เชื่อว่าหลายคนยังปวดหัวกับช่องทีวีดิจิตอลที่ถือฤกษ์ดี ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมาเพราะความคุ้นเคยกับการดูฟรีทีวี 3, 5, 7, 9,ไทยพีบีเอส และช่อง 11 บ้างประปราย ด้วยการกดช่องเลข 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 แทนฟรีทีวีมาตลอด เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมปวดหัวเป็นธรรมดา
และแม้จะมีการจัดแบ่งช่องกันอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ด้วยการจัดเรียงตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนด ทั้ง 48 ช่อง แบ่งเป็นช่องสาธารณะ (SD) จำนวน 12 ช่อง, ช่องบริการชุมชน(SD) จำนวน 12 ช่อง และช่องบริการธุรกิจ จำนวน 24ช่อง แบ่งเป็น หมวดหมู่รายการทั่วไปความคมชัดสูง(HD) จำนวน 7 ช่อง หมวดหมู่รายการทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ช่อง หมวดหมู่ข่าวสารและสารประโยชน์ จำนวน 7 ช่อง และหมวดหมู่รายการเด็กและเยาวชน จำนวน 3 ช่อง
โดยเรียงลำดับช่องหมวดหมู่สาธารณะอยู่ลำดับที่ 1-12 ช่องหมวดหมู่ประเภทธุรกิจ ประกอบด้วยลำดับที่ 13-15 ช่องเด็ก เยาวชน ครอบครัว, ลำดับที่16-22 ช่องข่าวสารและสาระ, ลำดับที่ 23-29 ช่องความคมชัดทั่วไป (ทั่วไป SD) และลำดับที่ 30-36 ช่องความคมชัดสูง (ทั่วไป HD) ส่วนที่เหลือจะเป็นช่องบริการชุมชน หลังการประมูลที่ผ่านมา ผู้ชนะจะได้สิทธิเลือกลำดับช่องก่อน ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีการจับสลาก ขณะที่หลังวันดีเดย์เปิดตัวช่องรายการทีวีดิจิตอลตามที่กสทช. กำหนดดเหมือนยังลุ่มๆ ดอนๆ เพราะต่างขาดความพร้อม ทำให้กว่า 50% ยังไม่ได้ออนแอร์ตามที่กำหนด
บางรายขอถือฤกษ์ดีเป็นวันที่ 7 เมษายน บางรายขอเตรียมความพร้อมแบบสุดๆ เลือกเปิดตัววันที่24 เมษายน (วันสุดท้ายที่กสทช.กำหนด)แต่แค่เปิดตัวได้ไม่กี่ช่อง ผลกระทบที่ทำให้เกิดเสียงบ่นอย่างหนักตั้งแต่วันแรกที่เริ่มประเดิมคือ ช่องรายการประจำที่เคยดูหายไปหมด และมีช่องที่ไม่รู้จักมาแทน แถมกดหาเท่าไรก็ไม่เจอ จนทุกวันนี้ผ่านไปกว่า 10 วัน ก็ยังจำไม่ได้ว่าช่องโปรดที่เคยดูอยู่ที่ไหน บางคนถึงกับต้องมานั่งไล่กดทีละเลข บางคนเลือกที่จะจดช่องประจำเอาไว้
บางคนยอมรับว่ายังไม่เคยดูช่องทีวีดิจิตอลเลย เพราะแค่ฟรีทีวีก็ยังดูแทบไม่หมด ปัญหาตอนนี้ที่ "ผู้ประกอบการ" ทีวีดิจิตอลต้องเร่งแก้ปัญหาคือ ทำอย่างไรจะให้คนจดจำหมายเลขช่องของตนเองได้ เพราะก่อนหน้านี้ก็เร่งโปรโมตหมายเลขช่องที่จับสลากได้มาอย่างหนัก แต่เอาเข้าจริงกลับกระเด้งไปอยู่ช่องอะไรก็ไม่รู้ กลายเป็นงานหนักที่ต้องเร่งแก้ไข
ช่วงนี้จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นช่อง 3 หรือ ช่อง 9 ที่ออกโฆษณาถี่ยิบว่า ถ้าจะชมช่อง 3 ในพีเอสไอ ต้องไปดูที่หมายเลข ... , จีเอ็มเอ็มแซท ต้องดูที่หมายเลข..., ซันบ็อกซ์ ต้องดูที่หมายเลข...
งานนี้จึงไม่ใช่เฉพาะ "ผู้ชม" ที่ปวดหัว "ผู้ประกอบการ" ก็มึนตึ้บเช่นกัน...ว่ามั้ย!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,939 วันที่ 13 - 16 เมษายน พ.ศ. 2557
มึนตึ้บ! 'ช่องทีวีดิจิตอล'
และแม้จะมีการจัดแบ่งช่องกันอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ด้วยการจัดเรียงตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนด ทั้ง 48 ช่อง แบ่งเป็นช่องสาธารณะ (SD) จำนวน 12 ช่อง, ช่องบริการชุมชน(SD) จำนวน 12 ช่อง และช่องบริการธุรกิจ จำนวน 24ช่อง แบ่งเป็น หมวดหมู่รายการทั่วไปความคมชัดสูง(HD) จำนวน 7 ช่อง หมวดหมู่รายการทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ช่อง หมวดหมู่ข่าวสารและสารประโยชน์ จำนวน 7 ช่อง และหมวดหมู่รายการเด็กและเยาวชน จำนวน 3 ช่อง
โดยเรียงลำดับช่องหมวดหมู่สาธารณะอยู่ลำดับที่ 1-12 ช่องหมวดหมู่ประเภทธุรกิจ ประกอบด้วยลำดับที่ 13-15 ช่องเด็ก เยาวชน ครอบครัว, ลำดับที่16-22 ช่องข่าวสารและสาระ, ลำดับที่ 23-29 ช่องความคมชัดทั่วไป (ทั่วไป SD) และลำดับที่ 30-36 ช่องความคมชัดสูง (ทั่วไป HD) ส่วนที่เหลือจะเป็นช่องบริการชุมชน หลังการประมูลที่ผ่านมา ผู้ชนะจะได้สิทธิเลือกลำดับช่องก่อน ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีการจับสลาก ขณะที่หลังวันดีเดย์เปิดตัวช่องรายการทีวีดิจิตอลตามที่กสทช. กำหนดดเหมือนยังลุ่มๆ ดอนๆ เพราะต่างขาดความพร้อม ทำให้กว่า 50% ยังไม่ได้ออนแอร์ตามที่กำหนด
บางรายขอถือฤกษ์ดีเป็นวันที่ 7 เมษายน บางรายขอเตรียมความพร้อมแบบสุดๆ เลือกเปิดตัววันที่24 เมษายน (วันสุดท้ายที่กสทช.กำหนด)แต่แค่เปิดตัวได้ไม่กี่ช่อง ผลกระทบที่ทำให้เกิดเสียงบ่นอย่างหนักตั้งแต่วันแรกที่เริ่มประเดิมคือ ช่องรายการประจำที่เคยดูหายไปหมด และมีช่องที่ไม่รู้จักมาแทน แถมกดหาเท่าไรก็ไม่เจอ จนทุกวันนี้ผ่านไปกว่า 10 วัน ก็ยังจำไม่ได้ว่าช่องโปรดที่เคยดูอยู่ที่ไหน บางคนถึงกับต้องมานั่งไล่กดทีละเลข บางคนเลือกที่จะจดช่องประจำเอาไว้
บางคนยอมรับว่ายังไม่เคยดูช่องทีวีดิจิตอลเลย เพราะแค่ฟรีทีวีก็ยังดูแทบไม่หมด ปัญหาตอนนี้ที่ "ผู้ประกอบการ" ทีวีดิจิตอลต้องเร่งแก้ปัญหาคือ ทำอย่างไรจะให้คนจดจำหมายเลขช่องของตนเองได้ เพราะก่อนหน้านี้ก็เร่งโปรโมตหมายเลขช่องที่จับสลากได้มาอย่างหนัก แต่เอาเข้าจริงกลับกระเด้งไปอยู่ช่องอะไรก็ไม่รู้ กลายเป็นงานหนักที่ต้องเร่งแก้ไข
ช่วงนี้จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นช่อง 3 หรือ ช่อง 9 ที่ออกโฆษณาถี่ยิบว่า ถ้าจะชมช่อง 3 ในพีเอสไอ ต้องไปดูที่หมายเลข ... , จีเอ็มเอ็มแซท ต้องดูที่หมายเลข..., ซันบ็อกซ์ ต้องดูที่หมายเลข...
งานนี้จึงไม่ใช่เฉพาะ "ผู้ชม" ที่ปวดหัว "ผู้ประกอบการ" ก็มึนตึ้บเช่นกัน...ว่ามั้ย!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,939 วันที่ 13 - 16 เมษายน พ.ศ. 2557