(วิจารณ์) คุณคิดว่าจำเป็นด้วยหรือ ที่ต้องออกข้อสอบให้ยาวๆ เพื่อวัดการวิเคราะห์

กระทู้คำถาม
พูดกันตรงๆ กันครับว่า ในฐานะที่ผมเคยเป็นอาจารย์ ผมไม่สบายใจทุกครั้ง เวลาได้อ่านข้อสอบ NT หรือ GAT PAT หรือตอนที่น้องสาวผมเจอในตอนกับ LAS สำหรับเขา การเจอ PAssage ยาวๆ แล้วถาม 1-2 ข้อ น้องสาวผมยังถามเลยว่า "ประเทศไทยนี่มีป่าไม้เหลือเฟือหรือคะ ถึงใช้เปลืองในเรื่องการสอบแบบไม่คิดอย่างนี้" ข้อสอบ PAT หนาเกือบ 30 หน้า เผลอๆข้อสอบมีไม่ถึง 50 ข้อด้วยมั้ง ผมถามจริงๆว่า การออกข้อสอบแบบนี้ มันวัดอะไรหรือไม่ เพราะเท่าที่สังเกตก็คือ
1. ข้อสอบไม่ช่วยให้นักเรียนและ ทาง สทศ. วัดความสามารถได้มากไปกว่าเดิม เพราะ สำหรับผม ข้อสอบน่ะ เป็นการวัดนักเรียนว่า เคี่ยวกรำตัวเองพอหรือไม่ แต่ถ้านักเรียนไม่รู้จักอ่านหนังสือ และ ใช้พวกวิชามาร มันไม่ช่วยอะไร แม้นว่าจะทำข้อสอบได้
2. GAT PAT ทำให้ธุรกิจเรียนพิเศษเฟื่องฟูหนักกว่าเดิม ผมไม่เคยให้น้องผมไปติวที่ สยาม หรือที่ไหน เพราะ ผมรู้ว่า มันไม่มีประโยชน์หรอก เพราะ การเรียนจริงๆไม่ใช่เพื่อทำคนเป็นเลิศ เพื่อทำคนให้เป็นคนที่แท้ต่างหาก
3. ข้อสอบหนาเกินไป เป็นผมก็ไม่อ่านครับ ข้อสอบ Entrance ของญี่ปุ่นที่ผมสอบปี 2003 ข้อสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น มี 60-80 ข้อ นี่แหละ แต่มีแค่ 16 หน้าเอง มี 2 Unseen Reading ด้วยซ้ำ ข้อสอบ GAT วิชาภาษาไทยปีที่ผมคุมสอบปีสดท้าย (ปี 2011) ข้อสอบมีจำนวนเกือบ 30 หน้า มันหมายว่าอย่างไรครับ เราก้าวหน้าเกินญี่ปุ่นแล้วใช่ไหม ? เปล่าครับ เปลืองกระดาษครับ และไม่วัดผลอะไรเลยด้วยซ้ำ เพราะแม้แต่เด็กเรียนเก่งๆเจอข้อสอบ 30 กว่าหน้าเป็นเขาก็เบื่อครับ

เป็นข้อวิจารณ์ของผมครับ เชิญแสดงความเห็น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่