ผลวิจัยคลังแบงชาติเผยทักษะทางการเงินของคนไทยแย่ จับตา 3 กลุ่มเสี่ยงก่อหนี้สุงสุด
ประธานอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ บอกว่าจากการศึกษาเชิงลึกของกระทรวงคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2556 พบว่า คนไทยมีทักษะการเงินเฉลี่ยที่ร้อยละ 58.5 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของ 14 ประเทศที่อยู่ที่ร้อยละ 62.3 โดยเฉพาะประชาชน 3 กลุ่ม ที่มีระดับความรู้ทางการเงินในขั้นวิกฤติและควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / กลุ่มอาชีพอิสระรายได้ต่ำ และเกษตรกร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ ไม่สนใจในการวางแผนการเงิน และ บริโภคเกินความจำเป็น จนทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 55.6 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 82.3 เมื่อสิ้นปี2556
ดังนั้นทางสถาบันคีนันแห่งเอเชีย จึงร่วมกับ มูลนิธิซิตี้ จึงทำโครงการ คนไทยก้าวไกล ใส่ใจการเงิน ระยะเวลา 3 ปี โดยมุ่งเน้น 3 กลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่พบว่ามีการใช้จ่ายเกินตัวสูงมากตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ทางการเงินที่เหมาะสมและเพียงพอแก่ประชาชน และ จะนำข้อมูลเสนอรัฐบาลเพื่อผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติต่อไป
นอกจากนี้ยังเป็นห่วงสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนที่สูงมากถึงร้อยละ 82.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 9.8 ล้านล้านบาท ซึ่งอยู่ในเขตอัตราแล้ว ซึ่งจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนในระดับล่างดังกล่าวที่มีอยู่ประมาณ 16 ล้านคน เพราะหากกลุ่มระดับล่างมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อทั้งระบบได้
ด้านนายกสมาคมนักวางแผนการเงิน ธีระ ภู่ตระกูล บอกว่า จุดที่น่าห่วงของคนไทย คืออุปนิสัยการใช้เงิน ซึ่งร้อยละ 90 ของคนไทยไม่ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และ ไม่มีการวางแผนทางการเงิน นอกจากนี้ทัศนคติของคนไทยที่นิยมช็อปปิ้งเวลาเครียดควรมีการเปลี่ยนแปลงและควรเร่งรณรงค์การวางแผนการใช้เงินด้วนสโลแกนที่ฟังง่ายและเข้าใจ
ส่วนกรรมการผู้จัดการบริษัท มิราเคิล ครีเอชั่น รัชชพล เหล่าวานิช บอกว่า สื่อควรเข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนให้มากขึ้น เนื่องจากมองว่าระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่อยู่ที่ร้อยละ 70 ดังนั้นจึงต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน แม้ว่าอัตราการออมเงินของไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 20-30 ซึ่งยังถือว่ามีระดับสูง แต่เป็นการออมของผู้ที่มีรายได้ระดับกลางถึงสูง และมองว่าเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลงจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนลดลง
ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ดาเรน บัคลีย์ ยอมรับว่า มีกลุ่มลูกค้าบางส่วนที่เริ่มมีการชำระหนี้ล่าช้า แต่มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับการให้สินเชื่อทั้งระบบและไม่ถือว่าอยู่ในจุดที่อันตราย แต่ก็จับตามมองเพราะในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็มีผลกระทบในการชำระหนี้
credit :
http://www.nationchannel.com/mobile/content/economy_business/378404618/
ผลวิจัยระบุ " คนไทยทักษะด้านการเงิน " ยอดแย่ !
ประธานอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ บอกว่าจากการศึกษาเชิงลึกของกระทรวงคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2556 พบว่า คนไทยมีทักษะการเงินเฉลี่ยที่ร้อยละ 58.5 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของ 14 ประเทศที่อยู่ที่ร้อยละ 62.3 โดยเฉพาะประชาชน 3 กลุ่ม ที่มีระดับความรู้ทางการเงินในขั้นวิกฤติและควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / กลุ่มอาชีพอิสระรายได้ต่ำ และเกษตรกร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ ไม่สนใจในการวางแผนการเงิน และ บริโภคเกินความจำเป็น จนทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 55.6 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 82.3 เมื่อสิ้นปี2556
ดังนั้นทางสถาบันคีนันแห่งเอเชีย จึงร่วมกับ มูลนิธิซิตี้ จึงทำโครงการ คนไทยก้าวไกล ใส่ใจการเงิน ระยะเวลา 3 ปี โดยมุ่งเน้น 3 กลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่พบว่ามีการใช้จ่ายเกินตัวสูงมากตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ทางการเงินที่เหมาะสมและเพียงพอแก่ประชาชน และ จะนำข้อมูลเสนอรัฐบาลเพื่อผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติต่อไป
นอกจากนี้ยังเป็นห่วงสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนที่สูงมากถึงร้อยละ 82.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 9.8 ล้านล้านบาท ซึ่งอยู่ในเขตอัตราแล้ว ซึ่งจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนในระดับล่างดังกล่าวที่มีอยู่ประมาณ 16 ล้านคน เพราะหากกลุ่มระดับล่างมีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อทั้งระบบได้
ด้านนายกสมาคมนักวางแผนการเงิน ธีระ ภู่ตระกูล บอกว่า จุดที่น่าห่วงของคนไทย คืออุปนิสัยการใช้เงิน ซึ่งร้อยละ 90 ของคนไทยไม่ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และ ไม่มีการวางแผนทางการเงิน นอกจากนี้ทัศนคติของคนไทยที่นิยมช็อปปิ้งเวลาเครียดควรมีการเปลี่ยนแปลงและควรเร่งรณรงค์การวางแผนการใช้เงินด้วนสโลแกนที่ฟังง่ายและเข้าใจ
ส่วนกรรมการผู้จัดการบริษัท มิราเคิล ครีเอชั่น รัชชพล เหล่าวานิช บอกว่า สื่อควรเข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนให้มากขึ้น เนื่องจากมองว่าระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่อยู่ที่ร้อยละ 70 ดังนั้นจึงต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน แม้ว่าอัตราการออมเงินของไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 20-30 ซึ่งยังถือว่ามีระดับสูง แต่เป็นการออมของผู้ที่มีรายได้ระดับกลางถึงสูง และมองว่าเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลงจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนลดลง
ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ดาเรน บัคลีย์ ยอมรับว่า มีกลุ่มลูกค้าบางส่วนที่เริ่มมีการชำระหนี้ล่าช้า แต่มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับการให้สินเชื่อทั้งระบบและไม่ถือว่าอยู่ในจุดที่อันตราย แต่ก็จับตามมองเพราะในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวก็มีผลกระทบในการชำระหนี้
credit : http://www.nationchannel.com/mobile/content/economy_business/378404618/