความผิดปกติของขากรรไกรร่วมไปด้วย (Dental and Skeletal Malocclusion) เช่น มีขนาดของขากรรไกรบนและล่างที่ไม่ได้สัดส่วนกัน หรือตำแหน่งอยู่ต่างกันมาก คนไข้กลุ่มนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอายุมาก ต้องการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร (Surgical Orthodontics)
จุดประสงค์ของการทำการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับศัลยกรรมขากรรไกร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอบคุณข้อมูล ศูนย์ทันตกรรมจัดฟัน และข้อต่อขากรรไกร dental-tmd อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.dental-tmd.com