สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ตอบในฐานะที่เป็นลูกรถไฟ พ่อผมทำงานรถไฟ
พขร พนักงานขับรถ
พหล พนักงานห้ามล้อ (พนักงานตัดตั๋วโดยสาร สมัยก่อนเป็นตั๋วแข็ง แล้วใช้คีมตัดตัว เดี๋ยวนี้เป็นตั๋วกระดาษแผ่น ๆ หมดแล้ว)
พรร พนักงานรักษารถ (ตำแหน่งสุดท้ายของพ่อผม มีหน้าที่คุมขบวนรถทั้งขบวน)
พนักงานเหล่านี้เป็นพนักงานที่อยู่บนขบวนรถที่จะติดไปกับขบวน ทั้งรถโดยสาร และ รถสินค้า (ยังไม่นับช่างเครื่อง ตำรวจรถไฟ และพนักงานอื่น ๆ)
การทำงาน จะบอกว่าเป็นกะก็ไม่เชิง ยกตัวอย่างเช่น ขบวนรถโดยสารขบวนรถเร็ว 109 ต้นทาง กรุงเทพ ปลายทางเชียงใหม มีระยะเวลาออกจากต้นทาง(หัวลำโพง) 12.45 ถึงสถานีเชียงใหม่เวลา ตี 4 (ถ้ารถไม่เสียเวลา) เมื่อส่งผู้โดยสารถึงปลายทางแล้ว พนักงานทุกคนก็แยกย้ายก้นไปทำหน้าที่อื่น ๆ ของแต่ละคน เช่น พนักงานรักษารถ ต้องไปรายงานต่อนายสถานี เมื่อเสร็จแล้วจึงกลับไปพักได้ .... งานรถไฟเวลาไม่แน่นอนครับ ไม่มีหยุดเสาร์อาทิตย์อย่างเป็นทางการ (พูดถึงพนักงานฝ่ายการเดินรถ ไม่นับ ฝ่ายสำนักงาน)
เวลาเข้างานก็ไม่แน่นอน บางทีขบวนรถออก ตี 2 ตี 3 ก็ ต้องเตรียมตัวตั้งแต่ ค่ำ ๆ แล้ว
การรถไฟจะมีทีพักให้พนักงานเวลาเดินรถ คือ รันนิ่ง .... รันนิ่ง คือ บ้านไม้ลักษณะทาวเฮ้า สร้างเป็น บ้านพักรถไฟ สำหรับพนักงาน บ้านพักตรงนี้สำหรับใช้เป็นที่พักชั่วคราวเวลามาเดินรถ และ เป็นสวัสดิการให้พนักงาน ที่ทำงานอยู่แถวนั้นเข้าอยู่ได้เหมือนบ้านพักข้าราชการ เข้าอยู่จนกว่าจะเกษียนได้เลย (ผมอยู่บ้านพักรถไฟบางกอกน้อย เป็นที่อยู่อาศัยมากว่า 30 ปี ตั้งแต่พ่อ บรรจุ เข้างานได้ไม่นาน สำหรับบ้านพักนี้ หากเราโดนย้ายไปประจำที่ใด เช่น โดนไปประจำที่ชุมพร ก็สามารถ ขอบ้านพักที่ชุมพรได้ แต่ต้องย้ายจาก รันนิ่งที่เก่าด้วย หรือไม่ขอบ้านพัก อยากอยู่ที่เก่าก็ทำได้ )
เวลา รอขบวนรถเที่ยวล่อง หรือ เที่ยวกลับแต่ละขบวนไม่เท่ากัน บางขบวน เมื่อถึงสถานีปลายทาง อาจอยู่ที่จังหวัดนั้น 1-2 วัน หรือ บางที อยู่แค่ไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องกลับ ดังนั้นถ้าได้อยู่ 1-2 วัน นั่นคือช่วงเวลาวันหยุดที่เราจะไปเที่ยวที่ใหนก็แล้วแต่เรา ผมมักจะร้องงอแง ขอพ่อไปทำงานด้วยทุกครั้งเพราะ นอกจากได้นั่งรถไฟเที่ยว ยัง ได้ไปเที่ยวที่สถานีปลายทางนั้น ๆ ด้วย ตอนที่พ่อผมทำรถโดยสาร ผมได้ไปเที่ยวเกือบทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ เพราะพ่อผมประจำขบวนรถสายใต้)
เป็นงานที่หลายคนคึดว่าสนุก แต่ผมเห็นพ่อเหนื่อยมาตลอดชีวิต มันไม่สวยหรูอย่างที่ใครคึด บางทีรถตาย-- (ภาษาของพนักงานรถไฟ อุบัติเหตุ หัวจักรเสีย หรือ ไปชนอะไรเข้า พ่อผมที่เป็น พรร ต้องรับผิดชอบทั้งหมดในฐานะ พนังการรักษารถ และบางครั้งต้องลงไปต่อท่อด้วยตนเอง (ท่อระหว่างตู้โบกี้) เป็นประจำ บางที 20 โบกี้ ก็ต้องเดินต่อท่อให้เชื่อมติดกันกว่าจะครบ 20 โบกี้ เหนื่อยแทบตาย .... สมัยนึงพ่อผมเป็น พหล กำลังตัดตัวโดยสารอยู่ คีมตัดตั๋วหล่นจาก ขบวนรถ พ่อต้องรอให้ถึงปลายทางก่อนแล้วกลับมา ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งเป็นป่าใกล้ ๆ กับ ทางรถไฟสายมรณะ กาณจบุรี ตอนนั้นดึกมากแล้ว พ่อใช้ไฟฉายเดินหา คีมตัดตั๋ว เดินส่องไฟตามทางรถไฟไปซักพัก ก็ส่องไฟไปเจอกับชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นบอกพ่อผมว่า "พี่ หาไอ้นี่อยู่หรือเปล่า" พ่อผมบอก ขอบคุณครับ พร้อมกับยืนมือไปหยิบคีมตัดตั๋ว แต่พอยื่นมือไป ก็เห็นเป็นชายหัวขาด เรื่องผีกับงานรถไฟของพ่อผมมีหลายเรื่องมาก ๆๆ แกทำงานมา 40 เรื่องราวแปลก ๆ ก็เยอะ ....
พขร พนักงานขับรถ
พหล พนักงานห้ามล้อ (พนักงานตัดตั๋วโดยสาร สมัยก่อนเป็นตั๋วแข็ง แล้วใช้คีมตัดตัว เดี๋ยวนี้เป็นตั๋วกระดาษแผ่น ๆ หมดแล้ว)
พรร พนักงานรักษารถ (ตำแหน่งสุดท้ายของพ่อผม มีหน้าที่คุมขบวนรถทั้งขบวน)
พนักงานเหล่านี้เป็นพนักงานที่อยู่บนขบวนรถที่จะติดไปกับขบวน ทั้งรถโดยสาร และ รถสินค้า (ยังไม่นับช่างเครื่อง ตำรวจรถไฟ และพนักงานอื่น ๆ)
การทำงาน จะบอกว่าเป็นกะก็ไม่เชิง ยกตัวอย่างเช่น ขบวนรถโดยสารขบวนรถเร็ว 109 ต้นทาง กรุงเทพ ปลายทางเชียงใหม มีระยะเวลาออกจากต้นทาง(หัวลำโพง) 12.45 ถึงสถานีเชียงใหม่เวลา ตี 4 (ถ้ารถไม่เสียเวลา) เมื่อส่งผู้โดยสารถึงปลายทางแล้ว พนักงานทุกคนก็แยกย้ายก้นไปทำหน้าที่อื่น ๆ ของแต่ละคน เช่น พนักงานรักษารถ ต้องไปรายงานต่อนายสถานี เมื่อเสร็จแล้วจึงกลับไปพักได้ .... งานรถไฟเวลาไม่แน่นอนครับ ไม่มีหยุดเสาร์อาทิตย์อย่างเป็นทางการ (พูดถึงพนักงานฝ่ายการเดินรถ ไม่นับ ฝ่ายสำนักงาน)
เวลาเข้างานก็ไม่แน่นอน บางทีขบวนรถออก ตี 2 ตี 3 ก็ ต้องเตรียมตัวตั้งแต่ ค่ำ ๆ แล้ว
การรถไฟจะมีทีพักให้พนักงานเวลาเดินรถ คือ รันนิ่ง .... รันนิ่ง คือ บ้านไม้ลักษณะทาวเฮ้า สร้างเป็น บ้านพักรถไฟ สำหรับพนักงาน บ้านพักตรงนี้สำหรับใช้เป็นที่พักชั่วคราวเวลามาเดินรถ และ เป็นสวัสดิการให้พนักงาน ที่ทำงานอยู่แถวนั้นเข้าอยู่ได้เหมือนบ้านพักข้าราชการ เข้าอยู่จนกว่าจะเกษียนได้เลย (ผมอยู่บ้านพักรถไฟบางกอกน้อย เป็นที่อยู่อาศัยมากว่า 30 ปี ตั้งแต่พ่อ บรรจุ เข้างานได้ไม่นาน สำหรับบ้านพักนี้ หากเราโดนย้ายไปประจำที่ใด เช่น โดนไปประจำที่ชุมพร ก็สามารถ ขอบ้านพักที่ชุมพรได้ แต่ต้องย้ายจาก รันนิ่งที่เก่าด้วย หรือไม่ขอบ้านพัก อยากอยู่ที่เก่าก็ทำได้ )
เวลา รอขบวนรถเที่ยวล่อง หรือ เที่ยวกลับแต่ละขบวนไม่เท่ากัน บางขบวน เมื่อถึงสถานีปลายทาง อาจอยู่ที่จังหวัดนั้น 1-2 วัน หรือ บางที อยู่แค่ไม่กี่ชั่วโมง ก็ต้องกลับ ดังนั้นถ้าได้อยู่ 1-2 วัน นั่นคือช่วงเวลาวันหยุดที่เราจะไปเที่ยวที่ใหนก็แล้วแต่เรา ผมมักจะร้องงอแง ขอพ่อไปทำงานด้วยทุกครั้งเพราะ นอกจากได้นั่งรถไฟเที่ยว ยัง ได้ไปเที่ยวที่สถานีปลายทางนั้น ๆ ด้วย ตอนที่พ่อผมทำรถโดยสาร ผมได้ไปเที่ยวเกือบทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ เพราะพ่อผมประจำขบวนรถสายใต้)
เป็นงานที่หลายคนคึดว่าสนุก แต่ผมเห็นพ่อเหนื่อยมาตลอดชีวิต มันไม่สวยหรูอย่างที่ใครคึด บางทีรถตาย-- (ภาษาของพนักงานรถไฟ อุบัติเหตุ หัวจักรเสีย หรือ ไปชนอะไรเข้า พ่อผมที่เป็น พรร ต้องรับผิดชอบทั้งหมดในฐานะ พนังการรักษารถ และบางครั้งต้องลงไปต่อท่อด้วยตนเอง (ท่อระหว่างตู้โบกี้) เป็นประจำ บางที 20 โบกี้ ก็ต้องเดินต่อท่อให้เชื่อมติดกันกว่าจะครบ 20 โบกี้ เหนื่อยแทบตาย .... สมัยนึงพ่อผมเป็น พหล กำลังตัดตัวโดยสารอยู่ คีมตัดตั๋วหล่นจาก ขบวนรถ พ่อต้องรอให้ถึงปลายทางก่อนแล้วกลับมา ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งเป็นป่าใกล้ ๆ กับ ทางรถไฟสายมรณะ กาณจบุรี ตอนนั้นดึกมากแล้ว พ่อใช้ไฟฉายเดินหา คีมตัดตั๋ว เดินส่องไฟตามทางรถไฟไปซักพัก ก็ส่องไฟไปเจอกับชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นบอกพ่อผมว่า "พี่ หาไอ้นี่อยู่หรือเปล่า" พ่อผมบอก ขอบคุณครับ พร้อมกับยืนมือไปหยิบคีมตัดตั๋ว แต่พอยื่นมือไป ก็เห็นเป็นชายหัวขาด เรื่องผีกับงานรถไฟของพ่อผมมีหลายเรื่องมาก ๆๆ แกทำงานมา 40 เรื่องราวแปลก ๆ ก็เยอะ ....
แสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับ พนง.รถไฟไทยครับ