คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
รูปที่เอาให้ดูมันแอร์แบบ Consumer Product (ระดับผู้บริโภคทั่วไปหรือที่เรียกว่าแอร์บ้าน) ทั้งคู่ครับ ไม่ใช่แบบ Industrial Product (ระดับอุตสาหกรรม)
รูปแรกเรียกว่า Ceiling/Floor Split Type ผู้คนทั่วไปหรือแม้แต่ช่างมักเข้าใจว่ามันคือแอร์โรงงาน จริงๆตามบ้านก็มีใช้ครับ มีทั้งแบบใช้ไฟซิงเกิ้ลเฟส และ3เฟส
รูปที่สองเรียกว่า Wall Split Type อันนี้ส่วนใหญ่เรียกแอร์บ้าน เพราะผลิตกันไม่เกิน 24,000BTU แต่บางเจ้าผลิตที่ 30,000BTU ก็มีให้เห็นบ้าง ส่วนใหญ่ใช้ไฟซิงเกิ้ลเฟส แต่ก็เคยเห็นที่ใช้ไฟ 3เฟส บ้างแต่ไม่นิยม
แบบ Ceiling/Floor Split Type นั้นมีต้นทุนการผลิตที่สูงครับดังนั้นมักจะเห็นในแอร์ที่มีขนาด BTU สูงๆ (30,000-56,000BTU) แต่สมัยก่อนแอร์แบบนี้มีทุกขนาดครับตั้งแต่ 7,000-56,000BTU ก่อนที่ผู้ผลิตจะเปลี่ยนการตลาดมาหนุนแอร์ขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างแบบ Wall Split Type ที่มีต้นทุนถูกกว่า ติดตั้งง่ายกว่า
แอร์ตัวใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางพัดลมใหญ่กว่า รอบพัดลมเยอะกว่า ก็เสียงดังกว่าเป็นธรรมดาครับ อีกอย่างแบบ Ceiling/Floor Split Type ลมจะเป่าอัดผ่านคอยล์เย็นในขณะที่แบบ Wall Split Type จะใช้ลมดูดผ่านคอยล์เย็น เรื่องของเสียงลมก็อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง
เรื่องแอร์มีเสียงมันไม่ใช่แค่เรื่องเสียงพัดลมอย่างเดียวหรอกครับ ตัว Flow Balance ของน้ำยาในคอยล์เย็นก็ตัวทำเสียงดัง การออกแบบรางทิ้งน้ำที่ผิดพลาดก็ตัวก่อเสียงทำให้เกิดเสียงน้ำหยด หรือแม้กระทั้งช่างถอดล้างแอร์แล้วประกอบกลับเข้าไปผิดที่ผิดทาง ฯลฯ โอ้ย...ปัญหาเรื่องเสียงนี่ 108-1009 ครับ
รูปแรกเรียกว่า Ceiling/Floor Split Type ผู้คนทั่วไปหรือแม้แต่ช่างมักเข้าใจว่ามันคือแอร์โรงงาน จริงๆตามบ้านก็มีใช้ครับ มีทั้งแบบใช้ไฟซิงเกิ้ลเฟส และ3เฟส
รูปที่สองเรียกว่า Wall Split Type อันนี้ส่วนใหญ่เรียกแอร์บ้าน เพราะผลิตกันไม่เกิน 24,000BTU แต่บางเจ้าผลิตที่ 30,000BTU ก็มีให้เห็นบ้าง ส่วนใหญ่ใช้ไฟซิงเกิ้ลเฟส แต่ก็เคยเห็นที่ใช้ไฟ 3เฟส บ้างแต่ไม่นิยม
แบบ Ceiling/Floor Split Type นั้นมีต้นทุนการผลิตที่สูงครับดังนั้นมักจะเห็นในแอร์ที่มีขนาด BTU สูงๆ (30,000-56,000BTU) แต่สมัยก่อนแอร์แบบนี้มีทุกขนาดครับตั้งแต่ 7,000-56,000BTU ก่อนที่ผู้ผลิตจะเปลี่ยนการตลาดมาหนุนแอร์ขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างแบบ Wall Split Type ที่มีต้นทุนถูกกว่า ติดตั้งง่ายกว่า
แอร์ตัวใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางพัดลมใหญ่กว่า รอบพัดลมเยอะกว่า ก็เสียงดังกว่าเป็นธรรมดาครับ อีกอย่างแบบ Ceiling/Floor Split Type ลมจะเป่าอัดผ่านคอยล์เย็นในขณะที่แบบ Wall Split Type จะใช้ลมดูดผ่านคอยล์เย็น เรื่องของเสียงลมก็อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง
เรื่องแอร์มีเสียงมันไม่ใช่แค่เรื่องเสียงพัดลมอย่างเดียวหรอกครับ ตัว Flow Balance ของน้ำยาในคอยล์เย็นก็ตัวทำเสียงดัง การออกแบบรางทิ้งน้ำที่ผิดพลาดก็ตัวก่อเสียงทำให้เกิดเสียงน้ำหยด หรือแม้กระทั้งช่างถอดล้างแอร์แล้วประกอบกลับเข้าไปผิดที่ผิดทาง ฯลฯ โอ้ย...ปัญหาเรื่องเสียงนี่ 108-1009 ครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ต่างกันในเรื่องสเปกของเครื่องและวัสดุและการออกแบบครับ
1. แบบ wall type (แบบติดผนัง)
- ตัว Fancoil (คอยล์เย็น)จะผลิตด้วยโครงสร้างที่เป็นพลาสติก
(มีผลให้อายุการใช้งานแบบหนักหน่วงเสื่อมสภาพก่อนโครงสร้างชนิดที่เป็นโลหะ)
- รางถาดน้ำทิ้งมีขนาดเล็ก
(เมื่อใช้งานอย่างหนักหน่วงเปิดติดต่อกันเป็นเวลานานๆกว่าปกติต่อวันหรือเกือบ 24 ชั่วโมงจะเกิดการตันของถาดน้ำทิ้งไวมาก)
- แผงฟิลคอยล์ (Evaporator) มีขนาดที่เล็กเนื่องจากการออกแบบให้ประหยัดเนื้อที่
(มีผลทำให้เมื่อใช้งานแบบหนักหน่วงใน โรงงาน/office ซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งเปิด(มีการเปิดเข้าหรือออกจากห้องบ่อย)มีฝุ่นมากทำให้เกิดการตันของ
แผงฟิลคอยล์ได้ง่ายเนื่องจากการออกแบบที่มีขนาดเล็กทำให้ระยะห่างของแผ่นครีบฟิลคอยล์มีความถี่มากจึงทำให้ตันได้ง่ายเมื่อใช่งานแบบ
หนักหน่วง)
- ใบพัดและมอเตอร์มีขนาดเล็กให้เพื่อลดความดังของเสียง
(มีผลให้ต้องใช้วิธีดึงลมภายในห้องกลับผ่านแผง ฟิลคอยล์ แล้วจึงเป่าลมเย็นออกออกมาซึ่งทำให้แรงลมที่เป่าออกส่งได้ไม่ไกลมากนักรวมถึง
เมื่อการออกแบบที่ให้ลมดูดผ่านแผง ฟิลคอยล์ เมื่อเกิดการสกปรกจะทำให้ลมผ่านแผง ฟิลคอยล์ได้ยากกว่าการ ดันลมผ่าน) ***ตันง่ายกว่า
- การสร้างจุดเดือดสารทำความเย็น(การฉีดน้ำยาผ่าน แคปปิลารี่ทิ้ว(Capillary Tube) หรือ แคปทิ้ว) จาก Condensing unit หรือ คอยล์ร้อน
( มีผลเมื่อเป็นการติดตั้งในโรงงานบางครั้งการติดตั้งเครื่องโดยเฉพาะ Condensing unit (คอยล์ร้อน) นั้นจำเป็นต้องติดตั้งห่างจาก Fancoil
unit (คอยล์เย็น) เนื่องจากพื้นที่ไม่อำนวย จึงทำให้ต้องเดินท่อน้ำยา(ท่อสารทำความเย็น) ที่ยาวกว่าปกติจึงทำให้การฉีดน้ำยาจาก แคปทิ้วที่
คอยล์ร้อน ก็เป็นผลเสียได้ในการณีที่ท่อสารทำความเย็น(ท่อน้ำยายาว)นั้นคือ ฉีดน้ำยาไปได้ช้าแต่กลับมาเร็ว ระยะยาวคอมฯจะเสียง่าย
เนื่องจากแรงดันในระบบก่อนฉีดน้ำยาหรือสารทำความเย็นจะะสูงกว่าปกติและความเย็นตก กระแส Amp จะสูงตาม )
2. Ceiling/Floor Type หรือ แบบ ตั้งแขวน
- ตัว Fancoil (คอยล์เย็น)จะผลิตด้วยโครงสร้างที่เป็นโลหะ
( มีผลให้อายุการใช้งานแบบหนักหน่วงเสื่อมสภาพช้ากว่าโครงสร้างชนิดที่เป็นพลาสติก )
- รางถาดน้ำทิ้งมีขนาดใหญ่
(เมื่อใช้งานอย่างหนักหน่วงเปิดติดต่อกันเป็นเวลานานๆกว่าปกติต่อวันหรือเกือบ 24 ชั่วโมงจะเกิดการตันของถาดน้ำทิ้งช้า)
- แผงฟิลคอยล์ (Evaporator) มีขนาดที่ใหญ่เนื่องจากการออกแบบให้กระจายแรงลมได้ไกล
(มีผลทำให้เมื่อใช้งานแบบหนักหน่วงใน โรงงาน/office ซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งเปิด(มีการเปิดเข้าหรือออกจากห้องบ่อย)มีฝุ่นมากทำให้เกิดการตันของ
แผงฟิลคอยล์ได้ยากเนื่องจากการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ทำให้ระยะห่างของแผ่นครีบฟิลคอยล์มีความถี่ไม่มากนักจึงทำให้ตันได้ยากเมื่อใช่งาน
แบบหนักหน่วง)
- ใบพัดและมอเตอร์มีขนาดใหญ่ให้เพื่อประสิทธิภาพในการกระจายแรงลม/ความเย็น
(มีผลให้ต้องใช้วิธีดึงลมภายในห้องแบบผ่านตรงทางใบพัดแล้วจึงเป่าลมเย็นออกมาโดยอัดผ่านแผง ฟิลคอยล์ซึ่งทำให้แรงลมที่เป่าออกส่ง
ไปได้ไกลแต่มีเสียงลมที่ดังกว่า แบบ wall type (แบบติดผนัง)
- การสร้างจุดเดือดสารทำความเย็น(การฉีดน้ำยาผ่าน แคปปิลารี่ทิ้ว(Capillary Tube) หรือ แคปทิ้ว) แอร์ชนิด Ceiling/Floor Type หรือ แบบ ตั้ง แขวน นั้นสามารถเลือกที่จะ ฉีดน้ำยา ที่ Condensing unit (คอยล์ร้อน) หรือ Fancoil unit (คอยล์เย็น) ก็ได้
( มีผลเมื่อเป็นการติดตั้งในโรงงานบางครั้งการติดตั้งเครื่องโดยเฉพาะ Condensing unit (คอยล์ร้อน) นั้นจำเป็นต้องติดตั้งห่างจาก
Fancoil unit (คอยล์เย็น) เนื่องจากพื้นที่ไม่อำนวย จึงทำให้ต้องเดินท่อน้ำยา(ท่อสารทำความเย็น) ที่ยาวกว่าปกติจึงทำให้การฉีดน้ำยาจาก
แคปทิ้วที่คอยล์ร้อน ก็เป็นผลเสียได้ในกรณีที่ท่อสารทำความเย็น(ท่อน้ำยา) ยาว นั้นคือ ฉีดน้ำยาไปได้ช้าแต่กลับมาเร็ว ระยะยาวคอมฯจะเสีย
ง่าย เนื่องจากแรงดันในระบบก่อนฉีดน้ำยาหรือสารทำความเย็นจะสูงกว่าปกติและความเย็นตก กระแสAmp จะสูงตาม จึงสามารถที่จะเลือกฉีด
น้ำยาที่ Fancoil (คอยล์เย็น) เพื่อลดปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น ในกรณีที่จำเป็นต้องเดินท่อน้ำยาไกล)
*** ทั้งนี้มิได้หมายความว่าแอร์ ชนิด wall type (แบบติดผนัง) จะติดตั้งที่โรงงานหรือ office ไม่ได้ หรือ แอร์ชนิด Ceiling/Floor Type หรือ แบบ ตั้งแขวน จะติดบ้านเรื่อนทั่วไปไม่ได้ แต่ดูที่ความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ที่คุ้มค่าแก่การใช้งานและคุ้มค่าต่อราคาซื้อมาใช้งาน เนื่องจาก ราคาแอร์ทั้งสองชนิด มีราคาที่ต่างกันเนื่องจากสเปกในการผลิต ต่างกัน
ปล. แอร์ชนิดติดตั้งในโรงงานหรือที่เรียกกันว่าแอร์โรงงาน ไม่ได้มีความพิเศษเฉพาะแค่สเปกของตัวเครื่องแต่รวมถึงระบบการติดตั้งที่สูงกว่า เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบท่อน้ำยา ระบบการป้องกันต่างๆที่เพิ่มเติมเสริมเข้าไปในตัวเครื่องปรับอากาศและการติดตั้ง ซึ่งเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับการติดตั้งในระบบที่สูงกว่าแบบปกตินั้น แอร์ แบบ wall type (แบบติดผนัง) จะมีข้อเสียเปรียบ กว่า แบบ Ceiling/Floor Type ( แบบตั้งแขวน)จึงไม่นิยมติดตั้งในโรงงานหรือการใช้งานแบบหนักหน่วง
1. แบบ wall type (แบบติดผนัง)
- ตัว Fancoil (คอยล์เย็น)จะผลิตด้วยโครงสร้างที่เป็นพลาสติก
(มีผลให้อายุการใช้งานแบบหนักหน่วงเสื่อมสภาพก่อนโครงสร้างชนิดที่เป็นโลหะ)
- รางถาดน้ำทิ้งมีขนาดเล็ก
(เมื่อใช้งานอย่างหนักหน่วงเปิดติดต่อกันเป็นเวลานานๆกว่าปกติต่อวันหรือเกือบ 24 ชั่วโมงจะเกิดการตันของถาดน้ำทิ้งไวมาก)
- แผงฟิลคอยล์ (Evaporator) มีขนาดที่เล็กเนื่องจากการออกแบบให้ประหยัดเนื้อที่
(มีผลทำให้เมื่อใช้งานแบบหนักหน่วงใน โรงงาน/office ซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งเปิด(มีการเปิดเข้าหรือออกจากห้องบ่อย)มีฝุ่นมากทำให้เกิดการตันของ
แผงฟิลคอยล์ได้ง่ายเนื่องจากการออกแบบที่มีขนาดเล็กทำให้ระยะห่างของแผ่นครีบฟิลคอยล์มีความถี่มากจึงทำให้ตันได้ง่ายเมื่อใช่งานแบบ
หนักหน่วง)
- ใบพัดและมอเตอร์มีขนาดเล็กให้เพื่อลดความดังของเสียง
(มีผลให้ต้องใช้วิธีดึงลมภายในห้องกลับผ่านแผง ฟิลคอยล์ แล้วจึงเป่าลมเย็นออกออกมาซึ่งทำให้แรงลมที่เป่าออกส่งได้ไม่ไกลมากนักรวมถึง
เมื่อการออกแบบที่ให้ลมดูดผ่านแผง ฟิลคอยล์ เมื่อเกิดการสกปรกจะทำให้ลมผ่านแผง ฟิลคอยล์ได้ยากกว่าการ ดันลมผ่าน) ***ตันง่ายกว่า
- การสร้างจุดเดือดสารทำความเย็น(การฉีดน้ำยาผ่าน แคปปิลารี่ทิ้ว(Capillary Tube) หรือ แคปทิ้ว) จาก Condensing unit หรือ คอยล์ร้อน
( มีผลเมื่อเป็นการติดตั้งในโรงงานบางครั้งการติดตั้งเครื่องโดยเฉพาะ Condensing unit (คอยล์ร้อน) นั้นจำเป็นต้องติดตั้งห่างจาก Fancoil
unit (คอยล์เย็น) เนื่องจากพื้นที่ไม่อำนวย จึงทำให้ต้องเดินท่อน้ำยา(ท่อสารทำความเย็น) ที่ยาวกว่าปกติจึงทำให้การฉีดน้ำยาจาก แคปทิ้วที่
คอยล์ร้อน ก็เป็นผลเสียได้ในการณีที่ท่อสารทำความเย็น(ท่อน้ำยายาว)นั้นคือ ฉีดน้ำยาไปได้ช้าแต่กลับมาเร็ว ระยะยาวคอมฯจะเสียง่าย
เนื่องจากแรงดันในระบบก่อนฉีดน้ำยาหรือสารทำความเย็นจะะสูงกว่าปกติและความเย็นตก กระแส Amp จะสูงตาม )
2. Ceiling/Floor Type หรือ แบบ ตั้งแขวน
- ตัว Fancoil (คอยล์เย็น)จะผลิตด้วยโครงสร้างที่เป็นโลหะ
( มีผลให้อายุการใช้งานแบบหนักหน่วงเสื่อมสภาพช้ากว่าโครงสร้างชนิดที่เป็นพลาสติก )
- รางถาดน้ำทิ้งมีขนาดใหญ่
(เมื่อใช้งานอย่างหนักหน่วงเปิดติดต่อกันเป็นเวลานานๆกว่าปกติต่อวันหรือเกือบ 24 ชั่วโมงจะเกิดการตันของถาดน้ำทิ้งช้า)
- แผงฟิลคอยล์ (Evaporator) มีขนาดที่ใหญ่เนื่องจากการออกแบบให้กระจายแรงลมได้ไกล
(มีผลทำให้เมื่อใช้งานแบบหนักหน่วงใน โรงงาน/office ซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งเปิด(มีการเปิดเข้าหรือออกจากห้องบ่อย)มีฝุ่นมากทำให้เกิดการตันของ
แผงฟิลคอยล์ได้ยากเนื่องจากการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ทำให้ระยะห่างของแผ่นครีบฟิลคอยล์มีความถี่ไม่มากนักจึงทำให้ตันได้ยากเมื่อใช่งาน
แบบหนักหน่วง)
- ใบพัดและมอเตอร์มีขนาดใหญ่ให้เพื่อประสิทธิภาพในการกระจายแรงลม/ความเย็น
(มีผลให้ต้องใช้วิธีดึงลมภายในห้องแบบผ่านตรงทางใบพัดแล้วจึงเป่าลมเย็นออกมาโดยอัดผ่านแผง ฟิลคอยล์ซึ่งทำให้แรงลมที่เป่าออกส่ง
ไปได้ไกลแต่มีเสียงลมที่ดังกว่า แบบ wall type (แบบติดผนัง)
- การสร้างจุดเดือดสารทำความเย็น(การฉีดน้ำยาผ่าน แคปปิลารี่ทิ้ว(Capillary Tube) หรือ แคปทิ้ว) แอร์ชนิด Ceiling/Floor Type หรือ แบบ ตั้ง แขวน นั้นสามารถเลือกที่จะ ฉีดน้ำยา ที่ Condensing unit (คอยล์ร้อน) หรือ Fancoil unit (คอยล์เย็น) ก็ได้
( มีผลเมื่อเป็นการติดตั้งในโรงงานบางครั้งการติดตั้งเครื่องโดยเฉพาะ Condensing unit (คอยล์ร้อน) นั้นจำเป็นต้องติดตั้งห่างจาก
Fancoil unit (คอยล์เย็น) เนื่องจากพื้นที่ไม่อำนวย จึงทำให้ต้องเดินท่อน้ำยา(ท่อสารทำความเย็น) ที่ยาวกว่าปกติจึงทำให้การฉีดน้ำยาจาก
แคปทิ้วที่คอยล์ร้อน ก็เป็นผลเสียได้ในกรณีที่ท่อสารทำความเย็น(ท่อน้ำยา) ยาว นั้นคือ ฉีดน้ำยาไปได้ช้าแต่กลับมาเร็ว ระยะยาวคอมฯจะเสีย
ง่าย เนื่องจากแรงดันในระบบก่อนฉีดน้ำยาหรือสารทำความเย็นจะสูงกว่าปกติและความเย็นตก กระแสAmp จะสูงตาม จึงสามารถที่จะเลือกฉีด
น้ำยาที่ Fancoil (คอยล์เย็น) เพื่อลดปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น ในกรณีที่จำเป็นต้องเดินท่อน้ำยาไกล)
*** ทั้งนี้มิได้หมายความว่าแอร์ ชนิด wall type (แบบติดผนัง) จะติดตั้งที่โรงงานหรือ office ไม่ได้ หรือ แอร์ชนิด Ceiling/Floor Type หรือ แบบ ตั้งแขวน จะติดบ้านเรื่อนทั่วไปไม่ได้ แต่ดูที่ความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ที่คุ้มค่าแก่การใช้งานและคุ้มค่าต่อราคาซื้อมาใช้งาน เนื่องจาก ราคาแอร์ทั้งสองชนิด มีราคาที่ต่างกันเนื่องจากสเปกในการผลิต ต่างกัน
ปล. แอร์ชนิดติดตั้งในโรงงานหรือที่เรียกกันว่าแอร์โรงงาน ไม่ได้มีความพิเศษเฉพาะแค่สเปกของตัวเครื่องแต่รวมถึงระบบการติดตั้งที่สูงกว่า เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบท่อน้ำยา ระบบการป้องกันต่างๆที่เพิ่มเติมเสริมเข้าไปในตัวเครื่องปรับอากาศและการติดตั้ง ซึ่งเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับการติดตั้งในระบบที่สูงกว่าแบบปกตินั้น แอร์ แบบ wall type (แบบติดผนัง) จะมีข้อเสียเปรียบ กว่า แบบ Ceiling/Floor Type ( แบบตั้งแขวน)จึงไม่นิยมติดตั้งในโรงงานหรือการใช้งานแบบหนักหน่วง
แสดงความคิดเห็น
แอร์บ้านกับแอร์โรงงาน ต่างกันอย่างไร
ขนาดห้อง 3x3x2.5 เมตร ผมเลือกที่ 12,000 btu เท่ากัน จะมีชนิดของแอร์ต่างกันหรือเปล่าครับ
คือผมติดแอร์ในห้องทำงานในโรงงาน ใช้แอร์แบบติดผนัง ช่างแอร์ในโรงงานบอก เอาแอร์บ้านมาติดไม่ได้ ต้องใช้แอร์โรงงานเพราะเปิด 24 ชั่วโมง ความทนทานไม่เหมือนกัน
แล้วเค้าก็อธิบายชนิดของแอร์บ้าน แอร์โรงงาน ว่าเป็นแบบตามรูปนี้ครับ
รูปนี้แอร์โรงงาน
v
ส่วนแบบนี้แอร์บ้าน
v
คำถามคือ
- ตามรูปด้านบน มันคนละชนิดกันหรอครับ(แอร์บ้านแอร์โรงงาน) ผมว่ามันต่างกันแค่ติดผนังกับแขวนใต้ฝ้านะ
- ในรูปที่ช่างบอกว่าเป็นแอร์โรงงาน มันเป็นแอร์โรงงานจริงๆหรอครับ
- ขอความรู้เกี่ยวกับ หลักการทำงาน การใช้งาน แอร์บ้าน แอร์โรงงาน แอร์สำนักงาน ต่างกันตรงไหนครับ
แก้ไข อธิบายคำถามให้ชัดเจน