กขค. ในฮันนีมูนทริปที่โมร็อคโค (Morocco) - ตอนที่ 1: ข้อมูลน่ารู้

จับพลัดจับพลูกลายเป็น กขค. ในฮันนีมูนทริปที่ Morocco ของเพื่อนโดยไม่รู้ตัว ร้องไห้
ไหนๆ ก็ไม่มีคู่ให้จู๋จี๋ระหว่างเดินทางเลยขอเก็บรายละเอียดการเดินทางเอามาเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ คะ
ขอสรุปข้อมูลที่สำคัญๆ ก่อน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อนแต่ละเมืองจะลงเป็นตอนๆ ไปนะคะ

ก่อนอื่นขอขอบคุณข้อมูลทุกท่านตาม Link ด้านล่างนี้คะ
คุณสายลมแห่งทุ่งบางเขน: http://ppantip.com/topic/13073947
คุณ Don Rome de Madrid: http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=2&topic_no=59762&topic_id=60128
คุณ Mednun: http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=25&topic_no=397084&topic_id=403462
คุณ Bhavana: http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=2&topic_no=372913&topic_id=378709




ช่วงเวลาที่เดินทาง
12 – 22 มีนาคม 2557 เป็นช่วงปลายหนาวต้นร้อน ซึ่งฤดูร้อนของ Morocco จะเริ่มตั้งแต่เดือนเม.ย. เป็นต้นไป แต่ถึงจะเป็นช่วงปลายฤดูหนาว แต่อุณภูมิก็อยู่ในช่วง 7-18 องศา ยกเว้นในเมืองกลางหุบเขาเช่น Gorges de Dades ที่อุณหภูมิจะลงไปถึง 3 องศาในช่วงกลางคืนถึงเช้า


วีซ่า
คนไทยไป Morocco ต้องใช้วีซ่าคะ ค่าทำวีซ่า 879 บาท/คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2557)
สถานทูต Morocco อยู่ที่ ชั้น 12 อาคารสาทรซิตี้ 175 ถนนสาทรใต้ สาทร กรุงเทพฯ 10120
นั่งรถไฟ BTS ไปลงสถานีช่องนนทรี ออกช่อง exit 2 เดินต่อไป sky walk ทางไปรถ BRT ข้ามสี่แยกไปแล้วลงทางด้านซ้าย ฝั่ง ฺBank of China อาคารสาทรซิตี้เป็นอาคารสีน้ำตาล หลังที่สามเลย จะเห็นป้ายธนาคารกรุงเทพ เดินเข้าหน้าตึก แลกบัตรที่ทางเข้า แล้วขึ้นบันไดเลื่อน เลี้ยวขวา ผ่านเครื่องหมุนๆ (ต้องเอาบัตรที่ได้มาตอนแลกบัตรทาบเพื่อเข้าเครื่อง) แล้วต่อลิฟท์ ไปชั้น 12 สถานทูตจะอยู่สุดทางเดินด้านซ้าย (บรรยากาศจะเงียบๆ หน่อย)

ยื่นเอกสาร ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.30 น. ถึง 12.00 น. (ให้คนอื่นไปยื่นแทนได้ แต่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ทริปนี้เพื่อนก็ไปยื่นแทนสามีคะ หนังสือมอบอำนาจภาษาอังกฤษ (http://plan-travel.com/visa/fliepdf/Letter-of-Authority.pdf)
รับวีซ่า    ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 14.00 น.ถึง 16.00 น. (ให้คนอื่นไปรับแทนได้ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจคะ ทริปนี้สามีเพื่อนไปรับแทนทุกคนคะ)
ตามกำหนดการ ใช้เวลาทำประมาณ 3-5 วันทำการ เจ้าหน้าที่ที่รับเอกสารจะออกใบรับวีซ่ามาให้ (เจ้าหน้าที่น่ารักและแนะนำข้อมูลได้ดีมาก) ซึ่งอาจได้เร็วกว่านี้ แต่ตอนที่ไปทำเจ้าหน้าที่ที่เซ็นออกวีซ่าไม่อยู่ เลยใช้เวลา 5 วันทำการตามกำหนดเลยคะ
1.    แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าที่กรอกข้อมูลครบถ้วน ถ้าไม่เข้าใจว่ายังไงสามารถสอบถาม จนท. ที่รับเอกสารได้คะ (http://www.moroccoembassybangkok.org/visa.html.pdf)
2.    หนังสือเดินทาง (Passport) ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูป 1 ชุด ไม่ต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องนะคะ ถ้าเซ็นไป จนท. จะให้ไปถ่ายเอกสารมาใหม่ ซึ่งมีร้านถ่ายเอกสารอยู่ชั้นใต้ดิน (ใบละ 4 บาท)
3.   ถ่ายสำเนาบัตรประชาชนและแปลเป็นภาษาอังกฤษ (เฉพาะส่วนที่เป็นที่อยู่ที่ไม่มีภาษาอังกฤษในบัตรก็พอคะ) จะพิมพ์หรือเขียนให้เรียบร้อยก็ได้ ไม่ต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องนะคะ
4.    รูปถ่ายสี พื้นด้านหลังเป็นสีอ่อน ขนาด 4.0x 3.0 ซม. (ขนาด 1.5 นิ้ว) จำนวน 2 รูป ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน (แต่ตอนไปรับวีซ่า เจ้าหน้าที่จะคืนมาให้รูปนึง)
5.    หนังสือรับรองจากธนาคาร หลักฐานการเงินเป็นภาษาอังกฤษ
       ตอนแรกก็งงว่ามันคืออะไร เลยบอก จนท. ธนาคารว่าอยากได้หลักฐานทางการเงินเพื่อเอาไปยื่นวีซ่า จนท.ธนาคารจะขอ Book bank ตัวจริงของบัญชีที่เราต้องการให้ออกเอกสาร และให้เรากรอกข้อมูลว่าต้องการนำไปใช้เพื่อยื่นขอวีซ่าที่ประเทศไหน แล้วจะ จนท. ธนาคานจะออกเอกสารมาให้ 1 ใบ มีรายละเอียดว่า เงินในบัญชีนั้นๆ ของเรา มีจำนวนเงินเป็นตัวเลขกี่หลัก และอยู่ในช่วง Low (1-3), Medium (4-6) หรือ High (7-9) เช่น ถ้าเรามีเงินในบัญชี 300,000 บาท เอกสารจะโชว์ว่า เรามีเงินในบัญชี 6 หลัก เป็นแบบ Low โดยไม่บอกว่าเรามีเงินอยู่ในบัญชีจริงๆ เท่าไหร่ (ตอนไปทำเอกสารกลัวยื่นวีซ่าไม่ผ่าน เลยขอยืมเงินพี่มาให้ครบ 100,000 พอดี แล้วค่อยคืน)
6.   หลักฐานการทำงาน
      - จดหมายรับรองการทำงาน (ภาษาอังกฤษ) หรือ
      - หนังสือจดทะเบียนธุรกิจ หรือหนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ
      - จดหมายรับรองจากสถาบันการศึกษา (ภาษาอังกฤษ)
7.    สำเนารายละเอียดของเที่ยวบินและ / หรือ สำนาตั๋วเครื่องบิน ในกรณีที่ซื้อแล้ว
8.    หลักฐานการจองที่พัก/โรงแรม (ตอนไปยื่นจองที่พักไว้ครบทุกวันแล้ว แต่จองแบบสามารถยกเลิกที่หลังได้ เลยยื่นรายละเอียดของที่พักทุกเมืองเลยคะ)
10.  หนังสือหรือจดหมายเชิญจากบริษัทหรือหน่วยงานในประเทศโมรอคโค (สำหรับวีซ่าธุรกิจ)
11.  รายละเอียดแผนการเดินทางท่องเที่ยวในโมร็อคโค (ทำเป็นตารางคร่าวๆ ว่าวันไหนไปเมืองไหนบ้างคะ)
ไม่มีข้อบังคับในการฉีดวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศโมร็อคโค


การแต่งกาย
ด้วยความที่ Morocco เป็นประเทศมุสลิม การแต่งกายจึงควรมิดชิด (กางเกงควรเป็นขายาว ส่วนเสื้อถ้าเป็นแขนยาวได้ควรใส่แขนยาว พอดีตอนไปยังหนาวอยู่ก็ใส่แขนสั้นข้างในแล้วใส่เสื้อหนาวตลอดคะ) แต่ไม่ต้องถึงกับคลุมหน้า เพราะส่วนใหญ่เมืองที่ไปจะเป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่ได้เคร่งมากนัก


สกุลเงิน
Morocco ใช้สกุลเงิน Dirham (เดียร์แฮม) (MAD) ให้ระวังเวลาหาข้อมูลในเน็ตนะคะ เพราะสกุลเงิน Dirham มีใช้ที่อาหรับเอมิเรตส์ Arub Emirates (AED) ด้วย ซึ่งค่าเงินเวลาแลกจะไม่เท่ากัน เดี๋ยวจะประมาณค่าใช้จ่ายในการเดินทางผิด (เหมือน จขกท.)

การแลกเงินแนะนำให้แลกเงินไทยเป็นเงิน Euro แล้วค่อยแลก Euro เป็น MAD อีกที  ตอนที่ไปอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 44.95 บาท/Euro และ 10.71 MAD/Euro ตีคร่าวๆ ก็ประมาณ 5 MAD/บาท

ก่อนไปอ่านข้อมูลในเน็ต ส่วนใหญ่แนะนำให้และที่สนามบินเลย แต่จากที่ไป ตามเมืองใหญ่ๆ จะมีร้านรับแลกเงินซึ่งให้ Rate ดีกว่าที่สนามบิน ซึ่ง จขกท. ไปแลกเงินที่ Fes ได้ Rate 10.96 MAD/Euro ส่วนที่ Casablanca เดินผ่านหน้าร้านรับแลกเงิน Rate อยู่ที่ 11.05 MAD/Euro แล้วโรงแรมที่ไปพักส่วนใหญ่จะใช้ Rate 11 MAD/Euro เพราะฉะนั้น แนะนำให้แลกเงินเพื่อใช้เป็นค่าเดินทางและค่าอาหารเล็กๆ น้อย ตอนก่อนออกจากสนามบิน แล้วร้านแลกเงินด้านนอกดีกว่า ส่วนค่าโรงแรม ถ้าจ่ายเป็น MAD ได้ก็ให้จ่ายเป็น MAD ดีกว่า แต่ถ้าไม่อยากแลกเป็น MAD มากนัก โรงแรมส่วนใหญ่ก็ยินดีที่จะให้จ่าย Euro คะ



ภาษา
ภาษาราชการ คือ ภาษาอาหรับ และภาษาฝรั่งเศส แนะนำให้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสพื้นฐานไป เพราะออกเสียงง่ายกว่าภาษาอาหรับ ส่วนภาษาอังกฤษคนส่วนใหญ่ที่ Morocco พูดไม่ได้และไม่เข้าใจเลย แม้จะเป็นตามเมืองท่องเที่ยวหรือ จนท. โรงแรม (มีส่วนน้อยมากๆ ที่สามารถสื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษได้) ซึ่ง จขกท. ชะล่าใจว่ายังไงๆ จนท. โรงแรมต้องพูดได้บ้างแหล่ะ เลยไม่ได้เตรียมภาษาฝรั่งเศสไปเลย (แต่เตรียมภาษาอาหรับไปนิดหน่อยซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย เพราะออกเสียงไม่ถูก ร้องไห้

แล้วก็เกิดเรื่องฮาๆ ตอนอยู่ที่ Marakesh (มาราเกซ) เพราะขอ Hot water แต่ จนท. โรงแรงชี้ไปที่ตู้เย็น จขกท. ต้องชี้ไปที่เตาไฟ ถึงได้น้ำร้อนมากิน แต่ที่ทำเอาตึ๊บไปเลยคือ ตอนที่จะออกจากโรงแรม ก็บอก จนท. โรงแรมว่า จะ Check out… จนท. โรงแรมถามกลับมาว่า “What is check out?” เล่นเอาฮา จนต้องไปขอให้นักท่องเที่ยวเยอรมันที่มาพักที่นั่น ซึ่งพอพูดภาษาฝรั่งเศสได้นิดหน่อย (นิดหน่อยมากๆ) ช่วยคุยแทนให้ แต่นักท่องเที่ยวเยอรมันก็ตึ๊บเหมือนกัน เพราะไม่รู้ว่า check out ภาษาฝรั่งเศสพูดว่าอะไร เลยใช้ภาษาฝรั่งเศสที่หมายถึง Departure แทน จนท. ถึงเข้าใจ ยิ้ม


ลักษณะการท่องเที่ยว
เช่ารถพร้อมคนขับเหมาตลอดทริป รวมค่าน้ำมันแล้ว พร้อมไกด์ที่เมือง Fes (เฟซ) ที่เลือกวิธีเที่ยวแบบนี้เพราะ สามารถจอดรถเพื่อถ่ายรูประหว่างทางได้ตลอด และการเดินทางระหว่างเมืองใน Morocco นั้นไม่สะดวกนัก คนขับรถทริปนี้ ชื่อ Ali (อาลี) คะ พูดภาษาอังกฤษได้ดี และสามารถอธิบายสถานที่ต่างๆ ดี
โดยรถโดยสารมี 4 แบบ คือ
   - City bus เป็นรถบัสคันใหญ่ติดแอร์สีขาว (เหมือนรถ ป.1 บ้านเรา) มี 1 – 2 รอบต่อวัน แล้วแต่เมือง
   - Minibus เป็นรถบัสคันเล็กติดแอร์ นั่งได้ประมาณ 15 คน มีทุก 1-2 ช.ม. แล้วแต่เมือง
   - Grand taxi เป็นรถเบนซ์คันเล็ก นั่งได้ประมาณ 4-5 คน มีตลอดเวลา แต่แพงมาก เป็นแบบแชร์กัน เหมือนรถโดยสารบ้านเรา โบกขึ้นนั่งรวมๆ กันไป
   - Petit taxi เป็น taxi meter ในเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น นั่งได้ประมาณ 3-4 คน มีตลอดเวลา เป็นแบบแชร์กัน ในรถจะมี Meter หลายตัว แบ่งกัน ใครนั่งสั้น ก็หารน้อย ใครนั่งยาวก็หารมาก ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 7 MAD

ทริปนี้ใช้บริการของ Your Morocco Tour ที่ Morocco ซึ่งติดต่อผ่านบริษัททัวร์ในเมืองไทยชื่อ Travel Wizard ค่ะ โดยทำรายละเอียดการเดินทางคร่าวๆ ว่าต้องการไปเมืองไหนบ้าง ระยะเวลากี่วัน เพื่อให้บริษัททัวร์เสนอราคามา โดยรถที่ใช้มีสองแบบ คือ Toyota Fortuner หรือ รถ Hyundai Minivan ซึ่งทริปนี้ได้ รถ Minivan มา เป็นที่นั่งด้านหลังคนขับสองตอน รู้สึกนั่งสบายและขึ้นลงสะดวกกว่า Fortuner แนะนำว่าควรไปไม่เกิน 5 คนเพราะจะได้ไม่เบียดมาก และจะได้มีที่เหลือไว้วางของด้วย

ราคาที่ได้มาคือ 130 Euro/คน สำหรับ 4-6 คน แต่ทริปนี้ไป 3 คน ราคา 200 Euro/คน
ค่าทริปในทะเลทราย Sahara (ซาฮาร่า) 45 Euro/คน (สำหรับ Standard trip) ก็ซื้อเพิ่มจากราคาด้านบนจากบริษัทนี้คะ

Sahara trip คือ การขี่อูฐเข้าไปพักใน Oasis Clamp ในทะเลทรายซาฮาร่า มีสองแบบ คือ แบบ Standard กับ Exclusive ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของ Oasis แต่ละแห่งในทะเลทราย จะสร้างโรงแรมไว้ริมทำเลทรายเพื่อเป็นจุดขึ้นอูฐคะ ทั้งสองแบบ รวมค่าคนจูงอูฐ (ได้นั่งอูฐคนละตัว) และอาหารเย็นที่แคมป์ ส่วนอาหารเช้าของวันรุ่งขึ้นกลับมาทานที่โรงแรมที่เขาไปขึ้นอูฐคะ

แบบ Standard เป็นแคมป์แบบที่มีเต็นท์ที่พักอยู่รอบๆ แล้วตรงกลางเป็นลานกว้างๆ สำหรับพักผ่อนหรือทานอาหาร มีห้องสุขารวมตั้งแยกออกจากแคมป์ไปประมาณ 30 ม. ไม่มีห้องอาบน้ำแต่สามารถกลับมาอาบน้ำที่โรงแรมที่ขึ้นอูฐได้ (ช่วงที่ไปยังหนาวอยู่ ไม่ค่อยมีเหงื่อ เลยไม่เหม็นตัวเองเท่าไหร่) ที่พักสร้างจากโครงไม้ แล้วเอาผ้าหนาๆ (คล้ายๆ ผ้ากระสอบ) คลุมเป็นผนังกับหลังคา ด้านในมีเตียงให้นอนพร้อมหมอนและผ้าห่ม (อย่างหนา กันหนาวได้ดี) พร้อมไฟหนึ่งดวง ไม่มีปลั๊กไฟให้ชาร์จแบต แต่บอกคนจูงอูฐ (ที่เป็นไกด์, คนทำอาหารและนักดนตรีในคนเดียวกัน) ว่าขอฝากไปชาร์จแบตที่ห้องครัวได้

แบบ Exclusive เป็นแคมป์ที่มีที่พักดีขึ้นมาหน่อย มีห้องอาบน้ำในตัว ราคาประมาณ 150 Euro/คน
ทั้งสองแบบ รวมค่าคนจูงอูฐ (ได้นั่งอูฐคนละตัว) และอาหารเย็นที่แคมป์ ส่วนอาหารเช้าของวันรุ่งขึ้นกลับมาทานที่โรงแรมที่เขาไปขึ้นอูฐคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่