เมื่อคิดถึงความหลังเมื่อครั้งที่ยังเรียนที่อุดรพิทย์นั้น ฉันบอกกับตัวเองได้อย่างมั่นใจว่าฉันใช้เวลาในช่วงวัยสาว (เทียม) อย่างมีความสุขมากที่อุดรพิทย์ เรื่องเรียนหนังสือนั้นฉันชอบแต่ทำได้ไม่ค่อยดีแต่ก็มีความสุขมาก แต่ขอเล่าเรื่องอื่นที่ทำให้ฉันมีความสุขมากที่อุดรพิทย์
ฉันยังจำได้ว่าอุดรพิทย์นั้นเป็นโรงเรียนที่ใหญ่มากเป็นโรงเรียนอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นอันดับที่ 11 ของประเทศ มีอายุร้อยกว่าปี มีการสอน 3 รอบในแต่ละวัน นักเรียนมีมากจนต้อง "เดินเรียน" กัน (ก่อนเปิดเรียนเมื่อได้ตารางเรียนมา พอดูตารางเรียนวันไหนเรียนไม่ซ้ำห้องแทบจะเป็นลม) เพราะไม่มีห้องเรียนพอที่จะให้แต่ละชั้นอยู่ประจำ (สมัยนั้นมี อาคารเรียน 6 อาคาร, ช็อปช่างต่างๆ (ช่างปูน ช่างยนตร์ ช่างไม้ ช่างเขียนแบบ) อินดอร์สเตเดียม 1, โรงยิม 2, อาคารอเนกประสงค์ควบห้องสมุด 1, สนามฟุตบอล 1, อาคารธรรมสถาน 1 (อาคารธรรมสถานหลังแรกของประเทศไทยที่สร้างในสถานศึกษาโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแบบแปลนให้แก่ทางโรงเรียน และพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ประธานแห่งธรรมสถานนี้ว่า "พระพุทธศรีอุดรมงคล ทศพลธรรมะประภัสสร") ต้องย้ายที่เรียนไปเรื่อยๆ เรื่องนี้นำไปเล่าให้ใครฟังเขาก็ยังทึ่งกันอยู่ แม้จะต้องเดินเรียนกันแบบนี้ แต่ฉันคิดว่าเรื่องวิชาการ อุดรพิทย์ของเราไม่เป็นรองใคร แต่โรงเรียนต่างจังหวัดอย่างเราไม่ได้สนใจแค่เรียนวิชาการเท่านั้น แต่สนใจเติมเต็มชีวิตด้านอื่นๆด้วย เช่น วิชาเกษตร เราปลูกผักกันจริง ฉันจำได้ว่าเคยปลูกผักกาดหอมกินเองมาแล้ว (แต่ไปขโมยของแปลงคนอื่นมากินนะ แปลงตัวเองเอาไว้ส่งเอาคะแนน ฮ่าๆ) และเคยเรียนด้านช่างปูนกับอาจารย์ที่สอนทฤษฎีไม่เท่าไหร่เน้นปฏิบัติจริงเลอะจริง แล้วพอต้องเอาปูนมาฉาบกับอิฐแดงดันออกมาสวยเหมือนหน้าตาคนทำด้วยสิ เรียบเนียนซะ (จำได้ว่าตอนนั้นไม่รู้จะเลือกเรียนวิชาเลือกเสรีอะไรดีเลยคุยกับเพื่อนสาว (เทียม) อีกสองนางที่อยู่ห้องเดียวกันก็เลยตกลงไปเรียนช่างปูนกับเพื่อนผู้ชาย (สมัยมัธยมต้นเป็นรุ่นชายล้วนรุ่นสุดท้าย)
ที่สำคัญฉันรู้สึกโชคดีที่ได้เล่นกีฬาแทบจะทุกประเภท ตามวิชาที่เรียนในแต่ละเทอม เล่นเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แต่มีกีฬาชนิดนึงที่รู้สึกว่าเกินจะเอื้อมถึงเพราะเป็นสาว (เทียม) นั่นก็คือฟุตบอล พวกเพื่อนผู้ชายชอบเตะบอลพลาสติกลูกเล็กกันอยู่แล้วมันไม่ใช่เรื่องยาก แต่สาวสวยอย่างเรานี่สิจะทำอะไรได้นอกจากนั่งตบแป้ง ทาปากแดงแปร๊ดอยู่บนอัฒจันทร์ แต่เรื่องฟุตบอลพลาสติกนี้มีเรื่องเล่าอยู่นิดนึงในสมัยมัธยมต้นซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ทำให้เพื่อนผู้ชายแทบอึ้งนั่นก็คือการเตะบอลพลาสติกลูกเล็กแตกในครั้งเดียวของเพื่อนสาวร่วมห้องของฉัน เธอมีวีรกรรมชวนหวาดเสียวให้เพื่อนผู้ชายต้องอึ้งหลายครั้งแม้กระทั่งการใช้มือข้างเดียวยกเก้าอี้ไม้ (เก้าอี้ไม้จริงๆแบบหนักๆไม่มีเหล็กเจือปน) ด้วยมือข้างเดียวแล้วทุ่มใส่เพื่อนผู้ชายคนนึงเด้วยความโมโห โชคดีที่เพื่อนผู้ชายคนนั้นหลบได้ไม่งั้นได้เรื่องแน่ ออกทะเลไปเยอะละขอกลับเข้าเรื่องต่อ เรื่องฟุตบอลที่จะมีที่ฉันได้มีส่วนร่วมหน่อยก็ตรงที่ต้องวิ่งรอบสนามฟุตบอลให้ได้ 10 รอบนี่แหละ จำได้ว่าอาจารย์ก็ปล่อยให้พวกเราวิ่งแล้วก็ขานรอบกันเอาเอง จำได้ว่าฉันวิ่งรอบแรกนับหนึ่งแต่พอรอบสองนับเป็นสามซะงั้น อย่าว่าแต่สาว (เทียม) อย่างเราเลยที่โกง พวกเพื่อนผู้ชายก็โกงเหมือนกันแหละ แหมก็สนามฟุตบอลขนาดมาตฐานขนาดนั้นใครจะวิ่งไหวล่ะคะ แต่ผลที่ได้เนี่ยทำให้น้ำหนักลงหลายกิโลเชียว ยิมนาสติกก็สนุกนะเพราะนอกจากได้ยืดเส้นยืดสายแล้วยังได้หัดตีลังกา ทำหกสูง ทำท่าต่างๆกันแบบจริงๆ ส่วนตะกร้อนี่ก็ไม่ไหวจะเคลียร์พอๆกับฟุตบอล เวลาต้องเตะทีไรรู้สึกพิการยังไงชอบกล เดาะได้สักสองครั้งนี่ถือว่าปาฏิหารเชียวแหละ แต่กีฬาที่คิดว่าทำได้ดีที่สุดคงจะเป็นแบตมินตันมั้ง เพราะลงทุนซื้อไม้ราคาร่วมสามพันเลยทีเดียว และอีกอย่างคงจะเป็นปิงปอง แต่กีฬานี้ฮึดเล่นแค่ช่วงเทอมที่มีเรียน เปลี่ยนเทอมก็ไม่ได้แตะอีกเลย แต่จะมีประเพณีสองอย่างสำหรับเด็กมัธยมต้นกับมัธยมปลายนั่นก็คือ ประเพณีบาสเกตบอลมัธยมต้น กับ ฟุตบอลมัธยมปลาย ถ้าหากใครศึกษาครบ 6 ปีจะต้องได้ผ่านสองสิ่งนี้
และสิ่งที่ทำให้มีความสุขอีกอย่างนั่นก็คือกีฬาสี เป็นช่วงที่ถือว่าเป็นงานใหญ่ของโรงเรียนเลยก็ว่าได้ นอกจากเด็กนักเรียนมีกิจกรรมร่วมกันแล้ว บุคคลภายนอกก็เข้ามารับชมกันเป็นจำนวนมาก เด็กสมัยมัธยมต้นจะมีหน้าที่แค่ไปนั่งเชียร์บนอัฒจันทร์หรือไม่ก็แข่งกีฬา (มัธยมต้น) แต่พอขึ้นระดับมัธยมปลายปีที่ 5 จะมีหน้าที่ที่ต้องจัดการทุกอย่างทั้งเรื่องเชียร์ลีดเดอร์ ซ้อมเชียร์เด็กมัธยมต้น ทำขบวนแห่ และอัฒจันทร์ รวมถึงการแสดงกลางสนามของแต่ละสี กีฬาสีจะจัดสามวัน ก่อนวันสุดท้ายนี่จะถือเป็นการซ้อมใหญ่ก่อนวันจริงของเหล่าเชียร์ลีดเดอร์กับคนที่จะแสดงกลางสนาม และที่ขาดไม่ได้คือการนำอุปกรณ์ตกแต่งอัฒจันทร์ที่แต่ละสีตั้งใจค่อยๆทำ (สมัยที่ฉันเรียนมัธยมปลายมีทั้งหมด 16 ห้องแบ่งเป็นการเรียนการสอนสายต่างๆ ส่วนการแบ่งสีก็จะไล่ตามสีประจำวัน ห้อง 1 สีแดง ห้อง 2 สีเหลือง เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆจนครบเจ็ดสีแล้วก็มาเริ่มนับสีกันใหม่ตามลำดับห้อง สีฟ้ากับ สีม่วงจะมีเยอะสุดเพราะมีสามห้องจามจำนวนที่ไล่สีจนถึงห้อง 16) ทางโรงเรียนจะให้งบมาในการจัดการเรื่องต่างๆแค่ระดับหนึ่งแต่มันก็ไม่พอ พวกเด้กนักเรียนก็ต้องทำการหาสปอนเซอร์สนับสนุนด้านการเงินกันเอาเอง ร่วมถึงเรื่องการออกแบบอัฒจันทร์ หาสถานที่ทำว่าจะไปทำที่บ้านใคร ไหนจะต้องโดดเรียนเพื่อไปทำอุปกรณ์เชียร์ต่างๆ ทุกอย่างทำกันเองไม่มีการจ้าง ในวันสุดท้ายแต่ละฝ่ายต่างรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง แต่ละฝ่ายต่างต้องตื่นแต่เช้ามากมาเตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็น ขบวนแห่ที่ตกแต่งกันอย่างอลังการและต้องเคลื่อนขบวนแห่กันรอบตัวเมืองก่อนจะเคลื่อนขบวนกลับเข้าโรงเรียนด้วยการนำขบวนของดรัมเมเยอร์และวงโยธวาทิตของโรงเรียน และที่ขาดไม่ได้เลยคือเหล่าบรรดาสาว (เทียม) ที่ต้องตื่นมาแต่งตัว (แต่งหญิง) กันตั้งแต่ตีสามอย่างต่ำเพื่อร่วมขบวนแห่หรือเตรียมตัวแสดงกลางสนามกันแต่ละคนลงทุนเช่าชุด ตัดชุดเพื่อมาประชันกันอย่างสุดฤทธิ์ เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เห็นความสามัคคีของเพื่อนทุกๆสีทุกๆคนเป็นอย่างมาก
ที่เล่ามานี้มันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นยังไม่รวมวีรกรรมต่างๆมากมายที่ได้ทำตั้งแต่สมัยมัธยมต้น (ชายล้วนรุ่นสุดท้าย) จนถึงมัธยมปลาย (รุ่น 100 ปี) แม้ว่าจะมีทั้งสุขและเศร้าปะปนกันไปในชีวิตวัยเยาว์แต่ไม่ว่าจะคิดถึงเมื่อใดก็แอบยิ้มอยู่คนเดียวทุกครั้ง
และที่ขาดไม่ได้เลยคือต้องขอขอบคุณอาจารย์อุดรพิทย์ทุกท่านที่สั่งสอนให้ฉันรักในวิชาการและกีฬาแม้ว่าจะทำได้ไม่ค่อยดีในตอนนั้น แต่ก็ทำให้ฉันเป็นฉันในทุกวันนี้
ความทรงจำในโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
ฉันยังจำได้ว่าอุดรพิทย์นั้นเป็นโรงเรียนที่ใหญ่มากเป็นโรงเรียนอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นอันดับที่ 11 ของประเทศ มีอายุร้อยกว่าปี มีการสอน 3 รอบในแต่ละวัน นักเรียนมีมากจนต้อง "เดินเรียน" กัน (ก่อนเปิดเรียนเมื่อได้ตารางเรียนมา พอดูตารางเรียนวันไหนเรียนไม่ซ้ำห้องแทบจะเป็นลม) เพราะไม่มีห้องเรียนพอที่จะให้แต่ละชั้นอยู่ประจำ (สมัยนั้นมี อาคารเรียน 6 อาคาร, ช็อปช่างต่างๆ (ช่างปูน ช่างยนตร์ ช่างไม้ ช่างเขียนแบบ) อินดอร์สเตเดียม 1, โรงยิม 2, อาคารอเนกประสงค์ควบห้องสมุด 1, สนามฟุตบอล 1, อาคารธรรมสถาน 1 (อาคารธรรมสถานหลังแรกของประเทศไทยที่สร้างในสถานศึกษาโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแบบแปลนให้แก่ทางโรงเรียน และพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ประธานแห่งธรรมสถานนี้ว่า "พระพุทธศรีอุดรมงคล ทศพลธรรมะประภัสสร") ต้องย้ายที่เรียนไปเรื่อยๆ เรื่องนี้นำไปเล่าให้ใครฟังเขาก็ยังทึ่งกันอยู่ แม้จะต้องเดินเรียนกันแบบนี้ แต่ฉันคิดว่าเรื่องวิชาการ อุดรพิทย์ของเราไม่เป็นรองใคร แต่โรงเรียนต่างจังหวัดอย่างเราไม่ได้สนใจแค่เรียนวิชาการเท่านั้น แต่สนใจเติมเต็มชีวิตด้านอื่นๆด้วย เช่น วิชาเกษตร เราปลูกผักกันจริง ฉันจำได้ว่าเคยปลูกผักกาดหอมกินเองมาแล้ว (แต่ไปขโมยของแปลงคนอื่นมากินนะ แปลงตัวเองเอาไว้ส่งเอาคะแนน ฮ่าๆ) และเคยเรียนด้านช่างปูนกับอาจารย์ที่สอนทฤษฎีไม่เท่าไหร่เน้นปฏิบัติจริงเลอะจริง แล้วพอต้องเอาปูนมาฉาบกับอิฐแดงดันออกมาสวยเหมือนหน้าตาคนทำด้วยสิ เรียบเนียนซะ (จำได้ว่าตอนนั้นไม่รู้จะเลือกเรียนวิชาเลือกเสรีอะไรดีเลยคุยกับเพื่อนสาว (เทียม) อีกสองนางที่อยู่ห้องเดียวกันก็เลยตกลงไปเรียนช่างปูนกับเพื่อนผู้ชาย (สมัยมัธยมต้นเป็นรุ่นชายล้วนรุ่นสุดท้าย)
ที่สำคัญฉันรู้สึกโชคดีที่ได้เล่นกีฬาแทบจะทุกประเภท ตามวิชาที่เรียนในแต่ละเทอม เล่นเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แต่มีกีฬาชนิดนึงที่รู้สึกว่าเกินจะเอื้อมถึงเพราะเป็นสาว (เทียม) นั่นก็คือฟุตบอล พวกเพื่อนผู้ชายชอบเตะบอลพลาสติกลูกเล็กกันอยู่แล้วมันไม่ใช่เรื่องยาก แต่สาวสวยอย่างเรานี่สิจะทำอะไรได้นอกจากนั่งตบแป้ง ทาปากแดงแปร๊ดอยู่บนอัฒจันทร์ แต่เรื่องฟุตบอลพลาสติกนี้มีเรื่องเล่าอยู่นิดนึงในสมัยมัธยมต้นซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ทำให้เพื่อนผู้ชายแทบอึ้งนั่นก็คือการเตะบอลพลาสติกลูกเล็กแตกในครั้งเดียวของเพื่อนสาวร่วมห้องของฉัน เธอมีวีรกรรมชวนหวาดเสียวให้เพื่อนผู้ชายต้องอึ้งหลายครั้งแม้กระทั่งการใช้มือข้างเดียวยกเก้าอี้ไม้ (เก้าอี้ไม้จริงๆแบบหนักๆไม่มีเหล็กเจือปน) ด้วยมือข้างเดียวแล้วทุ่มใส่เพื่อนผู้ชายคนนึงเด้วยความโมโห โชคดีที่เพื่อนผู้ชายคนนั้นหลบได้ไม่งั้นได้เรื่องแน่ ออกทะเลไปเยอะละขอกลับเข้าเรื่องต่อ เรื่องฟุตบอลที่จะมีที่ฉันได้มีส่วนร่วมหน่อยก็ตรงที่ต้องวิ่งรอบสนามฟุตบอลให้ได้ 10 รอบนี่แหละ จำได้ว่าอาจารย์ก็ปล่อยให้พวกเราวิ่งแล้วก็ขานรอบกันเอาเอง จำได้ว่าฉันวิ่งรอบแรกนับหนึ่งแต่พอรอบสองนับเป็นสามซะงั้น อย่าว่าแต่สาว (เทียม) อย่างเราเลยที่โกง พวกเพื่อนผู้ชายก็โกงเหมือนกันแหละ แหมก็สนามฟุตบอลขนาดมาตฐานขนาดนั้นใครจะวิ่งไหวล่ะคะ แต่ผลที่ได้เนี่ยทำให้น้ำหนักลงหลายกิโลเชียว ยิมนาสติกก็สนุกนะเพราะนอกจากได้ยืดเส้นยืดสายแล้วยังได้หัดตีลังกา ทำหกสูง ทำท่าต่างๆกันแบบจริงๆ ส่วนตะกร้อนี่ก็ไม่ไหวจะเคลียร์พอๆกับฟุตบอล เวลาต้องเตะทีไรรู้สึกพิการยังไงชอบกล เดาะได้สักสองครั้งนี่ถือว่าปาฏิหารเชียวแหละ แต่กีฬาที่คิดว่าทำได้ดีที่สุดคงจะเป็นแบตมินตันมั้ง เพราะลงทุนซื้อไม้ราคาร่วมสามพันเลยทีเดียว และอีกอย่างคงจะเป็นปิงปอง แต่กีฬานี้ฮึดเล่นแค่ช่วงเทอมที่มีเรียน เปลี่ยนเทอมก็ไม่ได้แตะอีกเลย แต่จะมีประเพณีสองอย่างสำหรับเด็กมัธยมต้นกับมัธยมปลายนั่นก็คือ ประเพณีบาสเกตบอลมัธยมต้น กับ ฟุตบอลมัธยมปลาย ถ้าหากใครศึกษาครบ 6 ปีจะต้องได้ผ่านสองสิ่งนี้
และสิ่งที่ทำให้มีความสุขอีกอย่างนั่นก็คือกีฬาสี เป็นช่วงที่ถือว่าเป็นงานใหญ่ของโรงเรียนเลยก็ว่าได้ นอกจากเด็กนักเรียนมีกิจกรรมร่วมกันแล้ว บุคคลภายนอกก็เข้ามารับชมกันเป็นจำนวนมาก เด็กสมัยมัธยมต้นจะมีหน้าที่แค่ไปนั่งเชียร์บนอัฒจันทร์หรือไม่ก็แข่งกีฬา (มัธยมต้น) แต่พอขึ้นระดับมัธยมปลายปีที่ 5 จะมีหน้าที่ที่ต้องจัดการทุกอย่างทั้งเรื่องเชียร์ลีดเดอร์ ซ้อมเชียร์เด็กมัธยมต้น ทำขบวนแห่ และอัฒจันทร์ รวมถึงการแสดงกลางสนามของแต่ละสี กีฬาสีจะจัดสามวัน ก่อนวันสุดท้ายนี่จะถือเป็นการซ้อมใหญ่ก่อนวันจริงของเหล่าเชียร์ลีดเดอร์กับคนที่จะแสดงกลางสนาม และที่ขาดไม่ได้คือการนำอุปกรณ์ตกแต่งอัฒจันทร์ที่แต่ละสีตั้งใจค่อยๆทำ (สมัยที่ฉันเรียนมัธยมปลายมีทั้งหมด 16 ห้องแบ่งเป็นการเรียนการสอนสายต่างๆ ส่วนการแบ่งสีก็จะไล่ตามสีประจำวัน ห้อง 1 สีแดง ห้อง 2 สีเหลือง เป็นต้น ไล่ไปเรื่อยๆจนครบเจ็ดสีแล้วก็มาเริ่มนับสีกันใหม่ตามลำดับห้อง สีฟ้ากับ สีม่วงจะมีเยอะสุดเพราะมีสามห้องจามจำนวนที่ไล่สีจนถึงห้อง 16) ทางโรงเรียนจะให้งบมาในการจัดการเรื่องต่างๆแค่ระดับหนึ่งแต่มันก็ไม่พอ พวกเด้กนักเรียนก็ต้องทำการหาสปอนเซอร์สนับสนุนด้านการเงินกันเอาเอง ร่วมถึงเรื่องการออกแบบอัฒจันทร์ หาสถานที่ทำว่าจะไปทำที่บ้านใคร ไหนจะต้องโดดเรียนเพื่อไปทำอุปกรณ์เชียร์ต่างๆ ทุกอย่างทำกันเองไม่มีการจ้าง ในวันสุดท้ายแต่ละฝ่ายต่างรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง แต่ละฝ่ายต่างต้องตื่นแต่เช้ามากมาเตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็น ขบวนแห่ที่ตกแต่งกันอย่างอลังการและต้องเคลื่อนขบวนแห่กันรอบตัวเมืองก่อนจะเคลื่อนขบวนกลับเข้าโรงเรียนด้วยการนำขบวนของดรัมเมเยอร์และวงโยธวาทิตของโรงเรียน และที่ขาดไม่ได้เลยคือเหล่าบรรดาสาว (เทียม) ที่ต้องตื่นมาแต่งตัว (แต่งหญิง) กันตั้งแต่ตีสามอย่างต่ำเพื่อร่วมขบวนแห่หรือเตรียมตัวแสดงกลางสนามกันแต่ละคนลงทุนเช่าชุด ตัดชุดเพื่อมาประชันกันอย่างสุดฤทธิ์ เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เห็นความสามัคคีของเพื่อนทุกๆสีทุกๆคนเป็นอย่างมาก
ที่เล่ามานี้มันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นยังไม่รวมวีรกรรมต่างๆมากมายที่ได้ทำตั้งแต่สมัยมัธยมต้น (ชายล้วนรุ่นสุดท้าย) จนถึงมัธยมปลาย (รุ่น 100 ปี) แม้ว่าจะมีทั้งสุขและเศร้าปะปนกันไปในชีวิตวัยเยาว์แต่ไม่ว่าจะคิดถึงเมื่อใดก็แอบยิ้มอยู่คนเดียวทุกครั้ง
และที่ขาดไม่ได้เลยคือต้องขอขอบคุณอาจารย์อุดรพิทย์ทุกท่านที่สั่งสอนให้ฉันรักในวิชาการและกีฬาแม้ว่าจะทำได้ไม่ค่อยดีในตอนนั้น แต่ก็ทำให้ฉันเป็นฉันในทุกวันนี้