รายงานจากเยอรมันชี้ ใช้ลินุกส์ ค่าใช้จ่ายรวมน้อยกว่า ซ้ำยังปลอดดภัยกว่า

เมืองมิวนิกเปลี่ยนพีซี 15,000 เครื่องจากวินโดวส์เป็นลินุกซ์ได้อย่างไร

เมืองมิวนิกเป็นตัวอย่างของการย้ายเครื่องจำนวนมาก
มาเป็นลินุกซ์ในครั้งเดียว โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่เป็น
ไอเดียในปี 2001 มาจนถึงคงทุกวันนี้ มีคอมพิวเตอร์
ที่ย้ายมาแล้วถึง 15,000 เครื่อง นิตยสาร LinuxVoice
รายงานถึงกระบวนการย้ายซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่เช่นนี้
ว่าทำได้อย่างไร

ในปี 2001 ลินุกซ์ยังไม่พร้อมสำหรับการใช้งานเดสก์ทอปนัก
ทั้ง Gnome และ KDE ต่างมีข้อจำกัดหลายอย่างเทียบกับ
วินโดวส์ แต่สมาชิกคณะกรรมการเมืองมิวนิก
(Munich city council) คนหนึ่งก็ออกความเห็นว่า
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหาซอฟต์แวร์มาแทนที่ซอฟต์แวร์
ของไมโครซอฟท์ จากคำถามนี้ทางกรรมการเมือง
ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาสำรวจความเป็นไปได้
โดยศึกษาห้าหนทางของระบบไอที เช่น
ไมโครซอฟท์ทั้งระบบ, วินโดวส์ร่วมกับ OpenOffice,
ลินุกซ์ร่วมกับ OpenOffice และทางอื่นๆ จนเหลือเพียง
สองตัวเลือก คือจะอยู่กับวินโดวส์ต่อไป
และอัพเกรดระบบทั้งหมดไป Windows XP หรือ
จะย้ายไปลินุกซ์และใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งหมด

รายงานการศึกษาระบุชัดเจนแต่แรกว่า
การใช้งานไมโครซอฟท์ทั้งชุดนั้นค่าใช้จ่ายถูกกว่า
โดยรายงานรวมค่าบำรุงรักษา 5 ปี ค่าใช้จ่าย
ในการย้ายระบบ, ค่าทีมเทคนิคที่ซัพพอร์ต,
และค่าฮาร์ดแวร์ แต่ความได้เปรียบสำคัญคือ
ความปลอดภัย เมื่อมีการสอบถามไปยังไมโครซอฟท์ว่า
มีซอฟต์แวร์ใดส่งข้อมูลกลับบริษัทบ้างหรือไม่
ไมโครซอฟท์กลับไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน
ในแง่ความโปร่งใสแล้วลินุกซ์จึงดีกว่ามาก
ขณะเดียวกันนักการเมืองและพรรคการเมือง
ของเยอรมันเองก็ต้องการสนับสนุนบริษัทท้องถิ่น
แทนที่จะส่งเงินไปยังบริษัทสหรัฐฯ อย่างไมโครซอฟท์
เสียงสนับสนุนเพิ่มเติมจึงมาจากเหตุผลที่ว่า
การใช้ลินุกซ์จะช่วยอุตสาหกรรมไอทีท้องถิ่น
และการซัพพอร์ตจะเป็นการจ่ายเงินให้บริษัทท้องถิ่นเอง

กระบวนการศึกษาเริ่มชัดเจนในปี 2003
และกรรมการเมืองเตรียมจะโหวตว่า
จะเปลี่ยนไปใช้ลินุกซ์หรือไม่ ปีนั้นสตีฟ บอลเมอร์
ถึงกับบินไปเยอรมันเพื่อพบนายกเทศมนตรีเมืองมิวนิก
แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม สมาชิกกรรมการเมืองคนหนึ่ง
ถึงกับแสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจน สุดท้าย
เมื่อมีการโหวต กรรมการเมืองก็เลือกลินุกซ์

ทีมงานเริ่มวางระบบทดสอบในปี 2004
(สามปีหลังการศึกษาครั้งแรก) มีบริษัทเสนอโซลูชั่น
เข้ามาถึงสิบบริษัทกับอีกหนึ่งกลุ่มบริษัทซึ่งชนะไปในที่สุด
กลุ่มบริษัทนั้นคือ Gonicus และ Softcon ทั้งสองบริษัท
ให้คำปรึกษาขณะที่ทางกรรมการเมือง
จ้างพนักงานเทคนิคเองอีก 13 คนมาทำงานในโครงการ LiMux
เริ่มแรกโครงการ LiMux ใช้ Debian เวอร์ชั่นพิเศษ
ที่ปรับแต่งเอง จากความเสถียร แต่ปรากฎว่า
เมื่อทดสอบในปี 2006 กลับพบว่า Debian
ทำงานกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ได้ไม่ดีนัก
และรอบการออกรุ่นใหม่ของ Debian
ก็ไม่ชัดเจนทำให้วางแผนระบบไอทีได้ยาก
ทีมงานตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ Kubuntu
ด้วยเหตุผลว่ามันมีหน้าตาคล้ายวินโดวส์เดิม
และมีรอบการออกใหม่ที่ชัดเจนกว่า

ข่าวร้ายคือผู้ใช้ส่วนมากไม่ยอมเปลี่ยนแม้หน้าจอ
จะคล้ายของเดิมแล้วก็ตาม ผู้ใช้บางคนบ่น
กระทั่งสีของไอคอนที่เปลี่ยนไป ทีมงาน LiMux
ต้องค่อยๆ ประชาสัมพันธ์โครงการไปเรื่อยๆ
จัดประชุมสัมมนา รวมถึงจัด "โซนไร้ไมโครซอฟท์"
ไว้ให้ผู้ใช้เข้ามาลองเล่นลินุกซ์กัน
โดยมีเป้าหมายว่าให้ผู้ใช้ได้จับลินุกซ์ก่อนจะต้อง
ใช้งานจริงสองปีล่วงหน้า

ปัญหาจริงที่พบมีตั้งแต่ปัญหาความเข้าใจ เช่น
ผู้ใช้บางคนคิดว่าลินุกซ์ต้องพิมพ์แบบ command line
เท่านั้น ผู้ใช้บางคนต้องใช้งานเอกสารในฟลอบปี้ดิสก์
ทีมงานก็ต้องสาธิตให้ดูว่าสามารถเปิดเอกสารเดิม
มาใช้งานได้จริง

การย้ายระบบนั้นแต่ละหน่วยงานเป็นผู้ย้ายระบบกันเอง
โดยไม่มีกำหนดเส้นตายชัดเจน เมื่อหน่วยงานใดตัดสินใจ
เริ่มย้ายระบบ ทีม LiMux ก็จะลงไปช่วยดูแลการย้าย
ทีมงานพบว่าเครื่องวินโดวส์ที่จะย้ายข้อมูลออกมานั้น
มีความต้องการมากกว่า 50 แบบ เมื่อการย้ายในหน่วยงานหนึ่งเสร็จ
อีกหน่วยงานก็มักมีความต้องการต่างออกไป
แต่โดยรวมเมื่อผู้ใช้มาใช้ LiMux กระบวนการซัพพอร์ตก็ง่ายขึ้น
ทีมงานพัฒนาสามารถออกรุ่นใหม่ และให้ความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น
เพราะพื้นฐานทุกเครื่องเป็น LiMux เหมือนกันหมด

แม้ว่าเหตุผลหลักที่เลือกลินุกซ์จะไม่ใช่เพื่อประหยัดงบประมาณ
แต่ทีมงานก็ออกรายงานเปรียบเทียบว่าการใช้ลินุกซ์กับการย้ายไป
Windows XP ในตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร
และสรุปผลว่างบประมาณทั้งหมดประหยัดไป 10 ล้านยูโร
ขณะที่เอชพีเคยออกรายงานระบุว่าการที่เมืองมิวนิกย้ายมาใช้
ลินุกซ์นี้มีค่าใช้จ่ายถึง 60 ล้านยูโร และจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 17
ล้านยูโรหากใช้ Windows XP ทีมงาน LiMux ติดต่อเอชพี
เพื่อขอกระบวนการคำนวณแต่กลับไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน

ความสำเร็จของเมืองมิวนิกประกอบไปด้วยหลายส่วนประกอบกัน
ความพยายามเลียนแบบเมืองมิวนิกในยุโรปกลับล้มเหลวหลายครั้ง
เช่น Wienux สำหรับเมืองเวียนนา กลับไม่ได้รับการสนับสนุน
จากฝ่ายการเมืองเท่าที่ควร หัวหน้าโครงการ LiMux
ระบุว่าโครงการระดับนี้ต้องการรับการสนับสนุนจาก
ฝ่ายการเมืองส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพียงกลุ่มที่เข้าใจเหตุผลทางเทคนิคไม่กี่คน

หมายเหตุ: บทความนี้แปลและเรียบเรียงจาก บทความ "The Big Switch"
นิตยสาร LinuxVoice ฉบับพฤษภาคม 2014 ทาง LinuxVoice
ระบุให้บทความนี้เป็นสัญญาอนุญาต Creative Commons (BY-SA)

ขอบพระคุณบล็อคนั้น ครับ
https://www.blognone.com/node/56123




ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีน เยอรมัน ไปจนถึงเวียดนาม
ให้การสนับสนุน OSS เต็มที่ แต่วิสัยทัศน์ของประเทศเสพติดไอที
บางประเทศที่อยู่เหนือมาเลเซีย กลับ !@#$%^&*()(*&^%#$%%^&^

มิน่าเวียดนามถึงมีบทความในวิกิพีเดียมากกว่า
คงเพราะเค้าใจกว้างที่จะรับสิ่งใหม่ๆ
ถึงได้มีความรู้ใหม่ๆ ไปลงใน wikipedia ได้เรื่อยๆหน่ะสิ

บะหมี่เพี้ยนกินมาม่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่