ใน
ตอนที่แล้วผมได้บอกให้เห็นถึงความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง NGV / CNG / LNG ไปแล้ว พอดีมีเพื่อนๆทักท้วงเรื่องคำเต็มของ NGV ว่าแท้จริงแล้ว NGV ย่อมาจาก Natural Gas Vehicle ซึ่งแปลว่า “ยานพาหนะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง” ไม่ใช่ Natural Gas for Vehicle ที่แปลว่า “ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ” เอาเป็นว่าแตกต่างกันเล็กน้อยในรายละเอียดปลีกย่อยแต่สาระสำคัญคือ NGV ก็คือการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะ หรือรถยนต์นั่นเอง
ประเด็นที่ผมติดค้างเอาไว้ก็คือ การนำ LNG ไปใช้ประโยชน์นอกจากการระเหยให้ LNG เปลี่ยนจากสถานะเของเหลวไปเป็นสถานะก๊าซแล้วจึงนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งในการผลิตกระแสไฟฟ้า / ในโรงงานอุตสาหกรรม / และในรถยนต์ (NGV) ในตอนนี้เราจะมาดูการนำ LNG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องระเหยให้เป็นก๊าซแล้วค่อยขนส่งไปไม่ว่าจะทางระบบท่อหรือใส่รถบรรทุกกันครับ ก่อนอื่นผมอยากให้ทำความเข้าใจตามแผนภาพนี้ก่อน
ปกติแล้ว LNG ที่รับที่ท่าเรือนั้นจะถูกทำให้มีสถานะเป็นก๊าซก่อนแล้วจึงจะถูกส่งไปตามท่อเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่ส่งไปตามระบบท่อก๊าซนั่นเอง แต่ก็มีเหมือนกันที่อาจจะขนส่ง LNG (ไม่แปลงเป็นก๊าซก่อน) ไปยังที่ต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้อยู่ตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติ โดยการขนส่ง LNG นั้นจะขนส่งโดยรถที่มีถังประเภท Cryogenics ติดตั้งอยู่ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Cryogenics)ซึ่งเป็นถังชนิดพิเศษที่สามารถเก็บรักษาให้ LNG คงสถานะเป็นของเหลวได้ขณะขนส่ง (อุณหภูมิของน้ำก๊าซ LNG ติดลบประมาณ -162 °C) ตรงนี้ขอให้ทำความเข้าใจให้ดีนะครับระหว่างการขนส่ง LNG กับการขนส่ง CNG(หรือ NGV) เพื่อไปส่งตามปั๊ม NGV ต่างๆนั้น มันไม่เหมือนกันนะครับ (ดูรูปประกอบ)
สำหรับ LNG ที่ขนส่งผ่านรถที่มีถัง Cryogenics นั้นจะถูกนำไปเก็บต่อในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานีก๊าซที่มีถังบรรจุก๊าซชนิด Cryogenics อีกทีหนึ่ง ก่อนที่จะทำการระเหยให้มีสถานะเป็นก๊าซแล้วนำไปใช้งานเป็นเชื้อเพลิงต่อไป ดังรูป
นอกจากนี้ LNG ยังสามารถนำไปใช้ในยานพาหนะได้ด้วย เช่นในต่างประเทศก็มีรถยนต์ที่ติดตั้งถัง Cryogenics ไว้เพื่อนำ LNG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ดังรูป
สำหรับประเทศไทยนั้นในขณะนี้ก็มีการนำ LNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่ใช่กับรถยนต์ ยานพาหนะที่ว่านั่นคือเรือโดยสารในคลองแสนแสบนั่นเอง ใครที่โดยสารเรือในคลองแสนแสบบ่อยๆ หากมีเวลาลองเดินด้อมๆมองๆดูแถวๆห้องเครื่องยนต์ ก็คงจะได้เห็นเจ้าถัง Cryogenics ที่ว่านี่ติดตั้งไว้แน่นอนครับ
LNG เรือโดยสาร
NGV / CNG / LNG / ก๊าซธรรมชาติ ความเหมือนที่แตกต่าง ตอน2
ประเด็นที่ผมติดค้างเอาไว้ก็คือ การนำ LNG ไปใช้ประโยชน์นอกจากการระเหยให้ LNG เปลี่ยนจากสถานะเของเหลวไปเป็นสถานะก๊าซแล้วจึงนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งในการผลิตกระแสไฟฟ้า / ในโรงงานอุตสาหกรรม / และในรถยนต์ (NGV) ในตอนนี้เราจะมาดูการนำ LNG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องระเหยให้เป็นก๊าซแล้วค่อยขนส่งไปไม่ว่าจะทางระบบท่อหรือใส่รถบรรทุกกันครับ ก่อนอื่นผมอยากให้ทำความเข้าใจตามแผนภาพนี้ก่อน
ปกติแล้ว LNG ที่รับที่ท่าเรือนั้นจะถูกทำให้มีสถานะเป็นก๊าซก่อนแล้วจึงจะถูกส่งไปตามท่อเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่ส่งไปตามระบบท่อก๊าซนั่นเอง แต่ก็มีเหมือนกันที่อาจจะขนส่ง LNG (ไม่แปลงเป็นก๊าซก่อน) ไปยังที่ต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้อยู่ตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติ โดยการขนส่ง LNG นั้นจะขนส่งโดยรถที่มีถังประเภท Cryogenics ติดตั้งอยู่ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cryogenics)ซึ่งเป็นถังชนิดพิเศษที่สามารถเก็บรักษาให้ LNG คงสถานะเป็นของเหลวได้ขณะขนส่ง (อุณหภูมิของน้ำก๊าซ LNG ติดลบประมาณ -162 °C) ตรงนี้ขอให้ทำความเข้าใจให้ดีนะครับระหว่างการขนส่ง LNG กับการขนส่ง CNG(หรือ NGV) เพื่อไปส่งตามปั๊ม NGV ต่างๆนั้น มันไม่เหมือนกันนะครับ (ดูรูปประกอบ)
สำหรับ LNG ที่ขนส่งผ่านรถที่มีถัง Cryogenics นั้นจะถูกนำไปเก็บต่อในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานีก๊าซที่มีถังบรรจุก๊าซชนิด Cryogenics อีกทีหนึ่ง ก่อนที่จะทำการระเหยให้มีสถานะเป็นก๊าซแล้วนำไปใช้งานเป็นเชื้อเพลิงต่อไป ดังรูป
นอกจากนี้ LNG ยังสามารถนำไปใช้ในยานพาหนะได้ด้วย เช่นในต่างประเทศก็มีรถยนต์ที่ติดตั้งถัง Cryogenics ไว้เพื่อนำ LNG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ดังรูป
สำหรับประเทศไทยนั้นในขณะนี้ก็มีการนำ LNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่ใช่กับรถยนต์ ยานพาหนะที่ว่านั่นคือเรือโดยสารในคลองแสนแสบนั่นเอง ใครที่โดยสารเรือในคลองแสนแสบบ่อยๆ หากมีเวลาลองเดินด้อมๆมองๆดูแถวๆห้องเครื่องยนต์ ก็คงจะได้เห็นเจ้าถัง Cryogenics ที่ว่านี่ติดตั้งไว้แน่นอนครับ LNG เรือโดยสาร