พรบ สภาครู บังคับใช้ 12 มิถุนายน 46 มี 4 หมวด 90 ม.
มาตรา ๗ ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า
“คุรุสภา”
มาตรา ๘ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณ
(2) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(3) ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
มาตรา 9 อำนาจหน้าที่คุรุสภา 15 ข้อ
(๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
(๒) ควบคุมความประพฤติ และดำเนินงานให้ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
(๓) ออกใบอนุญาต ให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
(๔) พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๕) สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรจาบรรณ
(๖) ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ
(๗) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
(๘) รับรองความรู้ และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(๙) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(๑๐) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
(๑๑) ออกข้อบังคับของคุรุสภา ได้แก่ (แต่ต้องเห็นชอบจาก รัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน)
(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้าม (ลักษณะที่ไม่ดี ไม่เหมาะประกอบวิชาชีพนี้)
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา (11 คน)
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา (คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจสรรหา และถอดถอน รวมทั้งกำหนดเงินเดือน ผลประโยชน์)
(ญ) การใดๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๑๒) ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อ คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
(๑๓) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อ รัฐมนตรี เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
(๑๔) กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
(๑๕) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
การเสนอร่างข้อบังคับของคุรุสภา ที่จะบังคับใช้ได้ รัฐมนตรีต้องเห็นชอบก่อน
1. เมื่อคณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบร่างฯ >>>ให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างต่อ>>>รัฐมนตรี
2. ถ้ารัฐมนตรียับยั้งร่างฯ ต้องแสดงเหตุผล แต่***หากมิได้ยับยั้งภายใน30 วัน** นับแต่วันที่ได้รับร่างฯ ถือว่าเห็นชอบ
3. ถ้ารัฐมนตรียับยั้งร่าง ให้คณะกรรมการคุรุสภาประชุมใหม่ ***ภายใน30 วัน***นับแต่วันที่ได้รับการยับยั้ง-
4. ถ้าที่ประชุมมีมติ ไม่น้อยกว่า 2/3 ให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างฯ ต่อ>>> รัฐมนตรี ซ้ำ
5. ถ้ารัฐมนตรีนิ่งเฉย ไม่ให้ความเห็นหรือยับยั้ง ***ภายใน 15 วัน*** ถือว่าเห็นชอบ
และ ให้คุรุสภามีอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ถือกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(๒) ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
(๓) กู้ยืมเพื่อประโยชน์คุรุสภา
(๔) สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
พรบ.สภาครูฯ 46 มาตราสำคัญ มาให้ไว้อ่านสอบครูผู้ช่วยกันค่ะ
มาตรา ๗ ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า “คุรุสภา”
มาตรา ๘ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณ
(2) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(3) ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
มาตรา 9 อำนาจหน้าที่คุรุสภา 15 ข้อ
(๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
(๒) ควบคุมความประพฤติ และดำเนินงานให้ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
(๓) ออกใบอนุญาต ให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
(๔) พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๕) สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรจาบรรณ
(๖) ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ
(๗) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
(๘) รับรองความรู้ และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(๙) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(๑๐) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
(๑๑) ออกข้อบังคับของคุรุสภา ได้แก่ (แต่ต้องเห็นชอบจาก รัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน)
(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้าม (ลักษณะที่ไม่ดี ไม่เหมาะประกอบวิชาชีพนี้)
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา (11 คน)
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา (คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจสรรหา และถอดถอน รวมทั้งกำหนดเงินเดือน ผลประโยชน์)
(ญ) การใดๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๑๒) ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อ คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
(๑๓) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อ รัฐมนตรี เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
(๑๔) กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
(๑๕) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
การเสนอร่างข้อบังคับของคุรุสภา ที่จะบังคับใช้ได้ รัฐมนตรีต้องเห็นชอบก่อน
1. เมื่อคณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบร่างฯ >>>ให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างต่อ>>>รัฐมนตรี
2. ถ้ารัฐมนตรียับยั้งร่างฯ ต้องแสดงเหตุผล แต่***หากมิได้ยับยั้งภายใน30 วัน** นับแต่วันที่ได้รับร่างฯ ถือว่าเห็นชอบ
3. ถ้ารัฐมนตรียับยั้งร่าง ให้คณะกรรมการคุรุสภาประชุมใหม่ ***ภายใน30 วัน***นับแต่วันที่ได้รับการยับยั้ง-
4. ถ้าที่ประชุมมีมติ ไม่น้อยกว่า 2/3 ให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างฯ ต่อ>>> รัฐมนตรี ซ้ำ
5. ถ้ารัฐมนตรีนิ่งเฉย ไม่ให้ความเห็นหรือยับยั้ง ***ภายใน 15 วัน*** ถือว่าเห็นชอบ
และ ให้คุรุสภามีอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ถือกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(๒) ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
(๓) กู้ยืมเพื่อประโยชน์คุรุสภา
(๔) สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง