.
ผู้ใช้ตรรกะวิบัติอาจเป็นพวกโรคจิต
ตรรกะวิบัติ (Fallacy) หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการให้เหตุผลที่ผิดๆ กับสิ่งที่กำลังโต้แย้ง ซึ่งในความเป็นจริงเหตุผลที่ให้นั้นไม่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสิ่งที่กำลังโต้เถียงอยู่เลย หนำซ้ำยังอาจทำให้การโต้แย้งลุกลามใหญ่โตออกไปอีก เราจึงควรเรียนรู้และหลีกเลี่ยงที่จะใช้
นตำราเกี่ยวกับตรรกะศาสตร์ มีผู้จำแนกประเภทของตรรกะวิบัติ หรือที่ในพจนานุกรมใช้คำว่า เหตุผลวิบัติ ไว้มากมาย (ในบทความนี้จะขอใช้คำว่าตรรกะวิบัติ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ทั่วไปมากกว่าละกันนะครับ) อาจจะเพราะความไร้เหตุผลของมนุษย์นั้นมีเยอะมาก ต่อไปนี้คือตรรกะวิบัติเด่นๆ ที่พบได้บ่อยในการโต้แย้ง
ตรรกะวิบัติแบบโจมตีที่ตัวบุคคล
เป็นตรรกะวิบัติที่เน้นโจมตีคนพูดเป็นหลักโดยไม่สนใจเนื้อหา ตรรกะแบบนี้ผู้ที่ใช้มักจะลืมไปว่า “เหตุผลที่ถูกต้องก็คือถูกต้อง ไม่ว่าใครจะเป็นคนพูดก็คือถูกต้อง เหตุผลที่ไม่ถูกต้องใครเป็นคนพูดก็ไม่ถูกต้อง” ยกตัวอย่างเช่น ในยุคนี้ที่มีวิกฤตการเมืองแบ่งฝักแบ่งฝ่าย หากมีการพูดคุยเรื่องการเมืองเมื่อไหร่ คำถามแรกที่มาเลย “เป็นเสื้อสีไหน?” โดยไม่ต้องสนใจในเนื้อหาหรือหลักการและเหตุผลใดๆ การโจมตีที่ตัวบุคคลนี้ยังพบได้บ่อยในวงวิชาการที่มีอาจารย์หรือผู้ใหญ่จำนวนมากชอบพูดว่า “คำพูดของพวกเด็ก ๆ อย่าไปสนใจ/เชื่อไม่ได้” หรือ “คนพูดนะจบอะไรมา?” ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเด็นที่กำลังโต้เถียงกันอยู่เลยด้วยซ้ำ
ตรรกะวิบัติแบบแกก็ทำ
อันนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของตรรกะแบบโจมตีคนพูด แต่เป็นการโจมตีว่าอีกฝ่ายมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับสิ่งที่โต้แย้งอยู่ ดังนั้นสิ่งที่พูดจึงเชื่อไม่ได้ รูปแบบของตรรกะแบบนี้คือ
[นาย ก. เสนอความเห็น X]
[นาย ข. กล่าวถึงพฤติกรรมของนาย ก ที่เกี่ยวข้องกับความเห็น X]
[ดังนั้น ความเห็น นาย ก. จึงผิดหรือเชื่อถือไม่ได้]
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. “ดารา บ. เนี่ยไม่ไหวเลย อยู่ดีๆ ก็ออกมาด่าหมอแบบไม่มีเหตุผลใช้แต่ความรู้สึก” (เสนอความเห็น X นั่นคือสิ่งที่ดารา บ ทำไม่ถูก ไม่เหมาะสม)
นาย ข. “บ. เค้าเป็นคนดี ไอ้พวกที่วิจารณ์ๆ เค้าเนี่ย เคยช่วยเหลือสังคมได้อย่างพี่เค้ารึเปล่า” (โจมตีคนพูดว่า ไปบอกว่าสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดี แต่ตัวเองทำดีได้เท่าเค้ารึเปล่า) แต่ข้อสังเกตคือ คำตอบนี้ไม่ได้โต้แย้งว่าสิ่งที่ดารา บ. ทำนั้นเหมาะสมหรือไม่เลย
http://www.healthtoday.net/thailand/mental/mental_142.html
.....................................................................................................................................
อ่านเรื่องตรรกะวิบัติแล้วก็นึกถึง กปปส. พรรคประชาธิปัตยและนักวิชาการทั้งหลาย ที่ต้องการจะปฏิรูปประเทศ ถามสั้นๆ คุณจะเปลี่ยนความคิดของคนครึ่งประเทศอย่างไรช่วงข้ามคืนให้เขา คิด ทำ และยอมรับทำตามคุณ โดยที่พวกคุณไม่มีต้นทุนอะไรที่น่าเชื่อถือได้เลย นอกจากตรรกะวิบัติในตัวคุณ
...............................ตรรกะวิบัติ.....................
ผู้ใช้ตรรกะวิบัติอาจเป็นพวกโรคจิต
ตรรกะวิบัติ (Fallacy) หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการให้เหตุผลที่ผิดๆ กับสิ่งที่กำลังโต้แย้ง ซึ่งในความเป็นจริงเหตุผลที่ให้นั้นไม่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสิ่งที่กำลังโต้เถียงอยู่เลย หนำซ้ำยังอาจทำให้การโต้แย้งลุกลามใหญ่โตออกไปอีก เราจึงควรเรียนรู้และหลีกเลี่ยงที่จะใช้
นตำราเกี่ยวกับตรรกะศาสตร์ มีผู้จำแนกประเภทของตรรกะวิบัติ หรือที่ในพจนานุกรมใช้คำว่า เหตุผลวิบัติ ไว้มากมาย (ในบทความนี้จะขอใช้คำว่าตรรกะวิบัติ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ทั่วไปมากกว่าละกันนะครับ) อาจจะเพราะความไร้เหตุผลของมนุษย์นั้นมีเยอะมาก ต่อไปนี้คือตรรกะวิบัติเด่นๆ ที่พบได้บ่อยในการโต้แย้ง
ตรรกะวิบัติแบบโจมตีที่ตัวบุคคล
เป็นตรรกะวิบัติที่เน้นโจมตีคนพูดเป็นหลักโดยไม่สนใจเนื้อหา ตรรกะแบบนี้ผู้ที่ใช้มักจะลืมไปว่า “เหตุผลที่ถูกต้องก็คือถูกต้อง ไม่ว่าใครจะเป็นคนพูดก็คือถูกต้อง เหตุผลที่ไม่ถูกต้องใครเป็นคนพูดก็ไม่ถูกต้อง” ยกตัวอย่างเช่น ในยุคนี้ที่มีวิกฤตการเมืองแบ่งฝักแบ่งฝ่าย หากมีการพูดคุยเรื่องการเมืองเมื่อไหร่ คำถามแรกที่มาเลย “เป็นเสื้อสีไหน?” โดยไม่ต้องสนใจในเนื้อหาหรือหลักการและเหตุผลใดๆ การโจมตีที่ตัวบุคคลนี้ยังพบได้บ่อยในวงวิชาการที่มีอาจารย์หรือผู้ใหญ่จำนวนมากชอบพูดว่า “คำพูดของพวกเด็ก ๆ อย่าไปสนใจ/เชื่อไม่ได้” หรือ “คนพูดนะจบอะไรมา?” ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเด็นที่กำลังโต้เถียงกันอยู่เลยด้วยซ้ำ
ตรรกะวิบัติแบบแกก็ทำ
อันนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของตรรกะแบบโจมตีคนพูด แต่เป็นการโจมตีว่าอีกฝ่ายมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับสิ่งที่โต้แย้งอยู่ ดังนั้นสิ่งที่พูดจึงเชื่อไม่ได้ รูปแบบของตรรกะแบบนี้คือ
[นาย ก. เสนอความเห็น X]
[นาย ข. กล่าวถึงพฤติกรรมของนาย ก ที่เกี่ยวข้องกับความเห็น X]
[ดังนั้น ความเห็น นาย ก. จึงผิดหรือเชื่อถือไม่ได้]
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. “ดารา บ. เนี่ยไม่ไหวเลย อยู่ดีๆ ก็ออกมาด่าหมอแบบไม่มีเหตุผลใช้แต่ความรู้สึก” (เสนอความเห็น X นั่นคือสิ่งที่ดารา บ ทำไม่ถูก ไม่เหมาะสม)
นาย ข. “บ. เค้าเป็นคนดี ไอ้พวกที่วิจารณ์ๆ เค้าเนี่ย เคยช่วยเหลือสังคมได้อย่างพี่เค้ารึเปล่า” (โจมตีคนพูดว่า ไปบอกว่าสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดี แต่ตัวเองทำดีได้เท่าเค้ารึเปล่า) แต่ข้อสังเกตคือ คำตอบนี้ไม่ได้โต้แย้งว่าสิ่งที่ดารา บ. ทำนั้นเหมาะสมหรือไม่เลย
http://www.healthtoday.net/thailand/mental/mental_142.html
.....................................................................................................................................
อ่านเรื่องตรรกะวิบัติแล้วก็นึกถึง กปปส. พรรคประชาธิปัตยและนักวิชาการทั้งหลาย ที่ต้องการจะปฏิรูปประเทศ ถามสั้นๆ คุณจะเปลี่ยนความคิดของคนครึ่งประเทศอย่างไรช่วงข้ามคืนให้เขา คิด ทำ และยอมรับทำตามคุณ โดยที่พวกคุณไม่มีต้นทุนอะไรที่น่าเชื่อถือได้เลย นอกจากตรรกะวิบัติในตัวคุณ