ดิฉันขอกล่าวก่อนว่าข้อมูลที่จะนำเสนอนี้มาจากทีม
กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปการเกณฑ์ทหาร
Conscription Reform Movement
ซึ่งดิฉันได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดนี้ด้วยแต่ไม่ใช่ทั้งหมดค่ะ
และได้รับอนุญาตจากทางกลุ่มแล้วจึงขอนำเสนอทุกท่าน
เพื่อถกเถียงแลกเปลี่ยนค่ะ ทั้งนี้ทุกท่านสามารถเพิ่มเติมข้อมูลหรือโต้แย้งได้ค่ะ
เพราะทีมผู้คิดเองก็อาจขาดตกข้อมูลไปบ้างค่ะ (แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการโต้แย้ง
จะต้องถูกเห็นด้วยเสมอนะคะ)
โดยหัวใจที่เรายึดคือ "เสรีภาพ ความมั่นคง และเกียรติยศของทหาร"
(ก) คณะกรรมการปฏิรูปการเกณฑ์ทหาร
1. ผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเกณฑ์ทหาร
2. โดยมีสัดส่วนมาจากภาคส่วนต่างๆอย่างเท่าเทียม อาทิ ความมั่นคง การเมือง นักวิชาการ ภาคประชาชน เป็นต้น
ซึ่งสรรหาโดยรัฐสภา
3. คณะกรรมการปฏิรูปการเกณฑ์ทหารมีหน้าที่ยกร่างพรบ.การเกณฑ์ทหารฉบับใหม่เพื่อเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบ
(ข) ปฏิรูปด้านโครงสร้าง
1. ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบเก่าและให้เปลี่ยนเป็นการรับสมัครด้วยความสมัครใจแทน
2. ทุกครั้งที่กองทัพต้องการพลทหารใหม่ให้แต่ละเหล่าทัพประชุมหารือเพื่อกำหนดวันและจำนวนที่ต้องการรับสมัคร
แล้วจึงส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและตราเป็นพระราชกฤษฎีกาก่อนจะกราบบังคับทูลต่อไป
3. ให้เปิดรับสมัครพลทหารที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ
4. ปลดประจำการเมื่อครบ 2 ปี
5. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกลับไปใช้การเกณฑ์ทหารแบบเก่า ให้เหล่าทัพทำเรื่องเสนอไปยังรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
แต่ต้องมีเหตุผลสมควรและให้มีอายุบังคับใช้เพียงแค่ 1 ปี
(ค) ด้านสวัสดิการและอายุงาน
1. เงินเดือนตั้งแต่ 10,000 - 15,000 บาท (ประเด็นนี้น่าจะพูดยาวที่สุดค่ะ เพราะกระทบขั้นเงินเดือนต่างๆ)
2. เมื่อปลดประจำการจะได้รับทุนเล่าเรียนหลวงรวมถึงทุนยังชีพรายเดือนจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี
3. ในระหว่างรับราชการทหาร บิดามารดา สามารถรับการรักษาได้ฟรีจากโรงพยาบาลค่ายทหาร ในกรณี
ที่ต้องการใช้บริการโรงพยาบาลอื่นๆ ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ให้มีการซื้อประกันสุขภาพแทน (คล้ายกับประกันสังคม
แต่มี rate และ plan ต่างกันไปตามแต่เงินเบี้ย)
4. เมื่อปลดประจำการแล้วหากต้องการรับราชการต่อ ให้ต่อสัญญาทุกๆ 6 เดือน โดยจะต้องมีการทดสอบ
หากไม่ผ่านจะถูกยกเลิกสัญญา ทั้งนี้ทหารเมื่อปลดประจำการไม่ว่าปีใดหลังจาก 2 ปี สามารถรับทุนเล่าเรียนหลวงได้หมด
5. เพิ่มสวัสดิการสำหรับทหารผู้บาดเจ็บ พิการตลอดชีวิตให้มีเงินยังชีพอยู่ได้ตลอดชีวิตและได้รับการรักษาพยาบาลอย่างดี
ในกรณีที่เสียชีวิต รัฐต้องดูแลและชดใช้แก่ครอบครัวของทหารผู้เสียชีวิตอย่างเหมาะสม
(ง) เงินทุน
1. ลดจำนวนกำลังพลลง เช่นจากเดิมเกณฑ์ปีละ 1 แสนนาย ก็อาจลดลงตั้งแต่ 20-50%
(ตามความเหมาะสมตามที่ประชุมเหล่าทัพตกลง)
2. ให้มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณกลาโหม ซึ่งจะลดการทุจริตและใช้งบให้เกิดความคุ้มค่าได้
(ตรวจสอบโดยรัฐสภาหรือองค์กรอิสระ)
3. เงินประกันสุขภาพจากทหาร
4. อื่นๆ (ต้องช่วยกันคิดค่ะ)
(จ) การฝึกทหาร
1. จัดตั้งคณะกรรมาธิการการฝึกทหาร โดยมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนที่ไม่จำกัดเฉพาะฝ่ายความมั่นคงเท่าั้น
2. มีการออกระเบียบวิธีการฝึกเป็นคู่มือและใช้แบบเดียวกันทั่วประเทศ
3. มีคณะกรรมการกลางเพื่อตรวจสอบการฝึกทหารที่ผิดจากระเบียบข้างต้นหรือทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แบบยอมรับไม่ได้
หรือการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น โดยคณะกรรมการกลางนี้จะต้องมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนที่ไม่จำกัดเฉพาะฝ่ายความมั่นอีกด้วย
ทั้งนี้ข้อเสนอต่างๆมีขึ้นเพื่อให้ได้พลทหารที่มีความสมัครใจ มีความตั้งใจจริง เข้ามาทำงานและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ที่ได้ทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งยังป้องกันการฝึกทหารให้อยู่ในกรอบ มีมาตราฐานอีกด้วย
หากท่านใดสนใจให้ความช่วยเหลือต่างๆ ไม่ว่าจะการประชาสัมพันธ์ ทำอินโฟกราฟฟิค สามารถหลังไมค์ได้เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ตอนนี้ได้สร้างเพจ facebook ไว้สำหรับท่านที่สนใจแลกเปลี่ยน พูดคุย ฯลฯ ค่ะ ที่
http://goo.gl/dsA8ur
อาจจะยังไม่เรียบร้อยนักนะคะ เพราะเรายังขาดทีมช่วยในการทำงานน่ะค่ะ
ปล. ที่ต้องแท็กไปยังห้องสีลม เพราะบ่อยครั้งผู้ที่ประสบปัญหาคือ มนุษย์เงินเดือนด้วย
ดิฉันขอเสนอการ "ปฏิรูปการเกณฑ์ทหาร" ค่ะ
กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปการเกณฑ์ทหาร
Conscription Reform Movement
ซึ่งดิฉันได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดนี้ด้วยแต่ไม่ใช่ทั้งหมดค่ะ
และได้รับอนุญาตจากทางกลุ่มแล้วจึงขอนำเสนอทุกท่าน
เพื่อถกเถียงแลกเปลี่ยนค่ะ ทั้งนี้ทุกท่านสามารถเพิ่มเติมข้อมูลหรือโต้แย้งได้ค่ะ
เพราะทีมผู้คิดเองก็อาจขาดตกข้อมูลไปบ้างค่ะ (แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการโต้แย้ง
จะต้องถูกเห็นด้วยเสมอนะคะ)
โดยหัวใจที่เรายึดคือ "เสรีภาพ ความมั่นคง และเกียรติยศของทหาร"
(ก) คณะกรรมการปฏิรูปการเกณฑ์ทหาร
1. ผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเกณฑ์ทหาร
2. โดยมีสัดส่วนมาจากภาคส่วนต่างๆอย่างเท่าเทียม อาทิ ความมั่นคง การเมือง นักวิชาการ ภาคประชาชน เป็นต้น
ซึ่งสรรหาโดยรัฐสภา
3. คณะกรรมการปฏิรูปการเกณฑ์ทหารมีหน้าที่ยกร่างพรบ.การเกณฑ์ทหารฉบับใหม่เพื่อเสนอให้รัฐสภาเห็นชอบ
(ข) ปฏิรูปด้านโครงสร้าง
1. ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบเก่าและให้เปลี่ยนเป็นการรับสมัครด้วยความสมัครใจแทน
2. ทุกครั้งที่กองทัพต้องการพลทหารใหม่ให้แต่ละเหล่าทัพประชุมหารือเพื่อกำหนดวันและจำนวนที่ต้องการรับสมัคร
แล้วจึงส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและตราเป็นพระราชกฤษฎีกาก่อนจะกราบบังคับทูลต่อไป
3. ให้เปิดรับสมัครพลทหารที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ
4. ปลดประจำการเมื่อครบ 2 ปี
5. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกลับไปใช้การเกณฑ์ทหารแบบเก่า ให้เหล่าทัพทำเรื่องเสนอไปยังรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
แต่ต้องมีเหตุผลสมควรและให้มีอายุบังคับใช้เพียงแค่ 1 ปี
(ค) ด้านสวัสดิการและอายุงาน
1. เงินเดือนตั้งแต่ 10,000 - 15,000 บาท (ประเด็นนี้น่าจะพูดยาวที่สุดค่ะ เพราะกระทบขั้นเงินเดือนต่างๆ)
2. เมื่อปลดประจำการจะได้รับทุนเล่าเรียนหลวงรวมถึงทุนยังชีพรายเดือนจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี
3. ในระหว่างรับราชการทหาร บิดามารดา สามารถรับการรักษาได้ฟรีจากโรงพยาบาลค่ายทหาร ในกรณี
ที่ต้องการใช้บริการโรงพยาบาลอื่นๆ ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ให้มีการซื้อประกันสุขภาพแทน (คล้ายกับประกันสังคม
แต่มี rate และ plan ต่างกันไปตามแต่เงินเบี้ย)
4. เมื่อปลดประจำการแล้วหากต้องการรับราชการต่อ ให้ต่อสัญญาทุกๆ 6 เดือน โดยจะต้องมีการทดสอบ
หากไม่ผ่านจะถูกยกเลิกสัญญา ทั้งนี้ทหารเมื่อปลดประจำการไม่ว่าปีใดหลังจาก 2 ปี สามารถรับทุนเล่าเรียนหลวงได้หมด
5. เพิ่มสวัสดิการสำหรับทหารผู้บาดเจ็บ พิการตลอดชีวิตให้มีเงินยังชีพอยู่ได้ตลอดชีวิตและได้รับการรักษาพยาบาลอย่างดี
ในกรณีที่เสียชีวิต รัฐต้องดูแลและชดใช้แก่ครอบครัวของทหารผู้เสียชีวิตอย่างเหมาะสม
(ง) เงินทุน
1. ลดจำนวนกำลังพลลง เช่นจากเดิมเกณฑ์ปีละ 1 แสนนาย ก็อาจลดลงตั้งแต่ 20-50%
(ตามความเหมาะสมตามที่ประชุมเหล่าทัพตกลง)
2. ให้มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณกลาโหม ซึ่งจะลดการทุจริตและใช้งบให้เกิดความคุ้มค่าได้
(ตรวจสอบโดยรัฐสภาหรือองค์กรอิสระ)
3. เงินประกันสุขภาพจากทหาร
4. อื่นๆ (ต้องช่วยกันคิดค่ะ)
(จ) การฝึกทหาร
1. จัดตั้งคณะกรรมาธิการการฝึกทหาร โดยมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนที่ไม่จำกัดเฉพาะฝ่ายความมั่นคงเท่าั้น
2. มีการออกระเบียบวิธีการฝึกเป็นคู่มือและใช้แบบเดียวกันทั่วประเทศ
3. มีคณะกรรมการกลางเพื่อตรวจสอบการฝึกทหารที่ผิดจากระเบียบข้างต้นหรือทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แบบยอมรับไม่ได้
หรือการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น โดยคณะกรรมการกลางนี้จะต้องมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนที่ไม่จำกัดเฉพาะฝ่ายความมั่นอีกด้วย
ทั้งนี้ข้อเสนอต่างๆมีขึ้นเพื่อให้ได้พลทหารที่มีความสมัครใจ มีความตั้งใจจริง เข้ามาทำงานและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ที่ได้ทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งยังป้องกันการฝึกทหารให้อยู่ในกรอบ มีมาตราฐานอีกด้วย
หากท่านใดสนใจให้ความช่วยเหลือต่างๆ ไม่ว่าจะการประชาสัมพันธ์ ทำอินโฟกราฟฟิค สามารถหลังไมค์ได้เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ตอนนี้ได้สร้างเพจ facebook ไว้สำหรับท่านที่สนใจแลกเปลี่ยน พูดคุย ฯลฯ ค่ะ ที่
http://goo.gl/dsA8ur
อาจจะยังไม่เรียบร้อยนักนะคะ เพราะเรายังขาดทีมช่วยในการทำงานน่ะค่ะ
ปล. ที่ต้องแท็กไปยังห้องสีลม เพราะบ่อยครั้งผู้ที่ประสบปัญหาคือ มนุษย์เงินเดือนด้วย