หนึ่งในผลข้างเคียงจากการที่ iPhone และ iPad ได้รับความนิยมเป็นพิเศษนั่นก็คือ “อุปกรณ์เสริมของปลอม” ที่จะมีจุดเด่นเหนือกว่าของแท้เพียงอย่างเดียวในเรื่องของราคาที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว เพราะอุปกรณ์เสริมถ้าได้ขึ้นชื่อว่าเป็นของ Apple แล้ว การันตีเรื่องความแพงเป็นที่หนึ่งเลยหล่ะ และมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ของปลอมมักจะขายดีเอามากๆ เลย ก็ไม่พ้นอแดปเตอร์สำหรับชาร์จไฟ ถึงแม้จะมีข่าวเกี่ยวกับผู้ใช้ที่ซื้ออแดปเตอร์ของปลอมมาใช้งานแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นไม่ว่าจะเป็น หญิงสาวชาวจีนที่โดนไฟดูดขณะที่ชาร์จ iPhone ด้วยที่ชาร์จของปลอม หรือแม้แต่ชายหนุ่มที่โชคร้ายต้องนอนโรงพยาบาลเป็นสัปดาห์เลยทีเดียวเพราะที่ชาร์จปลอมระเบิดใส่นิ้วมือของเขา
จึงมีคนทำการเทียบความแตกต่างระหว่างที่ชาร์จ iPad ของปลอมกับที่ชาร์จ iPad แท้ (สามารถใช้อ้างอิงกับที่ชาร์จ iPhone ได้ครับ กลไลภายในแทบไม่แตกต่างกัน) ว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สิ่งแรกที่แตกต่างกันมากเลยก็คือราคา ที่ชาร์จของแท้จะอยู่ที่ราคา $19 แต่ของปลอมจะอยู่ที่ราคาเพียง $3 เท่านั้นเอง ซึ่งเมื่อแกะตัวอแดปเตอร์ดูแล้วจะพบถึงความแตกต่างโดยอแดปเตอร์ของแท้จะมีพื้นที่ด้านในเยอะกว่าของปลอม รวมถึงชิ้นส่วนที่มีคุณภาพสูงกว่าของปลอมมากทีเดียว ส่วนของปลอมนั้นก็ตามภาพเลยครับ ชิ้นส่วนดูป๋องแป๋งมากๆ แทบจะไม่มีอะไรเลย เรียกได้ว่าไส้ในของอแดปเตอร์ปลอมค่อนข้างกลวงเลยหล่ะ
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากก็คือเรื่องความปลอดภัย จะเห็นได้ว่าในอแดปเตอร์ของแท้ครึ่งนึงจะเป็นฉนวนกันความร้อนที่เป็นเทปสีเหลือง นอกจากนี้ยังมีพลาสติกกั้นระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไม่ได้มันสัมผัสกันโดยตรง ส่วนที่ชาร์จปลอมจะมีฉนวนกันความร้อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อพลิกดูอีกด้านจะเห็นว่าที่ชาร์จของแท้จะมีฉนวนเป็นเทปสีแดงอยู่แต่จะไม่พบในที่ชาร์จของปลอม และช่องว่างที่กระแสไฟฟ้าแรงดันสูงกับแรงดันต่ำวิ่งผ่านบอร์ดนั้นในที่ชาร์จของแท้จะอยู่ห่างกันประมาณ 4 มิลลิเมตรแต่ในที่ชาร์จปลอมแทบจะติดกันเลยเพราะมันห่างกันเพียง 0.6 มิลลิเมตรเท่านั้น
ทำให้ที่ชาร์จปลอมมีโอกาสที่กระแสไฟฟ้าทั้งสองจะปะทะกันและเกิดการระเบิดขึ้น
ส่วนต่างของราคาที่ต่างกันนั้นรวมถึงความสามารถในการชาร์จไฟอีกต่างหาก เพราะที่ชาร์จ iPad แท้จะปล่อยไฟได้ที่ 10W ในอัตราคงที่ แต่ในที่ชาร์จปลอมมีผลเทสออกมาว่ามันชาร์จไฟได้เพียง 5.9W เท่านั้นแถมไฟยังไม่นิ่งอีกต่างหาก เท่ากับว่าในการใช้ที่ชาร์จ iPad ของแท้ชาร์จไฟจะสามารถชาร์จไฟได้รวดเร็วกว่าจากคุณภาพของกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น และนอกจากนี้ยังมีผลเทสการจ่ายไฟระหว่างที่ชาร์จแท้และที่ชาร์จของปลอมเทียบกับให้เห็นอีกด้วย โดยดูจากกราฟจะเห็นได้ชัดเลยว่าที่ชาร์จของแท้จ่ายไฟได้นิ่งกว่าเยอะ
เห็นอย่างนี้แล้วก็คงต้องบอกเลยว่าควรหันมาใช้อแดปเตอร์ชาร์จไฟของแท้จากผู้ผลิตกันเถอะครับ เพราะถ้าเทียบกับราคาในไทยแล้วที่ชาร์จ iPad ของจริงจะอยู่ที่ราคา 690 บาท แต่สำหรับของปลอมนั้นเฉลี่ยจะอยู่ที่ราคา 120 บาท ส่วนต่างถึงแม้จะดูว่ามันต่างกันหลายร้อยบาท แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าที่ชาร์จของปลอมจะเกิดระเบิดขึ้นมาเมื่อไหร่ มันเหมือนซื้อระเบิดเวลามาเก็บไว้กับตัว แถมอากาศของประเทศไทยยังค่อนข้างร้อน เสี่ยงต่อการระเบิดเพราะลำพังตัวฉนวนกันความร้อนในอแดปเตอร์ปลอมก็มีน้อยอยู่แล้วด้วย ถ้าหากมันระเบิดขึ้นมาก็ย่อมเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าโชคดีก็ไม่เจ็บตัว แต่ถ้าโชคไม่ดีขึ้นมาหล่ะ ทั้งการเจ็บตัว, ค่าเสียเวลา, ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าความเสียหายอื่นๆ ยังไงๆ ก็ต้องมากกว่าหลักร้อยบาทอยู่แล้ว ทำให้นึกถึงสำนวนไทยที่ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” เลยหล่ะครับ
ที่มา:
macrumors ,
SpecPhone
ความแตกต่างระหว่างที่ชาร์จ iPad ปลอมและที่ชาร์จ iPad ของแท้
หนึ่งในผลข้างเคียงจากการที่ iPhone และ iPad ได้รับความนิยมเป็นพิเศษนั่นก็คือ “อุปกรณ์เสริมของปลอม” ที่จะมีจุดเด่นเหนือกว่าของแท้เพียงอย่างเดียวในเรื่องของราคาที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว เพราะอุปกรณ์เสริมถ้าได้ขึ้นชื่อว่าเป็นของ Apple แล้ว การันตีเรื่องความแพงเป็นที่หนึ่งเลยหล่ะ และมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ของปลอมมักจะขายดีเอามากๆ เลย ก็ไม่พ้นอแดปเตอร์สำหรับชาร์จไฟ ถึงแม้จะมีข่าวเกี่ยวกับผู้ใช้ที่ซื้ออแดปเตอร์ของปลอมมาใช้งานแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นไม่ว่าจะเป็น หญิงสาวชาวจีนที่โดนไฟดูดขณะที่ชาร์จ iPhone ด้วยที่ชาร์จของปลอม หรือแม้แต่ชายหนุ่มที่โชคร้ายต้องนอนโรงพยาบาลเป็นสัปดาห์เลยทีเดียวเพราะที่ชาร์จปลอมระเบิดใส่นิ้วมือของเขา
จึงมีคนทำการเทียบความแตกต่างระหว่างที่ชาร์จ iPad ของปลอมกับที่ชาร์จ iPad แท้ (สามารถใช้อ้างอิงกับที่ชาร์จ iPhone ได้ครับ กลไลภายในแทบไม่แตกต่างกัน) ว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สิ่งแรกที่แตกต่างกันมากเลยก็คือราคา ที่ชาร์จของแท้จะอยู่ที่ราคา $19 แต่ของปลอมจะอยู่ที่ราคาเพียง $3 เท่านั้นเอง ซึ่งเมื่อแกะตัวอแดปเตอร์ดูแล้วจะพบถึงความแตกต่างโดยอแดปเตอร์ของแท้จะมีพื้นที่ด้านในเยอะกว่าของปลอม รวมถึงชิ้นส่วนที่มีคุณภาพสูงกว่าของปลอมมากทีเดียว ส่วนของปลอมนั้นก็ตามภาพเลยครับ ชิ้นส่วนดูป๋องแป๋งมากๆ แทบจะไม่มีอะไรเลย เรียกได้ว่าไส้ในของอแดปเตอร์ปลอมค่อนข้างกลวงเลยหล่ะ
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากก็คือเรื่องความปลอดภัย จะเห็นได้ว่าในอแดปเตอร์ของแท้ครึ่งนึงจะเป็นฉนวนกันความร้อนที่เป็นเทปสีเหลือง นอกจากนี้ยังมีพลาสติกกั้นระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไม่ได้มันสัมผัสกันโดยตรง ส่วนที่ชาร์จปลอมจะมีฉนวนกันความร้อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อพลิกดูอีกด้านจะเห็นว่าที่ชาร์จของแท้จะมีฉนวนเป็นเทปสีแดงอยู่แต่จะไม่พบในที่ชาร์จของปลอม และช่องว่างที่กระแสไฟฟ้าแรงดันสูงกับแรงดันต่ำวิ่งผ่านบอร์ดนั้นในที่ชาร์จของแท้จะอยู่ห่างกันประมาณ 4 มิลลิเมตรแต่ในที่ชาร์จปลอมแทบจะติดกันเลยเพราะมันห่างกันเพียง 0.6 มิลลิเมตรเท่านั้น ทำให้ที่ชาร์จปลอมมีโอกาสที่กระแสไฟฟ้าทั้งสองจะปะทะกันและเกิดการระเบิดขึ้น
ส่วนต่างของราคาที่ต่างกันนั้นรวมถึงความสามารถในการชาร์จไฟอีกต่างหาก เพราะที่ชาร์จ iPad แท้จะปล่อยไฟได้ที่ 10W ในอัตราคงที่ แต่ในที่ชาร์จปลอมมีผลเทสออกมาว่ามันชาร์จไฟได้เพียง 5.9W เท่านั้นแถมไฟยังไม่นิ่งอีกต่างหาก เท่ากับว่าในการใช้ที่ชาร์จ iPad ของแท้ชาร์จไฟจะสามารถชาร์จไฟได้รวดเร็วกว่าจากคุณภาพของกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น และนอกจากนี้ยังมีผลเทสการจ่ายไฟระหว่างที่ชาร์จแท้และที่ชาร์จของปลอมเทียบกับให้เห็นอีกด้วย โดยดูจากกราฟจะเห็นได้ชัดเลยว่าที่ชาร์จของแท้จ่ายไฟได้นิ่งกว่าเยอะ
เห็นอย่างนี้แล้วก็คงต้องบอกเลยว่าควรหันมาใช้อแดปเตอร์ชาร์จไฟของแท้จากผู้ผลิตกันเถอะครับ เพราะถ้าเทียบกับราคาในไทยแล้วที่ชาร์จ iPad ของจริงจะอยู่ที่ราคา 690 บาท แต่สำหรับของปลอมนั้นเฉลี่ยจะอยู่ที่ราคา 120 บาท ส่วนต่างถึงแม้จะดูว่ามันต่างกันหลายร้อยบาท แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าที่ชาร์จของปลอมจะเกิดระเบิดขึ้นมาเมื่อไหร่ มันเหมือนซื้อระเบิดเวลามาเก็บไว้กับตัว แถมอากาศของประเทศไทยยังค่อนข้างร้อน เสี่ยงต่อการระเบิดเพราะลำพังตัวฉนวนกันความร้อนในอแดปเตอร์ปลอมก็มีน้อยอยู่แล้วด้วย ถ้าหากมันระเบิดขึ้นมาก็ย่อมเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าโชคดีก็ไม่เจ็บตัว แต่ถ้าโชคไม่ดีขึ้นมาหล่ะ ทั้งการเจ็บตัว, ค่าเสียเวลา, ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าความเสียหายอื่นๆ ยังไงๆ ก็ต้องมากกว่าหลักร้อยบาทอยู่แล้ว ทำให้นึกถึงสำนวนไทยที่ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” เลยหล่ะครับ
ที่มา: macrumors , SpecPhone