ปัจจัย ต่างประเทศ ท่าที นานาชาติ ท่าที เลือกตั้ง
การเดินทางมาครั้งนี้มีความหมาย
16.45 น. วันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม
โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า
วันเดียวกันนี้มีโอกาสพบกับนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยนางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
เพื่อหารือระหว่างกันถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งสถานการณ์การเมืองภายใน
ประเทศไทยด้วย
สหรัฐอเมริกายังแสดงถึงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การเมืองของไทย รวมทั้งเห็นว่า
ทุกฝ่ายควรร่วมกันเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี ตามครรลองระบอบ
ประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย
และคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม
นอกจากนี้ สถาบันที่สำคัญ ทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ รวมทั้งองค์กร
อิสระต่างๆ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศ ควรจะต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเป็นธรรม
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาทางการเมืองเป็นไปอย่างยุติธรรมกับทุกฝ่าย
ไม่ธรรมดา
ยิ่งพิจารณาประกอบกับท่าทีของตัวแทนสหรัฐก่อนหน้านี้ยิ่งไม่ธรรมดา
นางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ถึงท่าทีของ
สหรัฐที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทย ว่า
"ท่าทีของสหรัฐชัดเจนมาก เราออกแถลงการณ์มาหลายฉบับในช่วงที่สถานการณ์
ยืดเยื้อมา 4-5 เดือน แถลงการณ์เหล่านี้ออกโดยรัฐบาลสหรัฐที่กรุงวอชิงตัน มีการ
ใช้ถ้อยคำอย่างระมัดระวัง รวมถึงชัดเจนมากในการสนับสนุนประเทศไทยในฐานะมิตร
ประเทศ
และสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย รวมถึงสนับสนุนให้การเจรจาอย่างสันติ"
ไม่ใช่แต่สหรัฐเท่านั้นที่เน้นการเลือกตั้ง
23 มีนาคม โฆษกของนางแคธรีน แอชตัน ผู้แทนระดับสูงด้านการต่างประเทศและ
นโยบายความมั่นคงของสหภาพยุโรป (อียู) และรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
ได้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้
ผู้แทนระดับสูงฯรับทราบเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา
และขอเรียกร้องให้หน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน
สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของประเทศไทย
ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในการเจรจาหารือเพื่อหาทางออกที่ยั่งยืนและโดยสันติ อีกทั้งเพื่อ
สร้างหลักประกันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งต่อไปให้มากที่สุด
รวมทั้งเรียกร้องอย่างเร่งด่วนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง
ปลายปี 2556
สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่า เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเสนอตัวเป็นคนกลาง
ไกล่เกลี่ยเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างคู่ขัดแย้งล่าสุด แต่ไม่แน่ใจว่าแกนนำการประท้วงจะ
ยอมนั่งโต๊ะเจรจากับฝ่ายตรงข้ามหรือไม่
เนื่องจากเป้าหมายหลักของผู้ชุมนุมคือการโค่นล้มรัฐบาล
นายเซ็ทซึโอะ อิอูจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กล่าวว่า
คาดหวังว่าปัญหาการเมืองจะยุติโดยเร็ว เพราะถ้ายืดเยื้อจะกระทบต่อความเชื่อมั่นรวมถึง
การพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ต้องการ
ให้รัฐบาลไทยเร่งปรับปรุง
นายสันติ กีระนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส เรตติ้ง จำกัด กล่าวว่า มีโอกาสพูดคุย
กับที่ปรึกษาการเงินกับนักลงทุนญี่ปุ่น พบว่าผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นบางรายเริ่ม
ทบทวนการตัดสินใจการขยายฐานการผลิตในประเทศไทย
"ทั้งโตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน อีซูซุ พบว่ามีบางรายเริ่มทบทวนการตัดสินใจว่าจะยังขยายฐาน
การผลิตในประเทศไทยต่อไปหรือไม่
เพราะที่ผ่านมาเรามีปัญหามาโดยตลอด"
จะโดยยุทธศาสตร์ของใคร หรือโดยธรรมชาติ-ความเชื่อของนานาประเทศก็ดี
วันนี้โลกล้อมไทย ล้อมด้วยประชาธิปไตย
และการเลือกตั้ง
............
(ที่มา:มติชนรายวัน 10 เมษายน2557)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397116968&grpid=&catid=12&subcatid=1200
ตัวแปรสำคัญ ของเรื่องนี้ น่าจะเป็นประชาธิปัตย์ แค่กกต.จัดการเลือกตั้ง และปชป.ร่วมลงสมัครรับ
เลือกตั้ง ก็มองเห็นแสวงสว่างที่ปลาอุโมงค์แล้ว ลองมาดูท่าทีของปชป. กันบ้าง ...
เดี๋ยวจะตามมาค่ะ โปรดอดใจรอ หน่อย
วันนี้โลกล้อมไทย ล้อมด้วยประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ !!!!!!! มติชนออนไลน์
การเดินทางมาครั้งนี้มีความหมาย
16.45 น. วันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม
โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า
วันเดียวกันนี้มีโอกาสพบกับนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยนางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
เพื่อหารือระหว่างกันถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งสถานการณ์การเมืองภายใน
ประเทศไทยด้วย
สหรัฐอเมริกายังแสดงถึงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การเมืองของไทย รวมทั้งเห็นว่า
ทุกฝ่ายควรร่วมกันเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี ตามครรลองระบอบ
ประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย
และคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม
นอกจากนี้ สถาบันที่สำคัญ ทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ รวมทั้งองค์กร
อิสระต่างๆ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศ ควรจะต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเป็นธรรม
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาทางการเมืองเป็นไปอย่างยุติธรรมกับทุกฝ่าย
ไม่ธรรมดา
ยิ่งพิจารณาประกอบกับท่าทีของตัวแทนสหรัฐก่อนหน้านี้ยิ่งไม่ธรรมดา
นางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ถึงท่าทีของ
สหรัฐที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทย ว่า
"ท่าทีของสหรัฐชัดเจนมาก เราออกแถลงการณ์มาหลายฉบับในช่วงที่สถานการณ์
ยืดเยื้อมา 4-5 เดือน แถลงการณ์เหล่านี้ออกโดยรัฐบาลสหรัฐที่กรุงวอชิงตัน มีการ
ใช้ถ้อยคำอย่างระมัดระวัง รวมถึงชัดเจนมากในการสนับสนุนประเทศไทยในฐานะมิตร
ประเทศ
และสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย รวมถึงสนับสนุนให้การเจรจาอย่างสันติ"
ไม่ใช่แต่สหรัฐเท่านั้นที่เน้นการเลือกตั้ง
23 มีนาคม โฆษกของนางแคธรีน แอชตัน ผู้แทนระดับสูงด้านการต่างประเทศและ
นโยบายความมั่นคงของสหภาพยุโรป (อียู) และรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
ได้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้
ผู้แทนระดับสูงฯรับทราบเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา
และขอเรียกร้องให้หน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน
สำหรับการเลือกตั้งครั้งใหม่ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของประเทศไทย
ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในการเจรจาหารือเพื่อหาทางออกที่ยั่งยืนและโดยสันติ อีกทั้งเพื่อ
สร้างหลักประกันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งต่อไปให้มากที่สุด
รวมทั้งเรียกร้องอย่างเร่งด่วนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง
ปลายปี 2556
สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่า เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเสนอตัวเป็นคนกลาง
ไกล่เกลี่ยเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างคู่ขัดแย้งล่าสุด แต่ไม่แน่ใจว่าแกนนำการประท้วงจะ
ยอมนั่งโต๊ะเจรจากับฝ่ายตรงข้ามหรือไม่
เนื่องจากเป้าหมายหลักของผู้ชุมนุมคือการโค่นล้มรัฐบาล
นายเซ็ทซึโอะ อิอูจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กล่าวว่า
คาดหวังว่าปัญหาการเมืองจะยุติโดยเร็ว เพราะถ้ายืดเยื้อจะกระทบต่อความเชื่อมั่นรวมถึง
การพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ต้องการ
ให้รัฐบาลไทยเร่งปรับปรุง
นายสันติ กีระนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส เรตติ้ง จำกัด กล่าวว่า มีโอกาสพูดคุย
กับที่ปรึกษาการเงินกับนักลงทุนญี่ปุ่น พบว่าผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นบางรายเริ่ม
ทบทวนการตัดสินใจการขยายฐานการผลิตในประเทศไทย
"ทั้งโตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน อีซูซุ พบว่ามีบางรายเริ่มทบทวนการตัดสินใจว่าจะยังขยายฐาน
การผลิตในประเทศไทยต่อไปหรือไม่
เพราะที่ผ่านมาเรามีปัญหามาโดยตลอด"
จะโดยยุทธศาสตร์ของใคร หรือโดยธรรมชาติ-ความเชื่อของนานาประเทศก็ดี
วันนี้โลกล้อมไทย ล้อมด้วยประชาธิปไตย
และการเลือกตั้ง
............
(ที่มา:มติชนรายวัน 10 เมษายน2557)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397116968&grpid=&catid=12&subcatid=1200
ตัวแปรสำคัญ ของเรื่องนี้ น่าจะเป็นประชาธิปัตย์ แค่กกต.จัดการเลือกตั้ง และปชป.ร่วมลงสมัครรับ
เลือกตั้ง ก็มองเห็นแสวงสว่างที่ปลาอุโมงค์แล้ว ลองมาดูท่าทีของปชป. กันบ้าง ...
เดี๋ยวจะตามมาค่ะ โปรดอดใจรอ หน่อย