ที่ประเทศไทย ทุกๆเดือนเมษาก็จะมีดราม่าเรื่องเกณฑ์หารอยู่เสมอ
ที่อุซเบกิสถานซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตในเอเชียกลาง ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงทุกปี ประชาชนประมาณ 1 ล้านคน ถูกเกณฑ์แรงงานโดยรัฐบาลเพื่อไปเก็บฝ้ายเพื่อชาติ
การปลูกฝ้ายในอุซเบกิสถานมีมานานกว่า 2000 ปี และในยุคของสหภาพโซเวียต ได้มีการขยายพื้นที่ชลประทานเพื่อการปลูกฝ้าย และปัจจุบันฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอุซเบกิสถาน และเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ โดยมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 17 เปอร์เซนต์ของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมด และฝ้ายถูกขนานนามว่าเป็น ทองคำขาว ปัจจุบัน อุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ส่งออกฝ้ายมากเป็นอันดับที่สามของโลก การเกณฑ์แรงงานเก็บฝ้ายนั้นทำให้ฝ้ายในอุซเบกิสถานนั้นมีราคาถูกกว่าในตลาดโลก และสร้างกำไรมหาศาลแก่รัฐบาล
เนื่องจากฝ้ายเป็นพืชที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก หากไม่เก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็วภายในสองสัปดาห์ ฝนและอากาศที่หนาวเย็นในฤดูใบไม้ร่วง ส่งผลต่อคุณภาพของฝ้ายและส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศ
โดยคนที่ถูกเกณฑ์ไปเก็บฝ้ายประกอบด้วยเด็กนักเรียนในชนบทที่ถูกเกณฑ์ประมาณ 2 เดือนโดยเป็นการทำงานที่ได้ค่าแรงน้อยมาก ข้าราชการ ครู หมอ พยาบาล พนักงานธนาคาร ทหารและตำรวจชั้นประทวน จะไม่ได้รับค่าจ้างใดๆ โดยจะถูกเกณฑ์แรงงานประมาณ 10 วัน ในฤดูเก็บเกี่ยวฝ้าย สาเหตุที่ต้องมีการใช้แรงงานเด็กและบังคับการเกณฑ์แรงงานเพื่อไปเก็บฝ้ายแทนการใช้เครื่องจักรนั้นเนื่องจากว่าฝ้ายนั้นเป็นพืชที่ให้กำไรน้อยและการขาดการกระจายความเจริญไปยังชนบท ทำให้การใช้เครื่องจักรในการเก็บฝ้ายน้อยลงเรื่อยๆ โดยในปี 1992-1993 มีการใช้เครื่องจักรถึง 40 เปอร์เซนต์ของการเก็บฝ้าย แต่ปัจจุบันมีไม่ถึง 5 เปอร์เซนต์ โดยแต่ละคนต้องเก็บฝ้ายให้ได้คนละ 60 กิโลกรัมต่อวัน
การใช้แรงงานเด็กในการเก็บฝ้ายเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการผลิตฝ้ายในอุซเบกิสถาน โดยมีการเกณฑ์แรงงานเด็กตั้งแต่อายุ 9 ขวบเพื่อไปเก็บฝ้าย เด็กๆในอุซเบกิสถานนั้นได้รับการเลี้ยงดูและสอนให้ตอบแทนแผ่นดินด้วยการเป็นแรงงานเก็บฝ้ายในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เป็นการเก็บฝ้ายเพื่อความรุ่งเรืองของชาติ จากการสำรวจของหน่วยงานต่อต้านการใช้แรงงานเด็กของอังกฤษในปี 2006 พบว่าในแต่ละจังหวัด นักเรียนมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ต้องถูกบังคับเกณฑ์แรงงานไปเก็บฝ้าย ยกเว้นโรงเรียนไม่กี่แห่งในเขตเมืองใหญ่ที่ไม่ถูกเกณฑ์ ทำให้เด็กในชนบทมีโอกาสน้อยกว่าเด็กในเมืองในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
โดยนักเรียน ถ้าหนีการเกณฑ์แรงงาน ก็จะถูกไล่ออกจากโรงเรียน ข้าราชการ ถ้าปฎิเสธการเกณฑ์แรงงาน ก็อาจจะถูกไล่ออก ตัดเงินเดือน ตัดเงินบำนาญ หรือครอบครัวอาจจะไม่ได้รับสวัสดิการ
การเกณฑ์แรงงานเด็ก ทำให้เด็กในชนบทขาดโอกาสทางการศึกษา และสภาพแวดล้อมในการทำงานกลางท้องทุ่ง และฝุ่นจากฝ้าย ทำให้เด็กหลายคนป่วย และมีหลายกรณีที่เด็กนักเรียนต้องเสียชีวิตจากการเก็บฝ้ายในทุ่ง และยังมีเหตุการณ์ที่เด็กนักเรียนถูกกองฝ้ายทับเสียชีวิต
หลายหน่วยงานทั้งในอุซเบกิสถานและต่างประเทศต่างก็รณรงค์ในเรื่องนี้ หลายบริษัทเช่น H&M, Ikea, Adidas and Marks & Spencer ไม่สนับสนุนการใช้ฝ้ายจากอุซเบกิสถาน แต่สินค้าฝ้ายนั้นเป็นสินค้าที่ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ยาก Ikea ซึ่งนำเข้าสิ่งทอจากบังกลาเทศซึ่งส่วนมากนำเข้าฝ้ายมาจากอุซเบกิสถานได้พยยามร้องขอซัพพลายเออร์ให้นำเข้าฝ้ายจากอินเดียแทน
รัฐบาลอุซเบกิสถานได้พยายามที่จะปรับปรุงในเรื่องนี้โดยในปี 201 2 ได้ห้ามใช้แรงงานเด็กเล็กในการเก็บฝ้าย แต่ก็ยังพบว่ายังมีการใช้แรงงานเด็กเล็กเก็บฝ้ายในหลายพื้นที่
การใช้แรงงานเด็กน้อยที่ลง ทำให้รัฐบาลต้องเกณฑ์แรงงานผู้ใหญ่ไปเก็บฝ้ายมากขึ้น การเกณฑ์แรงงานทำให้โรงเรียนหลายแห่งต้องหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเนื่องจากบุคลาการครูไม่เพียงพอ เพราะครูก็โดนเกณฑ์ไปเก็บฝ้ายด้วยเช่นกัน ตามข้อมูลของ Human Rights Alliance of Uzbekistan และ the Uzbek-German Forum พบว่าจำนวนครูกว่า 50 -75 เปอร์เซนต์จากโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศถูกเกณฑ์แรงงานไปเก็บฝ้ายในฤดูเก็บเกี่ยวประมาณ 10 -14 วัน ทำให้นักเรียนต้องหยุดเรียนไปด้วย โรงเรียนที่ยังทำการสอนได้อยู่ อาจารย์ก็มีภาระการสอนที่มากขึ้นเนื่องจากบุคคลากรบางส่วนไปเก็บฝ้าย บางวิชาก็ไม่สามารถทำการสอนได้เลย
ในช่วงเกณฑ์ไปเก็บฝ้าย เจ้าหน้าที่รัฐแต่ละคนต้องเก็บฝ้ายให้ได้คนละ 60-80 กิโลกรัมต่อวันแล้วแต่ภูมิภาค การทำงานเริ่มต้นตั้งแต่เช้า บางแห่งเริ่มที่ตีสี่ครึ่งจนถึงหกโมงหรือหนึ่งทุ่ม เจ้าหน้าทีรัฐต้องเก็บฝ้ายให้ได้ในปริมาณตามโควต้าที่รับมอบหมาย หากไม่สามารถเก็บฝ้ายได้ตามโควตาต้องซื้อจากคนงานคนอื่น หรือหักจากเงินเดือนของตัวเอง
นอกจากนี้การเกณฑ์แรงงานเก็บฝ้ายยังส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ โรงพยาบาลบางแห่งก็ขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากหมอและพยาบาลก็ถูกเกณฑ์ไปเก็บฝ้าย จากกรุงทัชเคนท์ เมืองหลวงของอุซเบกิสถานแค่เมืองเดียว ก็มีหมอและพยาบาลเกือบ 11000 คนถูกเกณฑ์ไปเก็บฝ้ายในชนบท
โรงพยาบาลและคลินิกหลายแห่งในอุซเบกิสถานต้องปิดขั่วคราวระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคมเนื่องจากบุคคลากรไปเก็บฝ้าย นรีแพทย์จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองบาราได้ให้ข้อมูลแก่ Human Rights Alliance of Uzbekistan ว่าเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่เธอทำงานอยู่ถูกเกณฑ์แรงงานไปเก็บฝ้ายทั้งหมดยกเว้นเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแลลูกอายุต่ำกว่า 4 ปี
นอกจากเด็กและเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว ปัจจุบันการเกณฑ์แรงงานยังขยายไปถึงพนักงานบริษัทเอกชน โดยบริษัทบางแห่งต้องส่งเจ้าหน้าที่ในบริษัทไปเก็บฝ้ายเป็นเวลา 1-2 วัน ในฤดูเก็บเกี่ยว
นอกจากการปลูกฝ้ายในอุซเบกิสถานจะมีปัญหาด้านสังคมเรื่องการเกณฑ์แรงงานแล้ว นอกจากนี้การปลูกฝ้ายยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทะเลสาบอารัลแห้งลงไปอีกด้วย ดังที่มีคนตั้งกระทู้เกี่ยวกับชะตากรรมของทะเลสาบอารัลไว้แล้ว
ครั้งหนึ่ง ทะเลอารัล มีพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2503 ทะเลอารัลก็ลดขนาดลงเรื่อยๆ เพราะแม่น้ำอามูดาร์ยาและแม่น้ำเซียร์ดาร์ยา ที่นำน้ำมาสู่ทะเลโดนเปลี่ยนเส้นทาง เพราะโครงการชลประทานของสหภาพโซเวียตเพื่อการปลูกฝ้ายและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ในปี พ.ศ.2547 พื้นที่ทะเลลดลงเหลือร้อยละ 25 ของขนาดเดิม และมีค่าความเค็มมากกว่าเดิมถึง 5 เท่าซึ่งทำให้พืช และสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ตายเสียส่วนใหญ่
ในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่ใน ทะเลอารัล ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 ของขนาดเดิม และแยกตัวออกเป็นทะเลสาบสามส่วน ซึ่งสองในสามนั้นเค็มเกินไปที่ปลาจะอาศัยอยู่ได้ อุตสาหกรรมการประมงที่เคยเฟื่องฟูถูกทำลายลง เมืองประมงที่อยู่รอบๆ ชายฝั่งเดิมกลายสภาพเป็นสุสานเรือ
เครดิท ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ http://ppantip.com/topic/30971565
http://en.wikipedia.org/wiki/Cotton_production_in_Uzbekistan
http://www.nytimes.com/2013/12/18/world/asia/forced-labor-lives-on-in-uzbekistans-cotton-fields.html?pagewanted=all&_r=0
http://www.economist.com/blogs/banyan/2013/10/forced-labour-uzbekistan
http://www.soas.ac.uk/cccac/events/cotton-sector-in-central-asia-2005/file49842.pdf
http://www.hrw.org/news/2013/01/25/uzbekistan-forced-labor-widespread-cotton-harvest
http://www.ecouterre.com/wp-content/uploads/2011/10/uzbekistan-child-labor-cotton-1-537x402.jpg
http://laborrightsblog.typepad.com/.a/6a00d8341bf90b53ef01287660c9c1970c-800wi
http://s3.amazonaws.com/corpwatch.org/img/original/uzbekcotton.jpg
http://ejfoundation.org/sites/default/files/public/styles/large/public/cotton/white-gold-uzbekistan-slave-nation-cover.png?itok=zGyEX5gI
http://i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/02001/Uzbek-Cotton_2001948c.jpg
การเกณฑ์แรงงานเก็บฝ้ายเพื่อชาติในอุซเบกิสถาน และชะตากรรมของทะเลสาบอารัล
ที่อุซเบกิสถานซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตในเอเชียกลาง ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงทุกปี ประชาชนประมาณ 1 ล้านคน ถูกเกณฑ์แรงงานโดยรัฐบาลเพื่อไปเก็บฝ้ายเพื่อชาติ
การปลูกฝ้ายในอุซเบกิสถานมีมานานกว่า 2000 ปี และในยุคของสหภาพโซเวียต ได้มีการขยายพื้นที่ชลประทานเพื่อการปลูกฝ้าย และปัจจุบันฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอุซเบกิสถาน และเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ โดยมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 17 เปอร์เซนต์ของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมด และฝ้ายถูกขนานนามว่าเป็น ทองคำขาว ปัจจุบัน อุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ส่งออกฝ้ายมากเป็นอันดับที่สามของโลก การเกณฑ์แรงงานเก็บฝ้ายนั้นทำให้ฝ้ายในอุซเบกิสถานนั้นมีราคาถูกกว่าในตลาดโลก และสร้างกำไรมหาศาลแก่รัฐบาล
เนื่องจากฝ้ายเป็นพืชที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก หากไม่เก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็วภายในสองสัปดาห์ ฝนและอากาศที่หนาวเย็นในฤดูใบไม้ร่วง ส่งผลต่อคุณภาพของฝ้ายและส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศ
โดยคนที่ถูกเกณฑ์ไปเก็บฝ้ายประกอบด้วยเด็กนักเรียนในชนบทที่ถูกเกณฑ์ประมาณ 2 เดือนโดยเป็นการทำงานที่ได้ค่าแรงน้อยมาก ข้าราชการ ครู หมอ พยาบาล พนักงานธนาคาร ทหารและตำรวจชั้นประทวน จะไม่ได้รับค่าจ้างใดๆ โดยจะถูกเกณฑ์แรงงานประมาณ 10 วัน ในฤดูเก็บเกี่ยวฝ้าย สาเหตุที่ต้องมีการใช้แรงงานเด็กและบังคับการเกณฑ์แรงงานเพื่อไปเก็บฝ้ายแทนการใช้เครื่องจักรนั้นเนื่องจากว่าฝ้ายนั้นเป็นพืชที่ให้กำไรน้อยและการขาดการกระจายความเจริญไปยังชนบท ทำให้การใช้เครื่องจักรในการเก็บฝ้ายน้อยลงเรื่อยๆ โดยในปี 1992-1993 มีการใช้เครื่องจักรถึง 40 เปอร์เซนต์ของการเก็บฝ้าย แต่ปัจจุบันมีไม่ถึง 5 เปอร์เซนต์ โดยแต่ละคนต้องเก็บฝ้ายให้ได้คนละ 60 กิโลกรัมต่อวัน
การใช้แรงงานเด็กในการเก็บฝ้ายเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการผลิตฝ้ายในอุซเบกิสถาน โดยมีการเกณฑ์แรงงานเด็กตั้งแต่อายุ 9 ขวบเพื่อไปเก็บฝ้าย เด็กๆในอุซเบกิสถานนั้นได้รับการเลี้ยงดูและสอนให้ตอบแทนแผ่นดินด้วยการเป็นแรงงานเก็บฝ้ายในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เป็นการเก็บฝ้ายเพื่อความรุ่งเรืองของชาติ จากการสำรวจของหน่วยงานต่อต้านการใช้แรงงานเด็กของอังกฤษในปี 2006 พบว่าในแต่ละจังหวัด นักเรียนมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ต้องถูกบังคับเกณฑ์แรงงานไปเก็บฝ้าย ยกเว้นโรงเรียนไม่กี่แห่งในเขตเมืองใหญ่ที่ไม่ถูกเกณฑ์ ทำให้เด็กในชนบทมีโอกาสน้อยกว่าเด็กในเมืองในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
โดยนักเรียน ถ้าหนีการเกณฑ์แรงงาน ก็จะถูกไล่ออกจากโรงเรียน ข้าราชการ ถ้าปฎิเสธการเกณฑ์แรงงาน ก็อาจจะถูกไล่ออก ตัดเงินเดือน ตัดเงินบำนาญ หรือครอบครัวอาจจะไม่ได้รับสวัสดิการ
การเกณฑ์แรงงานเด็ก ทำให้เด็กในชนบทขาดโอกาสทางการศึกษา และสภาพแวดล้อมในการทำงานกลางท้องทุ่ง และฝุ่นจากฝ้าย ทำให้เด็กหลายคนป่วย และมีหลายกรณีที่เด็กนักเรียนต้องเสียชีวิตจากการเก็บฝ้ายในทุ่ง และยังมีเหตุการณ์ที่เด็กนักเรียนถูกกองฝ้ายทับเสียชีวิต
หลายหน่วยงานทั้งในอุซเบกิสถานและต่างประเทศต่างก็รณรงค์ในเรื่องนี้ หลายบริษัทเช่น H&M, Ikea, Adidas and Marks & Spencer ไม่สนับสนุนการใช้ฝ้ายจากอุซเบกิสถาน แต่สินค้าฝ้ายนั้นเป็นสินค้าที่ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ยาก Ikea ซึ่งนำเข้าสิ่งทอจากบังกลาเทศซึ่งส่วนมากนำเข้าฝ้ายมาจากอุซเบกิสถานได้พยยามร้องขอซัพพลายเออร์ให้นำเข้าฝ้ายจากอินเดียแทน
รัฐบาลอุซเบกิสถานได้พยายามที่จะปรับปรุงในเรื่องนี้โดยในปี 201 2 ได้ห้ามใช้แรงงานเด็กเล็กในการเก็บฝ้าย แต่ก็ยังพบว่ายังมีการใช้แรงงานเด็กเล็กเก็บฝ้ายในหลายพื้นที่
การใช้แรงงานเด็กน้อยที่ลง ทำให้รัฐบาลต้องเกณฑ์แรงงานผู้ใหญ่ไปเก็บฝ้ายมากขึ้น การเกณฑ์แรงงานทำให้โรงเรียนหลายแห่งต้องหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเนื่องจากบุคลาการครูไม่เพียงพอ เพราะครูก็โดนเกณฑ์ไปเก็บฝ้ายด้วยเช่นกัน ตามข้อมูลของ Human Rights Alliance of Uzbekistan และ the Uzbek-German Forum พบว่าจำนวนครูกว่า 50 -75 เปอร์เซนต์จากโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศถูกเกณฑ์แรงงานไปเก็บฝ้ายในฤดูเก็บเกี่ยวประมาณ 10 -14 วัน ทำให้นักเรียนต้องหยุดเรียนไปด้วย โรงเรียนที่ยังทำการสอนได้อยู่ อาจารย์ก็มีภาระการสอนที่มากขึ้นเนื่องจากบุคคลากรบางส่วนไปเก็บฝ้าย บางวิชาก็ไม่สามารถทำการสอนได้เลย
ในช่วงเกณฑ์ไปเก็บฝ้าย เจ้าหน้าที่รัฐแต่ละคนต้องเก็บฝ้ายให้ได้คนละ 60-80 กิโลกรัมต่อวันแล้วแต่ภูมิภาค การทำงานเริ่มต้นตั้งแต่เช้า บางแห่งเริ่มที่ตีสี่ครึ่งจนถึงหกโมงหรือหนึ่งทุ่ม เจ้าหน้าทีรัฐต้องเก็บฝ้ายให้ได้ในปริมาณตามโควต้าที่รับมอบหมาย หากไม่สามารถเก็บฝ้ายได้ตามโควตาต้องซื้อจากคนงานคนอื่น หรือหักจากเงินเดือนของตัวเอง
นอกจากนี้การเกณฑ์แรงงานเก็บฝ้ายยังส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ โรงพยาบาลบางแห่งก็ขาดแคลนบุคลากรเนื่องจากหมอและพยาบาลก็ถูกเกณฑ์ไปเก็บฝ้าย จากกรุงทัชเคนท์ เมืองหลวงของอุซเบกิสถานแค่เมืองเดียว ก็มีหมอและพยาบาลเกือบ 11000 คนถูกเกณฑ์ไปเก็บฝ้ายในชนบท
โรงพยาบาลและคลินิกหลายแห่งในอุซเบกิสถานต้องปิดขั่วคราวระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคมเนื่องจากบุคคลากรไปเก็บฝ้าย นรีแพทย์จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองบาราได้ให้ข้อมูลแก่ Human Rights Alliance of Uzbekistan ว่าเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่เธอทำงานอยู่ถูกเกณฑ์แรงงานไปเก็บฝ้ายทั้งหมดยกเว้นเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแลลูกอายุต่ำกว่า 4 ปี
นอกจากเด็กและเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว ปัจจุบันการเกณฑ์แรงงานยังขยายไปถึงพนักงานบริษัทเอกชน โดยบริษัทบางแห่งต้องส่งเจ้าหน้าที่ในบริษัทไปเก็บฝ้ายเป็นเวลา 1-2 วัน ในฤดูเก็บเกี่ยว
นอกจากการปลูกฝ้ายในอุซเบกิสถานจะมีปัญหาด้านสังคมเรื่องการเกณฑ์แรงงานแล้ว นอกจากนี้การปลูกฝ้ายยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทะเลสาบอารัลแห้งลงไปอีกด้วย ดังที่มีคนตั้งกระทู้เกี่ยวกับชะตากรรมของทะเลสาบอารัลไว้แล้ว
ครั้งหนึ่ง ทะเลอารัล มีพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2503 ทะเลอารัลก็ลดขนาดลงเรื่อยๆ เพราะแม่น้ำอามูดาร์ยาและแม่น้ำเซียร์ดาร์ยา ที่นำน้ำมาสู่ทะเลโดนเปลี่ยนเส้นทาง เพราะโครงการชลประทานของสหภาพโซเวียตเพื่อการปลูกฝ้ายและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ในปี พ.ศ.2547 พื้นที่ทะเลลดลงเหลือร้อยละ 25 ของขนาดเดิม และมีค่าความเค็มมากกว่าเดิมถึง 5 เท่าซึ่งทำให้พืช และสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ตายเสียส่วนใหญ่
ในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่ใน ทะเลอารัล ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 ของขนาดเดิม และแยกตัวออกเป็นทะเลสาบสามส่วน ซึ่งสองในสามนั้นเค็มเกินไปที่ปลาจะอาศัยอยู่ได้ อุตสาหกรรมการประมงที่เคยเฟื่องฟูถูกทำลายลง เมืองประมงที่อยู่รอบๆ ชายฝั่งเดิมกลายสภาพเป็นสุสานเรือ
เครดิท ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้