สงสัยครับ เลือดที่เราบริจาคให้กาชาต ฟรีๆนั้น ถึงมือคนไข้ ต้องจ่ายหลายพันบาท



วันนี้ได้เข้าอ่านกระทู้บริจากเลือด ของคุณ เลื่องชื่อระบือนาม ครับ

http://ppantip.com/topic/32058987

ผมขออนุญาตเจ้าของกระทู้ คุณเลื่องชื่อระบือนาม ครับ

ผมไม่ได้มากวนครับ แต่ผมมีข้อสงสัยและเห็นต่างครับ

ตอนแรกผมจะตอนในกระทู้ของคุณแล้ว

แต่เพราะมันยาวไป และ ดูเหมือนขัดกับเจตนาของคุณที่ตั้งกระทู้นั้นเพื่อสนับสนุนการบริจาคเลือด(ให้กาชาต)



ผมก็สนับสนุน ให้ไปบริจาคเลือดให้กับคนที่ต้องการเลือดครับ

นั้นเป็นน้ำใจทางสงคม

คนอย่างผม ทั้งชีวิต ไปหาหมอกี่ครั้งจำไม่ได้แล้ว แต่นับจากจำความได้ ที่แน่ๆเลย ไม่เกิน 10 ครั้ง

ผมถือว่า นั้นเป็นหน้าที่ของผม ตอนยังมีสุขภาพที่ดี ควรไปบริจาคเลือดให้คนที่ต้องการ

และ ผมก็ทำตามมา ตั้งแต่อายุยัง20กว่า ถึงทุกวันนี้ ปีละครั้งสองครั้ง แล้วแต่โอกาสครับ

ผมเชื่อว่าหลายๆคนก็คงคิดเหมือนผม คงไม่มีใครไปสนใจขนม2-3ชิ้น นมกล่องเล็กๆ นั้นหรอกครับ

พวกเรามาด้วย ใจ ครับ



ส่วนตัวผม ก็บริจาคเลือดให้กาชาต ตั้งแต่ ปี 36 ที่เข้ามาทำงานใน กทม แล้ว (สมัยเรียน ก็มีบ้าง แต่ ไม่ได้อยู่ในไทย ผมไม่นับครับ)

สมัยนั้น ยังใช้เล่มขาว พับ และตัวผมก็แค่เป็นพนักงานใหม่ทั่วๆไป ตามพี่ๆเขาไปกัน

และ ก็ได้บริจาคเลือดให้กาชาต ตามที่บริษัทได้จัดขึ้น ปีละครั้งสองครั้งมาเรื่อย


หลังจากได้ออกมาทำธุระกิจเอง ก็ไม่ได้ไปบริจาคเลือดยอย่างตอนทำงาน

แต่ เมื่อไหร่ที่แถวชุมชนหรืออำเภอได้จัดงานบริจาคเลือด ว่างก็ไปหมด


จำไม่ได้ว่า เมื่อสองหรือสามปีก่อน ในพันทิป มีกระทู้ขอให้ไปบริจาคเลือดให้น้องผู้หญิงคนหนึ่ง ที่โรงบาลใหญ่แถวๆพระราม 6

ผมก็ไป

และตอนบริจาคเลือดให้น้อง ก็ได้เจอเพื่อนในพันทิปหลายคน (ถ้าจำไม่ผิด คนที่ตั้งกระทู้เป็น อา ของน้องผู้หญิงคนไข้นั้น)


แต่ ตั้งแต่ วันนี้น ผมเปลี่ยนความคิดในการบริจาคเลือดให้กาชาตไปเลยครับ


เพราะ วันที่ไปบริจาคเลือดให้น้องผู้หญิงนั้น

ผมถึงได้รับรู้ว่า เมื่อคนไข้ต้องการเลือด ไปขอเบิกเลือดจากกาชาต(ผ่านโรงบาล)

จะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายพัน(ถ้าจำไม่ผิด ประมาณ 3-4พัน)บาท /ถุง


ทั้งๆที่กาชาตได้รับการบริจาคเลือด ฟรี 99% [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ผมเข้าใจนะครับ ว่า การที่จัดงานบริจาคเลือด ต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น

ผมก็เข้าใจนะครับ ว่า กว่าจะทำให้เลือดที่สามารถให้คนไข้ใช้ได้ ต้องผ่านขั้นตอนหลายๆอย่าง นั้นก็ ต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นอีก

เพราะน้องพยาบาลก็อธิบายให้ผมฟังแล้ว


และ น้องเขาก็อธิบายว่า

การที่พวกเรามาบริจาคเลือดแบบ ระบุชื่อคนไข้ นั้น คนไข้ยังต้องเสียค่าใช้จ่าย

แต่ จากถุงละหลายพัน เป็น ถุงละ แค่หลักร้อย (300-400บาทมั้ง)



ผมได้ถามน้องพยาบาล ว่า ไม่ได้ฟรีหรอ

น้องเขาตอบผมว่า

เลือดที่เราบริจาคไปนั้น ไม่ได้ไปใช้กัยคนไข้หรอก ต้องนำไปแลกกับเลือดในธนาคารเลือดกาชาตไทย

เช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรุ๊ปเลือดไหน ก็บริจาคระบุชื่อได้ทั้งนั้น


แต่ ผมยังสงสับครับ

การที่เราบริจาคระบุชื่อให้คนไข้นั้นๆ ก็ผ่านขั้นตอนเหมือนๆกับที่เราไปบริจาคที่กาชาตไทย

แต่ ทำไม ค่าใช้จ่ายของคนไข้ จะต้องต่างกันเป็นสิบเท่า

กรณี เบิกเลือดจากกาชาต(ผ่านโรงบาล) เงินที่เก็บจากคนไข้หลายพัน ส่วนที่ต่างจาก หลักร้อยที่เราระยุชื่อไป อีก90%ไปไหนแล้วครับ


เนื่องจากผมก็ไม่ได้เป็นหมอ

เนื่องจากผมไม่เขาใจขั้นตอนการจัดการกับเม็มเลือด

เนื่องจาก เบิกเลือดจากกาชาต(ผ่านโรงบาล) มีทั้งกาชาตและโรงบาลเกี่ยวข้องด้วย

ผมก็คิดไม่ออก

แต่ ผมสงสัย ผ่านขั้นตอนการทำเป็นเม็ดเลือด คงเหมือนๆกัน

การที่ไปบริจาคให้ระบุชื่อคนไข้ เลือดนั้น ถึงนับว่าเป็นทรัพย์สินของคนไข้หรอครับ

ผมไม่แน่ใจว่า เลือดที่เราบริจาคไปที่กาชาตนั้น พอมีคนไข้ขอเบิก ถือว่าเป็นทรัพย์สิน ของใคร

ต่างกันแค่ที่มา (ฟรีทั้งคู่) แต่ ค่าใช้จ่ายต่างกันเกือบๆ สิบเท่า


ผมก็แค่คนธรรมดาๆคนหนึ่ง ผมทำไรมากกว่านี้ก็ไม่มีกำลังจะทำ

ทุกวันนี้ ผมก็ยังบริจาคอยู่นะครับ เหมือนเดิมครับ ปีละครั้งสองครั้ง

แต่ ผมจะหาโรงบาลรัฐ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เขาไปถามพยาบาลในแถวๆห้อง ICU ว่า คนไข้คนไหน ต้องการเลือดมากและยากจน

ผมก็ระบุชื่อคนไข้คนนั้นไปเลยครับ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


เนื่องจากผมไม่มีความรู้ทางการแพทย์เลย

นี่แค่เป็นความเห็นส่วนตัว อาจไม่ถูกต้องก็ได้ครับ

ใครมีความรู้ขอชี้แนะด้วยครับ


***แก้คำผิดและเพิ่มรูปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 85
อ้างอิงตาม อัตราค่าบริการ งานธนาคารเลือด เว็บไซต์ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
>> http://yrh.moph.go.th/deparment/blood_bank51/ServiceCost.htm
หน้าเว็บนี้ให้ข้อมูลไว้ดีครับ บอกว่ามีเลือดและส่วนประกอบของเลือดชนิดใดบ้าง ตรวจอะไรบ้าง และมีตัวอย่างการคำนวนค่าใช้จ่ายด้วย
แต่ไม่ทราบว่าข้อมูลอัพเดทล่าสุดเมื่อไหร่ ดูจากลิงค์น่าจะเป็นปี 51 นะ



ผมจะเพิ่มเติมรายละเอียดที่หน้าเว็บนี้ไม่ได้บอกไว้ เป็นขั้นตอนทั้งหมดคร่าวๆ เฉพาะส่วนสำคัญๆ โดยอ้างอิงราคาจากหน้าเว็บข้างต้นนะครับ

1. จัดบริการรับบริจาคโลหิต ค่าจัดการส่วนนี้ ยูนิตละ 100 บาท //ถ้าขาดส่วนนี้ใครจะเจาะเลือดให้คุณ ไม่ว่าจะบริจาคปกติหรือบริจาคเจาะจงผู้รับ

2. พอได้เลือดมาแล้ว
    2.1 ตรวจคัดกรองเชื้อโรคในเลือดที่รับบริจาค
    2.2 แยกเลือด เป็นส่วนประกอบของเลือดชนิดต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของเลือดอย่างคุ้มค่าที่สุด //แยกทุกถุงครับ
    2.3 จัดเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมแตกต่างกันไปตามส่วนประกอบของเลือดแต่ละชนิด  บางชนิดเช่นเกล็ดเลือดต้องเก็บรักษาโดยว่างไว้บนถาดที่มีการเคลื่องไหวโยกขยับถุงตลอดเวลาอีกด้วย  //อาจจะมีไม่มีต้นทุนในส่วนเก็บรักษาเกิดขึ้นถ้าได้ blood component มาแล้ว cross match ได้ แล้วให้กับผู้ป่วยได้เลย  แต่ จขกท. บอกว่าโรงบาลต้องเอาเลือดคุณไปแลกกับธนาคารเลือด เลือดของคุณก็ต้องถูกเก็บรักษาจึงมีต้นทุนส่วนนี้เกิดขึ้น
       สรุปค่าใช้จ่ายรวมในส่วนข้อ 2.1 ถึง 2.3 รวมกัน เท่ากับ 330 บาท/ยูนิต (Cryoprecipitate) จนถึง 4800 บาท/ยูนิต (LPPC) ขึ้นกับส่วนประกอบของเลือดแต่ละชนิด

3. เมื่อจะนำส่วนประกอบของเลือดที่บริจาคมาใช้กับผู้ป่วย จะต้องเจาะเลือดผู้ป่วยนำไปธนาคารเลือดเพื่อหาเลือดที่เข้าได้กับผู้ป่วย ไม่ใช่ว่าหมู่เลือดตรงกัน (major blood group = ABO,Rh) แล้วจะให้ได้เลย จะต้องตรวจ minor blood group และ antibody อื่นอีก  รวมกระบวนการนี้เรียกว่า  cross matching ถ้า  cross match ได้ จะนับว่าเป็นการจองโลหิต  คิดค่าใช้จ่ายประมาณ 80-500 บาท/ยูนิต ขึ้นอยู่กับว่าใช้การตรวจส่วนนี้กี่อย่างกว่าจะได้เลือดที่ไม่มีปฏิกิริยากับผู้ป่วย  

4. นำเลือดที่จองได้มาให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะบริจาคแบบไหน รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นคือ ข้อ 1+2+3

5. ถ้าจองได้ แต่ไม่ได้ใช้เลือด ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต้องจ่ายครับ เพราะต้นทุนเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะบริจาคแบบไหน  รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นคือ ข้อ 3 ข้อเดียว

6. สมมุติจองไว้ 5 ยูนิต  แต่ใช้จริง 1 ยูนิต ต้องจ่ายค่าจองคูณ 5 บวกกับค่าเลือดคูณ 1 นะครับ  ถามว่าทำไมไม่จองให้พอดีล่ะ  คำตอบก็คือ  กรณีที่จะเอาผู้ป่วยไปผ่าตัด หมอจะประเมินว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสียเลือดระหว่างผ่าตัดได้เท่าไหร่ก็จะจองเท่านั้น  ถ้าไม่จองไว้ก่อน ถึงเวลาใช้จริงฉุกเฉินไม่จองเลือดไว้ ก็ต้องนำเลือดที่หมู่เลือดตรงกันแต่ไม่ได้ทดสอบปฏิกริยาต่อผู้ป่วยอย่างละเอียด มาให้กับผู้ป่วยเลยครับ ถ้ามี LPRC ก็ให้ชนิดนี้ แล้วมาลุ้นเอาว่าจะเกิดปฏิกริยามั้ย ระหว่างนี้ก็จองเลือดไปใหม่ไว้ด้วย





ความคิดเห็นที่ 81 จะเพิ่มเติมรายละเอียดมากขึ้นอีกจากส่วนที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นครับ

ตามความคิดเห็นที่ 34 และความคิดเห็นที่ 40 บอกตรงกันว่าเลือดทุกถุงไม่ว่าจะบริจาคแบบไหน ต้นทุนเท่ากันทั้งหมด เพราะกระบวนการสำคัญๆ ที่จะทำเพื่อนำเลือดมาใช้ ทำเหมือนกันครับ


จขกท. บอกว่า "บริจาคเลือดแบบ ระบุชื่อคนไข้ นั้น คนไข้ยังต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ จากถุงละหลายพัน เป็น ถุงละ แค่หลักร้อย (300-400บาทมั้ง)"

จากข้อความนี้ผมคาดว่าเป็นการเข้าใจผิดกันครับ รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะบริจาคแบบไหน ในหลายๆ กรณีมันถุงละเป็นหลักพันได้ครับ ผมไม่รู้ว่าผู้ป่วยที่คุณเจาะจงบริจาคให้เลือดนั้นเป็นกรณีไหน แต่คุณอาจจะเอาไปเปรียบเทียบกับราคาต่อยูนิตตามข้อ 2 ผมกล่าวไว้ของ Packed red cell (PRC) ที่ใช้กับผู้ป่วยโลหิตจาง/เสียเลือด ซึ่งราคาทั่วไปอยู่ที่ 400-600 บาท/ยูนิต เพียงข้อเดียว ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในข้ออื่นๆ
ความคิดเห็นที่ 23
การที่จะนำเลือดผู้บริจาคมาให้ผู้ป่วยได้นั้นมันมีขั้นตอนมากมายครับ หลักๆคือ
1. ศูนย์รับบริจาค (กาชาด,ศิริราช) มีหน้าที่ในหารจัดหาเลือด และเก็บสต๊อกไว้ เพื่อนำไปให้ผู้ป่วย (โดยจ่ายให้ รพ ที่มาขอเบิกเลือดกับกาชาด) เมื่อ รพ มีความต้องการเลือดในแตะละกรุ๊ป ก็จะสามารถเบิกเลือดที่กาชาดได้เลย รพ รัฐไม่แน่ใจว่ามีค่าใช้จ่ายหรือเปล่า (รพ รัฐ ต้องงจ่ายให้กาชาด ) แต่เอกชนมี ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราบริจาคนั้นเช่น
-ค่าอุปกรณ์ เข็ม ถุงเลือด
-ค่าน้ำยาตรวจคัดกรองหมู่เลือด A B O AB Rh
-ค่าตรวจ Infectious marker (ไวรัสเอสด์ ตับอักเสบ ซิฟิลิส)
-ค่าปั่นแยก Blood component (เลือดที่เราบริจาคเป็นเลือดครบส่วน 1 ถุง เขาสามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบเลือดได้หลายประเภท)
-ค่าเก็บรักษา และอื่นๆ

ทั้งหมดนี้มีค่าใช้จ่าย ไม่ใช่ว่าเลือดที่เราบริจาคไปนั้นจะนำไปให้ผู้ป่วยได้ทันที

2. รพ ที่ให้การรักษา เมื่อเบิกเลิอดจากกาชาดมาได้แล้ว ต้องมีกระบวนการ ตรวจความเข้ากันได้ของเลือดผู้บริจาคกับเลือดผู้ป่วยก่อน (X-match) ถ้าผ่านแล้วจึงนำไปให้ผู้ป่วยได้ ขั่นตอนนี้ก็มีค่าใช่จ่าย เช่น
- ค่าตรวจหมู่เลือดทั้งผู้ป่วยและเลือดจากผู้บริจาค
- ค่าน้ำยา อุปกณ์ ค่าแรง ในการ (X-match)
- ค่า  set ในการเสียบต่อสายจากถุงเลือดเข้าตัวผู้ป่วย
- ค่าอื่นๆ ทางการพยาบาล
ความคิดเห็นที่ 143
ไม่แปลกครับที่ คุณ จูงหมูถูถนน (คห.138-1, 140) จะไม่เก็ท  และไม่สามารถหาคำตอบที่ จขกท.สงสัย จากทุก คห. ในกระทู้นี้

เพราะข้อสงสัยของ จขทก ที่ว่า บริจาคเลือดแบบเจาะจงผู้รับ vs แบบไม่เจาะจงผู้รับ : ค่าใช้จ่ายในของผู้ป่วยในการรับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดแตกต่างกันเป็นสิบเท่าได้อย่างไร?

จะหาเหตุผลมาตอบคำถามนี้ให้ได้ว่าทำไมถึงแตกต่างกัน  หายังไงก็ไม่มีคำตอบหรอกครับ  เพราะในความเป็นจริงคือ ไม่แตกต่างกัน

ผมสอบถามกาชาดมาแล้วครับ เลือดทุกถุงที่กาชาดจ่ายออกไป ราคาเท่ากันหมด ต่อให้คุณไปบริจาคเลือดด้วยตัวเองที่กาชาด โดยจะระบุชื่อผู้รับเจาะจงไปเลยก็ได้นะ ไม่ทำให้ราคาเลือดต่างไปจากเดิม คุณจะได้ประโยชน์เพียงข้อเดียวคือ ได้หลักประกันว่าผู้รับจะได้รับเลือดอย่างน้อยก็เท่ากับจำนวนเลือดที่คุณได้เจาะจงบริจาคไป

ดังนั้นถ้าเป็น blood component ชนิดเดียวกัน  มาจากคลังเลือดแห่งเดียวกัน ราคาของเลือดย่อมไม่แตกต่างกันในทุกกรณี

ผมขอย้ำอีกครั้งว่า โรงพยาบาลคิดค่าเลือดโดยคิดตาม 1) จำนวนยูนิตที่จองเลือดทั้งหมด (cross matching) และ 2) จำนวนของ blood component ชนิดต่างๆ ที่ใช้จริง สองรายการนี้เท่านั้นครับ

ผมขอตอบข้อสงสัยของ จขกท. อีกครั้ง  โดยยกตัวอย่างดังนี้:
1. ผู้ป่วยซีดมาก ต้องการเลือด
2. แพทย์จองเลือดให้ผู้ป่วย
3. พยาบาลรับคำสั่งแพทย์เสร็จ ก็ติดต่อไปยังคลังเลือดทันที รวมตั้งเจาะเลือดผู้ป่วยและเตรียมจองเลือดให้ตามที่แพทย์ร้องขอ
4. คลังเลือดตอบกลับมาว่า  "เลือดในคลังตอนนี้เหลือน้อยมาก"  รบกวนคุณพยาบาลแจ้งญาติด้วยว่า "ให้ช่วยมาบริจาคเลือดให้น้องกอหน่อย"
5. จขกท. ทราบข่าว จึงไปบริจาคเลือดที่โรงพยาบาล ระบุชื่อบริจาคให้กับผู้ป่วยในข้อ 1)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
6. ทางโรงพยาบาลแจ้งคลังเลือดว่าจะส่งเลือดของ จขกท. ไปให้
7. คลังเลือดรับทราบ  นำเลือดในคลังซึ่งมีอยู่น้อยนิด เป็นเลือดที่ process เรียบร้อยแล้ว ส่งไปให้แพทย์ในข้อ 2 ทันที ตามจำนวนมากที่สุดเท่าที่แพทย์ร้องขอ ต่อให้มี จขกท. เพียงคนเดียวมาบริจาค ซึ่งก็ได้แค่ 1 ยูนิต  แต่คลังเลือดจะจ่ายเลือดไปมากกว่านั้น มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
8. คลังเลือดได้รับเลือดของ จขกท. ที่โรงพยาบาลในข้อ 5) ส่งมา  คลังเลือดนำเลือดของ จขกท. มา process แล้วก็นำเก็บเข้าคลังเหมือนเดิม

สรุปข้อ 1-8 เลือดทุกถุงที่คลังเลือดจ่ายออกไป ราคาเท่ากันหมด เลือดของ จขกท. ไม่มีราคาเลย ซื้อขายก็ไม่ได้ (มีแต่คุณค่าที่หาสิ่งอื่นมาเทียบไม่ได้) คลังเลือดคิดค่าใช้จ่ายเฉพาะค่า process เท่านั้น (รวมคน น้ำยา วัสดุ และเครื่องมือทางการแพทย์ราคาแพง มาเฉลี่ยคิดเป็นต้นทุนต่อยูนิต)  จะเอาเลือดของ จขกท. มาเป็นส่วนลดให้กับผู้ป่วยในข้อ 1 ไม่ได้ครับ  ความจริงสิ่งที่โรงพยาบาลทำก็คือ นำเลือดของ จขกท. มาใช้คืนคลังเลือดเท่านั้น

ถ้าหากคลังเลือดของโรงพยาบาลไม่มีเลือด ก็ต้องไปยืมเลือดมาจากที่อื่น  และถ้าเป็นกรุ๊ปหายาก ต้องคืนเลือดตรงกรุ๊ปด้วย เป็น component ชนิดเดิม ตามที่คุณ XinPing* ตอบไว้ใน คห.7-4 ครับ

ปกติคลังเลือดจะจ่ายเลือดตาม priority ใครจะตายก่อนก็ให้คนนั้นก่อน  แต่ donor สามารถกำหนดผู้รับคนไหนก็ได้เป็น first priority ครับ  donor ทุกคนมีสิทธิ์นี้

ปล. คลังเลือดดังกล่าว จะเป็นคลังเลือดของโรงพยาบาลเอง (ถ้ามี) หรือกาชาด "คลังเลือดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ" แห่งใดก็ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 104
ต่อจาก ความคิดเห็นที่ 85

เกี่ยวกับค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือด แม้จะมีรายละเอียดของที่มาปลีกย่อยเยอะมาก
แต่ค่าใช้จ่ายหลักๆ มีสองส่วน ใบเสร็จมักจะแสดงราคาจากสองส่วนต่อไปนี้นะครับ
1. ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือด "Blood component" (ค่าเจาะเลือด ค่าตรวจเชื้อ ค่าแยก ค่าเก็บรักษา ค่าจัดส่ง)
2. ค่าจองเลือด "Cross matching" (กระบวนการตรวจเพื่อหาเลือดที่ผู้รับจะมีปฏิกริยาข้างเคียงน้อยที่สุด)

แต่คนทั่วไปเห็นว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่มีคำว่าเลือดเหมือนกัน
ก็เอามารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนถุงที่รับจริง
ราคาจึงสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายปกติที่แสดงในตาราง
เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ในโรงพยาบาลอื่น ย่อมต่างกัน  

ยังไม่นับการเข้าใจผิดนำค่าใช้จ่ายของ blood component ที่คิดว่าเหมือนกันมาเปรียบเทียบกัน
แต่ความจริงมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกัน

วิธีการบริจาคแบบเจาะจงผู้รับหรือไม่นั้น  มีผลต่อค่าใช้จ่ายน้อยครับ
กรณีที่ผู้ป่วยคนดังกล่าวต้องการใช้เลือด แต่ blood component ชนิดนั้นมีอยู่ในคลังเลือดน้อย  หรือไม่มีอยู่เลย
ผู้ป่วยจึงถูกร้องขอให้บอกญาติหรือใครก็ได้มาบริจาคเลือดให้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับเลือดชนิดนั้นครับ  ไม่ใช่เพื่อลดหรือเพิ่มค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้เลือดและส่วนประกอบของเลือดอื่นๆ ส่วนเกินจากการบริจาคแบบเจาะจงผู้รับ
จะไปเติมเลือดชนิดที่มีอยู่ในคลังเลือดน้อยหรือไม่มีอยู่เลยนั้น  ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากยอดรับบริจาคปกติ

บทความเรื่อง การใหเลือดและสวนประกอบของเลือดอยางเหมาะสม
เวชสารแพทยทหารบก ปที่ 62 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2552
http://www.rtamedj.pmk.ac.th/Vol_63/63-1-5.pdf
มีตารางแสดงราคาเลือดและสวนประกอบของเลือดนำมาให้เปรียนเทียบกันครับ กับหน้าเว็บที่ผมเคยแปะไว้ใน คห.85
ในบทความฉบับนี้ยังบอกว่าบริจาคเลือดไป 1 ถุงเอาไปทำอะไรบ้าง เก็บยังไง มีอายุเท่าไหร่  เป็นบทความสำหรับหมออ่าน แต่คนทั่วไปน่าจะอ่านพอเข้าใจ

ความคิดเห็นที่ 102 เป็นคำถามที่ดีมากครับ
บริจาคแบบไหนนั้น ขึ้นกับผู้ป่วยมีความต้องการ blood component ชนิดไหนครับ ไม่มีสิ่งอื่นมาทดแทนได้ในขณะนี้
เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องรอง ขึ้นกับราคาของเทคโนโลยีเป็นหลัก และเป็นเรื่องที่เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเขาคิดกันมากกว่า

จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่า เกล็ดเลือดมีอายุแค่ 5 วัน เก็บสำรองไว้ไม่ได้นาน หมดอายุก็ต้องทิ้ง
ใช้กันทีก็ใช้ 6 ยูนิตขึ้นไป คนนึงใช้เป็นสิบๆ ยูนิตก็มี (1 ยูนิต หมายความว่าได้มาจากคน 1 คน)
นอกจากนี้ถ้าจองเลือดแล้วนำออกมาจากคลังเลือดแต่ไม่ได้ใช้ คลังเลือดบางที่ไม่รับเกล็ดเลือดคืนนะครับ
เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนคุณสมบัติก็เปลี่ยนไปแล้ว เกล็ดเลือดจึงเป็นส่วนประกอบของเลือดที่ขาดแคลนมาก
ทั้งนี้ควรสอบถามคลังเลือดเป็นคราวๆ ไปว่าช่วงนั้นขาดแคลน blood component ชนิดไหน
จากนั้นค่อยพิจารณาว่าจะบริจาคเลือดหรือบริจาคเกล็ดเลือดดีกว่ากัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่