เมื่อ 20 ปีที่แล้ว Alice Mukarurinda สาวชาวตุ๊ดซี่วัย 25 ปี (มือขาด) กับ Emmanuel Ndayisaba หนุ่มชาวฮูตู 23 ปี ทั้งคู่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันในรวันด้า เคยเรียนหนังสือด้วยกันตอนเด็ก ๆ แต่ผลจากการปลุกระดมของแกนนำฮูตู ทำให้เกิดกระแสว่าตุ๊ดซี่ ซึ่งเป็นชนส่วนน้อยแต่มีฐานะดีกว่า เป็นคนเลวร้าย “เราต้องกำจัดตุ๊ดซี่ให้หมดไป” “พวกนี้ไม่ใช่มนุษย์ เป็นแมลงสาบ” มีการจัดตั้งกองกำลังชาวบ้านออกตามฆ่าชาวตุ๊ดซี่ เอ็มมานูเอลเป็นหนึ่งนักฆ่าเหล่านั้น
เอ็มมานูเอลไม่เคยฆ่าคนมาก่อน เขาเป็นนักร้องเพลงสวดในโบสถ์คริสต์ วันแรกที่เขาฆ่าคนคือ 9 เม.ย.1994 แกนนำฮูตูพาเขาไปบ้านหลังหนึ่งบอกว่ามีงานให้ทำ เป็นบ้านที่พวกตุ๊ดซี่หลบอยู่ ในวันนั้น เขาใช้มีดดาบฆ่าไป 14 คนในวันเดียว
“หลังจากฆ่าไปครอบครัวแรก ผมรู้สึกแย่มาก ๆ แต่พอฆ่าไปเรื่อย ๆ ผมก็เริ่มรู้สึกเฉย ๆ” เอ็มมานูเอลบอก “พวกเขาบอกเราว่า ตุ๊ดซี่เป็นคนเลว หลังจากฆ่ายกครัวไปครอบครัวหนึ่ง ผมเริ่มรู้สึกเหมือนเราฆ่าศัตรู” ครับ “ฆ่าศัตรูไม่บาป” เป็นความรู้สึกที่ถูกปลูกฝังในสมองเขาตอนนั้น
หลังจากการไล่ล่าสังหารเริ่มต้นขึ้น อลิซหนีออกจากหมู่บ้าน เธออุ้มลูกอายุเก้าเดือน และพาหลานสาวอายุเก้าขวบ หลบหนีไปอยู่ในป่า หนีอยู่ได้เกือบเดือน ในวันที่ 29 เมษายน กลุ่มล่าสังหารชาวฮูตูกระชับพื้นที่เข้ามา หลังเสียงนกหวีดดังปรี๊ด ชาวบ้านที่เป็นฮูตูจะพากันออกไปไล่ล่าสังหารตุ๊ดซี่
อลิซซ่อนตัวอยู่ในหนองน้ำเป็นวัน ๆ โผล่ขึ้นมาแค่หัว สุดท้าย ก็เจอกับเอ็มมานูเอลกับทีมสังหาร หลังจากฆ่าหลานและลูกเธอไปแล้ว เอ็มมานูเอลหันมาหาเธอ เขาจำเธอได้เพราะเคยเรียนด้วยกัน แต่ก็ยังฟันมีดดาบลงไป อลิซเอามือกันเลยถูกฟันมือขาด เอ็มมานูเอลฟันที่ท้ายทอยอีกแผล ส่วนเพื่อนอีกคนเอาหอกทิ่มทะลุตรงหัวไหล่ พวกเขาปล่อยให้เธอตายไปเอง แต่เธอไม่ตายครับ
หลายปีหลังเหตุการณ์ มีการไต่สวนและเอ็มมานูเอลได้รับโทษติดคุกอยู่ 7 ปี หลังออกจากคุก เขาเข้าร่วมกับกลุ่มที่พยายามแสวงหาความสมานฉันท์กับตุ๊ดซี่ ในกิจกรรมกลุ่มทำให้เขาได้พบกับอลิซอีกครั้ง และจำเธอได้ ครั้งแรก ๆ พยายามหลบหน้า ไม่กล้าสบตา สุดท้ายเขาคุกเข่าขอโทษเธอ อลิซกลับไปปรึกษากับสามีสองสัปดาห์จึงยอมให้อภัยเขา อลิซบอกว่า “Just knowing who did this gave me what I needed. Forgiving him kept me sane.” “ขอแค่รู้ว่าใครเป็นคนทำก็พอใจแล้ว เมื่อให้อภัยได้ ดิฉันสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปรกติได้อีก” ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนกันในเวลาต่อมา
ในปี 1994 ระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม มีการสังหารกันวันละประมาณ 10,000 คน เป็นการจงใจไล่ล่าสังหาร ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านจัดทำรายชื่อราษฎรชาวตุ๊ดซี่ (และฮูตูสายกลาง) ที่เป็นเป้าหมาย ปลุกระดม สร้างความรู้สึกเกลียดชังทุกวัน ๆ 20 ปีผ่านไป รอยแผลยังไม่สมาน ทุกวันนี้ ความระแวงสงสัยระหว่างชาวตุ๊ดซี่กับฮูตูยังไม่หมดไป และยังมีผู้ลี้ภัยที่ยังกลับประเทศตนเองไม่ได้อีกสองแสนกว่าคน เฉพาะที่อยู่ในสาธารณรัฐคองโก เพื่อนบ้าน
“Banality of violence” “ความธรรมดาสามัญของความรุนแรง” ทุกคนมีโอกาสก่อความรุนแรงที่โหดเหี้ยมได้ทั้งนั้น อย่าอ้างว่าเราเป็นชาวพุทธ อย่าอ้างว่าศาสนาเราสันติกว่าคนอื่น เมื่อการปลุกระดมความเกลียดชังเกิดขึ้น ทุกคนเป็นนักฆ่าได้หมดเหมือนหนุ่มเอ็มมานูเอล อย่ารอให้เราต้องมาจัดงานครบรอบรำลึกความรุนแรง และบอกตัวเองว่า “เราจะไม่ทำอีก” อีกเลยครับ
http://americanlivewire.com/2014-04-06-rwanda-genocide-alice-mukarurinda-emmanuel-ndayisaba-friends/
http://www.aljazeera.com/news/africa/2014/04/rwanda-commemorates-genocide-anniversary-20144742041393330.html
ขออย่าให้เกิดกับประเทศเรา.......
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว Alice Mukarurinda สาวชาวตุ๊ดซี่วัย 25 ปี (มือขาด) กับ Emmanuel Ndayisaba หนุ่มชาวฮูตู 23 ปี ทั้งคู่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันในรวันด้า เคยเรียนหนังสือด้วยกันตอนเด็ก ๆ แต่ผลจากการปลุกระดมของแกนนำฮูตู ทำให้เกิดกระแสว่าตุ๊ดซี่ ซึ่งเป็นชนส่วนน้อยแต่มีฐานะดีกว่า เป็นคนเลวร้าย “เราต้องกำจัดตุ๊ดซี่ให้หมดไป” “พวกนี้ไม่ใช่มนุษย์ เป็นแมลงสาบ” มีการจัดตั้งกองกำลังชาวบ้านออกตามฆ่าชาวตุ๊ดซี่ เอ็มมานูเอลเป็นหนึ่งนักฆ่าเหล่านั้น
เอ็มมานูเอลไม่เคยฆ่าคนมาก่อน เขาเป็นนักร้องเพลงสวดในโบสถ์คริสต์ วันแรกที่เขาฆ่าคนคือ 9 เม.ย.1994 แกนนำฮูตูพาเขาไปบ้านหลังหนึ่งบอกว่ามีงานให้ทำ เป็นบ้านที่พวกตุ๊ดซี่หลบอยู่ ในวันนั้น เขาใช้มีดดาบฆ่าไป 14 คนในวันเดียว
“หลังจากฆ่าไปครอบครัวแรก ผมรู้สึกแย่มาก ๆ แต่พอฆ่าไปเรื่อย ๆ ผมก็เริ่มรู้สึกเฉย ๆ” เอ็มมานูเอลบอก “พวกเขาบอกเราว่า ตุ๊ดซี่เป็นคนเลว หลังจากฆ่ายกครัวไปครอบครัวหนึ่ง ผมเริ่มรู้สึกเหมือนเราฆ่าศัตรู” ครับ “ฆ่าศัตรูไม่บาป” เป็นความรู้สึกที่ถูกปลูกฝังในสมองเขาตอนนั้น
หลังจากการไล่ล่าสังหารเริ่มต้นขึ้น อลิซหนีออกจากหมู่บ้าน เธออุ้มลูกอายุเก้าเดือน และพาหลานสาวอายุเก้าขวบ หลบหนีไปอยู่ในป่า หนีอยู่ได้เกือบเดือน ในวันที่ 29 เมษายน กลุ่มล่าสังหารชาวฮูตูกระชับพื้นที่เข้ามา หลังเสียงนกหวีดดังปรี๊ด ชาวบ้านที่เป็นฮูตูจะพากันออกไปไล่ล่าสังหารตุ๊ดซี่
อลิซซ่อนตัวอยู่ในหนองน้ำเป็นวัน ๆ โผล่ขึ้นมาแค่หัว สุดท้าย ก็เจอกับเอ็มมานูเอลกับทีมสังหาร หลังจากฆ่าหลานและลูกเธอไปแล้ว เอ็มมานูเอลหันมาหาเธอ เขาจำเธอได้เพราะเคยเรียนด้วยกัน แต่ก็ยังฟันมีดดาบลงไป อลิซเอามือกันเลยถูกฟันมือขาด เอ็มมานูเอลฟันที่ท้ายทอยอีกแผล ส่วนเพื่อนอีกคนเอาหอกทิ่มทะลุตรงหัวไหล่ พวกเขาปล่อยให้เธอตายไปเอง แต่เธอไม่ตายครับ
หลายปีหลังเหตุการณ์ มีการไต่สวนและเอ็มมานูเอลได้รับโทษติดคุกอยู่ 7 ปี หลังออกจากคุก เขาเข้าร่วมกับกลุ่มที่พยายามแสวงหาความสมานฉันท์กับตุ๊ดซี่ ในกิจกรรมกลุ่มทำให้เขาได้พบกับอลิซอีกครั้ง และจำเธอได้ ครั้งแรก ๆ พยายามหลบหน้า ไม่กล้าสบตา สุดท้ายเขาคุกเข่าขอโทษเธอ อลิซกลับไปปรึกษากับสามีสองสัปดาห์จึงยอมให้อภัยเขา อลิซบอกว่า “Just knowing who did this gave me what I needed. Forgiving him kept me sane.” “ขอแค่รู้ว่าใครเป็นคนทำก็พอใจแล้ว เมื่อให้อภัยได้ ดิฉันสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปรกติได้อีก” ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนกันในเวลาต่อมา
ในปี 1994 ระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม มีการสังหารกันวันละประมาณ 10,000 คน เป็นการจงใจไล่ล่าสังหาร ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านจัดทำรายชื่อราษฎรชาวตุ๊ดซี่ (และฮูตูสายกลาง) ที่เป็นเป้าหมาย ปลุกระดม สร้างความรู้สึกเกลียดชังทุกวัน ๆ 20 ปีผ่านไป รอยแผลยังไม่สมาน ทุกวันนี้ ความระแวงสงสัยระหว่างชาวตุ๊ดซี่กับฮูตูยังไม่หมดไป และยังมีผู้ลี้ภัยที่ยังกลับประเทศตนเองไม่ได้อีกสองแสนกว่าคน เฉพาะที่อยู่ในสาธารณรัฐคองโก เพื่อนบ้าน
“Banality of violence” “ความธรรมดาสามัญของความรุนแรง” ทุกคนมีโอกาสก่อความรุนแรงที่โหดเหี้ยมได้ทั้งนั้น อย่าอ้างว่าเราเป็นชาวพุทธ อย่าอ้างว่าศาสนาเราสันติกว่าคนอื่น เมื่อการปลุกระดมความเกลียดชังเกิดขึ้น ทุกคนเป็นนักฆ่าได้หมดเหมือนหนุ่มเอ็มมานูเอล อย่ารอให้เราต้องมาจัดงานครบรอบรำลึกความรุนแรง และบอกตัวเองว่า “เราจะไม่ทำอีก” อีกเลยครับ
http://americanlivewire.com/2014-04-06-rwanda-genocide-alice-mukarurinda-emmanuel-ndayisaba-friends/
http://www.aljazeera.com/news/africa/2014/04/rwanda-commemorates-genocide-anniversary-20144742041393330.html