อีกหนึ่งอาชีพที่คนมักเข้าใจผิดกัน ฟู้ดซาย VS คหกรรม

กระทู้นี้โปรโมทอาชีพตัวเองนิสนึงนะคะ คือว่า มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้นอย่างมากมายเกี่ยวกับอาชีพที่จบมาทาง food science กับ คหกรรม โดยมีน้องๆ ม.6 ที่กำลังจะจบเลือกเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆได้สอบถามมา รวมทั้งคนทั่วไปก็มักเกิดความเข้าใจผิดอย่างแรง เกี่ยวกับอาชีพด้านนี้  โดยจะเล่าคร่าวๆละกันนะคะ
              food science และ food technology  เป็นคณะที่ จขกท. จบมา โดยตรง  ซึ่งจะเรียนหลายวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปอาหาร  ทั้ง food processing, food chemistry, food engineering, product development, food microbiology, food regulation  เป็นต้น
      - จบไปทำอะไร : 1. เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร ตามโรงงานอาหาร  QA, Production หรือ R&D ก็ได้ โดยโรงงานแปรรูปอาหารในไทยจะต้องใช้คนที่จบมาด้านนี้ในการทำงานเท่านั้น  (ดังนั้นไม่ต้องกลัวตกงานถ้าไม่เรื่องมาก)
                             2. เป็น Sales หรือ sales technical ตามบริษัทที่ขาย flavor หรือ fragrance หรือ ingredient ให้กับโรงงานอาหาร หรือโรงพยาบาล เพราะต้องใช้คนที่จบมาด้านนี้โดยตรงในการตอบข้อซักถามกับลูกค้า เพราะมี know how
                             3. เป็น จัดซื้อวัตถุดิบของโรงงานอาหาร เพราะจะต้องการมีไปออดิต supplier ซึ่งต้องใช้ความรู้ด้านระบบในโรงงานอาหาร
                             4. เป็น Auditor  อันนี้เงินเดือนจะสูงมาก  ถ้าเก่ง และอยู่ในบริษัทข้ามชาติ  โดยมีหน้าที่ไปตรวจรับรองมาตรฐานต่างๆตามโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการ เช่น   มาตรฐานเทสโก้  คือ ถ้าโรงงานไหนจะขายของเข้า เทสโก้ ก็ต้องได้รับมาตรฐานเทสโก้ ดังนั้นโรงงานก็ต้องจ้างพวก auditor นี่แหละที่การเข้ามาตรวจและรับรองมาตรฐานให้ ของถึงจะขายได้
      -  เงินเดือน  : อันนี้รู้ว่าอยากรู้กันทุกคน   ฐานเงินเดือนสาย food sci จะ range ค่อนข้างกว้าง start ตั้งแต่ 14k- 22k แล้วแต่โรงงาน แล้วแต่ข้อตกลง  (ขึ้นอยู่กับความยิ้ม เอ้ย!! ความสามารถตอนสอบสัมพาษณ์นะจ๊ะ)  แต่บางบริษัทมีโครงสร้างอยู่แล้วเราก็ทำอะไรไม่ได้ เช่น CP   Nestle เป็นต้น
      -  ความก้าวหน้า : เริ่มต้นด้วยตำแหน่ง officer หรือ supervisor จนขึ้นเป็น ผจก.แผนก  ผจก.ฝ่าย และ Vice president ในโรงงาน ซึ่งเงินเดือนแน่นอนก็ต้องขึ้นด้วย   ยิ่งแก่ยิ่งสบาย เพราะแค่ดูภาพรวมกว้างๆ  ถ้างานนิ่งแล้วก้ไม่มีอะไรมาก กินบุญเก่าไปวันๆ (สังเกตุจากหัวหน้า หุหุ)
      -  ข้อเสีย :  ส่วนใหญ่คนที่ทำงานโรงงาน (เหมือนดิชั้น) จะทำงาน จ- ส  6 วัน  บางตำแหน่งมี กะ กลางคืนเช่น Production และ QC (ซึ่งก็ได้ค่ากะอีกนะ) และส่วนใหญ่โรงงานมักอยู่ชานเมือง ไม่ก็นิคมที่อยู่ไกลๆจาก กทม  ดังนั้น จึงไม่เหมาะกับคนติดหรู ติดห้าง ติดบ้าน ติดความสบาย
      -  ข้อแนะนำ : สำหรับน้องๆที่เพิ่งจบ หรือกำลังจะจบให้ทำใจไว้เลยว่า start เริ่มแรก ไม่มีใครได้มากหรอก ให้หาประสบการณ์ไป 2 ปี ไปที่ที่สองนั่นแหละ ถึงจะเยอะ เพราะเรามีสบการณ์แล้ว  และไม่ต้องกลัวตกงาน เพราะสายนี้รับเยอะ รับบ่อย คน turn over กันมาก เพราะไม่มีใครที่อยู่ที่เก่าไปตลอดหรอก สายงานเหมือนกัน ทำเหมือนกันทุกโรงงาน อาจแตกต่างแค่ตัวสินค้าที่ผลิตเท่านั้น ซึ่งสามารถปรับจูนหากันได้
      
----------------------------------------------------

          ข้อแตกต่างกับ คหกรรม แน่นอน แตกต่างกันมากทั้งด้านความรู้และเชิง technical
คหกรรม  :  คือ  การทำกับข้าว  (รู้แค่นี้)  ทำไงให้อร่อย ทำไงให้ลูกค้าชอบและติด
food sci / food tech : ถ้าเป็น RD ทำสินค้าให้อร่อย (อันนี้ไม่ต่าง) และ ทำยังไงให้สินค้าอยู่ได้นานหลักปี (อันนี้ต่าง) โดยถ้าเราทำอาหารขายเหมือนข้างทางไม่ต้องคิดไรมาก เพราะมันหมดเป็นวันๆ  แต่นี่เราทำอาหารระดับอุตสาหกรรม ทำจำนวนมาก ดังนั้น ต้องขายระดับหลักปี  ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์อาหารจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการหา shelf life (อายุสินค้า) และ ทดลองเรื่องคุณภาพต่างๆมากมาย ซึ่งต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาศาตร์ทั้งนั้นซึ่ง คหกรรมจะไม่มี รวมทั้งหาเวลาในกระบวนการฆ่าเชื้ออาหาร ซึ่งสำคัญมาก ที่จะผลิตอาหารให้ปลอดภัยและอยู่ได้นาน ซึ่งคหกรรมก็จะทำไม่ได้
                               ถ้าเป็น QA  QC และ Production จะต้องรู้เรื่องกฎหมายอาหาร  ทำระบบต่างๆให้กับโรงงานทั้ง HACCP   GMP  ISO  BRC FSSC    ฯลฯ  แล้วแต่โรงงานว่าจะมีตัวไหน  ซึ่งต้องใช้คนที่จบ food sci หรือ food tech เท่านั้น ใช้คนจบคหกรรมไม่ได้  
                     อันนี้แค่คร่าวๆนะคะเพื่อน

-------------------------------------------------------

การตกงาน  :  ไม่ว่าจะอาชีพใดถ้าเลือกมาก เรื่องเยอะ เข้ากะก้ไม่ได้ บ้านไกลก็ไปไม่ได้ เงินเดือนน้อย สวัสดิการห่วย เพื่อนได้เยอะกว่า (อันนี้เชิงเปรียบเทียบ)   รับรอง จะอาชีพไหนก็ตกงานค่ะ    ดังนั้นเด็กจบใหม่กรุณาเจียมตัวด้วยนะคะ ดิชั้นเจอมาเยอะ เขียนเงินเดือนซะเว่อร์  ประสบการณ์ก็ไม่มี เกรดก็งั้นๆ ไม่มีอะไรโดดเด่น     สมัยนี้เค้าเอาประสบการณ์ค่ะว่าจะทำอะไรให้บริษัทเค้าได้บ้าง ไม่ได้เอาที่เกรด จำไว้ด้วยนะคะน้องๆ  ไปที่ที่สองก่อนค่อยเขียนเว่อร์ได้

--------------------------------------------------------
ทั้งหมดนี้เป็นการแชร์เบาๆ  สำหรับคนที่สงสัยว่า food sci เรียนไปทำอะไร  เรียนอะไรกัน ทำกับข้าวหรือไม่  เหมือนคหกรรมหรือไม่   คงได้คำตอบชัดเจนแล้วนะคะ      ปล.  คนจบสายนี้บางคนก็ไม่ได้ทำโรงงาน  ไปทำอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับสายนี้เลยก็มี เช่น โรงแรม แอร์ สจ๊วตก็เยอะแยะค่ะ   คริๆ   .......จุ๊บๆ  ขอบคุณที่อ่านจบคร้าาาาา

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
จขกท ค่ะ ขอโทษนะคะ
คุณไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับคหกรรมศาสตร์ แต่ใช้ปากมาพูดพล่อยๆ
บอกว่าคหกรรมศาสตร์แค่เรียนทำอาหาร ทำยังไงก็ได้ให้อร่อย
นี่หรอคะ ข้อมูลของคนที่จบ Food sci - จุฬา
คุณเคยศึกษาหาข้อมูลอะไรเกี่ยวกับ "คหกรรมศาสตร์" มาก่อนไหมค่ะ
หรือแค่อยากจะพูดก็พูดไปเท่านั้น แล้วที่คุณตอบคอมเม้นของท่านอื่น
คุณก็ตอบแบบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ตอบในสิ่งที่ตัวเองคิด ตัวเองรู้เท่านั้น
ไม่ได้ศึกษาหาข้อมูล ความจริง มาก่อนอย่างจริงจัง
คุณทำให้คนอื่นได้ข้อมูลแบบผิดๆไป คุณคิดว่ามันเหมาะสมแล้วหรอคะ ?

ส่วนตัวนะคะ เราจบคหกรรมศาสตร์สาขาอาหารและโภชนาการค่ะ
เราขอบอกเลยนะคะว่า คหกรรมไม่ได้เรียนแค่ทำอาหารอย่างที่คุณคิด
คหกรรมเราเรียนคล้ายกับ food sci นะคะ เพียงแต่ความเฉพาะเจาะจงของคุณกับของเราไม่เหมือนกัน
เราไม่เคยไปเรียนวิชาของคุณ และคุณก็ไม่เคยมาเรียนวิชาของเรา
ดังนั้นกรุณาอย่ามาดูถูก "คหกรรมศาสตร์"


สำหรับวิชาเรียนของคหกรรมศาสตร์สาขาอาหารและโภชนาการนะคะ
เราเรียน เคมีทั่วไป เคมีอินทรีย์ เคมีชีวภาพ ชีววิทยา จุลชีววิทยา สรีระวิทยา ฟิสิกส์ประยุกต์
สถิติและการประยุกต์ จิตวิทยาทั่วไป วิทยาศาสตร์อาหาร หลักการประกอบอาหาร การถนอมอาหาร
การจัดการและบริการอาหาร อาหารนานาชาติ โภชนศาสตร์มนุษย์ โภชนบำบัด โภชนบริการ
ความปลอดภัยอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
คิวเอ คิวซี HACCP ISO และอื่นๆอีกมากมาย ที่ไม่ได้กล่าวไว้
ใครอยากรู้อะไรเพิ่มเติม ถามเราได้เลยนะคะ เรายินดีที่จะตอบและแถลงไข
เกี่ยวกับ "คหกรรมศาสตร์ สาขา อาหารและโภชนาการ"

การทำงานนะคะ คหกรรมศาสตร์สามารถทำงานได้อย่างค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่เชฟ
ทำอาหารขายไปวันๆเท่านั้นนะคะ โปรดทำความเข้าใจใหม่ด้วย
1.นักวิทยาศาสตร์อาหาร - คหกรรมศาสตร์สามารถทำได้ค่ะ QA QC Product R&D ทำได้หมดค่ะ
กระบวนการแปรรูปอาหาร เราก็เรียนมาเหมือนกันค่ะ เด็กคหกรรมเป็น R&D เยอะนะคะ
2.sales - คหกรรมเป็นได้ค่ะ เรามีความรู้เหมือนที่คุณมี เพื่อแค่เราไม่ได้โอ้อวด flavor ingredents ต่างๆ เราเรียนมาหมดค่ะ
ตั่งแต่การเริ่มพบ เริ่มนำมาใช้เลยด้วยค่ะ ที่สำคัญยังสามารถเป็นเซลล์ขาย ผลิตภัณฑ์โภชนาการได้อีกนะคะ
3.ฝ่ายจัดซื้อ - คหกรรมทำได้ค่ะ การ audit supplier ระบบงานด้านอาหาร เราเรียนมาหมดค่ะ เรายังมีประสบการณ์จากการฝึกงานอีกค่ะ
4.Auditor - คหกรรมก็สามารถทำได้ค่ะ ตัวอย่างจากเพื่อนเราโดยตรงจบคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการค่ะ
5.นักโภชนาการ - อยู่ตามโรงพยาบาล สถาบันเสริมความงาม สถาบันลดน้ำหนัก โรงงานแปรรูปอาหารต่างๆ
6.เชฟ - อันนี้ที่รู้ๆกันอยู่นะคะ
7.อาจารย์สอนทำอาหาร
8.บริษัทรับจัดงานเลี้ยง catering ต่างๆ
9.อาจารย์ฝ่ายโภชนาการ
10.ผู้จัดการร้านอาหารต่างๆ
11.ผู้จัดการแผนกอาหารตามห้างสรรพสินค้า
12.พิธีกรรายการทำอาหาร
13.Food stylish
นี่คือตัวอย่างอาชีพของคนที่จบ คหกรรมศาสตร์ ค่ะ

-----
ยังไงก็รบกวนฝาก จขกท ด้วยนะคะ
หาข้อมูลให้ดี ก่อนที่จะนำมาถ่ายทอดนะคะ
ถ้าต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ
ถามเราได้เลยนะคะ เรายินดีที่จะตอบค่ะ
คุณก็รักในสาขาวิชาของคุณ เราก็รักในสาขาวิชาของเรานะคะ
ความคิดเห็นที่ 11
จบมาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกคหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ) มศว วุฒิวท.บ. เรียนวิทพื้นฐานทั้งหมด ฟิ เคม ไบโอ ออเคม ฟิโอ มีเรียน gmp haccp พื้นฐานคล้ายฟู๊ดซาย แต่อาจจะลึกไม่เท่า แล้วก็เรียนทำอาหาร มีเรียนเกี่ยวกับธุรกิจเบื้องต้น การจัดการครัวเรือน จบมาที่แรกทำงานโรงแรม แล้วผันตัวเองไปเป็น QC ปัจจุบันทำอยู่สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย

เห็นได้ว่าจบคหกรรม แต่ตอนนี้ก็สามารถทำงานสายของฟู๊ตเต็มตัวแล้วครับ

และอยากจะบอกว่าคหกรรมไม่ได้เรียนแค่ทำอาหารให้อร่อยอย่างเดียว เราอาจจะเรียนลึกไม่เท่าฟู๊ตไซน์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้เรียนวิทย์ที่ฟู๊ตไซน์เรียน เราไม่ได้ทำแค่อาหารเป็นอย่างเดียว

แก้เพิ่มเติมอีกนิด อ่านดีๆแล้วรู้สึกเหมือนโดนดูถูกว่าจบคหกรรมก็แค่เรียนทำอาหาร แค่ทำไงให้อร่อย มีคนกิน เหมือนแม่ค้าร้านอาหารตามสั่ง ไม่ได้มีความรู้เหมือนเด็กฟู๊ดที่ต้องใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร หากคุณยังไม่ได้มาลองเรียน มารู้ว่าพวกเราเรียนอะไรบ้าง ขอครับ อย่าดูถูกวิชาคนอื่นว่าด้อยกว่า ทุกสาขาที่เรียนที่สอนต่างใช้ความรู้ทั้งนั้น

คือถ้าจะมาเพื่ออวยสาขาตัวเองมันไม่ผิดหรอก มันผิดตรงที่เอาสาขาคนอื่นเอาไปเปรียบเทียบเพื่อให้ตัวเองดูดีดูมีความรู้ ถ้าจะเอาไปเปรียบเทียบช่วยมาศึกษาสาขานั้นให้ถ่องแท้ก่อนที่จะเอามาพูดแบบนี้
ความคิดเห็นที่ 24
สวัสดีครับ เจ้าของกระทู้และเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่อยู่สายงานด้านอาหาร, เครื่องดื่ม, โภชนาการและงานคหกรรมศาสตร์ทุกๆคน

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ได้สละเวลาตั้งประเด็นนี้ขึ้นมานะครับ เพราะเชื่อว่าทุกเพศทุกวัยทุกสาขาอาชีพต่างสงสัยตรงกันว่า "คหกรรมศาสตร์และ Food Sci ต่างกันยังไง"-----ซึ่งมันไม่แปลกเลยครับเพราะพื้นฐานด้านการศึกษาและการประชาสัมพันธ์ของสาขาคหกรรมศาสตร์ของประเทศไทยนั้นไม่ดีเอาเสียเลย เมื่อกล่าวถึง "คหกรรมศาสตร์" ทุกคนจะมองว่าอะไรบ้างครับ...ติ๊กต๊อกๆๆๆ "ทำกับข้าว---ถูกครับ มีไรอีก...เย็บผ้า...ประดิษฐ์ประดอย...ทำความสะอาดบ้าน....เลี้ยงเด็ก.....แม่บ้าน.....โอ้ย! เยอะแยะที่เป็นอาชีพตามท้องตลาดทั่วไป" แต่ก่อนที่จะไปตรงนั้นขออนุญาตแนะนำตัวก่อนนะครับ แบบว่าไม่ได้จะเสนอหน้าแต่ก็อยากโปรโมทตัวเองตามที่ จขกท.ตั้งไว้นะครับ

ชื่อวสุนธรา ทองดี (เดียร์) จบคณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ กลุ่มสาขาอาหารและโภชนาการ(วท.บ.) เมื่อปี 2547 ด้วยหลักสูตรควรไปประกอบอาชีพเป็น "หมออาหาร หรือ โภชนากร" นั่นเอง แต่ชีวิตที่ชอบงานด้าน Interior และการออกแบบ (โดยเฉพาะการออกแบบชีวิต(ตามหลักสูตรการจัดการครอบครัว)) ทำให้ปัจจุบันหันมาทำธุรกิจส่วนตัวด้านออกแบบตกแต่งภายในและออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เจ้าของนิตยสารหมื่นปี ซึ่งเป็นนิตยสารโบราณคดีเพื่อการท่องเที่ยวและฟื้นฟูจิตใจ ......... ธุรกิจที่ทำในปัจจุบันไม่ได้ไปเรียนเพิ่มด้าน Interior หรือ โบราณคดี หรือวารสารเพิ่มเติมมานะครับ แต่ทั้งหมดเกิดจากคำว่า "คหกรรมศาสตร์" นี่แหละ แล้วผมจะกลับมาเล่าให้ฟังต่อครับว่าทำไมถึงมาทำงานด้านนี้ได้
*************************************************************************************************
ผมขออนุญาตพาทุกท่านมาทำความรู้จักด้านหนึ่งของสาขาคหกรรมศาสตร์นะครับ

สาขาคหกรรมศาสตร์ หรือ Home Economics ตามภาษาของฝรั่ง สาขานี้โดดเด่นมาใน USA ในประเทศของเขาใครที่จบสาขานี้ ถือได้ว่าได้รับเกียรติพอๆกับคนที่จบแพทย์เลยทีเดียว ผมจะขยายความคำว่า Home Economics และ คหกรรมศาสตร์ ให้เข้าใจพื้นฐานก่อนนะครับ

Home Economics แปลว่า คหเศรษฐศาสตร์ (คหกรรมศาสตร์) : Home แปลว่า บ้าน หมายถึง ความอบอุ่นในสังคมครอบครัว Economics แปลว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikosแปลว่าบ้านและnomosแปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19

รวมความ Home Economics ตามความหมายของผมหมายถึง "วิชาและกระบวนการที่ว่าด้วยศิลปะและศาสตร์ของการครองเรือน รวมวิชาต่างๆ ไว้หลายด้าน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านสถาบันครอบครัวนั่นเอง"

****ทำไมสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ในประเทศไทย จึงไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก????*******************
นั่นเป็นเพราะหลักสูตรวิชาคหกรรมศาสตร์ที่มีในสมัยประถม มัธยมนั่นไม่ได้สอนให้เด็กเข้าใจถึงแก่นของคหกรรมศาสตร์ แต่สอนในเชิงปฏิบัติด้วยเหตุและผล เช่น วิธีการกวาดบ้านควรกวาดอย่างไรบ้านจึงจะสะอาด, การประดิษฐ์เข็มขัดและเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว บลาๆๆๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันคือพื้นฐานที่มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เป็นภูมิความรู้จากบรรพบุรุษสู่ปัจจุบัน และเพราะเราอยู่กับสิ่งเหล่านี้มานานจนทำให้มันดูน่าเบื่อ ล้าหลัง นั่นเพราะผู้ใหญ่ในบ้านเราเข้าใจไปเอง ทั้งที่ชาวต่างชาติที่เรียนด้าน Home Economics นั้นเข้ามาศึกษาเรียนรู้งานที่บ้านเรามากมาย เพื่อเอาไปปรับปรุงในบ้านเมืองของเขา

*************หัวใจของคหกรรมศาสตร์คืออะไร อยู่ที่ไหน????******************************
หัวใจของคหกรรมศาสตร์ของเมืองไทยคือ "วัฒนธรรมและมารยาทชาวพุทธ" นำมาใช้เป็นพื้นฐานหลักในการบริหารและจัดการครัวเรือน

**************************************************************************************
จะเห็นว่าวิชา "คหกรรมศาสตร์" หรือ "คหเศรษฐศาสตร์" หรือ "Home Economics" นั้นมีความจำเป็นและเปิดกว้างมาก เพื่อจำกัดให้ชัดเจนขึ้นในด้านการศึกษาในประเทศไทย จึงแบ่งหลักสูตรปริญญาตรีไว้หลากหลาย เช่น วท.บ., กศ.บ., คศ.บ. เป็นต้น แต่แก่นโดยรวมก็เพื่อ "เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น เพราะนักคหกรรมศาสตร์จะมองทุกคนบนโลกเหมือน "ครอบครัว" เดียวกัน
***************************************************************************************

*******พี่ครับๆ คหกรรมศาสตร์เรียนอะไรบ้างครับ???? จบไปแล้วทำงานอะไร???? เรียนเหมือน "เป็ด" ไหมครับ???**********
ผมเป็นอีกคนหนึ่งเหมือนหลายๆคนที่เคยแนะแนว ให้คำปรึกษาน้องๆที่เพิ่งจบ ม.6 เรื่องสาขาคหกรรมศาสตร์ ผมมักจะพูดเสมอว่า "คหกรรมศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับ การดำเนินชีวิตด้วยปัจจัย 4+1 คือ อาหาร, เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค และเทคโนโลยี ขึ้นอยู๋กับว่าน้องๆจะเลือกเรียนที่สถาบันไหน เพราะแต่ละสถาบันมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่แต่งต่างกันไป แต่ยังคงไว้ซึ่ง "การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม"
              ด้านอาหาร : น้องๆก็จะได้เรียนเกี่ยวกับ เทคนิคการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการประกอบอาหาร, การควบคุมน้ำและไฟ(เหมือนนักเวทมนต์), ควบคุมธาตุทั้ง 4, การเกิดขึ้นและดับลงของอาหารต่างๆ, การใช้สารเคมีที่เนื่องกับอาหาร, มาตรฐานต่างๆในอุตสาหกรรมอาหาร, การถนอมอาหาร โอ้ย! อะไรที่เกี่ยวกับอาหารเรียกยิ้มหมดแหละ เรียกว่า เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร  (พอมาถึงจุดนี้จะมีคำถามเกิดขึ้นว่า "ต่างกับ Food Sci ยังไง???" " คหกรรมศาสตร์" จะเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น จึงต้องเรียนรู้ทุกด้าน อาจจะไม่ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีอาหารหรืออุตสาหกรรมอาหารมากนัก แต่โดยพื้นฐานเหมือนกัน และยิ่งหลักสูตรในปัจจุบันก็แทบจะเรียนเหมือนกันในทุกวิชา เพื่อตอบโจทย์สังคมในปัจจุบัน ความแตกต่างอยู่ตรงที่ คหกรรมศาสตร์สามารถประยุกต์ตัวเองให้เข้าได้กับทุกสาขาอาชีพ และการเลือกตำแหน่งงานได้มากกว่า (อ้างอิงตามเนื้อหาหลักสูตรนะ) แต่ทั้งนี้มันก็อยู่ที่รายบุคคลที่จะรู้จักขวนขวายมากแค่ไหนนะครับ
ในสายงานนี้จบไปทำอะไรได้บ้าง : นักวิทยาศาสตร์อาหารสายงาน Audit, QA, QC, R&D(ในหลักสูตรที่สอนการใช้เครื่องมืออุตสาหกรรม), เชฟ/กุ๊ก เป็นต้น ทั้งนี้เฉพาะในประเทศไทย การที่เด็กที่จบคหกรรมศาสตร์มานั้นอาจจะต้องไปลับฝีมือในด้านการประกวดทำอาหาร หรือ เรียนหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ใบ Cer. เพื่อการันตีตัวเองเพิ่มเติม ตรงจุดนี้ที่เป็นข้อเสียของคหกรรมศาสตร์ในไทย
              ด้านสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย : สายนี้น้องๆจะได้เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเสื้อผ้า, การใช้อุปกรณ์ตัดเย็บ, เรียนไปถึงเส้นใยต่างๆก่อนที่จะมาประกอบเป็นด้าย, เคมีสิ่งทอ, น้ำยาและสารเคมีต่างๆที่ใช้ในงานสิ่งทอ, ชนิดของผ้าต่างๆ ข้อจำกัดก็เหมือนๆกับอาหารด้านบนแหละครับ สายงานนี้จบไปทำงานอะไร : นักวิทยาศาสตร์นักวิจัยด้านสิ่งทอ, ดีไซเนอร์, กิจการส่วนตัวห้องเสื้อต่างๆ, (ไม่พูดถึงอาชีพพนักงานขายต่างๆ นะครับ เพราะสามารถอยู่แล้ว)
              ด้านที่อยู่อาศัยล่ะเรียนอะไรบ้าง : ในหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ในอดีตสมัยผมเรียนเนี่ย (ไม่รู้ว่าสมัยนี้สถาบันไหนยังมีสอนรึป่าวอ่ะนะ" มีเรียนเรื่องการเขียนแปลนบ้าน, การจัดวางเฟอร์นิเจอร์, ศาสตร์ฮวงจุ้ยพื้นฐานเกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้าน/Town Home/ที่ดิน, การจัดการมนุษย์และครอบครัว, พัฒนาการเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ วัยชรา เป็นต้น จบไปทำอะไรได้บ้าง : นักสังคมสงเคราะห์, เซลอสังหา, หากสนใจศึกษาเพิ่มก็ Interior Design สถาปนิก(ต้องไปเรียนเพิ่มเติม), หน่วยงานราชการต่างๆที่เนื่องกับมนุษย์และทรัพยากร
               ด้านยารักษาโรค : ด้านนี้จะไม่ได้เรียนเรื่องยาเป็นหลัก แต่จะเป็นเรื่องของ "ธรรมชาติบำบัด" วิชาพื้นฐานก็เหมือนกับสายอาหารที่กล่าวไปแล้วแหละ แต่เพิ่มในเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น การทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ, รู้จักประโยชน์และโทษของอาหารแต่ละชนิด, Nutrition ในอาหารและวัตถุดิบ, การประกอบอาหารเพื่อให้อาหารนั้นเหลือสารอาหารมากที่สุด, กินอย่างไรไม่ให้เกิดโรค วิชาที่เรียนก็น้องๆหมอล่ะครับ จบไปทำงานด้าน : นักกำหนดอาหาร, โภชนากร, ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพ, แพทย์ทางเลือก/แพทย์แผนไทย(อาจต้องศึกษาเพิ่มเติม)
               และอีก +1 ที่เกริ่นไว้คือ เทคโนโลยี : ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเลือกมากกว่า เช่น ถ่ายภาพ, กราฟฟิค, Dance, อื่นๆ เรียนเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยและใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอหรือประยุกต์เพื่อเป็นอาชีพหรือธุรกิจส่วนตัว เช่น เปิดโรงเรียนสอนโยคะ, สปา, Nursery, ร้านอาหาร เป็นต้น

คำๆหนึ่งที่ผมมักจะได้ยินจากเด็กรุ่นใหม่ แม้กระทั่งช่วงรุ่นผมก็มี และคงมีมานานแล้วคือ "เป็ด"........ไม่ใช่แค่คหกรรมนะครับที่บ่น น้องๆฝึกงานสายบริหารก็บ่นว่า "ตัวเองเรียนเหมือนเป็ด!!!" ฟังเผินๆดูแย่เนอะว่าป่ะ.... แต่อยากให้ลองคิดใหม่ครับว่า "การที่เราเรียนเหมือนเป็ดนั้นมันดีหรือเสียกันแน่.......ยกตัวอย่าง เจ้าของกิจการมหาชนแห่งหนึ่งในไทย ท่านจบวุฒิอะไรครับ----ท่านจบ ป.4 แต่มีลูกน้องวุฒิอะไรครับ......ป.ตรี ป.โท ป.เอก แปลว่า เจ้าของกิจการท่านนั้นเป็นเป็ดไหม  ทุกคนมักนิยามคำว่า "เป็ด" ว่าเรียนยิ้มทุกอย่าง เรียนไม่ลึก เรียนเปลือกๆ ถามว่า ถ้าให้พวกคุณเรียนลึกๆพวกคุณจะเรียนกันไหม ถ้าให้เรียนลึกๆคงไม่ต้องมีหลักสูตร ดร. หรอกจริงไหม ป.ตรีสมัยนี้ไม่เหมือนสมัยเมื่อ 20-30 ปีก่อน เราเรียน ป.ตรีเพื่อ ค้นหาตัวเอง ไม่ต้องอะไรมาก แพทย์ ป.ตรีเนี่ย เรียนเหมือนเป็ดไหม จบมาเป็นแพทย์ทั่วไป สายแพทย์ยังต้องแบ่งเรียนเฉพาะทางเลย นับประสาอะไรกับคหกรรมศาสตร์หรือสายบริหารก็เช่นกัน....ผมถือโอกาสนี้นิยามคำว่า "เป็ด" ใหม่ได้ไหมครับว่า....."Super Duck คือ คนที่ขยัน ขวนขวายหาความรู้ใส่ตนแบบไม่รู้จบ" "เจ้าของกิจการก็ต้องรู้รอบ แต่ไม่ต้องลึก" เข้าใจใช่ไหมครับ?

***********************************************************************************************
การทำงานไม่ตรงสาย ไม่ใช่ว่าไม่ให้เกียรติต่อหลักสูตรที่เราเรียนมานะครับ ทุกอย่างอยู่ที่ความชอบ จังหวะ และโอกาส........มีเพื่อนผมคนนึงจบคหกรรม-อาหารมาด้วยกัน แต่ได้ไปทำงานในบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ของประเทศ ตอนนี้เป็นระดับบริหารในนั้นด้วย ดูแลสรรหาศิลปิน ผมประทับใจเพื่อนคนนี้มากจริงๆนะ ที่ใช้ความสามารถของตนเองทั้งที่จบวิทย์คหกรรม-อาหาร และทำให้คนในวงการอื่นยอมรับในฝีมือ

ส่วนตัวผมก็ชอบกิจกรรมและการออกแบบ เลยขวนขวายจนสามารถมีกิจการของตัวเองได้จนทุกวันนี้ (เริ่มโดยไม่มีทุนเลยนะครับ แต่อาศัยความเป็นเป็ดนี่แหละ) แต่อย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าเป็นโชคดีของผม จนทำให้พอจะเข้าใจถึงคำว่า "คหกรรมศาสตร์" ได้มากพอก็คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์และการศึกษาธรรมะ (พุทธศาสตร์)

***************************************************************************************
ต้องขออภัยที่เขียนยาวมากไป แต่จริงๆยังไม่จบนะครับ มันมีอะไรในคหกรรมศาสตร์ที่ลึกซึ้งกว่านี้เยอะ สรุปสั้นๆ คือ "คหกรรมศาสตร์ เรียนไปเพื่อสร้างสังคมนี้ให้น่าอยู่และอบอุ่นโดยเริ่มต้นจากตัวของเราเอง และเผื่อแผ่ไปสู่คนรอบข้าง"

ขอขอบคุณ จขกท.ที่เปิดประเด็น และขอบคุณที่ติดตามอ่านกันจนจบนะครับ และหวังว่าคงจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกเรียนของน้องๆ ได้นะ สิ่งหนึ่งที่หวังคือ การทำความเข้าใจใหม่ในหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ของคนในสังคมไทย....เพราะคหกรรมศาสตร์ ถ้าเรียนให้ลึกจริงๆ ไม่ใช่ขี้นะครับ
ความคิดเห็นที่ 3
เคมี ชีวะ สถิติ จิตวิทยา วิทยาศาสต์ทางอาหาร โภชนบำบัด โภชนาการบุคคล สรีระ โภชนาการเบื้องต้น ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีอาหาร การสุขภิบาลอาหาร การแปรรูปอาหาร อาหารจำนวนมาก ถนอมอาหาร สาธิตอาหาร เนื้อและผลิตภันฑ์ อาหารนานาชาติ อาหารไทย เบเกอรี่ อาหารทันใจ สื่อและสัมนา จุลชีวในอาหาร ลีลาศ เทนนิส คอมพิวเตอร์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบที่อยู่อาศัย ตัดเย็บเสื้อผ้า จัดโต๊ะอาหาร(ฝรั่ง) มารยาทบนโต๊ะอาหาร การดูแลเด็ก ธุรกิจอาหาร  โอ๊ย...เยอะ เอาแค่ที่จำได้นะ ชื่อวิชาอาจพลาด แต่ก็ความหมายเดียวๆกัน

ถ้าคิดว่าคหกรรมแค่ทำอาหาร ไม่ใช่ค่ะ
คำณวน ต้อง ภาษา ต้อง ส่องกล้อง เพาะเชื้อต้อง ยกหม้อแกงยักษ์ต้อง ยกหมออัดความดัน ต้อง ต้องๆๆๆๆ เยอะเพคะ เยอะสิ่ง

จบมาทำอะไร....อยู่ในโรงพยาบาล คลีนิก ลดอ้วน ศูนย์ความงาม คอยแน่ะนำโภชนาการแก่บุคลต่างๆ อาหารที่กินได้ไม่ได้ อาหารใดที่เหมาะต่อโรค บลาๆ เป็นคน รับผิดชอบ อาหารเหลวต่างๆของผู้ป่วยหนัก หรือผ่าตัด โดยการคำณวนสารอาหารและแคลลอรี่ตามที่หมอสั่งมา
....เปิดร้านอาหาร ทำธุรกิจอาหาร ...อยู่ในโรงงานเป็นQC อยู่ในโรงงาน คิดสูตรอาหารใหม่ๆ พวกไก่เทอริยากิอาหารแช่แข็งในเซเว่น เพื่อนเราที่จบไปก็เป็นกลุ่มที่คิดสูตร....เป็นผู้จัดการร้านอาหารต่างๆ MK พิซซ่า ฟูจิ บลาๆ

อันนี้ตอบเฉพาะ ในสายเรานะ
ความคิดเห็นที่ 5
เจ้าของกระทู้ยังไม่รู้เลยว่า คหกรรม เรียนอะไร จบมาทำอะไร แล้วรู้ได้ไงว่าต่างกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่