สถาบันไอเอ็มซี.ธนชาติ ระบุ แต่ละปีมีบุคลากรด้านไอทีจบการศึกษาปีละ 10,000-15,000 คน แต่จะเหลือเพียง 5,000 คนเท่านั้นที่เข้ามาในอุตสาหกรรมไอทีจริงๆ
ประเด็นหลัก
หากข้อมูลของสถานศึกษากว่า 100 แห่งทั่วประเทศพบว่า แต่ละปีมีบุคลากรด้านไอทีจบการศึกษาปีละ 10,000-15,000 คน แต่จะเหลือเพียง 5,000 คนเท่านั้นที่เข้ามาในอุตสาหกรรมไอทีจริงๆ และที่เข้ามาในวงการก็ยอมรับว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมทั้งไม่ได้รับการอบรมมาในด้านเฉพาะทาง
"จริงๆ เทรนด์ของโลกมันก้าวไปสู่บิ๊กดาต้า หรือคลาวด์แล้ว ซึ่งการจัดการระบบหลังบ้าน รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์เราต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ด้านไอทีบวกกับนักวิเคราะห์ แต่ตอนนี้ไทยยังขาดอยู่มาก สถาบันไอเอ็มซีเองก็พยายามจัดหลักสูตรและผลิตคนไอทีเข้าสู่ตลาด โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ 100-200 คน ส่วนการอบรมปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอบรวมได้รวม 3,000 คน จากปีก่อนหน้า 1,400 คน"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140403/573039/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.html
______________________________________
'ไอเอ็มซี' หวั่นสุญญากาศลงทุนไอทีภาครัฐ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"สถาบันไอเอ็มซี" เผยขาดรัฐบาลใหม่ทำการลงทุนเมกะโปรเจคไอทีรัฐชะลอตัว - คลาวด์ คอมพิวติ้งไม่เกิด เผยไทยขาดคนไอทีป้อนตลาดภาวะขาขึ้น
นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า จากกรณีที่ยังไม่มีรัฐบาลขณะนี้ ส่งผลให้เกิดสุญญากาศขาดการลงทุนด้านไอทีจากหน่วยงานภาครัฐ และกระทรวงต่างๆ ไม่มีเมกะโปรเจคใหญ่หรือการลงทุนด้านไอซีทีแต่อย่างใด ซึ่งช่วง 2 ปีที่ผ่านมาด้านไอซีทีมีเพียงโครงการแทบเล็ต ป.1 เท่านั้น รวมถึงคลาวด์ คอมพิวติ้งภาครัฐก็ขาดการส่งเสริมและการลงทุนพัฒนาระบบหลังบ้านอย่างต่อเนื่องด้วย
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหากภายในครึ่งปีแรกนี้ ไทยยังจัดการเลือกตั้งเพื่อมีรัฐบาลใหม่ไม่ได้ ก็ทำให้งบประมาณด้านไอซีทีปี 2558 อาจจะอนุมัติไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี
นอกจากนี้ สิ่งที่สถาบันไอเอ็มซีเป็นห่วงนอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วคือ การที่ไทยขาดบุคลากรด้านไอทีเข้ามาป้อนตลาด ในภาวะที่ตลาดขยายตัวอย่างมาก และปีหน้าจะเปิดสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี)
หากข้อมูลของสถานศึกษากว่า 100 แห่งทั่วประเทศพบว่า แต่ละปีมีบุคลากรด้านไอทีจบการศึกษาปีละ 10,000-15,000 คน แต่จะเหลือเพียง 5,000 คนเท่านั้นที่เข้ามาในอุตสาหกรรมไอทีจริงๆ และที่เข้ามาในวงการก็ยอมรับว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมทั้งไม่ได้รับการอบรมมาในด้านเฉพาะทาง
"จริงๆ เทรนด์ของโลกมันก้าวไปสู่บิ๊กดาต้า หรือคลาวด์แล้ว ซึ่งการจัดการระบบหลังบ้าน รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์เราต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ด้านไอทีบวกกับนักวิเคราะห์ แต่ตอนนี้ไทยยังขาดอยู่มาก สถาบันไอเอ็มซีเองก็พยายามจัดหลักสูตรและผลิตคนไอทีเข้าสู่ตลาด โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ 100-200 คน ส่วนการอบรมปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอบรวมได้รวม 3,000 คน จากปีก่อนหน้า 1,400 คน"
ทั้งนี้ ไอเอ็มซีเชื่อว่า 4 สถานการณ์ไอทีสำคัญที่เกิดขึ้นอุตสาหกรรมระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์โลกที่ส่งผลกระทบโดยตรงถึงธุรกิจไทยในปี 2557 ประกอบด้วย 1.เซอร์วิส โอเรียนเต็ด อะกรีเทคเจอร์ (เอสโอเอ) 2.บิ๊ก ดาต้า 3.คลาวด์ คอมพิวติ้ง และ 4. บีวายโอดี โดยปัจจัยทั้งหมดนี้จะทำให้อุตสาหกรรมไอทีไทยโดยเฉพาะด้านซอฟต์แวร์ต้องเร่งปรับตัว ทั้งด้านนโยบาย และการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนรายละเอียดของ 4 เทรนด์สำคัญคือ 1.เอสโอเอ เปลี่ยนแนวคิดงานออกแบบซอฟต์แวร์และโครงสร้างการใช้งานให้เป็นเซอร์วิสสำหรับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ 2.บิ๊ก ดาต้า การบริหารจัดการชุดข้อมูล ควบคุมการเข้าใช้ แชร์ วิเคราะห์ 3.คลาวด์ คอมพิวติ้ง การบริหารทรัพยากร ติดตามดูแลคุณภาพเซอร์วิสที่ใช้งานผ่านคลาวด์ และ 4.บีวายโอดี การรักษาความปลอดภัยระบบใหม่ เพื่อให้พนักงานนำดีไวซ์มาเชื่อมต่อระบบไอทีของออฟฟิศได้
นายธนชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมาสถาบันไอเอ็มซีที่ร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) เปิดอบรมหลักสูตรที่เจาะลึกเทคโนโลยีสำคัญ 4 ด้านนี้มากกว่า 35 หลักสูตร มีรอบการอบรมประมาณ 70 ครั้ง โดยมีเทรนนิ่งมากกว่า 30 คน มีผู้เข้าร่วมอบรมราว 1,400 คน
ทั้งนี้ ภารกิจหลักที่ไอเอ็มซีได้วางแผนดำเนินการ ได้แก่ การวิจัยเชิงนโยบายและสำรวจด้านการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศภายในประเทศไทย, การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งส่วนที่เป็นผู้บริหารและด้านเทคนิค เพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี, การสนับสนุนการจับคู่ทางธุรกิจ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่เพื่อเข้าสู่ตลาดเออีซี
"บทบาทของผู้ดูแลระบบไอที ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล รวมทั้งโปรแกรมเมอร์ที่พัฒนาซอฟต์แวร์กำลังปรับเข้าสู่ยุคใหม่ที่โครงสร้างระบบไอทีเปลี่ยนไป ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากรไอที ที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้ทักษะใหม่"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140403/573039/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.html
วุ่น!! ( ขาดคนทำงานไอที-การสื่อสารไทย) สถาบันไอเอ็มซี.ธนชาติ ระบุ เรียนไอทีปีละ 10,000-15,000 คน แต่จะเหลือเพียง5,000คน
ประเด็นหลัก
หากข้อมูลของสถานศึกษากว่า 100 แห่งทั่วประเทศพบว่า แต่ละปีมีบุคลากรด้านไอทีจบการศึกษาปีละ 10,000-15,000 คน แต่จะเหลือเพียง 5,000 คนเท่านั้นที่เข้ามาในอุตสาหกรรมไอทีจริงๆ และที่เข้ามาในวงการก็ยอมรับว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมทั้งไม่ได้รับการอบรมมาในด้านเฉพาะทาง
"จริงๆ เทรนด์ของโลกมันก้าวไปสู่บิ๊กดาต้า หรือคลาวด์แล้ว ซึ่งการจัดการระบบหลังบ้าน รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์เราต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ด้านไอทีบวกกับนักวิเคราะห์ แต่ตอนนี้ไทยยังขาดอยู่มาก สถาบันไอเอ็มซีเองก็พยายามจัดหลักสูตรและผลิตคนไอทีเข้าสู่ตลาด โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ 100-200 คน ส่วนการอบรมปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอบรวมได้รวม 3,000 คน จากปีก่อนหน้า 1,400 คน"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140403/573039/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.html
______________________________________
'ไอเอ็มซี' หวั่นสุญญากาศลงทุนไอทีภาครัฐ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"สถาบันไอเอ็มซี" เผยขาดรัฐบาลใหม่ทำการลงทุนเมกะโปรเจคไอทีรัฐชะลอตัว - คลาวด์ คอมพิวติ้งไม่เกิด เผยไทยขาดคนไอทีป้อนตลาดภาวะขาขึ้น
นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า จากกรณีที่ยังไม่มีรัฐบาลขณะนี้ ส่งผลให้เกิดสุญญากาศขาดการลงทุนด้านไอทีจากหน่วยงานภาครัฐ และกระทรวงต่างๆ ไม่มีเมกะโปรเจคใหญ่หรือการลงทุนด้านไอซีทีแต่อย่างใด ซึ่งช่วง 2 ปีที่ผ่านมาด้านไอซีทีมีเพียงโครงการแทบเล็ต ป.1 เท่านั้น รวมถึงคลาวด์ คอมพิวติ้งภาครัฐก็ขาดการส่งเสริมและการลงทุนพัฒนาระบบหลังบ้านอย่างต่อเนื่องด้วย
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหากภายในครึ่งปีแรกนี้ ไทยยังจัดการเลือกตั้งเพื่อมีรัฐบาลใหม่ไม่ได้ ก็ทำให้งบประมาณด้านไอซีทีปี 2558 อาจจะอนุมัติไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี
นอกจากนี้ สิ่งที่สถาบันไอเอ็มซีเป็นห่วงนอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วคือ การที่ไทยขาดบุคลากรด้านไอทีเข้ามาป้อนตลาด ในภาวะที่ตลาดขยายตัวอย่างมาก และปีหน้าจะเปิดสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี)
หากข้อมูลของสถานศึกษากว่า 100 แห่งทั่วประเทศพบว่า แต่ละปีมีบุคลากรด้านไอทีจบการศึกษาปีละ 10,000-15,000 คน แต่จะเหลือเพียง 5,000 คนเท่านั้นที่เข้ามาในอุตสาหกรรมไอทีจริงๆ และที่เข้ามาในวงการก็ยอมรับว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมทั้งไม่ได้รับการอบรมมาในด้านเฉพาะทาง
"จริงๆ เทรนด์ของโลกมันก้าวไปสู่บิ๊กดาต้า หรือคลาวด์แล้ว ซึ่งการจัดการระบบหลังบ้าน รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์เราต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ด้านไอทีบวกกับนักวิเคราะห์ แต่ตอนนี้ไทยยังขาดอยู่มาก สถาบันไอเอ็มซีเองก็พยายามจัดหลักสูตรและผลิตคนไอทีเข้าสู่ตลาด โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ 100-200 คน ส่วนการอบรมปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอบรวมได้รวม 3,000 คน จากปีก่อนหน้า 1,400 คน"
ทั้งนี้ ไอเอ็มซีเชื่อว่า 4 สถานการณ์ไอทีสำคัญที่เกิดขึ้นอุตสาหกรรมระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์โลกที่ส่งผลกระทบโดยตรงถึงธุรกิจไทยในปี 2557 ประกอบด้วย 1.เซอร์วิส โอเรียนเต็ด อะกรีเทคเจอร์ (เอสโอเอ) 2.บิ๊ก ดาต้า 3.คลาวด์ คอมพิวติ้ง และ 4. บีวายโอดี โดยปัจจัยทั้งหมดนี้จะทำให้อุตสาหกรรมไอทีไทยโดยเฉพาะด้านซอฟต์แวร์ต้องเร่งปรับตัว ทั้งด้านนโยบาย และการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนรายละเอียดของ 4 เทรนด์สำคัญคือ 1.เอสโอเอ เปลี่ยนแนวคิดงานออกแบบซอฟต์แวร์และโครงสร้างการใช้งานให้เป็นเซอร์วิสสำหรับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ 2.บิ๊ก ดาต้า การบริหารจัดการชุดข้อมูล ควบคุมการเข้าใช้ แชร์ วิเคราะห์ 3.คลาวด์ คอมพิวติ้ง การบริหารทรัพยากร ติดตามดูแลคุณภาพเซอร์วิสที่ใช้งานผ่านคลาวด์ และ 4.บีวายโอดี การรักษาความปลอดภัยระบบใหม่ เพื่อให้พนักงานนำดีไวซ์มาเชื่อมต่อระบบไอทีของออฟฟิศได้
นายธนชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมาสถาบันไอเอ็มซีที่ร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) เปิดอบรมหลักสูตรที่เจาะลึกเทคโนโลยีสำคัญ 4 ด้านนี้มากกว่า 35 หลักสูตร มีรอบการอบรมประมาณ 70 ครั้ง โดยมีเทรนนิ่งมากกว่า 30 คน มีผู้เข้าร่วมอบรมราว 1,400 คน
ทั้งนี้ ภารกิจหลักที่ไอเอ็มซีได้วางแผนดำเนินการ ได้แก่ การวิจัยเชิงนโยบายและสำรวจด้านการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศภายในประเทศไทย, การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งส่วนที่เป็นผู้บริหารและด้านเทคนิค เพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี, การสนับสนุนการจับคู่ทางธุรกิจ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่เพื่อเข้าสู่ตลาดเออีซี
"บทบาทของผู้ดูแลระบบไอที ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล รวมทั้งโปรแกรมเมอร์ที่พัฒนาซอฟต์แวร์กำลังปรับเข้าสู่ยุคใหม่ที่โครงสร้างระบบไอทีเปลี่ยนไป ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากรไอที ที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้ทักษะใหม่"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140403/573039/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.html