"คนที่เรียนจบได้เกรด ดีๆ จากมหาวิทยาลัยดังๆ นั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้จักความผิดพลาดหรือประสบความล้มเหลวมาก่อน"
"สิ่งที่จำเป็นที่สุดไม่ใช่ไอคิวหรือความฉลาด แต่คือความสามารถในการเรียนรู้งาน
ความสามารถในการนำความรู้ประสบการณ์ที่มีมาปรับใช้จริง รวมถึงทักษะไหวพริบและภาวะความเป็นผู้นำด้วย"
"GOOGLE ไม่ได้มุ่งเน้นว่าพนักงานที่รับมาต้องมีผลการเรียนดี มีเกรดเฉลี่ยสูง จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ
หรือมีโปรไฟล์การศึกษาที่ดีเยี่ยมสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด"
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จริงหรือ!!!??? GOOGLE ไม่ชอบคนเรียนเก่ง!!!
วันพุธ 30 เมษายน 2557
เชื่อว่าคุณผู้อ่านคอลัมน์วันพุธของผมคงไม่มีใครไม่รู้จักบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างกูเกิลใช่ไหมครับ เผลอ ๆ คุณผู้อ่านหลายคนอาจจะเคยคิดอยากเข้าร่วมงานกับกูเกิลดูซะด้วยซ้ำ แต่คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่าบริษัทกูเกิลนี่เขามีวิธีการคัดกรองผู้สมัครงานที่ค่อนข้างแหวกแนวและน่าสนใจมากเลยทีเดียวล่ะครับ
ล่าสุดหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สได้ลงบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรับสมัครงานและโอกาสที่ผู้สมัครจะได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงานกับทางกูเกิล โดย Laszlo Bock หัวหน้าฝ่ายดำเนินการด้านบุคลากรของกูเกิลกล่าวไว้ว่า กูเกิลไม่ได้มุ่งเน้นว่าพนักงานที่รับมาต้องมีผลการเรียนดี มีเกรดเฉลี่ยสูง จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือมีโปรไฟล์การศึกษาที่ดีเยี่ยมสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด
สิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญมากกว่า มาจากแนวความคิดที่ว่าคนที่เรียนจบได้เกรด ดี ๆ จากมหาวิทยาลัยดัง ๆ นั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้จักความผิดพลาดหรือประสบความล้มเหลวมาก่อน ต่างกับคนที่ได้เกรดไม่ค่อยดีหรือมีผลการเรียนระดับกลาง ๆ ที่มักต้องเคยเจอความล้มเหลวผิดพลาดมาบ้างไม่มากก็น้อย ว่าง่าย ๆ คือกูเกิลเขาไม่ได้กลัวที่จะรับบุคคลที่เคยล้มเหลวมาก่อน เพราะเขาถือว่าความล้มเหลวคือบทเรียน คือสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยจุดประกายให้เกิดความพยายามและความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสำเร็จขึ้นมาให้ได้ในอนาคต ไม่เพียงเท่านั้นกูเกิลยังเชื่อด้วยนะครับว่าคนที่เคยผ่านความล้มเหลวมาบ้างนี้ส่วนใหญ่มักมีความถ่อมตัว ยอมรับฟังความเห็นผู้อื่น รู้จักยอมรับความผิดพลาด และพร้อมที่จะแก้ไขความผิดนั้น ๆ
ซึ่งตัวอย่างก็เช่น แอนดี รูบิน (Andy Rubin) ผู้คิดค้นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งก็ไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ กลุ่มไอวีลีกในอเมริกา แต่ก็สามารถเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในกูเกิลได้ไม่แพ้ใครเลยทีเดียว
หากถอยมามองภาพกว้าง ๆ อีกหน่อยเราก็จะเห็นนะครับว่ากูเกิลให้ความสำคัญกับความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์มากกว่าไอคิว เพราะเมื่อมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมการทำงานของจริง สิ่งที่จำเป็นที่สุดไม่ใช่ไอคิวหรือความฉลาด แต่คือความสามารถในการเรียนรู้งาน ความสามารถในการนำความรู้ประสบการณ์ที่มีมาปรับใช้จริง รวมถึงทักษะไหวพริบและภาวะความเป็นผู้นำด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล่ะครับคือสิ่งที่ทางกูเกิลพยายามที่จะมองหาจากผู้สมัครในระหว่าง การสัมภาษณ์ โดยกูเกิลเรียกวิธีการสัมภาษณ์อย่างนี้ว่าเป็นการสัมภาษณ์งานเชิงพฤติกรรม (Behavioral interview) ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้ถูกสัมภาษณ์ โดยที่แทบจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเกรดเฉลี่ยสมัยเรียนเลยล่ะครับ
หลักการคัดเลือกพนักงานของกูเกิลแบบนี้อาจจะค้านกับความเชื่อดั้งเดิมของหลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กร ที่มักจะเลือกหรือให้ความคาดหวังกับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าความเชื่อดั้งเดิมนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีนะครับ การตั้งใจเรียน การอ่านหนังสือเยอะ ๆ รวมถึงการรับผิดชอบในหน้าที่ฐานะการเป็นนักเรียนจนสามารถจบมาได้เกรดเฉลี่ยดีเยี่ยมจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นยอดนั้นเป็นสิ่งที่ดีมากครับ โดยเฉพาะประเทศไทยเราที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ก้าวเข้าสู่การเปิดกว้างของตลาดแรงงาน และก้าวลงสู่สนามแข่งขันที่ใหญ่ยิ่งขึ้นในการสมัครเข้าทำงาน ในการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นขึ้นนี้ไม่ว่าจะคนไทยหรือคนต่างประเทศ ใครมีอะไรดีบ้างก็ต้องงัดขึ้นมาสู้กันให้หมดทุกอย่างล่ะครับ ยิ่งมีดีหลายอย่างก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของเราให้สูงขึ้นไปด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น เกรดที่ดีกับการได้ทำงานกับกูเกิล มันไม่ใช่สองสิ่งที่เราต้องตัดใจเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ ไม่ใช่ว่าถ้าเราอยากทำงานกับบริษัทชั้นนำอย่างกูเกิล เราจะต้องยอมเป็นคนที่มีผลการเรียนที่ไม่ดี ผมเชื่อว่าโลกยุคปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในเกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ (Zero-sum game) ที่ถ้าได้ประโยชน์อย่างหนึ่ง ก็จำต้องยอมเสียประโยชน์อีกอย่างหนึ่งไป ผมเชื่อว่าเราสามารถเลือกทำทั้งสองทางให้ดีได้ เลือกที่จะตั้งใจเรียนทำผลการเรียนให้ดีไปพร้อม ๆ กับพัฒนาทักษะความสามารถไปด้วย ยิ่งถ้าบูรณาการเข้ากับความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเป็นผู้นำ การรู้จักรับฟังความเห็นผู้อื่น และการยอมรับแก้ไขความผิดพลาดด้วยแล้วล่ะก็ คราวนี้ไม่เฉพาะกูเกิลหรอกครับ แต่ผมเชื่อว่าทุกบริษัทชั้นนำต่างก็จะต้องการตัวเราทั้งนั้น
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/233750/จริงหรือ+!+กูเกิลไม่ชอบคนเรียนเก่ง+-+รอบรู้ไอที+รอบโลกเทคโนโลยี
ฝรั่ง ไม่ได้คลั่ง คนเรียนเก่ง เกรดเฉลี่ย เหมือนคนเอเชีย!!! - จริงหรือ GOOGLE ไม่ชอบคนเรียนเก่ง!!!???
"สิ่งที่จำเป็นที่สุดไม่ใช่ไอคิวหรือความฉลาด แต่คือความสามารถในการเรียนรู้งาน
ความสามารถในการนำความรู้ประสบการณ์ที่มีมาปรับใช้จริง รวมถึงทักษะไหวพริบและภาวะความเป็นผู้นำด้วย"
"GOOGLE ไม่ได้มุ่งเน้นว่าพนักงานที่รับมาต้องมีผลการเรียนดี มีเกรดเฉลี่ยสูง จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ
หรือมีโปรไฟล์การศึกษาที่ดีเยี่ยมสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด"
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จริงหรือ!!!??? GOOGLE ไม่ชอบคนเรียนเก่ง!!!
วันพุธ 30 เมษายน 2557
เชื่อว่าคุณผู้อ่านคอลัมน์วันพุธของผมคงไม่มีใครไม่รู้จักบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างกูเกิลใช่ไหมครับ เผลอ ๆ คุณผู้อ่านหลายคนอาจจะเคยคิดอยากเข้าร่วมงานกับกูเกิลดูซะด้วยซ้ำ แต่คุณผู้อ่านทราบไหมครับว่าบริษัทกูเกิลนี่เขามีวิธีการคัดกรองผู้สมัครงานที่ค่อนข้างแหวกแนวและน่าสนใจมากเลยทีเดียวล่ะครับ
ล่าสุดหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สได้ลงบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรับสมัครงานและโอกาสที่ผู้สมัครจะได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงานกับทางกูเกิล โดย Laszlo Bock หัวหน้าฝ่ายดำเนินการด้านบุคลากรของกูเกิลกล่าวไว้ว่า กูเกิลไม่ได้มุ่งเน้นว่าพนักงานที่รับมาต้องมีผลการเรียนดี มีเกรดเฉลี่ยสูง จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือมีโปรไฟล์การศึกษาที่ดีเยี่ยมสมบูรณ์แบบแต่อย่างใด
สิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญมากกว่า มาจากแนวความคิดที่ว่าคนที่เรียนจบได้เกรด ดี ๆ จากมหาวิทยาลัยดัง ๆ นั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้จักความผิดพลาดหรือประสบความล้มเหลวมาก่อน ต่างกับคนที่ได้เกรดไม่ค่อยดีหรือมีผลการเรียนระดับกลาง ๆ ที่มักต้องเคยเจอความล้มเหลวผิดพลาดมาบ้างไม่มากก็น้อย ว่าง่าย ๆ คือกูเกิลเขาไม่ได้กลัวที่จะรับบุคคลที่เคยล้มเหลวมาก่อน เพราะเขาถือว่าความล้มเหลวคือบทเรียน คือสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยจุดประกายให้เกิดความพยายามและความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสำเร็จขึ้นมาให้ได้ในอนาคต ไม่เพียงเท่านั้นกูเกิลยังเชื่อด้วยนะครับว่าคนที่เคยผ่านความล้มเหลวมาบ้างนี้ส่วนใหญ่มักมีความถ่อมตัว ยอมรับฟังความเห็นผู้อื่น รู้จักยอมรับความผิดพลาด และพร้อมที่จะแก้ไขความผิดนั้น ๆ
ซึ่งตัวอย่างก็เช่น แอนดี รูบิน (Andy Rubin) ผู้คิดค้นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งก็ไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ กลุ่มไอวีลีกในอเมริกา แต่ก็สามารถเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในกูเกิลได้ไม่แพ้ใครเลยทีเดียว
หากถอยมามองภาพกว้าง ๆ อีกหน่อยเราก็จะเห็นนะครับว่ากูเกิลให้ความสำคัญกับความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์มากกว่าไอคิว เพราะเมื่อมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมการทำงานของจริง สิ่งที่จำเป็นที่สุดไม่ใช่ไอคิวหรือความฉลาด แต่คือความสามารถในการเรียนรู้งาน ความสามารถในการนำความรู้ประสบการณ์ที่มีมาปรับใช้จริง รวมถึงทักษะไหวพริบและภาวะความเป็นผู้นำด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล่ะครับคือสิ่งที่ทางกูเกิลพยายามที่จะมองหาจากผู้สมัครในระหว่าง การสัมภาษณ์ โดยกูเกิลเรียกวิธีการสัมภาษณ์อย่างนี้ว่าเป็นการสัมภาษณ์งานเชิงพฤติกรรม (Behavioral interview) ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้ถูกสัมภาษณ์ โดยที่แทบจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเกรดเฉลี่ยสมัยเรียนเลยล่ะครับ
หลักการคัดเลือกพนักงานของกูเกิลแบบนี้อาจจะค้านกับความเชื่อดั้งเดิมของหลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กร ที่มักจะเลือกหรือให้ความคาดหวังกับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าความเชื่อดั้งเดิมนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีนะครับ การตั้งใจเรียน การอ่านหนังสือเยอะ ๆ รวมถึงการรับผิดชอบในหน้าที่ฐานะการเป็นนักเรียนจนสามารถจบมาได้เกรดเฉลี่ยดีเยี่ยมจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นยอดนั้นเป็นสิ่งที่ดีมากครับ โดยเฉพาะประเทศไทยเราที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ก้าวเข้าสู่การเปิดกว้างของตลาดแรงงาน และก้าวลงสู่สนามแข่งขันที่ใหญ่ยิ่งขึ้นในการสมัครเข้าทำงาน ในการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นขึ้นนี้ไม่ว่าจะคนไทยหรือคนต่างประเทศ ใครมีอะไรดีบ้างก็ต้องงัดขึ้นมาสู้กันให้หมดทุกอย่างล่ะครับ ยิ่งมีดีหลายอย่างก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของเราให้สูงขึ้นไปด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น เกรดที่ดีกับการได้ทำงานกับกูเกิล มันไม่ใช่สองสิ่งที่เราต้องตัดใจเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ ไม่ใช่ว่าถ้าเราอยากทำงานกับบริษัทชั้นนำอย่างกูเกิล เราจะต้องยอมเป็นคนที่มีผลการเรียนที่ไม่ดี ผมเชื่อว่าโลกยุคปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในเกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ (Zero-sum game) ที่ถ้าได้ประโยชน์อย่างหนึ่ง ก็จำต้องยอมเสียประโยชน์อีกอย่างหนึ่งไป ผมเชื่อว่าเราสามารถเลือกทำทั้งสองทางให้ดีได้ เลือกที่จะตั้งใจเรียนทำผลการเรียนให้ดีไปพร้อม ๆ กับพัฒนาทักษะความสามารถไปด้วย ยิ่งถ้าบูรณาการเข้ากับความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเป็นผู้นำ การรู้จักรับฟังความเห็นผู้อื่น และการยอมรับแก้ไขความผิดพลาดด้วยแล้วล่ะก็ คราวนี้ไม่เฉพาะกูเกิลหรอกครับ แต่ผมเชื่อว่าทุกบริษัทชั้นนำต่างก็จะต้องการตัวเราทั้งนั้น
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/233750/จริงหรือ+!+กูเกิลไม่ชอบคนเรียนเก่ง+-+รอบรู้ไอที+รอบโลกเทคโนโลยี