คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
1.เจ้าเครื่องตรวจข้อสอบที่ฝนด้วยดินสอ 2B ขึ้นไปนี้มีชื่อเรียกว่าอะไรคะ
ราคาแพงหรือเปล่า ตัวใหญ่แล้วหนักประมาณไหน?
- มีหลายยี่ห้อครับ ที่ใช้กันเยอะเช่นของบริษัท Scantron อย่างในภาพนี้ (ราคาประมาณ 60,000 บาท)
2.ตัวเครื่องมีหลักการตรวจข้อสอบยังไง (หมายถึงว่ามีเซ็นเซอร์เช็คนับจุดทึบอะไรยังไงเนี่ยอ่ะค่ะ)
- หลักการทำงานคือวัดการสะท้อนของแสงในกระดาษคำตอบ โดยจะใช้ InfraRed LED จำนวน 2 หลอดต่อ cell
ในการฉายแสงลงไปบนกระดาษ แล้วมีตัวรับแสงสำหรับวัดปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาจากกระดาษ
วิธีการอ่านข้อมูล คือ ถ้าจุดไหนที่มีการระบายดำใว้จุดนั้นแสงจะถูกดูดกลืนไว้ ตรงไหนไม่ได้ระบายแสงก็จะสะท้อนกลับไป
ปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจะบอกถึงความเข้มที่ระบายได้ ตัวเครื่องสามารถแยกความเข้มได้ 16 ระดับ
ถือว่าแม่นยำ และ ถูกต้องมาก
3.เครื่องเหล่านี้มีการตรวจเซ็ค Error ยังไง กรณีที่กระดาษคำตอบมีการฝนไม่เต็มช่อง ฝนคำตอบเบาไป
หรือข้อเดียวกันฝนคำตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก
- เครื่องจะมีเงื่อนไขการอ่านจาก cell และสามารถอ่านได้ถูกต้องแม้ไม่เต็ม cell
และด้วยความที่มีการอ่านได้ละเอียดมากถึง 16 ระดับ จึงแม่นยำมากครับ
4.เครื่องตรวจข้อสอบเหล่านี้ เซ็นเซอร์ที่นับจุดทึบเหล่านี้มีขีดจำกัดหรือเปล่าคะ ว่าจับเซ็นเซอร์จุดทึบสูงสุดได้เท่าไหร่
กรณีผู้ออกข้อสอบออกข้อสอบมากกว่า 100 ข้อ เช่น ออกสอบ 200 ข้อ ไรงิ
- ไม่มีครับ ยิ่งจำนวน cell แบบนี้นะ เครื่องพวกนี้รองรับได้ระดับ 100,000 ++ cell เลยแหละ
5. เวลาเครื่องตรวจข้อสอบในการทำการตรวจสอบ 1 แผ่นใช้เวลาตรวจเท่าไหร่
- ตามมาตรฐาน 50 - 70 แผ่น ต่อ 1 นาทีครับ
คือเร็วมาก ไม่วัดกันที่แผ่นละเท่าใด แต่วัดกันที่กี่แผ่น/นาที
7. เครื่องสามารถตรวจคำตอบในลักษณะเฉพาะแบบนี้ได้ไหมคะ
เช่น ข้อ 1 - 20 ตอบถูกจะนับข้อละ 2 คะแนน
ส่วนข้อ 30 - 100 ตอบถูกให้นับเป็น 1 คะแนน
- software ทำได้หมดครับ มันมี setting มากมาย
8.เครื่องตรวจข้อสอบเหล่านี้มีโอกาสการนับผิดพลาดได้บ้างไหม
ถ้าผิดพลาดคิดประมาณได้กี่ % เช่น 0.00XXX อะไรอย่างงี้อ่ะค่ะ
- อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ตัวเครื่องกำหนดให้ใช้กับกระดาษคำตอบที่มีมาตรฐานอยู่
ซึ่งต้องตรวจสอบด้วยสายตาคนก่อน (แบบผ่าน ๆ )
9.กรณีไหนบ้างที่เครื่องจะไม่ยอมนับหรือตรวจคะแนนเลย ในที่นี้หมายถึงไม่ยอมตรวจสักข้อเลยนะคะ
- แล้วแต่การตั้งค่า setting ซึ่งมีเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่ software จะ mark ใว้หากกระดาษคำตอบแผ่นใด
ตรวจแล้วไม่ครบข้อ โดยจะบันทึกค่าของ header ใว้ครับ แล้วเราก็นำมาตรวจอีกทีว่า error ตรงใหน
10.การแสดงผลคะแนนการตรวจคำตอบ เครื่องจะแสดงยังไงอ่ะคะ (แสดงที่หน้าจอเครื่อง PC ใช่หรือเปล่า? หรือตัวเครื่องตรวจข้อสอบเลย)
- software จะทำงานบน windows ธรรมดานั่นเอง แสดงผลเป็นคะแนนเทียบกับ header (เลขประจำตัวสอบ)
11.เมืองไทยเริ่มการใช้งานเจ้าเครื่องตรวจข้อสอบนี้ประมาณปีไหน (ข้อนี้น่าจะยากไปละมั่ง แต่ก็แอบสงสัยค่ะ)
- ใช้ครั้งแรกในโรงเรียนเครืออัสสัมชัญครับ แต่เริ่มเมื่อปีใหนไม่แน่ใจ
หากเป็น ม.ABAC ก็เริ่มตั้งแต่ปี 2529 (ผมเดาว่าน่าจะพร้อมกัน)
12.นอกจากเมืองไทยใช้งานแล้ว ต่างประเทศเค้ามีการตรวจข้อสอบแบบนี้ไหมคะ
ถ้ามี ประเทศไหนเป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องมือทุ่นแรงอย่างงี้คะ
- ต้นตำรับอุปกรณ์นี้คือ German ครับ แต่ประวัติหาไม่ค่อยได้เลย
ราคาแพงหรือเปล่า ตัวใหญ่แล้วหนักประมาณไหน?
- มีหลายยี่ห้อครับ ที่ใช้กันเยอะเช่นของบริษัท Scantron อย่างในภาพนี้ (ราคาประมาณ 60,000 บาท)
2.ตัวเครื่องมีหลักการตรวจข้อสอบยังไง (หมายถึงว่ามีเซ็นเซอร์เช็คนับจุดทึบอะไรยังไงเนี่ยอ่ะค่ะ)
- หลักการทำงานคือวัดการสะท้อนของแสงในกระดาษคำตอบ โดยจะใช้ InfraRed LED จำนวน 2 หลอดต่อ cell
ในการฉายแสงลงไปบนกระดาษ แล้วมีตัวรับแสงสำหรับวัดปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาจากกระดาษ
วิธีการอ่านข้อมูล คือ ถ้าจุดไหนที่มีการระบายดำใว้จุดนั้นแสงจะถูกดูดกลืนไว้ ตรงไหนไม่ได้ระบายแสงก็จะสะท้อนกลับไป
ปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจะบอกถึงความเข้มที่ระบายได้ ตัวเครื่องสามารถแยกความเข้มได้ 16 ระดับ
ถือว่าแม่นยำ และ ถูกต้องมาก
3.เครื่องเหล่านี้มีการตรวจเซ็ค Error ยังไง กรณีที่กระดาษคำตอบมีการฝนไม่เต็มช่อง ฝนคำตอบเบาไป
หรือข้อเดียวกันฝนคำตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก
- เครื่องจะมีเงื่อนไขการอ่านจาก cell และสามารถอ่านได้ถูกต้องแม้ไม่เต็ม cell
และด้วยความที่มีการอ่านได้ละเอียดมากถึง 16 ระดับ จึงแม่นยำมากครับ
4.เครื่องตรวจข้อสอบเหล่านี้ เซ็นเซอร์ที่นับจุดทึบเหล่านี้มีขีดจำกัดหรือเปล่าคะ ว่าจับเซ็นเซอร์จุดทึบสูงสุดได้เท่าไหร่
กรณีผู้ออกข้อสอบออกข้อสอบมากกว่า 100 ข้อ เช่น ออกสอบ 200 ข้อ ไรงิ
- ไม่มีครับ ยิ่งจำนวน cell แบบนี้นะ เครื่องพวกนี้รองรับได้ระดับ 100,000 ++ cell เลยแหละ
5. เวลาเครื่องตรวจข้อสอบในการทำการตรวจสอบ 1 แผ่นใช้เวลาตรวจเท่าไหร่
- ตามมาตรฐาน 50 - 70 แผ่น ต่อ 1 นาทีครับ
คือเร็วมาก ไม่วัดกันที่แผ่นละเท่าใด แต่วัดกันที่กี่แผ่น/นาที
7. เครื่องสามารถตรวจคำตอบในลักษณะเฉพาะแบบนี้ได้ไหมคะ
เช่น ข้อ 1 - 20 ตอบถูกจะนับข้อละ 2 คะแนน
ส่วนข้อ 30 - 100 ตอบถูกให้นับเป็น 1 คะแนน
- software ทำได้หมดครับ มันมี setting มากมาย
8.เครื่องตรวจข้อสอบเหล่านี้มีโอกาสการนับผิดพลาดได้บ้างไหม
ถ้าผิดพลาดคิดประมาณได้กี่ % เช่น 0.00XXX อะไรอย่างงี้อ่ะค่ะ
- อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ตัวเครื่องกำหนดให้ใช้กับกระดาษคำตอบที่มีมาตรฐานอยู่
ซึ่งต้องตรวจสอบด้วยสายตาคนก่อน (แบบผ่าน ๆ )
9.กรณีไหนบ้างที่เครื่องจะไม่ยอมนับหรือตรวจคะแนนเลย ในที่นี้หมายถึงไม่ยอมตรวจสักข้อเลยนะคะ
- แล้วแต่การตั้งค่า setting ซึ่งมีเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่ software จะ mark ใว้หากกระดาษคำตอบแผ่นใด
ตรวจแล้วไม่ครบข้อ โดยจะบันทึกค่าของ header ใว้ครับ แล้วเราก็นำมาตรวจอีกทีว่า error ตรงใหน
10.การแสดงผลคะแนนการตรวจคำตอบ เครื่องจะแสดงยังไงอ่ะคะ (แสดงที่หน้าจอเครื่อง PC ใช่หรือเปล่า? หรือตัวเครื่องตรวจข้อสอบเลย)
- software จะทำงานบน windows ธรรมดานั่นเอง แสดงผลเป็นคะแนนเทียบกับ header (เลขประจำตัวสอบ)
11.เมืองไทยเริ่มการใช้งานเจ้าเครื่องตรวจข้อสอบนี้ประมาณปีไหน (ข้อนี้น่าจะยากไปละมั่ง แต่ก็แอบสงสัยค่ะ)
- ใช้ครั้งแรกในโรงเรียนเครืออัสสัมชัญครับ แต่เริ่มเมื่อปีใหนไม่แน่ใจ
หากเป็น ม.ABAC ก็เริ่มตั้งแต่ปี 2529 (ผมเดาว่าน่าจะพร้อมกัน)
12.นอกจากเมืองไทยใช้งานแล้ว ต่างประเทศเค้ามีการตรวจข้อสอบแบบนี้ไหมคะ
ถ้ามี ประเทศไหนเป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องมือทุ่นแรงอย่างงี้คะ
- ต้นตำรับอุปกรณ์นี้คือ German ครับ แต่ประวัติหาไม่ค่อยได้เลย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 62
ขออธิบายหลักการทำงานเรื่องเดียวนะครับ
หลักการทำงานจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนครับ
(1) ระบบการกำหนดพิกัด
ลองสังเกตุดูครับกระดาษที่ใช้จะมีการ mark เป็นแถบสีดำเล็ก ๆ บริเวณขอบด้านซ้าย/ด้านขวา และ ด้านบน/ด้านล่าง เพื่อบอกขนาดของกระดาษคำตอบว่า
มีกี่ rows และ กี่ columns ... เพื่อเป็นการ define ขนาดของกระดาษที่จะใช้งาน (ในขั้นตอนนี้จะมีการออกแบบแล้วส่งโรงพิมพ์ ซึ่งโดยมากก็ใช้ตามที่ผู้ขายเครื่อง OMR แนะนำมาครับ) ... ซึ่งกระดาษที่ออกแบบก็จะสั่งทีละเยอะ ๆ
(2) เมื่อรขนาดของกระดาษแล้ว หลังจากที่โรงพิมพิ์นำส่งกระดาษที่พิมพ์เสร็จแล้วมาให้ ก็จะมากำหนด Zone ในการอ่านว่าจะให้เครื่องอ่านค่าการฝนเป็นกี่ zone แต่ละ zone เก็บค่าอะไรบ้าง เช่น ตามรูปตัวอย่าง
สมมติว่าเป็นการสอบ 120 ข้อ และ คะแนนเท่ากัน ไม่มีการแบ่ง Part (รายละเอียดในการใช้งานมีการประยุกต์ได้อีก ไว้แนะนำอีกที)
ก็จะแบ่งได้เผ็น 6 Zone
- Zone A มี 6 Columns x 10 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าบนลงล่าง แทนค่า row1 - row10 ด้วย 0 - 9
- Zone B มี 5 Columns x 10 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าบนลงล่าง แทนค่า row1 - row10 ด้วย 0 - 9
- Zone C มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
- Zone D มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
- Zone E มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
- Zone F มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
ทำการกำหนดค่า error ต่าง ๆ เช่น
- ฝนซ้ำ ให้แสดงด้วยเครื่องหมาย X
- ไม่ฝน/ฝนจาง ให้แสดงด้วยเครื่องหมาย ?
จากนั้นบันทึกค่าลงไปในโปรแกรมของเครื่อง OMR ที่ Install ไว้ที่เครื่อง PC เช่น ans_120x1.ans เป็นต้น
(3) กรณีต้องการให้ OMR ทำการตรวจข้อสอบให้ ก็ให้ฝนเฉลยลงในกระดาษคำตอบ โดยฝน zone A และ B เป็น 0 (ขั้นตอนนี้มักจะเกิด human error) ... จากนั้นทำการให้เครื่อง OMR บันทึกค่าเฉลย แล้ว Save ไว้ เช่น key_สอบ2557.key
* ปัจจุบันมีบางระบบประยุกต์ให้ OMR ทำการ scan อย่างเดียว แล้วนำข้อมูลมาตรวจภายนอก ทำให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่นกรณีมีการแบ่งหมวด มีการบังคับผ่าน เป็นต้น เพราะ software ของ OMR ค่อนข้างยุ่งยาก พอควร
(4) ก็ไปจัดสอบจนสอบเสร็จ เราก็จะได้
- file ที่กำหนดพิกัดของข้อมูล ans_120x1.ans
- file ที่กำหนดเฉลย key_สอบ2557.key
- กระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบ
จากนั้นเราก็เปิดโปรแกรม เลือก ข้อมูลกระดาษ + เลือกเฉลย แล้วนำกระดาษคำตอบใส่ให้เครื่อง OMR อ่าน
วิธีการอ่านก็คือ OMR จะเหมือนถ่ายรูป โดยจะ detect เฉพาะบริเวณที่เข้ม (แถบกำหนดพิกัด และ ที่ฝนด้วยดินสอ)
แสดงกระดาษคำตอบที่ฝนแล้ว
แสดงรูปแบบข้อมูลที่เครื่อง OMR อ่าน โดยจะคล้ายกับการที่เราแก้ไขรูปโดยเพิ่มความสว่างมาก ๆ
ลองสังเกตสีของข้อความบนระดาษคำตอบจะใช้สีอ่อน ซึ่งเมื่อเพิ่มความสว่างจะหายไป
ดังนั้น ก็จะเช่นเดียวกันกับคนที่ฝนไม่ดำพอ
แสดงวิธีการอ่งตำแหน่งข้อมูล
มาถึงจุดนี้พอเครื่องอ่านค่าข้อมูลการฝนได้แล้ว ก็จะไปอ้างอิงวิธีการตีความข้อมูลตามการกำหนด Zone ยกตัวอย่าง Zone A
เราระบุตำแหน่งว่าเริ่มจาก column ไหน ถึง column ไหน สมมติ col 20 - col25 และข้อมูลจะเป็น rows 1 - 10 แทนค่า 0 - 9
ก็เหมือนการนับปกติน่ะครับได้เป็น
ค่าที่ A1 (Zone A ค่าที่ 1) = "?" (? แทนการไม่ตอบ X แทนการตอบซ้ำ)
col20 - row1 อ่านค่าสีเป็น ขาว/ดำ ถ้าดำแสดงว่ามีการฝน ถ้าค่า A1="?" แล้ว ให้ค่า A1=0 ถ้าไม่ ให้ค่า A1="X"
col20 - row2 อ่านค่าสีเป็น ขาว/ดำ ถ้าดำแสดงว่ามีการฝน ถ้าค่า A1="?" แล้ว ให้ค่า A1=1 ถ้าไม่ ให้ค่า A1="X"
...
col20 - row10 อ่านค่าสีเป็น ขาว/ดำ ถ้าดำแสดงว่ามีการฝน ถ้าค่า A1="?" แล้ว ให้ค่า A1=9 ถ้าไม่ ให้ค่า A1="X"
แล้วก็ต่อที่ A2 - A6
ก็จะรู้รหัสประจำตัว เช่นตัวอย่างก็จะเป็น 012345
แต่พอมา Zone C - F จะเปลี่ยนเป็นอ่านทีละ row โดยเมื่ออ่านค่าได้ ก็ไปเทียบกับเฉลย แล้วก็บันทึกเป็นคะแนนออกมาด้วย หรือ ถ้ามีการกำหนดเกณฑ์ผ่านก็แจ้ง P/F ออกมาให้เลย และ export ข้อมูลดิบเพื่อนำมาทำ report อื่น ๆ ได้อีก
ประเด็นที่กังวลกันว่าต้อง 2B เท่านั้น เพราะมันสะท้อนคาร์บอนอะไร
อันนี้ไม่แน่ใจ แต่เท่าที่รู้จากผู้ผลิต คือปัจจุบันมันอ่านค่าความเข้มตรงตำแหน่งที่กำหนดใน zone น่ะครับ ก็มีประเด็นดังนี้
- หากฝนไม่ทั่ว (ไม่เกิน 50% ของพื้นที่ช่อง ระบบอาจจะถือว่าไม่ได้ฝน ขึ้นกับการตั้งค่า error correction ของพื้นที่การฝน)
- หากฝนจาง (ใช้ดินสอต่ำว่า 2B) พอเครื่อง ปรับการอ่านตามรูปตำอย่าง บริเวณที่ฝนอาจไม่เข้มพอ ก็เลยตีเป็นไม่ได้ฝน ขึ้นกับการปรับค่า error correction ของปริมาณความเข้มเช่นกัน)
หลักการทำงานจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนครับ
(1) ระบบการกำหนดพิกัด
ลองสังเกตุดูครับกระดาษที่ใช้จะมีการ mark เป็นแถบสีดำเล็ก ๆ บริเวณขอบด้านซ้าย/ด้านขวา และ ด้านบน/ด้านล่าง เพื่อบอกขนาดของกระดาษคำตอบว่า
มีกี่ rows และ กี่ columns ... เพื่อเป็นการ define ขนาดของกระดาษที่จะใช้งาน (ในขั้นตอนนี้จะมีการออกแบบแล้วส่งโรงพิมพ์ ซึ่งโดยมากก็ใช้ตามที่ผู้ขายเครื่อง OMR แนะนำมาครับ) ... ซึ่งกระดาษที่ออกแบบก็จะสั่งทีละเยอะ ๆ
(2) เมื่อรขนาดของกระดาษแล้ว หลังจากที่โรงพิมพิ์นำส่งกระดาษที่พิมพ์เสร็จแล้วมาให้ ก็จะมากำหนด Zone ในการอ่านว่าจะให้เครื่องอ่านค่าการฝนเป็นกี่ zone แต่ละ zone เก็บค่าอะไรบ้าง เช่น ตามรูปตัวอย่าง
สมมติว่าเป็นการสอบ 120 ข้อ และ คะแนนเท่ากัน ไม่มีการแบ่ง Part (รายละเอียดในการใช้งานมีการประยุกต์ได้อีก ไว้แนะนำอีกที)
ก็จะแบ่งได้เผ็น 6 Zone
- Zone A มี 6 Columns x 10 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าบนลงล่าง แทนค่า row1 - row10 ด้วย 0 - 9
- Zone B มี 5 Columns x 10 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าบนลงล่าง แทนค่า row1 - row10 ด้วย 0 - 9
- Zone C มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
- Zone D มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
- Zone E มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
- Zone F มี 5 Columns x 30 Rows = การอ่านค่า อ่านค่าซ้ายไปขวา แทนค่า col1 - col4 ด้วย 1 - 5
ทำการกำหนดค่า error ต่าง ๆ เช่น
- ฝนซ้ำ ให้แสดงด้วยเครื่องหมาย X
- ไม่ฝน/ฝนจาง ให้แสดงด้วยเครื่องหมาย ?
จากนั้นบันทึกค่าลงไปในโปรแกรมของเครื่อง OMR ที่ Install ไว้ที่เครื่อง PC เช่น ans_120x1.ans เป็นต้น
(3) กรณีต้องการให้ OMR ทำการตรวจข้อสอบให้ ก็ให้ฝนเฉลยลงในกระดาษคำตอบ โดยฝน zone A และ B เป็น 0 (ขั้นตอนนี้มักจะเกิด human error) ... จากนั้นทำการให้เครื่อง OMR บันทึกค่าเฉลย แล้ว Save ไว้ เช่น key_สอบ2557.key
* ปัจจุบันมีบางระบบประยุกต์ให้ OMR ทำการ scan อย่างเดียว แล้วนำข้อมูลมาตรวจภายนอก ทำให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่นกรณีมีการแบ่งหมวด มีการบังคับผ่าน เป็นต้น เพราะ software ของ OMR ค่อนข้างยุ่งยาก พอควร
(4) ก็ไปจัดสอบจนสอบเสร็จ เราก็จะได้
- file ที่กำหนดพิกัดของข้อมูล ans_120x1.ans
- file ที่กำหนดเฉลย key_สอบ2557.key
- กระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบ
จากนั้นเราก็เปิดโปรแกรม เลือก ข้อมูลกระดาษ + เลือกเฉลย แล้วนำกระดาษคำตอบใส่ให้เครื่อง OMR อ่าน
วิธีการอ่านก็คือ OMR จะเหมือนถ่ายรูป โดยจะ detect เฉพาะบริเวณที่เข้ม (แถบกำหนดพิกัด และ ที่ฝนด้วยดินสอ)
แสดงกระดาษคำตอบที่ฝนแล้ว
แสดงรูปแบบข้อมูลที่เครื่อง OMR อ่าน โดยจะคล้ายกับการที่เราแก้ไขรูปโดยเพิ่มความสว่างมาก ๆ
ลองสังเกตสีของข้อความบนระดาษคำตอบจะใช้สีอ่อน ซึ่งเมื่อเพิ่มความสว่างจะหายไป
ดังนั้น ก็จะเช่นเดียวกันกับคนที่ฝนไม่ดำพอ
แสดงวิธีการอ่งตำแหน่งข้อมูล
มาถึงจุดนี้พอเครื่องอ่านค่าข้อมูลการฝนได้แล้ว ก็จะไปอ้างอิงวิธีการตีความข้อมูลตามการกำหนด Zone ยกตัวอย่าง Zone A
เราระบุตำแหน่งว่าเริ่มจาก column ไหน ถึง column ไหน สมมติ col 20 - col25 และข้อมูลจะเป็น rows 1 - 10 แทนค่า 0 - 9
ก็เหมือนการนับปกติน่ะครับได้เป็น
ค่าที่ A1 (Zone A ค่าที่ 1) = "?" (? แทนการไม่ตอบ X แทนการตอบซ้ำ)
col20 - row1 อ่านค่าสีเป็น ขาว/ดำ ถ้าดำแสดงว่ามีการฝน ถ้าค่า A1="?" แล้ว ให้ค่า A1=0 ถ้าไม่ ให้ค่า A1="X"
col20 - row2 อ่านค่าสีเป็น ขาว/ดำ ถ้าดำแสดงว่ามีการฝน ถ้าค่า A1="?" แล้ว ให้ค่า A1=1 ถ้าไม่ ให้ค่า A1="X"
...
col20 - row10 อ่านค่าสีเป็น ขาว/ดำ ถ้าดำแสดงว่ามีการฝน ถ้าค่า A1="?" แล้ว ให้ค่า A1=9 ถ้าไม่ ให้ค่า A1="X"
แล้วก็ต่อที่ A2 - A6
ก็จะรู้รหัสประจำตัว เช่นตัวอย่างก็จะเป็น 012345
แต่พอมา Zone C - F จะเปลี่ยนเป็นอ่านทีละ row โดยเมื่ออ่านค่าได้ ก็ไปเทียบกับเฉลย แล้วก็บันทึกเป็นคะแนนออกมาด้วย หรือ ถ้ามีการกำหนดเกณฑ์ผ่านก็แจ้ง P/F ออกมาให้เลย และ export ข้อมูลดิบเพื่อนำมาทำ report อื่น ๆ ได้อีก
ประเด็นที่กังวลกันว่าต้อง 2B เท่านั้น เพราะมันสะท้อนคาร์บอนอะไร
อันนี้ไม่แน่ใจ แต่เท่าที่รู้จากผู้ผลิต คือปัจจุบันมันอ่านค่าความเข้มตรงตำแหน่งที่กำหนดใน zone น่ะครับ ก็มีประเด็นดังนี้
- หากฝนไม่ทั่ว (ไม่เกิน 50% ของพื้นที่ช่อง ระบบอาจจะถือว่าไม่ได้ฝน ขึ้นกับการตั้งค่า error correction ของพื้นที่การฝน)
- หากฝนจาง (ใช้ดินสอต่ำว่า 2B) พอเครื่อง ปรับการอ่านตามรูปตำอย่าง บริเวณที่ฝนอาจไม่เข้มพอ ก็เลยตีเป็นไม่ได้ฝน ขึ้นกับการปรับค่า error correction ของปริมาณความเข้มเช่นกัน)
ความคิดเห็นที่ 4
ย้อนหลังไปซัก 20 ปี ++ ที่แล้ว
ที่ ร.ร. พาณิชย์ แห่งหนึ่ง สมัยนั้น ก็เริ่มใช้ กระดาษคำตอบแบบฝน 2B มานานแล้ว
ไอ้เราก็ว่า เออ ร.ร.ทันสมัยแฮะ คงมีเครื่องตรวจคำตอบที่ทันสมัย คงแพงน่าดู
ทุ่มทุนสร้างแน่ ๆ
พอเรียนจบไปสมัครเป็นผู้ช่วยครู เพิ่งถึงบางอ้อว่า
ไอ้เครื่องตรวจทีทันสมัยน่ะไม่มีล่ะ ใช้ครูนี่ล่ะตรวจ
โดยเอากระดาษข้อสอบนี่ล่ะ แล้วเอาธูปจุดให้เป็นรู แล้วเอามาทาบ ชุดใครชุดมัน
ที่ ร.ร. พาณิชย์ แห่งหนึ่ง สมัยนั้น ก็เริ่มใช้ กระดาษคำตอบแบบฝน 2B มานานแล้ว
ไอ้เราก็ว่า เออ ร.ร.ทันสมัยแฮะ คงมีเครื่องตรวจคำตอบที่ทันสมัย คงแพงน่าดู
ทุ่มทุนสร้างแน่ ๆ
พอเรียนจบไปสมัครเป็นผู้ช่วยครู เพิ่งถึงบางอ้อว่า
ไอ้เครื่องตรวจทีทันสมัยน่ะไม่มีล่ะ ใช้ครูนี่ล่ะตรวจ
โดยเอากระดาษข้อสอบนี่ล่ะ แล้วเอาธูปจุดให้เป็นรู แล้วเอามาทาบ ชุดใครชุดมัน
แสดงความคิดเห็น
เครื่องตรวจข้อสอบที่ฝนด้วยดินสอ 2B ขึ้นไปหน้าตาเป็นอย่างไรคะ และมีหลักการทำงานยังไง
เราก็มักจะใช้กระดาษคำตอบที่ต้องฝนตัวเลือกด้วยดินสอที่มีความเข้มเกิน 2Bขึ้นไป
เลยมีความสงสัยน่ะค่ะ ว่าเจ้าตัวเครื่องนี่มันหน้าตาเป็นยังไงเพราะไม่เคยมีโอกาสได้ยลโฉมเลยค่ะ 555+
ขออนุญาตสอบถามเป็นข้อๆหน่อยนะคะ
1.เจ้าเครื่องตรวจข้อสอบที่ฝนด้วยดินสอ 2B ขึ้นไปนี้มีชื่อเรียกว่าอะไรคะ
ราคาแพงหรือเปล่า ตัวใหญ่แล้วหนักประมาณไหน?
2.ตัวเครื่องมีหลักการตรวจข้อสอบยังไง (หมายถึงว่ามีเซ็นเซอร์เช็คนับจุดทึบอะไรยังไงเนี่ยอ่ะค่ะ)
3.เครื่องเหล่านี้มีการตรวจเซ็ค Error ยังไง กรณีที่กระดาษคำตอบมีการฝนไม่เต็มช่อง ฝนคำตอบเบาไป หรือข้อเดียวกันฝนคำตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก
4.เครื่องตรวจข้อสอบเหล่านี้ เซ็นเซอร์ที่นับจุดทึบเหล่านี้มีขีดจำกัดหรือเปล่าคะ ว่าจับเซ็นเซอร์จุดทึบสูงสุดได้เท่าไหร่
กรณีผู้ออกข้อสอบออกข้อสอบมากกว่า 100 ข้อ เช่น ออกสอบ 200 ข้อ ไรงิ
5. เวลาเครื่องตรวจข้อสอบในการทำการตรวจสอบ 1 แผ่นใช้เวลาตรวจเท่าไหร่
7. เครื่องสามารถตรวจคำตอบในลักษณะเฉพาะแบบนี้ได้ไหมคะ
เช่น ข้อ 1 - 20 ตอบถูกจะนับข้อละ 2 คะแนน
ส่วนข้อ 30 - 100 ตอบถูกให้นับเป็น 1 คะแนน
8.เครื่องตรวจข้อสอบเหล่านี้มีโอกาสการนับผิดพลาดได้บ้างไหม
ถ้าผิดพลาดคิดประมาณได้กี่ % เช่น 0.00XXX อะไรอย่างงี้อ่ะค่ะ
9.กรณีไหนบ้างที่เครื่องจะไม่ยอมนับหรือตรวจคะแนนเลย ในที่นี้หมายถึงไม่ยอมตรวจสักข้อเลยนะคะ
10.การแสดงผลคะแนนการตรวจคำตอบ เครื่องจะแสดงยังไงอ่ะคะ (แสดงที่หน้าจอเครื่อง PC ใช่หรือเปล่า? หรือตัวเครื่องตรวจข้อสอบเลย)
11.เมืองไทยเริ่มการใช้งานเจ้าเครื่องตรวจข้อสอบนี้ประมาณปีไหน (ข้อนี้น่าจะยากไปละมั่ง แต่ก็แอบสงสัยค่ะ)
12.นอกจากเมืองไทยใช้งานแล้ว ต่างประเทศเค้ามีการตรวจกระดาษคำตอบแบบนี้ไหมคะ
ถ้ามี ประเทศไหนเป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องมือทุ่นแรงอย่างงี้คะ
ขอสอบถามเพียงเท่านี้ก่อนค่ะ
ขอบคุณค่ะ
--แก้ข้อความค่ะพิมพ์ผิดบานเลย---