เทศกาลปลดปล่อยความเครียด?
ในทุกๆ ปีเมื่อเทศกาลสงกรานต์เวียนมาถึง ประเด็นถกเถียงที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ คือพฤติกรรมสุดเหวี่ยงจนดูเหมือนหลุดโลกของผู้มาเล่นสาดน้ำทั้งชาวไทยและต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัวนุ่งน้อยห่มบางของสาวแท้และสาวเทียม การแต่งตัวแฟนซีประหลาดๆ เรียกเสียงหัวเราะและโห่ฮา รวมถึงการเต้นรำไปตามจังหวะเพลงที่เปิดด้วยเครื่องเสียงดังๆ มุมหนึ่งมองว่าเป็นการทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของไทย เพราะสงกรานต์ในอดีตไม่ปรากฏภาพดังกล่าว มีแต่เพียงการประพรมน้ำกันพองามเท่านั้น
แต่อีกด้านหนึ่ง นักวิชาการบางท่าน เช่น
ดร.ฐิตารีย์ ไชยเศรษฐ หัวหน้าสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงาน
“ยุเด็กไทย GO AC” จัดโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) เมื่อปลายปี 2556 ว่าประเพณีสงกรานต์สำหรับชาวบ้านสามัญชนทั่วไป นอกจากการทำบุญไหว้พระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่แล้ว ในส่วนของการเล่นสาดน้ำ พบว่ามีขึ้นเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่สะสมมาทั้งปีจากกฏเกณฑ์ต่างๆ ของสังคม ซึ่งเป็นมานานแล้วไม่ใช่เฉพาะที่ไทยเท่านั้น แต่จัดกันทั่วไปแทบทั้งอาเซียนเลยทีเดียว
“หลายท่านคิดว่าสงกรานต์ต้องเป็นวัฒนธรรมที่สวยงาม จริงๆ สงกรานต์พัฒนามาจากการสาดสีของอินเดีย แต่พอมาถึงอุษาคเนย์ ก็สาดน้ำแทนเพราะมันร้อน ไปที่พม่าไปที่เวียดนาม การสาดน้ำยิ่งสาดมากยิ่งขอฝนเยอะๆ และเป็นการปลดปล่อยกรอบประเพณี เช่นพระจะมาเล่นกับสีกา
แต่คนในกรุงเทพเห็นแล้วกรี๊ด ทนไม่ได้ ตายแล้วเสียศีลธรรมอันดี ลืมไปว่าอุษาคเนย์ การเล่นสงกรานต์คือการปลดปล่อย การขบถเล็กๆ ต่อกรอบของสังคม อันนี้เป็นเรื่องจริงนะคะ เราจะมีความขบถเล็กๆ กับสงกรานต์ เราไม่ต้องไปกรี๊ดกร๊าดเพราะมันไม่ใช่ของเรา มันร่วมภูมิภาค” อ.ฐิตารีย์ กล่าว
ที่น่าสนใจ กระทั่งเทศกาลที่เชื่อว่าน่าจะเป็นต้นแบบของสงกรานต์ อย่างเทศกาลสาดสีของอินเดียที่กล่าวไปข้างต้น ก็มีลักษณะเป็นการละเมิดจารีตของสังคมเล็กๆ น้อยๆ ได้ชั่วคราวตลอดช่วงเวลาที่กำหนดไว้เช่นกัน ดังบทความ
“เทศกาลเล่นสี (Holi Festival)” จากเว็บไซต์
สมาคมพระนักศึกษา-นักศึกษาไทยมหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู (Banaras Hindu University , India) สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่งของอินเดีย ระบุว่า เทศกาลโฮลิของทุกปี ในสมัยพุทธกาลอาจถูกเรียกว่าเป็น
“พาลนักษัตร” หมายถึงเทศกาลเล่นของคนพาลทั้งหลาย
โดยช่วงเวลาตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงบ่ายแก่ๆ จะเป็นช่วงเวลาแห่งการปล่อยผี ปล่อยความชั่วร้าย บนถนนจะเต็มไปด้วยรถจักรยานยนต์ที่วัยรุ่นอินเดียขับออกมาเล่นสาดสีกัน และบรรดาเด็กหนุ่มๆ ก็จะดื่มเครื่องดื่มมึนเมา (แอลกอฮอล์) กันอย่างเต็มที่ จึงมักมีคำเตือนว่าสุภาพสตรีไม่ควรเดินทางออกนอกบ้านในช่วงเวลานี้ การเล่นสาดสีจะดำเนินไปจนถึงเวลาประมาณ 4-5 โมงเย็น จากนั้นทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
อ่านข่าวตัวเต็มได้ที่ :
http://www.naewna.com/scoop/95928
-------------------------------
เห็นอะไรไหมครับ
เดี๋ยวมันต้องมีดราม่าอีก เพราะเห็นมีทุกปี เพราะหลายคนเชื่อไปแล้วว่าสงกรานต์บ้านเรา เดิมทีมีแต่สิ่งสวยงาม รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญตักบาตร และประพรมน้ำ ไม่ใช่สาดน้ำ
แต่จริงๆ กลับมีการพบว่า ประเพณีเล่นน้ำวันสงกรานต์ เอาจริงๆ ก็ไม่ได้สวยงามแบบที่เรารู้กันเท่าไรนัก ตรงกันข้าม มันเป็นประเพณีที่เรียกว่า
"อนุญาตให้ทำเรื่องไม่ดีไม่งาม" ได้ในระดับหนึ่งด้วย
------------------------------
มาดูสิ่งที่ 2 นักประวัติศาสตร์ เขียนถึงวันสงกรานต์นะครับ
- คนแรก อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
คนใต้พูดทางทีวีว่า การเล่นพนันระหว่างสงกรานต์เป็นประเพณี ทั้งๆ ที่วัฒนธรรมไทย (โบราณเป็นอย่างน้อย) มองการเล่นพนันในทางไม่ดี การเสพย์สุราและเมามายในที่สาธารณะ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการกบฏระหว่างสงกรานต์ ทั้งๆ ที่การกินเหล้าเมายาไม่ใช่การกระทำอันน่ายกย่องในวัฒนธรรมไทยทั้งโบราณและปัจจุบัน
ส่วนการจับนม ผมออกจะเชื่อว่า คงจะเป็นส่วนหนึ่งของการกบฏมาแต่โบราณแล้ว ไม่ใช่เพียงเพราะชายหนุ่มมีโอกาสประแป้งหญิงสาวเท่านั้นนะครับ แต่เพราะการแสดงออกซึ่งความรู้สึกทางกามารมณ์ก็ตาม หรือเรื่องราวเกี่ยวกับกามารมณ์ก็ตาม เป็น
"ภาษา" ของการกบฏที่ใช้มากในวัฒนธรรมไทย จะเป็นเพราะวัฒนธรรมไทยห้ามการแสดงออกเรื่องนี้มากหรืออย่างไรไม่ทราบได้ แต่เราพบการแสดงออกเช่นนี้ในพิธีกรรม
"กบฏ" ต่อกฎระเบียบในวัฒนธรรมไทยอยู่เสมอ
ทั้งหมดที่ผมคุยมานี้ ไม่ต้องการจะบอกว่า เพราะประเพณีสงกรานต์เดิม คือการ
"กบฏ" จึงควรปล่อยให้มีพฤติกรรมเหล่านี้ต่อไป เพราะประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบันนั้นเลอะเทอะไปหมดแล้ว เช่น วันครอบครัวคือวันที่เราพรากครอบครัวออกจากชุมชน (คนกรุงเทพฯ พาลูกเมียไปเที่ยวเชียงใหม่ หรือคนเชียงใหม่ออกจากบ้านไปเล่นน้ำในเวียง) พื้นที่สำหรับเล่นน้ำก็เปรอะไปหมดไม่เลือกที่ ก่อความรำคาญแก่คนอื่นๆ ไปทั่ว
อย่างไรก็ตาม หากใช้มุมมองเรื่องการ
"กบฏ" สิ่งที่น่ารำคาญในเทศกาลนี้กลับเป็นเรื่องน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
กฎระเบียบที่ถูกแหกมากที่สุดในเทศกาลสงกรานต์คือกฎจราจร จักรยานยนต์ซ้อนสาม ไม่มีใครสวมหมวกกันน็อกสักคน, ปิคอัพขนน้ำและคนจนล้นขึ้นหลังคา และบางทีเกาะหน้าหม้อ, เมาแล้วขับ, จอดรถซ้อนสาม ฯลฯ แทบจะหากฎจราจรอะไรที่ไม่ถูกแหกในระหว่างสงกรานต์ไม่ได้
แต่กฎจราจรคือกฎระเบียบที่แวดล้อมคนในยุคนี้อาจจะมากที่สุด ซ้ำเป็นกฎระเบียบที่ถูกบังคับใช้จริงพอสมควร เช่น คนใช้รถใช้ถนนล้วนเคยเจรจากับตำรวจจราจรมาแล้ว อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต
เช่นเดียวกับกฎระเบียบเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในที่สาธารณะ โมเต็ลในเมืองไทยอาจไม่เคยว่างแขกก็จริง แต่พ้นออกมาจากโมเต็ล ยิ่งสาธารณะมากเท่าไร ก็ยิ่งมีกฎระเบียบข้อห้ามและโทษทัณฑ์ในการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมทางเพศมากเท่านั้น เช่น บนจอทีวีและจอหนังเกือบจะกลายเป็นแบหน้าแบบเรียนศีลธรรมมาดูกันไปแล้ว
ฉะนั้น โป๊หน่อย จับนมนิด จึงยั่วยวนให้ปฏิบัติในเทศกาลแห่งการปลดปล่อยเช่นสงกรานต์เป็นอย่างยิ่ง
แม้ทุกอย่างในโลกปัจจุบันได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว ผมยังออกจะเชื่อว่า
"อารมณ์กบฏ" ยังอยู่ในตัวมนุษย์ และเราต้องหาทางตอบสนองมันบ้าง แต่จะตอบสนองอย่างไรไม่ให้ถึงกับหลุดโลกไปเลย เช่น เขาเล่ากันว่าในการแห่บั้งไฟในอีสานโบราณ มีการยกพวกตีกันแบบเล่นๆ หรือตีกันตามประเพณี... นี่ก็เป็นการกบฏต่อกฎระเบียบอย่างหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับหลุดโลกจนสังคมพัง หรือการรายงานข่าวมุสาของสื่อตะวันตกในวันที่ 1 เมษายน ก็ถือกันว่า ต้องไม่ทำให้เกิดหลงผิดจนวุ่นวายไปทั้งสังคม
จะให้กบฏอย่างไรจึงอยู่ในกรอบที่สนุก, สะใจลึกๆ แต่ไม่ถึงกับเสียหายแก่ใครจนเกินไป ตรงนี้เกินสติปัญญาผมเสียแล้วล่ะครับ แต่ผมไม่เชื่อว่าการออกกฎระเบียบที่เคร่งครัดมากขึ้นกดลงไปบนวันสงกรานต์คือคำตอบ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับนมผู้หญิง, เหล้า, หรือโมเต็ล
บทความฉบับเต็ม :
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008april25p7.htm
----------------------------------
- อีกท่าน อ.สุจิตต์ วงศ์เทศ
ขบถข้อห้ามตามประเพณี เพื่อผ่อนคลายความเครียดในวันสงกรานต์
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาการปลดปล่อยเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดที่คนเรามีทั้งปีที่ผ่านมา เช่น ตึงเครียดจากการทำมาหากิน จากการรักษาจารีตประเพณี ฯลฯ
เมื่อถึงช่วงเวลาสงกรานต์จะมีประเพณีพิธีกรรมการละเล่นสนุกสนาน ละเมิดข้อห้ามต่างๆ ได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่ต้องมีขอบเขตไม่ทำร้ายบุคคลอื่นให้บาดเจ็บหรือล้มตาย
มีเอกสารบันทึกว่า สงกรานต์ในอดีตอนุญาตให้พระสงฆ์ในหมู่บ้านร่วมเล่นแข่งขันกับชาวบ้านได้ เช่น พระสงฆ์แข่งเรือ แข่งเกวียน แข่งจุดบั้งไฟ ฯลฯ
ขณะเดียวกันผู้หญิงชาวบ้านที่มีข้อห้ามรุนแรงว่าถูกเนื้อต้องตัวพระสงฆ์ไม่ได้ในยามปกติ แต่ในช่วงสงกรานต์บางชุมชนอนุญาตให้ผู้หญิงทำได้ เช่น ในชุมชนหมู่บ้านสมัยก่อน ผู้หญิงร่วมกันอุ้มพระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉันอาหารโยนลงไปในแม่น้ำลำคลองหนองบึงได้ และอาจละเมิดกฎเกณฑ์ได้มากกว่านี้ด้วย แต่ไม่ถึงขั้นละเมิดผิดทางเพศ
เอกสารเก่าของรัฐล้านนาโบราณ มีคำบอกเล่าว่า ในวันสงกรานต์ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในหุบเขาจะทำพิธีกรรมอย่างหนึ่งด้วยการพากันสาดน้ำไล่พระเจ้าแผ่นดินของตนที่ประทับในท้องพระโรง พระเจ้าแผ่นดินต้องวิ่งหนี
แต่ยามปกติทำอย่างนั้นต้องถูกฆ่า
บทความฉบับเต็ม :
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302693150&grpid=no&catid=02
----------------------------
เห็นอะไรไหมครับ
ที่น่าสนใจอีกอย่าง อ.นิธิ แกเล่าว่าความหมายของวันสงกรานต์ที่เราคุ้นเคยอย่างเป็นทางการ เพิ่งจะถูกสร้างในสมัยจอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม เสียด้วยซ้ำไป
"40 ปีที่แล้ว เมื่อผมเพิ่งมาอยู่เชียงใหม่ ในความรู้สึกของผม เชียงใหม่กลายเป็นบ้าไปทั้งเมืองในยามสงกรานต์ เพราะเขาเริ่มสาดน้ำกัน ก่อนสงกรานต์หนึ่งสัปดาห์ และต่อไปจนถึงหลังสงกรานต์อีกหนึ่งสัปดาห์ โดยเฉพาะในเขตรอบนอก จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขังตัวเองไว้ในบ้านนานขนาดนั้น
ความรู้สึกรังเกียจสงกรานต์ของผมนั้นมาจากรัฐบาลครับ เพราะผมเติบโตมาภายใต้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งรังเกียจการสาดน้ำ ท่านจึงสั่งห้ามสาดน้ำในระหว่างสงกรานต์ แต่รัฐบาลสมัยนั้นก็คล้ายรัฐบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา คือปกครองเฉพาะกรุงเทพฯ กับหัวเมืองเท่านั้น คำสั่งจึงมีผลเฉพาะในกรุงเทพฯ กับหัวเมืองใกล้เคียง"
บทความ :
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006april21p12.htm
อ.นิธิ แกบอกแบบนั้น ผมเลยลองค้นต่อ เชื่อไหมว่าการเอาน้ำใส่ยานพาหนะไล่สาดกัน อาจจะเริ่มที่เชียงใหม่ก็ได้ เพราะมีภาพเก่าบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้
http://board.postjung.com/m/667084.html (ผมเป็นแค่บัตรผ่าน เอารูปลงไม่ได้ครับ ใครเอามาลงได้จะดีมากๆ)
-------------------------
สรุปง่ายๆ สงกรานต์ไทยรวมถึงเพื่อนบ้านของเรารอบๆ (และรวมถึงการสาดสีใส่กันของอินเดียด้วย) มีจุดประสงค์ให้คนปลดปล่อยตัวเองจากกฏระเบียบต่างๆ ได้ชั่วคราว ในระดับที่ไม่รุนแรงเกินไป เรียกว่าตราบใดที่ไม่ใช่ความผิดรุนแรง ระดับลัก วิ่ง ชิง ปล้น ข่มขืน ฆ่ากันตาย ทำร้ายร่างกายถึงสาหัส ก็จะไม่มีใครถือโทษโกรธเคืองกัน (ลองนึกขำๆ ดูนะครับ วันปกติคงไม่มีใครมาแต่งตัวเพี้ยนๆ เต้นท่าบ้าๆ บอๆ ไม่มีคนเอาแป้งมาไล่ปะ ไม่มีรถเครื่องเสียงมาเปิดข้างถนน ไม่มีแก๊งมอเตอร์ไซค์เป็นร้อยคันมาบิดโชว์พลัง ฯลฯ แล้วกลายเป็นเรื่องขำขัน แต่สิ่งเหล่านี้ืกลับทำได้ระหว่าง 13-15 เมษา ของทุกปี)
ฝรั่งมันยังมี April Fool Day เลยครับ 1 เมษา ของทุกปี โกหกได้ทุกเรื่อง ขออย่างเดียวอย่าเป็นเรื่องขอขาดบาดตาย ถ้าไม่ถึงขั้นนั้นก็ขำๆ กันไป
คิดยังไงกับความเห็นทางประวัติศาสตร์ทำนองนี้บ้างครับ
~Siam Shinsengumi~
เชื่อกันไหมว่า "เทศกาลสงกรานต์" ไม่ได้สวยงามแบบที่เราเคยเรียนกันมา?
ในทุกๆ ปีเมื่อเทศกาลสงกรานต์เวียนมาถึง ประเด็นถกเถียงที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ คือพฤติกรรมสุดเหวี่ยงจนดูเหมือนหลุดโลกของผู้มาเล่นสาดน้ำทั้งชาวไทยและต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัวนุ่งน้อยห่มบางของสาวแท้และสาวเทียม การแต่งตัวแฟนซีประหลาดๆ เรียกเสียงหัวเราะและโห่ฮา รวมถึงการเต้นรำไปตามจังหวะเพลงที่เปิดด้วยเครื่องเสียงดังๆ มุมหนึ่งมองว่าเป็นการทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของไทย เพราะสงกรานต์ในอดีตไม่ปรากฏภาพดังกล่าว มีแต่เพียงการประพรมน้ำกันพองามเท่านั้น
แต่อีกด้านหนึ่ง นักวิชาการบางท่าน เช่น ดร.ฐิตารีย์ ไชยเศรษฐ หัวหน้าสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงาน “ยุเด็กไทย GO AC” จัดโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) เมื่อปลายปี 2556 ว่าประเพณีสงกรานต์สำหรับชาวบ้านสามัญชนทั่วไป นอกจากการทำบุญไหว้พระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่แล้ว ในส่วนของการเล่นสาดน้ำ พบว่ามีขึ้นเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่สะสมมาทั้งปีจากกฏเกณฑ์ต่างๆ ของสังคม ซึ่งเป็นมานานแล้วไม่ใช่เฉพาะที่ไทยเท่านั้น แต่จัดกันทั่วไปแทบทั้งอาเซียนเลยทีเดียว
“หลายท่านคิดว่าสงกรานต์ต้องเป็นวัฒนธรรมที่สวยงาม จริงๆ สงกรานต์พัฒนามาจากการสาดสีของอินเดีย แต่พอมาถึงอุษาคเนย์ ก็สาดน้ำแทนเพราะมันร้อน ไปที่พม่าไปที่เวียดนาม การสาดน้ำยิ่งสาดมากยิ่งขอฝนเยอะๆ และเป็นการปลดปล่อยกรอบประเพณี เช่นพระจะมาเล่นกับสีกา
แต่คนในกรุงเทพเห็นแล้วกรี๊ด ทนไม่ได้ ตายแล้วเสียศีลธรรมอันดี ลืมไปว่าอุษาคเนย์ การเล่นสงกรานต์คือการปลดปล่อย การขบถเล็กๆ ต่อกรอบของสังคม อันนี้เป็นเรื่องจริงนะคะ เราจะมีความขบถเล็กๆ กับสงกรานต์ เราไม่ต้องไปกรี๊ดกร๊าดเพราะมันไม่ใช่ของเรา มันร่วมภูมิภาค” อ.ฐิตารีย์ กล่าว
ที่น่าสนใจ กระทั่งเทศกาลที่เชื่อว่าน่าจะเป็นต้นแบบของสงกรานต์ อย่างเทศกาลสาดสีของอินเดียที่กล่าวไปข้างต้น ก็มีลักษณะเป็นการละเมิดจารีตของสังคมเล็กๆ น้อยๆ ได้ชั่วคราวตลอดช่วงเวลาที่กำหนดไว้เช่นกัน ดังบทความ “เทศกาลเล่นสี (Holi Festival)” จากเว็บไซต์ สมาคมพระนักศึกษา-นักศึกษาไทยมหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู (Banaras Hindu University , India) สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่งของอินเดีย ระบุว่า เทศกาลโฮลิของทุกปี ในสมัยพุทธกาลอาจถูกเรียกว่าเป็น “พาลนักษัตร” หมายถึงเทศกาลเล่นของคนพาลทั้งหลาย
โดยช่วงเวลาตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงบ่ายแก่ๆ จะเป็นช่วงเวลาแห่งการปล่อยผี ปล่อยความชั่วร้าย บนถนนจะเต็มไปด้วยรถจักรยานยนต์ที่วัยรุ่นอินเดียขับออกมาเล่นสาดสีกัน และบรรดาเด็กหนุ่มๆ ก็จะดื่มเครื่องดื่มมึนเมา (แอลกอฮอล์) กันอย่างเต็มที่ จึงมักมีคำเตือนว่าสุภาพสตรีไม่ควรเดินทางออกนอกบ้านในช่วงเวลานี้ การเล่นสาดสีจะดำเนินไปจนถึงเวลาประมาณ 4-5 โมงเย็น จากนั้นทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
อ่านข่าวตัวเต็มได้ที่ : http://www.naewna.com/scoop/95928
-------------------------------
เห็นอะไรไหมครับ
เดี๋ยวมันต้องมีดราม่าอีก เพราะเห็นมีทุกปี เพราะหลายคนเชื่อไปแล้วว่าสงกรานต์บ้านเรา เดิมทีมีแต่สิ่งสวยงาม รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญตักบาตร และประพรมน้ำ ไม่ใช่สาดน้ำ
แต่จริงๆ กลับมีการพบว่า ประเพณีเล่นน้ำวันสงกรานต์ เอาจริงๆ ก็ไม่ได้สวยงามแบบที่เรารู้กันเท่าไรนัก ตรงกันข้าม มันเป็นประเพณีที่เรียกว่า "อนุญาตให้ทำเรื่องไม่ดีไม่งาม" ได้ในระดับหนึ่งด้วย
------------------------------
มาดูสิ่งที่ 2 นักประวัติศาสตร์ เขียนถึงวันสงกรานต์นะครับ
- คนแรก อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
คนใต้พูดทางทีวีว่า การเล่นพนันระหว่างสงกรานต์เป็นประเพณี ทั้งๆ ที่วัฒนธรรมไทย (โบราณเป็นอย่างน้อย) มองการเล่นพนันในทางไม่ดี การเสพย์สุราและเมามายในที่สาธารณะ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการกบฏระหว่างสงกรานต์ ทั้งๆ ที่การกินเหล้าเมายาไม่ใช่การกระทำอันน่ายกย่องในวัฒนธรรมไทยทั้งโบราณและปัจจุบัน
ส่วนการจับนม ผมออกจะเชื่อว่า คงจะเป็นส่วนหนึ่งของการกบฏมาแต่โบราณแล้ว ไม่ใช่เพียงเพราะชายหนุ่มมีโอกาสประแป้งหญิงสาวเท่านั้นนะครับ แต่เพราะการแสดงออกซึ่งความรู้สึกทางกามารมณ์ก็ตาม หรือเรื่องราวเกี่ยวกับกามารมณ์ก็ตาม เป็น "ภาษา" ของการกบฏที่ใช้มากในวัฒนธรรมไทย จะเป็นเพราะวัฒนธรรมไทยห้ามการแสดงออกเรื่องนี้มากหรืออย่างไรไม่ทราบได้ แต่เราพบการแสดงออกเช่นนี้ในพิธีกรรม "กบฏ" ต่อกฎระเบียบในวัฒนธรรมไทยอยู่เสมอ
ทั้งหมดที่ผมคุยมานี้ ไม่ต้องการจะบอกว่า เพราะประเพณีสงกรานต์เดิม คือการ "กบฏ" จึงควรปล่อยให้มีพฤติกรรมเหล่านี้ต่อไป เพราะประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบันนั้นเลอะเทอะไปหมดแล้ว เช่น วันครอบครัวคือวันที่เราพรากครอบครัวออกจากชุมชน (คนกรุงเทพฯ พาลูกเมียไปเที่ยวเชียงใหม่ หรือคนเชียงใหม่ออกจากบ้านไปเล่นน้ำในเวียง) พื้นที่สำหรับเล่นน้ำก็เปรอะไปหมดไม่เลือกที่ ก่อความรำคาญแก่คนอื่นๆ ไปทั่ว
อย่างไรก็ตาม หากใช้มุมมองเรื่องการ "กบฏ" สิ่งที่น่ารำคาญในเทศกาลนี้กลับเป็นเรื่องน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
กฎระเบียบที่ถูกแหกมากที่สุดในเทศกาลสงกรานต์คือกฎจราจร จักรยานยนต์ซ้อนสาม ไม่มีใครสวมหมวกกันน็อกสักคน, ปิคอัพขนน้ำและคนจนล้นขึ้นหลังคา และบางทีเกาะหน้าหม้อ, เมาแล้วขับ, จอดรถซ้อนสาม ฯลฯ แทบจะหากฎจราจรอะไรที่ไม่ถูกแหกในระหว่างสงกรานต์ไม่ได้
แต่กฎจราจรคือกฎระเบียบที่แวดล้อมคนในยุคนี้อาจจะมากที่สุด ซ้ำเป็นกฎระเบียบที่ถูกบังคับใช้จริงพอสมควร เช่น คนใช้รถใช้ถนนล้วนเคยเจรจากับตำรวจจราจรมาแล้ว อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต
เช่นเดียวกับกฎระเบียบเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในที่สาธารณะ โมเต็ลในเมืองไทยอาจไม่เคยว่างแขกก็จริง แต่พ้นออกมาจากโมเต็ล ยิ่งสาธารณะมากเท่าไร ก็ยิ่งมีกฎระเบียบข้อห้ามและโทษทัณฑ์ในการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมทางเพศมากเท่านั้น เช่น บนจอทีวีและจอหนังเกือบจะกลายเป็นแบหน้าแบบเรียนศีลธรรมมาดูกันไปแล้ว
ฉะนั้น โป๊หน่อย จับนมนิด จึงยั่วยวนให้ปฏิบัติในเทศกาลแห่งการปลดปล่อยเช่นสงกรานต์เป็นอย่างยิ่ง
แม้ทุกอย่างในโลกปัจจุบันได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว ผมยังออกจะเชื่อว่า "อารมณ์กบฏ" ยังอยู่ในตัวมนุษย์ และเราต้องหาทางตอบสนองมันบ้าง แต่จะตอบสนองอย่างไรไม่ให้ถึงกับหลุดโลกไปเลย เช่น เขาเล่ากันว่าในการแห่บั้งไฟในอีสานโบราณ มีการยกพวกตีกันแบบเล่นๆ หรือตีกันตามประเพณี... นี่ก็เป็นการกบฏต่อกฎระเบียบอย่างหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับหลุดโลกจนสังคมพัง หรือการรายงานข่าวมุสาของสื่อตะวันตกในวันที่ 1 เมษายน ก็ถือกันว่า ต้องไม่ทำให้เกิดหลงผิดจนวุ่นวายไปทั้งสังคม
จะให้กบฏอย่างไรจึงอยู่ในกรอบที่สนุก, สะใจลึกๆ แต่ไม่ถึงกับเสียหายแก่ใครจนเกินไป ตรงนี้เกินสติปัญญาผมเสียแล้วล่ะครับ แต่ผมไม่เชื่อว่าการออกกฎระเบียบที่เคร่งครัดมากขึ้นกดลงไปบนวันสงกรานต์คือคำตอบ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับนมผู้หญิง, เหล้า, หรือโมเต็ล
บทความฉบับเต็ม : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008april25p7.htm
----------------------------------
- อีกท่าน อ.สุจิตต์ วงศ์เทศ
ขบถข้อห้ามตามประเพณี เพื่อผ่อนคลายความเครียดในวันสงกรานต์
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาการปลดปล่อยเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดที่คนเรามีทั้งปีที่ผ่านมา เช่น ตึงเครียดจากการทำมาหากิน จากการรักษาจารีตประเพณี ฯลฯ
เมื่อถึงช่วงเวลาสงกรานต์จะมีประเพณีพิธีกรรมการละเล่นสนุกสนาน ละเมิดข้อห้ามต่างๆ ได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่ต้องมีขอบเขตไม่ทำร้ายบุคคลอื่นให้บาดเจ็บหรือล้มตาย
มีเอกสารบันทึกว่า สงกรานต์ในอดีตอนุญาตให้พระสงฆ์ในหมู่บ้านร่วมเล่นแข่งขันกับชาวบ้านได้ เช่น พระสงฆ์แข่งเรือ แข่งเกวียน แข่งจุดบั้งไฟ ฯลฯ
ขณะเดียวกันผู้หญิงชาวบ้านที่มีข้อห้ามรุนแรงว่าถูกเนื้อต้องตัวพระสงฆ์ไม่ได้ในยามปกติ แต่ในช่วงสงกรานต์บางชุมชนอนุญาตให้ผู้หญิงทำได้ เช่น ในชุมชนหมู่บ้านสมัยก่อน ผู้หญิงร่วมกันอุ้มพระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉันอาหารโยนลงไปในแม่น้ำลำคลองหนองบึงได้ และอาจละเมิดกฎเกณฑ์ได้มากกว่านี้ด้วย แต่ไม่ถึงขั้นละเมิดผิดทางเพศ
เอกสารเก่าของรัฐล้านนาโบราณ มีคำบอกเล่าว่า ในวันสงกรานต์ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในหุบเขาจะทำพิธีกรรมอย่างหนึ่งด้วยการพากันสาดน้ำไล่พระเจ้าแผ่นดินของตนที่ประทับในท้องพระโรง พระเจ้าแผ่นดินต้องวิ่งหนี
แต่ยามปกติทำอย่างนั้นต้องถูกฆ่า
บทความฉบับเต็ม : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302693150&grpid=no&catid=02
----------------------------
เห็นอะไรไหมครับ
ที่น่าสนใจอีกอย่าง อ.นิธิ แกเล่าว่าความหมายของวันสงกรานต์ที่เราคุ้นเคยอย่างเป็นทางการ เพิ่งจะถูกสร้างในสมัยจอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม เสียด้วยซ้ำไป
"40 ปีที่แล้ว เมื่อผมเพิ่งมาอยู่เชียงใหม่ ในความรู้สึกของผม เชียงใหม่กลายเป็นบ้าไปทั้งเมืองในยามสงกรานต์ เพราะเขาเริ่มสาดน้ำกัน ก่อนสงกรานต์หนึ่งสัปดาห์ และต่อไปจนถึงหลังสงกรานต์อีกหนึ่งสัปดาห์ โดยเฉพาะในเขตรอบนอก จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขังตัวเองไว้ในบ้านนานขนาดนั้น
ความรู้สึกรังเกียจสงกรานต์ของผมนั้นมาจากรัฐบาลครับ เพราะผมเติบโตมาภายใต้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งรังเกียจการสาดน้ำ ท่านจึงสั่งห้ามสาดน้ำในระหว่างสงกรานต์ แต่รัฐบาลสมัยนั้นก็คล้ายรัฐบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา คือปกครองเฉพาะกรุงเทพฯ กับหัวเมืองเท่านั้น คำสั่งจึงมีผลเฉพาะในกรุงเทพฯ กับหัวเมืองใกล้เคียง"
บทความ : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006april21p12.htm
อ.นิธิ แกบอกแบบนั้น ผมเลยลองค้นต่อ เชื่อไหมว่าการเอาน้ำใส่ยานพาหนะไล่สาดกัน อาจจะเริ่มที่เชียงใหม่ก็ได้ เพราะมีภาพเก่าบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้
http://board.postjung.com/m/667084.html (ผมเป็นแค่บัตรผ่าน เอารูปลงไม่ได้ครับ ใครเอามาลงได้จะดีมากๆ)
-------------------------
สรุปง่ายๆ สงกรานต์ไทยรวมถึงเพื่อนบ้านของเรารอบๆ (และรวมถึงการสาดสีใส่กันของอินเดียด้วย) มีจุดประสงค์ให้คนปลดปล่อยตัวเองจากกฏระเบียบต่างๆ ได้ชั่วคราว ในระดับที่ไม่รุนแรงเกินไป เรียกว่าตราบใดที่ไม่ใช่ความผิดรุนแรง ระดับลัก วิ่ง ชิง ปล้น ข่มขืน ฆ่ากันตาย ทำร้ายร่างกายถึงสาหัส ก็จะไม่มีใครถือโทษโกรธเคืองกัน (ลองนึกขำๆ ดูนะครับ วันปกติคงไม่มีใครมาแต่งตัวเพี้ยนๆ เต้นท่าบ้าๆ บอๆ ไม่มีคนเอาแป้งมาไล่ปะ ไม่มีรถเครื่องเสียงมาเปิดข้างถนน ไม่มีแก๊งมอเตอร์ไซค์เป็นร้อยคันมาบิดโชว์พลัง ฯลฯ แล้วกลายเป็นเรื่องขำขัน แต่สิ่งเหล่านี้ืกลับทำได้ระหว่าง 13-15 เมษา ของทุกปี)
ฝรั่งมันยังมี April Fool Day เลยครับ 1 เมษา ของทุกปี โกหกได้ทุกเรื่อง ขออย่างเดียวอย่าเป็นเรื่องขอขาดบาดตาย ถ้าไม่ถึงขั้นนั้นก็ขำๆ กันไป
คิดยังไงกับความเห็นทางประวัติศาสตร์ทำนองนี้บ้างครับ
~Siam Shinsengumi~