EVF ….VS…. OVF
ครับ..เห็นช่วงนี้กระแสของกล้อง Mirorless มาแรง และมีคนตั้งกระทู้สอบถามเกี่ยวกับความแตกต่าง ความคล้ายคลึงและประสิทธิภาพของกล้องทั้ง 2 ชนิดนี้อยู่บ่อยครั้งทำให้วันนี้นึกอยากจะทำบทความที่อธิบายเกี่ยวกับจุดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนหลักๆของกล้องทั้ง 2 ชนิดนี้นั่นก็คือ “ช่องมองภาพ”
OVF (Optical Viewfinder) เป็นช่องมองภาพของกล้องประเภท DSLR (หรือกล้องใหญ่ กล้องโปรฯ แล้วแต่คนจะเรียก) โดยที่ OVF เปรียบเสมือนกับว่าเราเอาเลนส์มายกขึ้นส่องดูภาพจากหลังเลนส์โดยตรงนั่นเอง(แต่มันต้องผ่านกระจกก่อน) โดยแสงจากเลนส์จะส่องมากระทบกระจกในมุม 45องศา ภาพจากเลนส์ก็จะสะท้อนขึ้นด้านบนไปสู่ชิ้นแก้วอันนึงเรียกว่า Pentaprism “ปริซึ่ม 5 เหลี่ยม” แล้วแสงนั้นก็จะถูกหักเหสะท้อนในปริซึ่มอันนั้นจนแสดงภาพออกที่ช่องมองภาพ....ด้านหลัง..กระบวนการทั้งหมดใช้หลักการสะท้อนแสงของฟิสิกส์เท่านั้น..ไม่ใช้ไฟฟ้าใดๆ นั่นก็คือต่อให้เราปิดกล้องแต่เราเปิดฝาปิดเลนส์เราก็สามารถที่จะมองภาพจากช่องมองภาพได้ตลอดเวลา...และการมีอยู่ของ “ปริซึ่ม” นี้เองที่ทำให้กล้องแบบ DSLR ไม่สามารถลดขนาดลงมาได้มากนัก..แต่กลับตรงกันข้าม ในกล้อง DSLR ระดับสูงๆขึ้นไป เจ้าชิ้นแก้วที่เรียกว่า “ปริซึ่ม” แทบจะเรียกว่าเป็นจุดขายของกล้องเลยก็ว่าได้และมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและใสขึ้นเพื่อทำให้มองภาพที่แท้จริงจากเลนส์ได้ใหญ่โตและคมชัดที่สุด ปริซึ่งที่ดีจะต้องเป็นชิ้นแก้วขึ้นรูปทั้งชิ้นเป็นรูป แก้ว 5 เหลี่ยม บางรุ่นที่ช่องมองภาพเล็กและไม่ชัด..ผู้ผลิตอาจจะใช้เป็น Pentamirror แท้โดยน้ำเอาชื้นแก้ว 2 ชิ้นมาประกบกันด้วยกาวชนิดพิเศษแท้ขึ้นรู้เป็น 5 เหลี่ยมแต่แรกเพื่อลดต้นทุน
ถ้าอยากหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าชิ้นแก้วชิ้นนี้มามันทำให้เห็นภาพได้ยังไงมีล็อคอินท่านนึงเคยทำสรุปเอาไว้ให้แล้วครับ..
http://whatsincamera.wordpress.com/tag/pentamirror/
EVF (Electronic Viewfinder) ตามชื่อก็คือเป็นช่องมองภาพแบบดิจิตอล..เนื่องจากกล้องแบบ Mirorless ไม่มีปริซึ่มและไม่มีกระจกสะท้อนภาพ..แสงจากเลนส์จะผ่านเข้ามาตรงที่เซนเซอร์รับภาพตลอดเวลาเพียงแค่กดชัตเตอร์ม่านชัตเตอร์ก็จะเลื่อนปิดเปิดเพื่อบันทึกภาพทันที (บางรุ่นเป็น electronic shutter ทำให้เปิดปิดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมเยอะ..) ส่วนภาพที่เราเห็นจากด้านหลังจอคือภาพที่เซนเซอร์ประมวลผลแสงจากเลนส์แล้วผ่านการตั้งค่ามาแล้วจนถือได้ว่าเกือบจะเป็นภาพที่เห็นจากจอคอมฯ...คือประมาณว่าถ้าภาพจะมืด(under) หรือ สว่าง (over) ก็จะสามารถเห็นได้จากหลังกล้องเลยทันที
ขอดีขอเสียของช่องมองภาพทั้งสองแบบ
1. ในแง่ของการใช้งาน EVF จริงๆแล้วจะทำงานเหมือนกันกับ LV(live View) ของ DSLR ซึ่งมันบริโภคพลังงานในการแสดงภาพอย่างที่เราทราบๆกันดีคล้ายกับการแสดงผลของจอมือถือว่าพลังงานที่ใช้กับการแสดงผลหน้าจอมือถือคืออันดับ 1 ในการใช้พลังงานของมือถือ และเช่นเดียวกันกับการเปิดหน้าจอตลอดเวลาเป็นสิ่งที่บริโภคแบตฯมาที่สุดในการทำงานของกล้อง แม้แต่กล้อง DSLR ถ้าเราปิดการแสดงจอหน้าจอ review เราจะสามารถถ่ายรูปได้เพิ่มอีกประมาณ 30-40 % กันเลยทีเดียว..
2. การแสดงผลแบบ EVF มันเหมือนกับคอมหรือ หน้าจอมือถือ นั่นก็คือมันจะเป็น pixel เล็กๆ ยิ่งเล็กเท่าไหร่ก็จะแสดงผลได้ละเอียดเท่านั้น (เหมือนหน้าจอ iphone) แต่ยิ่งละเอียดเท่าไหร่ก็จะยิ่งใช้พลังงานมากขึ้น
3. เนื่องจาก EVF เป็นภาพที่ต้องการการแปลผลจากเซนเซอร์ ดังนั้นการที่เราจะเห็นภาพได้เราต้องเปิดกล้องให้แสงส่องกระทบเซนเซอร์ไปเรื่อยๆและรอให้ CPU ในกล้องอ่านค่าที่ได้แล้วถึงจะแสดงออกให้เราเห็นบนจอ นึกภาพตามนะครับว่า...เราเอากล้องวีดีโอต่อสายสัญญาณตรงเข้ากับแว่นตาที่ปิดทึบแล้วเราก็อาศัยการมองจากแว่นตาที่เห็นภาพจากกล้องวีดีโอ การที่แสดงต้องกระทบเซนเซอร์อยู่ตลอดเวลานี้เองทำให้ “อายุ” ของเซนเซอร์เสื่อมไวกว่าเซนเซอร์ของ DSLR มากๆ และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างกรณีการนำเอากล้องประเภท Mirorless ไปถ่ายในงานแสดง หรือ คอนเสิร์ตที่มีการยิงเลเซอร์ไปๆมาๆ หากแสงเลเซอร์ส่องลงบนเซนเซอร์จะทำให้เซนเซอร์เสียแบบถาวรได้เลยนะครับ..แต่ปัญหานี้จะเกิดขึ้นยากกับ DSLR เพราะถ้าเราไม่กดชัตเตอร์ให้กระจกยก ยังไงแสงก็ไม่กระทบเซนเซอร์ เพราะDSLR จะมีกระจกบังเซนเซอร์ตลอดเวลาครับ..ดังนั้นปกติแล้วแสงทุกชนิดจะไม่โดนเซนเซอร์เลยแต่จะโดนแค่กระจกแล้วสะท้อนขึ้นมาในช่องมองภาพ
4. การโฟกัส ของ EVF ทำได้แย่กว่า OVF และจะยิ่งแย่ลงถ้าอยู่ในสภาวะแสงน้อย และภาพที่เห็นจริงจะมีความหน่วงระดับนึงขึ้นอยู่กับระยะเวลา respond time คือภาพที่เห็นจากในช่องมองภาพแบบ EVF จะช้ากว่าภาพที่เกิดขึ้นด้านหน้าเล็กน้อยเพราะเสียเวลาให้กับการประมวลผลของเซนเซอร์นั่นเอง.. ดังนั้นจึงมีการพัฒนาCPU ในกล้องให้ประมวลผลเร็วขึ้น เพื่อลดระยะเวลาตรงนี้ลงไป..แต่อย่าลืมว่ายิ่ง CPU ทำงานเร็วขึ้นการบริโภคพลังงานก็มากขึ้นด้วย..และ จะจบลงด้วยการเพิ่มขนาดแบตฯหรือพกแบตฯสำรองนั่นเอง..
5. ปัญหาการใช้งานในที่สว่างมากๆ เช่นการถ่ายการแจ้ง เช่น งานกีฬาสี งานรับปริญญา ถ้ากล้อง Mirorless รุ่นไหนที่ไม่มี EVF แบบช่องมองภาพ เรียกได้ว่าแทบจะใช้งานไม่ได้เลยเพราะไม่สามารถเห็นรายละเอียดในภาพได้และไม่สามารถมองเห็นจุดโฟกัสได้ชัดเจน และการใช้งานกลางแดดก็จะเป็นเหมือนกันกับมือถือกรณีที่ปรับให้มีการแสดงผลแบบ auto นั่นก็คือกลางแดดจัดๆกล้องจะเร่งให้การแสดงผลสว่างที่สุดเพื่อแข่งกับแสงอาทิตย์ทำให้กล้องสูบแบตฯไวมากๆ ใครเคยใช้มือถือกลางแดดบ่อยและถ้าปรับเป็น auto จะเข้าใจดีและนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการใช้มือถือกลางแจ้งแบตฯหมดไวกว่าใช้ในอาคาร อีกประการคือกล้องมีความร้อนสะสมมากขึ้นทั้งจากการใช้พลังงานหน้าจอที่มากและการทำงานของ CPU ในตัวกล้องที่ต้องทำงานตลอดเวลาอีกด้วย....
6. แต่ช่องมองภาพแบบ EVF ก็มีจุดเด่นๆนั่นก็คือ ภาพที่เราเห็นจะเป็นภาพที่คล้ายกับที่เราดูในคอมแน่ๆ เพราะเป็นภาพสุดท้ายก่อนจะลด noise และ บันทึกลงการ์ดแค่นั้นเองดังนั้นการถ่ายออกมาแล้ว under หรือ over จะไม่ค่อยมีเพราะเราจะเห็นภาพจากเซนเซอร์อยู่แล้ว.... ดังนั้นภาพที่ได้จากกล้อง Mirror less นั้นแทบจะไม่มีภาพเสียแบบ over & under แต่จะไปเสียเกี่ยวกับโฟกัสเข้าไม่เข้าแทนเพราะภาพที่เห็นมีขนาดเล็กและไม่ละเอียดเท่าที่ตาเปล่าๆมองจากเลนส์ตรงๆ
------------------------------------------------------------------------------
กรณีนี้ผมจะกล่าวถึงแค่ข้อดีของเสียของช่องมองภาพ(หรือระบบโฟกัส)ของ กล้องทั้ง 2 ประเภทเท่านั้นนะครับ..ปัจจัยเกี่ยวกับ "น้ำหนัก" น่าจะเป็นปัจจัยที่เด่นที่สุดที่ทำให้คนหันเปลี่ยนมาใช้งาน Mirror less กันมากขึ้นในปัจจุบัน และด้วยส่วนที่ Mirror less ได้ถอดออกไปนี้เองที่ทำให้ไม่ต้องใช้งาน Pentaprism และลดน้ำหนักกล้องลงไปได้เยอะที่สุด
EVF VS OVF
ครับ..เห็นช่วงนี้กระแสของกล้อง Mirorless มาแรง และมีคนตั้งกระทู้สอบถามเกี่ยวกับความแตกต่าง ความคล้ายคลึงและประสิทธิภาพของกล้องทั้ง 2 ชนิดนี้อยู่บ่อยครั้งทำให้วันนี้นึกอยากจะทำบทความที่อธิบายเกี่ยวกับจุดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนหลักๆของกล้องทั้ง 2 ชนิดนี้นั่นก็คือ “ช่องมองภาพ”
OVF (Optical Viewfinder) เป็นช่องมองภาพของกล้องประเภท DSLR (หรือกล้องใหญ่ กล้องโปรฯ แล้วแต่คนจะเรียก) โดยที่ OVF เปรียบเสมือนกับว่าเราเอาเลนส์มายกขึ้นส่องดูภาพจากหลังเลนส์โดยตรงนั่นเอง(แต่มันต้องผ่านกระจกก่อน) โดยแสงจากเลนส์จะส่องมากระทบกระจกในมุม 45องศา ภาพจากเลนส์ก็จะสะท้อนขึ้นด้านบนไปสู่ชิ้นแก้วอันนึงเรียกว่า Pentaprism “ปริซึ่ม 5 เหลี่ยม” แล้วแสงนั้นก็จะถูกหักเหสะท้อนในปริซึ่มอันนั้นจนแสดงภาพออกที่ช่องมองภาพ....ด้านหลัง..กระบวนการทั้งหมดใช้หลักการสะท้อนแสงของฟิสิกส์เท่านั้น..ไม่ใช้ไฟฟ้าใดๆ นั่นก็คือต่อให้เราปิดกล้องแต่เราเปิดฝาปิดเลนส์เราก็สามารถที่จะมองภาพจากช่องมองภาพได้ตลอดเวลา...และการมีอยู่ของ “ปริซึ่ม” นี้เองที่ทำให้กล้องแบบ DSLR ไม่สามารถลดขนาดลงมาได้มากนัก..แต่กลับตรงกันข้าม ในกล้อง DSLR ระดับสูงๆขึ้นไป เจ้าชิ้นแก้วที่เรียกว่า “ปริซึ่ม” แทบจะเรียกว่าเป็นจุดขายของกล้องเลยก็ว่าได้และมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและใสขึ้นเพื่อทำให้มองภาพที่แท้จริงจากเลนส์ได้ใหญ่โตและคมชัดที่สุด ปริซึ่งที่ดีจะต้องเป็นชิ้นแก้วขึ้นรูปทั้งชิ้นเป็นรูป แก้ว 5 เหลี่ยม บางรุ่นที่ช่องมองภาพเล็กและไม่ชัด..ผู้ผลิตอาจจะใช้เป็น Pentamirror แท้โดยน้ำเอาชื้นแก้ว 2 ชิ้นมาประกบกันด้วยกาวชนิดพิเศษแท้ขึ้นรู้เป็น 5 เหลี่ยมแต่แรกเพื่อลดต้นทุน
ถ้าอยากหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าชิ้นแก้วชิ้นนี้มามันทำให้เห็นภาพได้ยังไงมีล็อคอินท่านนึงเคยทำสรุปเอาไว้ให้แล้วครับ.. http://whatsincamera.wordpress.com/tag/pentamirror/
EVF (Electronic Viewfinder) ตามชื่อก็คือเป็นช่องมองภาพแบบดิจิตอล..เนื่องจากกล้องแบบ Mirorless ไม่มีปริซึ่มและไม่มีกระจกสะท้อนภาพ..แสงจากเลนส์จะผ่านเข้ามาตรงที่เซนเซอร์รับภาพตลอดเวลาเพียงแค่กดชัตเตอร์ม่านชัตเตอร์ก็จะเลื่อนปิดเปิดเพื่อบันทึกภาพทันที (บางรุ่นเป็น electronic shutter ทำให้เปิดปิดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมเยอะ..) ส่วนภาพที่เราเห็นจากด้านหลังจอคือภาพที่เซนเซอร์ประมวลผลแสงจากเลนส์แล้วผ่านการตั้งค่ามาแล้วจนถือได้ว่าเกือบจะเป็นภาพที่เห็นจากจอคอมฯ...คือประมาณว่าถ้าภาพจะมืด(under) หรือ สว่าง (over) ก็จะสามารถเห็นได้จากหลังกล้องเลยทันที
ขอดีขอเสียของช่องมองภาพทั้งสองแบบ
1. ในแง่ของการใช้งาน EVF จริงๆแล้วจะทำงานเหมือนกันกับ LV(live View) ของ DSLR ซึ่งมันบริโภคพลังงานในการแสดงภาพอย่างที่เราทราบๆกันดีคล้ายกับการแสดงผลของจอมือถือว่าพลังงานที่ใช้กับการแสดงผลหน้าจอมือถือคืออันดับ 1 ในการใช้พลังงานของมือถือ และเช่นเดียวกันกับการเปิดหน้าจอตลอดเวลาเป็นสิ่งที่บริโภคแบตฯมาที่สุดในการทำงานของกล้อง แม้แต่กล้อง DSLR ถ้าเราปิดการแสดงจอหน้าจอ review เราจะสามารถถ่ายรูปได้เพิ่มอีกประมาณ 30-40 % กันเลยทีเดียว..
2. การแสดงผลแบบ EVF มันเหมือนกับคอมหรือ หน้าจอมือถือ นั่นก็คือมันจะเป็น pixel เล็กๆ ยิ่งเล็กเท่าไหร่ก็จะแสดงผลได้ละเอียดเท่านั้น (เหมือนหน้าจอ iphone) แต่ยิ่งละเอียดเท่าไหร่ก็จะยิ่งใช้พลังงานมากขึ้น
3. เนื่องจาก EVF เป็นภาพที่ต้องการการแปลผลจากเซนเซอร์ ดังนั้นการที่เราจะเห็นภาพได้เราต้องเปิดกล้องให้แสงส่องกระทบเซนเซอร์ไปเรื่อยๆและรอให้ CPU ในกล้องอ่านค่าที่ได้แล้วถึงจะแสดงออกให้เราเห็นบนจอ นึกภาพตามนะครับว่า...เราเอากล้องวีดีโอต่อสายสัญญาณตรงเข้ากับแว่นตาที่ปิดทึบแล้วเราก็อาศัยการมองจากแว่นตาที่เห็นภาพจากกล้องวีดีโอ การที่แสดงต้องกระทบเซนเซอร์อยู่ตลอดเวลานี้เองทำให้ “อายุ” ของเซนเซอร์เสื่อมไวกว่าเซนเซอร์ของ DSLR มากๆ และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างกรณีการนำเอากล้องประเภท Mirorless ไปถ่ายในงานแสดง หรือ คอนเสิร์ตที่มีการยิงเลเซอร์ไปๆมาๆ หากแสงเลเซอร์ส่องลงบนเซนเซอร์จะทำให้เซนเซอร์เสียแบบถาวรได้เลยนะครับ..แต่ปัญหานี้จะเกิดขึ้นยากกับ DSLR เพราะถ้าเราไม่กดชัตเตอร์ให้กระจกยก ยังไงแสงก็ไม่กระทบเซนเซอร์ เพราะDSLR จะมีกระจกบังเซนเซอร์ตลอดเวลาครับ..ดังนั้นปกติแล้วแสงทุกชนิดจะไม่โดนเซนเซอร์เลยแต่จะโดนแค่กระจกแล้วสะท้อนขึ้นมาในช่องมองภาพ
4. การโฟกัส ของ EVF ทำได้แย่กว่า OVF และจะยิ่งแย่ลงถ้าอยู่ในสภาวะแสงน้อย และภาพที่เห็นจริงจะมีความหน่วงระดับนึงขึ้นอยู่กับระยะเวลา respond time คือภาพที่เห็นจากในช่องมองภาพแบบ EVF จะช้ากว่าภาพที่เกิดขึ้นด้านหน้าเล็กน้อยเพราะเสียเวลาให้กับการประมวลผลของเซนเซอร์นั่นเอง.. ดังนั้นจึงมีการพัฒนาCPU ในกล้องให้ประมวลผลเร็วขึ้น เพื่อลดระยะเวลาตรงนี้ลงไป..แต่อย่าลืมว่ายิ่ง CPU ทำงานเร็วขึ้นการบริโภคพลังงานก็มากขึ้นด้วย..และ จะจบลงด้วยการเพิ่มขนาดแบตฯหรือพกแบตฯสำรองนั่นเอง..
5. ปัญหาการใช้งานในที่สว่างมากๆ เช่นการถ่ายการแจ้ง เช่น งานกีฬาสี งานรับปริญญา ถ้ากล้อง Mirorless รุ่นไหนที่ไม่มี EVF แบบช่องมองภาพ เรียกได้ว่าแทบจะใช้งานไม่ได้เลยเพราะไม่สามารถเห็นรายละเอียดในภาพได้และไม่สามารถมองเห็นจุดโฟกัสได้ชัดเจน และการใช้งานกลางแดดก็จะเป็นเหมือนกันกับมือถือกรณีที่ปรับให้มีการแสดงผลแบบ auto นั่นก็คือกลางแดดจัดๆกล้องจะเร่งให้การแสดงผลสว่างที่สุดเพื่อแข่งกับแสงอาทิตย์ทำให้กล้องสูบแบตฯไวมากๆ ใครเคยใช้มือถือกลางแดดบ่อยและถ้าปรับเป็น auto จะเข้าใจดีและนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการใช้มือถือกลางแจ้งแบตฯหมดไวกว่าใช้ในอาคาร อีกประการคือกล้องมีความร้อนสะสมมากขึ้นทั้งจากการใช้พลังงานหน้าจอที่มากและการทำงานของ CPU ในตัวกล้องที่ต้องทำงานตลอดเวลาอีกด้วย....
6. แต่ช่องมองภาพแบบ EVF ก็มีจุดเด่นๆนั่นก็คือ ภาพที่เราเห็นจะเป็นภาพที่คล้ายกับที่เราดูในคอมแน่ๆ เพราะเป็นภาพสุดท้ายก่อนจะลด noise และ บันทึกลงการ์ดแค่นั้นเองดังนั้นการถ่ายออกมาแล้ว under หรือ over จะไม่ค่อยมีเพราะเราจะเห็นภาพจากเซนเซอร์อยู่แล้ว.... ดังนั้นภาพที่ได้จากกล้อง Mirror less นั้นแทบจะไม่มีภาพเสียแบบ over & under แต่จะไปเสียเกี่ยวกับโฟกัสเข้าไม่เข้าแทนเพราะภาพที่เห็นมีขนาดเล็กและไม่ละเอียดเท่าที่ตาเปล่าๆมองจากเลนส์ตรงๆ
------------------------------------------------------------------------------
กรณีนี้ผมจะกล่าวถึงแค่ข้อดีของเสียของช่องมองภาพ(หรือระบบโฟกัส)ของ กล้องทั้ง 2 ประเภทเท่านั้นนะครับ..ปัจจัยเกี่ยวกับ "น้ำหนัก" น่าจะเป็นปัจจัยที่เด่นที่สุดที่ทำให้คนหันเปลี่ยนมาใช้งาน Mirror less กันมากขึ้นในปัจจุบัน และด้วยส่วนที่ Mirror less ได้ถอดออกไปนี้เองที่ทำให้ไม่ต้องใช้งาน Pentaprism และลดน้ำหนักกล้องลงไปได้เยอะที่สุด