จากมติชนออนไลน์
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายเพื่อป้องกันเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ ซึ่งการสำรวจโดยสำนักทันตสาธารณสุข ในปี 2555 พบว่า คนไทยวัยทำงานกว่าร้อยละ 70 มีหินปูนเกาะบนตัวฟัน ต้องได้รับการดูแลโดยการขูดหินปูน การขูดหินปูนทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขจัดหินปูนแบบที่ทีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออก และยังมีเครื่องมือชิ้นเล็ก (Hand instruments) ขูดหินปูนโดยละเอียดอีกครั้ง ในขั้นตอนนี้ อาจทำให้มีเลือดออกบ้างตามอาการของเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ที่ส่วนใหญ่จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป แต่จะไม่มากจนมีผลใดๆ ต่อผู้ป่วย
โดยเฉพาะผู้ป่วยบางโรค ที่ต้องระวังและแจ้งทันตเพทย์ก่อนทุกครั้งที่เข้ารับบริการทำฟันหรือขูดหินปูน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลิวคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟันได้แก่ โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยใจสั่น โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง และสุดท้าย คือ โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก หากแจ้งให้ ทันตแพทย์ได้รับทราบก่อน จะช่วยให้สามารถเตรียมป้องกันและเตรียมความพร้อมในกรณีที่อาการกำเริบได้
ทพ.สุธาเจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หินปูนหรือหินน้ำลายเป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลซียมในน้ำลายในระยะเวลาหนึ่งจนเกิดการแข็งตัวคล้ายหินปูน ซึ่งจะสะสมเชื้อโรคหลายชนิด และเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เหงือกอักเสบและเป็นโรคปริทันต์ได้ วิธีการดูแลและป้องกันการเกิดหินปูนหรือหินน้ำลาย คือ การกำจัดคราบจุลินทรีย์โดยแปรงฟันให้สะอาด ทุกวันวันละ 2ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณคอฟันไม่ให้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ นอกจากนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้มาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปี และหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีและลดการสูญเสียฟันในอนาคตอีกด้วย
เผย 8 โรคต้องระวังขูดหินปูน!?
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายเพื่อป้องกันเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ ซึ่งการสำรวจโดยสำนักทันตสาธารณสุข ในปี 2555 พบว่า คนไทยวัยทำงานกว่าร้อยละ 70 มีหินปูนเกาะบนตัวฟัน ต้องได้รับการดูแลโดยการขูดหินปูน การขูดหินปูนทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขจัดหินปูนแบบที่ทีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออก และยังมีเครื่องมือชิ้นเล็ก (Hand instruments) ขูดหินปูนโดยละเอียดอีกครั้ง ในขั้นตอนนี้ อาจทำให้มีเลือดออกบ้างตามอาการของเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ที่ส่วนใหญ่จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป แต่จะไม่มากจนมีผลใดๆ ต่อผู้ป่วย
โดยเฉพาะผู้ป่วยบางโรค ที่ต้องระวังและแจ้งทันตเพทย์ก่อนทุกครั้งที่เข้ารับบริการทำฟันหรือขูดหินปูน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลิวคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟันได้แก่ โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยใจสั่น โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง และสุดท้าย คือ โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก หากแจ้งให้ ทันตแพทย์ได้รับทราบก่อน จะช่วยให้สามารถเตรียมป้องกันและเตรียมความพร้อมในกรณีที่อาการกำเริบได้
ทพ.สุธาเจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หินปูนหรือหินน้ำลายเป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลซียมในน้ำลายในระยะเวลาหนึ่งจนเกิดการแข็งตัวคล้ายหินปูน ซึ่งจะสะสมเชื้อโรคหลายชนิด และเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เหงือกอักเสบและเป็นโรคปริทันต์ได้ วิธีการดูแลและป้องกันการเกิดหินปูนหรือหินน้ำลาย คือ การกำจัดคราบจุลินทรีย์โดยแปรงฟันให้สะอาด ทุกวันวันละ 2ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณคอฟันไม่ให้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ นอกจากนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้มาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปี และหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีและลดการสูญเสียฟันในอนาคตอีกด้วย