พระ 25 พุทธศตวรรษ เป็นพระเครื่องที่มี พิธีพุทธาภิเษก ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปเป็นประธานในพิธี และกดปั๊มพิมพ์พระเครื่องนำฤกษ์อีกด้วย
ปีที่มีการฉลอง 'พุทธชยันตี' 2,600 ปี 'ชย' คือ ชัยชนะ หมาย ถึงครบรอบการที่พระพุทธเจ้า มีชัยชนะเหนือหมู่มาร ได้แก่การตรัสรู้ปราบพญา วสวัสตีมารา ย้อนไปในปี 2500 มีงานใหญ่โตมโหฬารงานหนึ่ง ในครั้งแรกที่เริ่มมีแนวคิดจัดงาน จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะให้เรียกว่างานฉลองกึ่งพุทธกาล แต่มีคนคัดค้านว่าฟังแล้วเหมือนบอกเป็นนัยว่า พระพุทธศาสนามาถึงครึ่งทางแล้ว เหลืออีกแค่ครึ่งทาง เลยมีการตั้งชื่อใหม่ว่างานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
วัตถุประสงค์ของงานในครั้งนั้นคือ ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของโลก นอกจากนั้นยังมีแผนสร้างพุทธมณฑลที่สระบุรี มีการสร้างพระเครื่องปางลีลาหลายชนิด มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และที่สำคัญองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปเป็นประธานในพิธีและกดปั๊มพิมพ์พระเครื่องนำฤกษ์อีกด้วย
พระเครื่องส่วนใหญ่ที่สร้างจะเป็น เนื้อชินตะกั่ว และเนื้อดิน โดยสร้างพระเครื่องเกือบสองล้านห้าแสนองค์ ในตอนนั้นประชาชนทั้งประเทศมีประมาณห้าล้านคน คือท่านคาดหวังว่าคนไทยเกือบทั้งประเทศ จะมาช่วยกันเช่าพระเครื่องจนหมด และปัจจุบันก็ยังมีพระเครื่องรุ่นนี้ให้เห็นมากพอสมควร เช่น เนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของ ดีบุก ตะกั่ว พลวง ทำให้องค์พระมีประกายวาว คล้ายปรอท แถมบล็อกยังแตกออกเป็นที่นิยมมีเข็มซึ่งเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายแท่งเข็มใต้บัว กับพิมพ์ไม่มีเข็ม ก็เป็นที่เล่นหากัน ส่วนพระเนื้อดินนั้นสวยงามด้วยขนาดสีสันวรรณะมีหลากหลายสีโดยเนื้อดินนำมา จากทะเลสาบสงขลา ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์และดินศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
ที่สำคัญมีการสร้างพระเครื่องเนื้อทองคำ 2,500 องค์ หนัก 6 สลึง บูชาองค์ละ 25,000 บาท และมีเงื่อนไขพิเศษคือ ให้ผ่อนได้ ซึ่งข้าราชการสมัยนั้น ถูกร้องขอและบังคับให้ผ่อนเช่าพระเครื่องกันแทบทุกคน รวมทั้งประชาชนที่ไปทำธุระกับหน่วยงานราชการต่างๆด้วย
นอกจากพระเครื่องที่เป็น พระปางลีลา แล้ว ก็จะมีเหรียญรูปใบเสมา ซึ่งที่จริงเป็นเหรียญของกองกษาปณ์ที่สร้างมาสมทบ ที่จริงพระ 25 พุทธศตวรรษนี้ยังมีเนื้อนาก และเนื้อเงิน อีกด้วย ซึ่งพระเครื่องที่เป็นเนื้อนากและเนื้อเงิน สร้างไม่มาก เลยทำให้หายากมาก และเพราะความหายาก ทำให้ราคาพุ่งขึ้นเป็นหลักแสนแล้วในตอนนี้
'พระ 25 พุทธศตวรรษ' มีทั้งหมด 5 เนื้อไล่ตั้งแต่เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อชินตะกั่วและเนื้อผง ซึ่งมีข้อสังเกตคือ ถ้าเป็นของแท้ ผิวด้านหน้าของพระเครื่อง จะตึงแน่นเป็นประกายมองดูคล้ายเส้นรัศมี กระจายออกจากองค์พระ อันเกิดจากแรงกระแทกของเครื่องปั๊มสมัยก่อนนั่นเอง
เนื้อทองคำมีแม่พิมพ์เดียว แล้วบล็อกไม่แตก จึงไม่มีเข็มใต้ฐานบัวปรากฏอยู่ ส่วนเนื้อชิน ให้สังเกตรอยเส้นที่แล่นผ่านยันต์ด้านหลังขององค์พระเป็นสำคัญ และให้ดูเนื้อเล่นเนื้อมันๆ วาวๆ เพราะดีบุกผสมตะกั่ว ดีกว่าเล่นเนื้อดำ ที่สำคัญขอบข้างองค์พระเนื้อโลหะทั้งหมดจะไม่บางมาก เพราะเป็นพระเครื่องที่ใช้การปั๊มแบบสมัยใหม่ คือใช้แรงกระแทกตัดโลหะ แต่ไม่ได้ทำให้ขอบยุบ
สำหรับพระเครื่องที่เป็นเนื้อผง ได้มีการสร้างเป็นจำนวนมาก และก็เหลือเป็นจำนวนมาก จึงมีการนำไปบรรจุกรุ ส่งผลให้ในปัจจุบันจะพบองค์พระที่มีคราบไคล และองค์พระจะหดตัวลงเล็กน้อย เมื่อนำมาเทียบกับพระเครื่ององค์ที่ไม่ได้เข้ากรุ ส่วนเรื่องพุทธคุณ มีเรื่องเล่าว่า มีนักโทษห้า-หกคน มีอาวุธปืน แหกคุกออกมา แล้วยิงใส่ผู้คุมที่ทัด พระ 25 พุทธศตวรรษ ไว้หลังหู ปรากฏว่าไม่มีการระคายผิวหนัง นักเลงพระเครื่องในอดีต จะตามเก็บ พระ 25 พุทธศตวรรษ กันทุกคน
ที่มา :
http://www.pha-dd.com/article-57-พระเครื่องกึ่งพุทธกาล!พระ25พุทธศตวรรษ
ประวัติพระเครื่องเงินล้าน
http://www.pha-dd.com/all-article.php
พระเครื่องกึ่งพุทธกาล! พระ 25 พุทธศตวรรษ
พระ 25 พุทธศตวรรษ เป็นพระเครื่องที่มี พิธีพุทธาภิเษก ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปเป็นประธานในพิธี และกดปั๊มพิมพ์พระเครื่องนำฤกษ์อีกด้วย
ปีที่มีการฉลอง 'พุทธชยันตี' 2,600 ปี 'ชย' คือ ชัยชนะ หมาย ถึงครบรอบการที่พระพุทธเจ้า มีชัยชนะเหนือหมู่มาร ได้แก่การตรัสรู้ปราบพญา วสวัสตีมารา ย้อนไปในปี 2500 มีงานใหญ่โตมโหฬารงานหนึ่ง ในครั้งแรกที่เริ่มมีแนวคิดจัดงาน จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะให้เรียกว่างานฉลองกึ่งพุทธกาล แต่มีคนคัดค้านว่าฟังแล้วเหมือนบอกเป็นนัยว่า พระพุทธศาสนามาถึงครึ่งทางแล้ว เหลืออีกแค่ครึ่งทาง เลยมีการตั้งชื่อใหม่ว่างานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
วัตถุประสงค์ของงานในครั้งนั้นคือ ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของโลก นอกจากนั้นยังมีแผนสร้างพุทธมณฑลที่สระบุรี มีการสร้างพระเครื่องปางลีลาหลายชนิด มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และที่สำคัญองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปเป็นประธานในพิธีและกดปั๊มพิมพ์พระเครื่องนำฤกษ์อีกด้วย
พระเครื่องส่วนใหญ่ที่สร้างจะเป็น เนื้อชินตะกั่ว และเนื้อดิน โดยสร้างพระเครื่องเกือบสองล้านห้าแสนองค์ ในตอนนั้นประชาชนทั้งประเทศมีประมาณห้าล้านคน คือท่านคาดหวังว่าคนไทยเกือบทั้งประเทศ จะมาช่วยกันเช่าพระเครื่องจนหมด และปัจจุบันก็ยังมีพระเครื่องรุ่นนี้ให้เห็นมากพอสมควร เช่น เนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของ ดีบุก ตะกั่ว พลวง ทำให้องค์พระมีประกายวาว คล้ายปรอท แถมบล็อกยังแตกออกเป็นที่นิยมมีเข็มซึ่งเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายแท่งเข็มใต้บัว กับพิมพ์ไม่มีเข็ม ก็เป็นที่เล่นหากัน ส่วนพระเนื้อดินนั้นสวยงามด้วยขนาดสีสันวรรณะมีหลากหลายสีโดยเนื้อดินนำมา จากทะเลสาบสงขลา ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์และดินศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
ที่สำคัญมีการสร้างพระเครื่องเนื้อทองคำ 2,500 องค์ หนัก 6 สลึง บูชาองค์ละ 25,000 บาท และมีเงื่อนไขพิเศษคือ ให้ผ่อนได้ ซึ่งข้าราชการสมัยนั้น ถูกร้องขอและบังคับให้ผ่อนเช่าพระเครื่องกันแทบทุกคน รวมทั้งประชาชนที่ไปทำธุระกับหน่วยงานราชการต่างๆด้วย
นอกจากพระเครื่องที่เป็น พระปางลีลา แล้ว ก็จะมีเหรียญรูปใบเสมา ซึ่งที่จริงเป็นเหรียญของกองกษาปณ์ที่สร้างมาสมทบ ที่จริงพระ 25 พุทธศตวรรษนี้ยังมีเนื้อนาก และเนื้อเงิน อีกด้วย ซึ่งพระเครื่องที่เป็นเนื้อนากและเนื้อเงิน สร้างไม่มาก เลยทำให้หายากมาก และเพราะความหายาก ทำให้ราคาพุ่งขึ้นเป็นหลักแสนแล้วในตอนนี้
'พระ 25 พุทธศตวรรษ' มีทั้งหมด 5 เนื้อไล่ตั้งแต่เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อชินตะกั่วและเนื้อผง ซึ่งมีข้อสังเกตคือ ถ้าเป็นของแท้ ผิวด้านหน้าของพระเครื่อง จะตึงแน่นเป็นประกายมองดูคล้ายเส้นรัศมี กระจายออกจากองค์พระ อันเกิดจากแรงกระแทกของเครื่องปั๊มสมัยก่อนนั่นเอง
เนื้อทองคำมีแม่พิมพ์เดียว แล้วบล็อกไม่แตก จึงไม่มีเข็มใต้ฐานบัวปรากฏอยู่ ส่วนเนื้อชิน ให้สังเกตรอยเส้นที่แล่นผ่านยันต์ด้านหลังขององค์พระเป็นสำคัญ และให้ดูเนื้อเล่นเนื้อมันๆ วาวๆ เพราะดีบุกผสมตะกั่ว ดีกว่าเล่นเนื้อดำ ที่สำคัญขอบข้างองค์พระเนื้อโลหะทั้งหมดจะไม่บางมาก เพราะเป็นพระเครื่องที่ใช้การปั๊มแบบสมัยใหม่ คือใช้แรงกระแทกตัดโลหะ แต่ไม่ได้ทำให้ขอบยุบ
สำหรับพระเครื่องที่เป็นเนื้อผง ได้มีการสร้างเป็นจำนวนมาก และก็เหลือเป็นจำนวนมาก จึงมีการนำไปบรรจุกรุ ส่งผลให้ในปัจจุบันจะพบองค์พระที่มีคราบไคล และองค์พระจะหดตัวลงเล็กน้อย เมื่อนำมาเทียบกับพระเครื่ององค์ที่ไม่ได้เข้ากรุ ส่วนเรื่องพุทธคุณ มีเรื่องเล่าว่า มีนักโทษห้า-หกคน มีอาวุธปืน แหกคุกออกมา แล้วยิงใส่ผู้คุมที่ทัด พระ 25 พุทธศตวรรษ ไว้หลังหู ปรากฏว่าไม่มีการระคายผิวหนัง นักเลงพระเครื่องในอดีต จะตามเก็บ พระ 25 พุทธศตวรรษ กันทุกคน
ที่มา : http://www.pha-dd.com/article-57-พระเครื่องกึ่งพุทธกาล!พระ25พุทธศตวรรษ
ประวัติพระเครื่องเงินล้าน http://www.pha-dd.com/all-article.php