สิ่งที่แรงงานทั่วโลกเรียกร้องมาโดยตลอด ก็คือค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาล และภาคธุรกิจ ก็มักไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง เพราะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
อย่างในประเทศไทยเอง การขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท ก็เคยถูกมองว่าเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการ และยังทำให้ไทยขาดศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เรามาดูกันว่าค่าแรง 300 บาทแพงเกินไปจริงหรือไม่ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
ในอาเซียน มี 2 ประเทศที่ไม่มีกฎหมายระบุค่าแรงขั้นต่ำ คือบรูไนและสิงคโปร์ ตัวเลขที่เห็นเป็นการประเมินค่าแรงขั้นต่ำแบบคร่าวๆ ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานทั้งสองประเทศ สิงคโปร์มีค่าแรงขั้นต่ำสูงถึง 25,000 บาท แต่ก็ยังไม่เท่าบรูไน ที่ค่าแรงสูงถึงเดือนละ 55,000 บาทเป็นอย่างน้อย แต่ทั้งสองประเทศก็มีค่าครองชีพสูงมากเช่นเดียวกัน
ส่วนอีก 8 ประเทศในอาเซียน มีอัตราค่าแรงลดหลั่นกันไป มาเลเซียมีค่าแรงสูงสุดที่ 9,000 บาทต่อเดือน ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 8,000-9,000 บาทต่อเดือนแล้วแต่พื้นที่ หากฟิลิปปินส์ขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 400 บาท จากเดิม 300 บาทตามข้อเรียกร้องของแรงงาน ก็จะกลายเป็นประเทศที่ค่าแรงสูงรองจากบรูไนและสิงคโปร์ อยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน สำหรับไทย ค่าแรงพอๆ กับฟิลิปปินส์และมาเลเซียที่ 9,000 บาท แต่ก่อนหน้านี้ ไทยเคยมีค่าแรงขั้นต่ำพอๆ กับอินโดนีเซีย คือ 5,100 บาทต่อเดือน ตอนนี้จึงเรียกได้ว่าอินโดนีเซียกลายเป็นอีกแหล่งลงทุนที่ต่างชาติสนใจ เพราะค่าแรงถูก และมีทรัพยากรมาก แถมรัฐบาลยังมีนโยบายเปิดกว้างต่อการลงทุนจากต่างชาติอย่างเต็มที่
อีกประเทศที่มีศักยภาพแข่งขันสูงเพราะค่าแรงถูกก็คือเวียดนาม ค่าแรงขั้นต่ำเพียงเดือนละไม่ถึง 3,000 บาท แต่ก็ยังถือว่าสูง เมื่อเทียบกับลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ลาวเพิ่งจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรวดเดียว 2 เท่า เป็น 2,500 บาทต่อเดือน ทำให้ตอนนี้ค่าจ้างในลาวแพงกว่าในกัมพูชาซึ่งอยู่ที่ 2,100 บาทเท่านั้น ส่วนเมียนมาร์ ค่าแรงขั้นต่ำถูกที่สุดในอาเซียน คือวันละ 71 บาท หรือเดือนละ 1,700 บาทเท่านั้น
ที่มา VoiceTV และ ประชาชาติธุรกิจ 02 พ.ค. 2557
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand
บรูไนเงินเดือน 55,000 สูงลิ่วนำเพื่อนบ้านอาเซียน พม่า 1,700 ต่ำสุด
สิ่งที่แรงงานทั่วโลกเรียกร้องมาโดยตลอด ก็คือค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาล และภาคธุรกิจ ก็มักไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง เพราะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
อย่างในประเทศไทยเอง การขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท ก็เคยถูกมองว่าเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการ และยังทำให้ไทยขาดศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เรามาดูกันว่าค่าแรง 300 บาทแพงเกินไปจริงหรือไม่ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
ในอาเซียน มี 2 ประเทศที่ไม่มีกฎหมายระบุค่าแรงขั้นต่ำ คือบรูไนและสิงคโปร์ ตัวเลขที่เห็นเป็นการประเมินค่าแรงขั้นต่ำแบบคร่าวๆ ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานทั้งสองประเทศ สิงคโปร์มีค่าแรงขั้นต่ำสูงถึง 25,000 บาท แต่ก็ยังไม่เท่าบรูไน ที่ค่าแรงสูงถึงเดือนละ 55,000 บาทเป็นอย่างน้อย แต่ทั้งสองประเทศก็มีค่าครองชีพสูงมากเช่นเดียวกัน
ส่วนอีก 8 ประเทศในอาเซียน มีอัตราค่าแรงลดหลั่นกันไป มาเลเซียมีค่าแรงสูงสุดที่ 9,000 บาทต่อเดือน ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 8,000-9,000 บาทต่อเดือนแล้วแต่พื้นที่ หากฟิลิปปินส์ขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 400 บาท จากเดิม 300 บาทตามข้อเรียกร้องของแรงงาน ก็จะกลายเป็นประเทศที่ค่าแรงสูงรองจากบรูไนและสิงคโปร์ อยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน สำหรับไทย ค่าแรงพอๆ กับฟิลิปปินส์และมาเลเซียที่ 9,000 บาท แต่ก่อนหน้านี้ ไทยเคยมีค่าแรงขั้นต่ำพอๆ กับอินโดนีเซีย คือ 5,100 บาทต่อเดือน ตอนนี้จึงเรียกได้ว่าอินโดนีเซียกลายเป็นอีกแหล่งลงทุนที่ต่างชาติสนใจ เพราะค่าแรงถูก และมีทรัพยากรมาก แถมรัฐบาลยังมีนโยบายเปิดกว้างต่อการลงทุนจากต่างชาติอย่างเต็มที่
อีกประเทศที่มีศักยภาพแข่งขันสูงเพราะค่าแรงถูกก็คือเวียดนาม ค่าแรงขั้นต่ำเพียงเดือนละไม่ถึง 3,000 บาท แต่ก็ยังถือว่าสูง เมื่อเทียบกับลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ลาวเพิ่งจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรวดเดียว 2 เท่า เป็น 2,500 บาทต่อเดือน ทำให้ตอนนี้ค่าจ้างในลาวแพงกว่าในกัมพูชาซึ่งอยู่ที่ 2,100 บาทเท่านั้น ส่วนเมียนมาร์ ค่าแรงขั้นต่ำถูกที่สุดในอาเซียน คือวันละ 71 บาท หรือเดือนละ 1,700 บาทเท่านั้น
ที่มา VoiceTV และ ประชาชาติธุรกิจ 02 พ.ค. 2557
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand