คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
แปลไทย เป็นไทย ได้ความว่า...ปู่ "แบ่งขาย" ที่ดินตามโฉนดให้แก่บุคคลภายนอก...โดยมีข้อตกลงกับผู้ซื้อว่ามิได้เป็นการขายยกแปลง แต่แบ่งขายบางส่วนเท่านั้น....แต่เวลาโอนขายกลับปรากฎตามทะเบียนว่าเป็นการขายหมดทั้งแปลง มิได้มีการรังวัดแยกโฉนดตามที่อ้างแต่อย่างใด
กรณีเช่นนี้ต้องดูเอกสารทางทะเบียนเป็นหลักครับ....เพราะจะนำพยานบุคคลมานำสืบหักล้างเอกสารไม่ได้ อีกทั้งพยานบุคคลที่รู้เห็นทั้งหมดก็น่าจะเสียชีวิตไปหมดแล้ว....ข้อเท็จจริงจึงควรฟังได้ว่า เป็นการขายยกแปลงตามที่ปรากฎการโอนตามโฉนดกันไป ประกอบกับพฤติการณ์ในคดีในตอนที่พ่อแม่คุณซึ่งขณะชีวิตอยู่ มิได้ขวนขวายเรียกร้องตามสิทธิในที่ดินเอากับผู้ซื้อตามที่ได้กล่าวอ้างเลยทั้งที่มีส่วนได้เสียโดยตรง...จึงน่าเชื่อว่าจะเป็นการโอนขายทั้งแปลงมากกว่า
เพราะสัญญาซื้อขายอาจมีการตกลงเปลี่ยนแปลงกันใหม่ได้เสมอตามความสมัครใจของคู่สัญญา...บางทีเมื่อไปถึง สนง.ที่ดิน ปู่คุณอาจจะเปลี่ยนใจขายยกแปลงไปในเวลานั้นก็ได้....หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฎเช่นนั้น
แต่หากข้อเท็จจริงเป็นจริงตามที่คุณกล่าวอ้าง....ทางแก้ไขประการเดียวที่คุณทำได้คือการอ้างกรรมสิทธิ์โดยอาศัยหลัก "ครองครองปรปักษ์" คือการครองครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีย่อมได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมาย.....แต่การได้มาเช่นว่านี้ หากยังมิได้ฟ้องศาลเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน จะยกขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกที่สุจริต และรับโอนโดยเสียค่าตอบแทนไม่ได้....หมายความว่าหากผู้ซื้อได้โอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลภายนอกที่สุจริตไป คุณก็จะอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกไม่ได้.....จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ต่อผู้รับโอนรายใหม่ได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อได้ครอบครบ 10 ปีใหม่อีกครั้งเท่านั้น
ลองพิจารณาดูนะครับ
กรณีเช่นนี้ต้องดูเอกสารทางทะเบียนเป็นหลักครับ....เพราะจะนำพยานบุคคลมานำสืบหักล้างเอกสารไม่ได้ อีกทั้งพยานบุคคลที่รู้เห็นทั้งหมดก็น่าจะเสียชีวิตไปหมดแล้ว....ข้อเท็จจริงจึงควรฟังได้ว่า เป็นการขายยกแปลงตามที่ปรากฎการโอนตามโฉนดกันไป ประกอบกับพฤติการณ์ในคดีในตอนที่พ่อแม่คุณซึ่งขณะชีวิตอยู่ มิได้ขวนขวายเรียกร้องตามสิทธิในที่ดินเอากับผู้ซื้อตามที่ได้กล่าวอ้างเลยทั้งที่มีส่วนได้เสียโดยตรง...จึงน่าเชื่อว่าจะเป็นการโอนขายทั้งแปลงมากกว่า
เพราะสัญญาซื้อขายอาจมีการตกลงเปลี่ยนแปลงกันใหม่ได้เสมอตามความสมัครใจของคู่สัญญา...บางทีเมื่อไปถึง สนง.ที่ดิน ปู่คุณอาจจะเปลี่ยนใจขายยกแปลงไปในเวลานั้นก็ได้....หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฎเช่นนั้น
แต่หากข้อเท็จจริงเป็นจริงตามที่คุณกล่าวอ้าง....ทางแก้ไขประการเดียวที่คุณทำได้คือการอ้างกรรมสิทธิ์โดยอาศัยหลัก "ครองครองปรปักษ์" คือการครองครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีย่อมได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมาย.....แต่การได้มาเช่นว่านี้ หากยังมิได้ฟ้องศาลเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน จะยกขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกที่สุจริต และรับโอนโดยเสียค่าตอบแทนไม่ได้....หมายความว่าหากผู้ซื้อได้โอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลภายนอกที่สุจริตไป คุณก็จะอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกไม่ได้.....จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ต่อผู้รับโอนรายใหม่ได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อได้ครอบครบ 10 ปีใหม่อีกครั้งเท่านั้น
ลองพิจารณาดูนะครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
กฎหมายชาวบ้าน
สอบถามเรื่องปัญหาที่ดินติดโฉนดครับ