อินเทลประกาศสงครามกับ ARM เต็มรูปแบบในปีที่แล้ว เมื่อโทรศัพท์ที่ใช้ชิปอินเทลเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ในบ้านเราที่เพิ่งประกาศตัวไปก็มี
ASUS ZenFone ในงาน Tech Day ของบริษัท Rod Watt วิศวกรที่ทำงานด้านการตลาดก็ออกรายงานว่า ARM ยังคงนำอินเทลโดยเฉพาะความได้เปรียบที่สามารถรันแอพพลิเคชั่นแบบเนทีฟ
รายงานสำรวจแอพพลิเคชั่นยอดนิยม 100 อันดับแรกของสหรัฐฯ บนแอนดรอยด์ พร้อมกับ 25 อันดับแรกของเกมฟรี, เกมจ่ายเงิน, แอพฟรี, และแอพจ่ายเงิน เมื่อกลางปี 2013 และต้นปี 2014 พบว่าสัดส่วนแอพพลิเคชั่นที่รองรับ x86 แบบเนทีฟนั้นกลับลดลงจากเดิม 30% เหลือเพียง 23% เท่านั้น ขณะที่แอพพลิเคชั่นที่รันแบบเนทีฟบน ARM และต้องแปลงโค้ดมารันบน x86 กลับเพิ่มจาก 42% มาเป็น 44% ยิ่งกว่านั้นแอพพลิเคชั่นที่มีปัญหาจนรันไม่ได้เลยก็เพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 9%
ARM เน้นปัญหาว่าหากแอพพลิเคชั่นที่ลูกค้าใช้งานต้องแปลงโค้ดแม้จะรันได้ แต่ชิป x86 จะกินพลังงานสูงขึ้นถึง 87% ขณะที่ประสิทธิภาพจะลดลง 40% โดยใช้ Geekbench 3.1.4 เป็นตัวทดสอบ
ประเด็นการแปลงโค้ดแล้วกินพลังงานเพิ่มขึ้นคนทำงานเทคนิคคงรับรู้กันอยู่แล้ว ความน่ากลัวของการแปลงโค้ดคือการแปลงจะไม่สำเร็จและแอพพลิเคชั่นจะรันไม่ได้มากกว่า แต่งานนี้ ARM ก็ "ย้ำแผล" ที่อินเทลมีจุดอ่อนแม้จะพัฒนาประสิทธิภาพของซีพียูและอัตราการใช้พลังงานไล่มาได้อย่างรวดเร็วก็ตาม
ที่มา -
The Register ผ่าน
Blognone
ARM ย้ำจุดอ่อนชิป Intel แอพจำนวนมากยังต้องแปลงโค้ดทำให้เสียประสิทธิภาพ บางแอพมีปัญหาจนรันไม่ได้ (เช่น ASUS ZenFone)
อินเทลประกาศสงครามกับ ARM เต็มรูปแบบในปีที่แล้ว เมื่อโทรศัพท์ที่ใช้ชิปอินเทลเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ในบ้านเราที่เพิ่งประกาศตัวไปก็มี ASUS ZenFone ในงาน Tech Day ของบริษัท Rod Watt วิศวกรที่ทำงานด้านการตลาดก็ออกรายงานว่า ARM ยังคงนำอินเทลโดยเฉพาะความได้เปรียบที่สามารถรันแอพพลิเคชั่นแบบเนทีฟ
รายงานสำรวจแอพพลิเคชั่นยอดนิยม 100 อันดับแรกของสหรัฐฯ บนแอนดรอยด์ พร้อมกับ 25 อันดับแรกของเกมฟรี, เกมจ่ายเงิน, แอพฟรี, และแอพจ่ายเงิน เมื่อกลางปี 2013 และต้นปี 2014 พบว่าสัดส่วนแอพพลิเคชั่นที่รองรับ x86 แบบเนทีฟนั้นกลับลดลงจากเดิม 30% เหลือเพียง 23% เท่านั้น ขณะที่แอพพลิเคชั่นที่รันแบบเนทีฟบน ARM และต้องแปลงโค้ดมารันบน x86 กลับเพิ่มจาก 42% มาเป็น 44% ยิ่งกว่านั้นแอพพลิเคชั่นที่มีปัญหาจนรันไม่ได้เลยก็เพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 9%
ARM เน้นปัญหาว่าหากแอพพลิเคชั่นที่ลูกค้าใช้งานต้องแปลงโค้ดแม้จะรันได้ แต่ชิป x86 จะกินพลังงานสูงขึ้นถึง 87% ขณะที่ประสิทธิภาพจะลดลง 40% โดยใช้ Geekbench 3.1.4 เป็นตัวทดสอบ
ประเด็นการแปลงโค้ดแล้วกินพลังงานเพิ่มขึ้นคนทำงานเทคนิคคงรับรู้กันอยู่แล้ว ความน่ากลัวของการแปลงโค้ดคือการแปลงจะไม่สำเร็จและแอพพลิเคชั่นจะรันไม่ได้มากกว่า แต่งานนี้ ARM ก็ "ย้ำแผล" ที่อินเทลมีจุดอ่อนแม้จะพัฒนาประสิทธิภาพของซีพียูและอัตราการใช้พลังงานไล่มาได้อย่างรวดเร็วก็ตาม
ที่มา - The Register ผ่าน Blognone