ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (19-23 เม.ย. 57) ได้ลองทดสอบการรับสัญญาณทีวีดิจิตอล โดยใช้สายอากาศแผงก้างปลา ติดตั้งภายนอกอาคาร 4 รุ่น ดังนี้ครับ
1. SAMART UHF-14E
2. SAMART UHF-25E
3. SAMART D3E
4. แผงรวมช่อง UV-5E
การเปรียบเทียบ ใช้วิธีดูความแรง/คุณภาพของสัญญาณจากกล่อง set top box ยี่ห้อไทยแซท และยี่ห้อ Topfield หรือรับด้วย iDTV ยี่ห้อ Panasonic
สถานที่ติดตั้งสายอากาศ สูงจากพื้น 10-12 เมตร ณ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม (67 กม. จากตึกใบหยก 2) และ ตัวเมืองสงขลา (22 กม. จากสถานีส่งเขาคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา)
โครงข่ายที่รับชม ดังนี้ครับ
---- กรุงเทพ ตึกใบหยก 2 ----
MUX1 PRD ช่อง 26 ความถี่ 514 MHz
MUX2 TV5 MUX2 ช่อง 36 ความถี่ 594 MHz
MUX3 MCOT ช่อง 40 ความถี่ 626 MHz
MUX4 TPBS ช่อง 44 ความถี่ 658 MHz
MUX5 TV5 MUX5 ช่อง 52 ความถี่ 722 MHz
---- สงขลา เขาคอหงส์ ----
MUX1 PRD ช่อง 50 ความถี่ 706 MHz (ยังไม่ทดลองออกอากาศ)
MUX2 TV5 MUX2 ช่อง 42 ความถี่ 642 MHz
MUX3 MCOT ช่อง 46 ความถี่ 674 MHz
MUX4 TPBS ช่อง 54 ความถี่ 738 MHz
MUX5 TV5 MUX5 ช่อง 26 ความถี่ 514 MHz
---- สรุปผลการทดสอบสายอากาศในภาพรวม ----
ขอไม่นำตัวเลขความแรง/คุณภาพ มาลงนะครับ เพราะจะทำให้ตาลายเปล่า ๆ ขอสรุปในภาพรวมดีกว่าครับ
*** สงขลา ***
1. แผง 25E ให้สัญญาณแรงกว่าแผง 14E ในช่อง 26 - 42
แต่ช่อง 46 - 54 แผง 14E สัญญาณแรงกว่าแผง 25E มาก
และเพื่อจำลองสถานการณ์ว่า รับสัญญาณจากที่ไกล ๆ สัญญาณอ่อน จึงได้เพิ่มตัวลดทอนสัญญาณ (attenuator)เข้าไปครับ
เมื่อปรับการลดทอนสัญญาณให้มากขึ้น แผง 14E ยังรับได้ครบทั้ง 4 Mux แต่แผง 25E รับได้แต่ Mux TV5 สงขลาช่อง 26 และ 42 เท่านั้น
โชคดีที่เดี๋ยวนี้หาแผง 25E ได้ยากมาก ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องเสี่ยงซื้อมาใช้แล้วรับดิจิตอลได้ไม่ดีเท่า 14E (ซึ่งหาซื้อไม่ได้เช่นกัน)
2. Mux MCOT สงขลา สัญญาณอ่อนกว่า Mux อื่น ๆ ที่สงขลา เพราะใช้เครื่องส่งทดลอง กำลังส่งต่ำ
**** กรุงเทพ ****
1. Mux TPBS ช่อง 44 ประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาคือ MCOT ช่อง 40 ซึ่งแผงก้างปลาที่นำมาทดสอบ 3 แผงคือ 14E, D3E และ UV-5E สามารถรับได้นิ่งดีไม่มีปัญหาใด ๆ
2. UHF-14E รับสัญญาณได้ดีที่สุด แต่มีจุดอ่อนที่ TV5 Mux2 ช่อง 36 ที่รับสัญญาณสู้ D3E ไม่ได้
3. Mux PRD ช่อง 26 สัญญาณอ่อน ต้องใช้ UHF-14E เท่านั้น จึงจะรับได้ที่กำแพงแสน
4. จะรับ TV5 MUX 2 ช่อง 36 ได้ดี ต้องใช้ D3E แต่จะรับ TV5 MUX5 ช่อง 52ได้ดีต้องใช้ 14E
5. MUX 5 ช่อง 52 ที่กำแพงแสน ต้องใช้ 14E เท่านั้นจึงจะรับได้นิ่ง
6. 14E พอรับ MUX2 ช่อง 36 ได้นิ่ง ความแรงดีกว่า D3E แต่คุณภาพสู้ D3E ไม่ได้
สรุปประสิทธิภาพของ Mux และแผงก้างปลาในภาพรวมสำหรับสถานีส่งตึกใบหยก 2 ครับ
MUX 1 PRD สัญญาณอ่อนมาก ไกลจากสถานีส่งเกิน 50 กม. แผงเดียวที่รับได้คือ UHF-14E
MUX 2 TV5 (594 MHz) สัญญาณค่อนข้างอ่อน แผง D3E รับ Mux นี้ได้ดีกว่า UHF-14E ครับ
MUX 3 MCOT สัญญาณแรงและค่อนข้างนิ่ง รับได้ดีทุกแผง
MUX 4 TPBS สัญญาณแรงและคุณภาพดีที่สุด รับได้ดีทุกแผง
MUX 5 TV5 (722 MHz) สัญญาณค่อนข้างแรงและนิ่ง แต่ต้องใช้แผง UHF-14E จึงจะรับได้ดี (แผง D3E ไกลสถานีส่งเกิน 50 กม. รับ MUX นี้กระตุก)
เรียงประสิทธิภาพการออกอากาศของ MUX ต่าง ๆ จากสูงไปหาต่ำ
TPBS ---> MCOT ----> TV5 MUX5 ----> TV5 MUX2 ----> PRD
เรียงประสิทธิภาพการรับสัญญาณของแผงก้างปลารุ่นต่าง ๆ จากสูงไปหาต่ำ ณ ที่ไกลจากสถานีส่งเกิน 50 กม.
UHF-14E ---> UHF-25E ----> D3E ----> UV-5E
UHF-14E จุดแข็งคือ รับ MUX5 ได้ดี และรับ MUX อื่น ๆ ได้ดีแม้ไกลจากสถานีส่งเกิน 50 กม.
UHF-25E จุดแข็งคือ รับช่องต่ำ ๆ 26-42 ได้ดี จุดอ่อนคือ รับช่องสูง ๆ 46-54 ไม่ดี
SAMART D3E จุดแข็งคือ รับ TV5 MUX2 (594 MHz) ได้ดีกว่าทุกแผงที่ทดสอบ แต่รับ MUX 1 PRD กับ MUX5 (722 MHz) ณ ที่ไกล ๆ ไม่ดี
UV-5E คุณภาพต่ำที่สุด แต่ก็ยังรับ TPBS กับ MCOT ณ ที่ไกล ๆ ได้
คงพอเป็นแนวทางในการเลือกซื้อแผงก้างปลาเพื่อรับทีวีดิจิตอลต่อไปนะครับ
ป.ล. ปัจจุบัน แผง SAMART UHF-14E หาซื้อยากครับ ท่านใดอยากจะซื้อ 14E ลองดูยี่ห้ออื่นก็ได้ครับ เช่น BETA HD 14E ซึ่งมีขายแพร่หลายกว่า แต่ราคาค่อนข้างแพงครับ (500-650 บาท)
ทดสอบประสิทธิภาพสายอากาศภายนอก(แผงก้างปลา) 4 รุ่น ในการรับทีวีดิจิตอล
1. SAMART UHF-14E
2. SAMART UHF-25E
3. SAMART D3E
4. แผงรวมช่อง UV-5E
การเปรียบเทียบ ใช้วิธีดูความแรง/คุณภาพของสัญญาณจากกล่อง set top box ยี่ห้อไทยแซท และยี่ห้อ Topfield หรือรับด้วย iDTV ยี่ห้อ Panasonic
สถานที่ติดตั้งสายอากาศ สูงจากพื้น 10-12 เมตร ณ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม (67 กม. จากตึกใบหยก 2) และ ตัวเมืองสงขลา (22 กม. จากสถานีส่งเขาคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา)
โครงข่ายที่รับชม ดังนี้ครับ
---- กรุงเทพ ตึกใบหยก 2 ----
MUX1 PRD ช่อง 26 ความถี่ 514 MHz
MUX2 TV5 MUX2 ช่อง 36 ความถี่ 594 MHz
MUX3 MCOT ช่อง 40 ความถี่ 626 MHz
MUX4 TPBS ช่อง 44 ความถี่ 658 MHz
MUX5 TV5 MUX5 ช่อง 52 ความถี่ 722 MHz
---- สงขลา เขาคอหงส์ ----
MUX1 PRD ช่อง 50 ความถี่ 706 MHz (ยังไม่ทดลองออกอากาศ)
MUX2 TV5 MUX2 ช่อง 42 ความถี่ 642 MHz
MUX3 MCOT ช่อง 46 ความถี่ 674 MHz
MUX4 TPBS ช่อง 54 ความถี่ 738 MHz
MUX5 TV5 MUX5 ช่อง 26 ความถี่ 514 MHz
---- สรุปผลการทดสอบสายอากาศในภาพรวม ----
ขอไม่นำตัวเลขความแรง/คุณภาพ มาลงนะครับ เพราะจะทำให้ตาลายเปล่า ๆ ขอสรุปในภาพรวมดีกว่าครับ
*** สงขลา ***
1. แผง 25E ให้สัญญาณแรงกว่าแผง 14E ในช่อง 26 - 42
แต่ช่อง 46 - 54 แผง 14E สัญญาณแรงกว่าแผง 25E มาก
และเพื่อจำลองสถานการณ์ว่า รับสัญญาณจากที่ไกล ๆ สัญญาณอ่อน จึงได้เพิ่มตัวลดทอนสัญญาณ (attenuator)เข้าไปครับ
เมื่อปรับการลดทอนสัญญาณให้มากขึ้น แผง 14E ยังรับได้ครบทั้ง 4 Mux แต่แผง 25E รับได้แต่ Mux TV5 สงขลาช่อง 26 และ 42 เท่านั้น
โชคดีที่เดี๋ยวนี้หาแผง 25E ได้ยากมาก ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องเสี่ยงซื้อมาใช้แล้วรับดิจิตอลได้ไม่ดีเท่า 14E (ซึ่งหาซื้อไม่ได้เช่นกัน)
2. Mux MCOT สงขลา สัญญาณอ่อนกว่า Mux อื่น ๆ ที่สงขลา เพราะใช้เครื่องส่งทดลอง กำลังส่งต่ำ
**** กรุงเทพ ****
1. Mux TPBS ช่อง 44 ประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาคือ MCOT ช่อง 40 ซึ่งแผงก้างปลาที่นำมาทดสอบ 3 แผงคือ 14E, D3E และ UV-5E สามารถรับได้นิ่งดีไม่มีปัญหาใด ๆ
2. UHF-14E รับสัญญาณได้ดีที่สุด แต่มีจุดอ่อนที่ TV5 Mux2 ช่อง 36 ที่รับสัญญาณสู้ D3E ไม่ได้
3. Mux PRD ช่อง 26 สัญญาณอ่อน ต้องใช้ UHF-14E เท่านั้น จึงจะรับได้ที่กำแพงแสน
4. จะรับ TV5 MUX 2 ช่อง 36 ได้ดี ต้องใช้ D3E แต่จะรับ TV5 MUX5 ช่อง 52ได้ดีต้องใช้ 14E
5. MUX 5 ช่อง 52 ที่กำแพงแสน ต้องใช้ 14E เท่านั้นจึงจะรับได้นิ่ง
6. 14E พอรับ MUX2 ช่อง 36 ได้นิ่ง ความแรงดีกว่า D3E แต่คุณภาพสู้ D3E ไม่ได้
สรุปประสิทธิภาพของ Mux และแผงก้างปลาในภาพรวมสำหรับสถานีส่งตึกใบหยก 2 ครับ
MUX 1 PRD สัญญาณอ่อนมาก ไกลจากสถานีส่งเกิน 50 กม. แผงเดียวที่รับได้คือ UHF-14E
MUX 2 TV5 (594 MHz) สัญญาณค่อนข้างอ่อน แผง D3E รับ Mux นี้ได้ดีกว่า UHF-14E ครับ
MUX 3 MCOT สัญญาณแรงและค่อนข้างนิ่ง รับได้ดีทุกแผง
MUX 4 TPBS สัญญาณแรงและคุณภาพดีที่สุด รับได้ดีทุกแผง
MUX 5 TV5 (722 MHz) สัญญาณค่อนข้างแรงและนิ่ง แต่ต้องใช้แผง UHF-14E จึงจะรับได้ดี (แผง D3E ไกลสถานีส่งเกิน 50 กม. รับ MUX นี้กระตุก)
เรียงประสิทธิภาพการออกอากาศของ MUX ต่าง ๆ จากสูงไปหาต่ำ
TPBS ---> MCOT ----> TV5 MUX5 ----> TV5 MUX2 ----> PRD
เรียงประสิทธิภาพการรับสัญญาณของแผงก้างปลารุ่นต่าง ๆ จากสูงไปหาต่ำ ณ ที่ไกลจากสถานีส่งเกิน 50 กม.
UHF-14E ---> UHF-25E ----> D3E ----> UV-5E
UHF-14E จุดแข็งคือ รับ MUX5 ได้ดี และรับ MUX อื่น ๆ ได้ดีแม้ไกลจากสถานีส่งเกิน 50 กม.
UHF-25E จุดแข็งคือ รับช่องต่ำ ๆ 26-42 ได้ดี จุดอ่อนคือ รับช่องสูง ๆ 46-54 ไม่ดี
SAMART D3E จุดแข็งคือ รับ TV5 MUX2 (594 MHz) ได้ดีกว่าทุกแผงที่ทดสอบ แต่รับ MUX 1 PRD กับ MUX5 (722 MHz) ณ ที่ไกล ๆ ไม่ดี
UV-5E คุณภาพต่ำที่สุด แต่ก็ยังรับ TPBS กับ MCOT ณ ที่ไกล ๆ ได้
คงพอเป็นแนวทางในการเลือกซื้อแผงก้างปลาเพื่อรับทีวีดิจิตอลต่อไปนะครับ
ป.ล. ปัจจุบัน แผง SAMART UHF-14E หาซื้อยากครับ ท่านใดอยากจะซื้อ 14E ลองดูยี่ห้ออื่นก็ได้ครับ เช่น BETA HD 14E ซึ่งมีขายแพร่หลายกว่า แต่ราคาค่อนข้างแพงครับ (500-650 บาท)