สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
1. ครั้งแรกสุดพยาบาลบอกว่า ถ้าอยู่ห้องรวม ไม่ต้องมีคนเฝ้าก็ได้ เพราะจะมีคนเดินไปเดินมาตลอด ทั้งหมอ พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล แต่ทำไมพออยู่ห้องรวมแล้ว ถ้าญาติมาเฝ้าไม่ได้ ก็ยังต้องจ้างคนเฝ้าอีก (แล้วถ้าคนป่วยไม่มีญาติจะทำยังไง)
- เป็นระเบียบปกติของรพ.รัฐหรือรพ.เอกชนที่จะบริหารต้นทุนให้ได้เท่ารพ.รัฐบาล ปัญหาที่สำคัญคือหากผู้ป่วยเกิดอะไรขึ้นกว่าพยาบาลจะทราบมันก็อาจจะสายเกินไปคับเพราะในสภาพห้องปิดแบบนั้นพยาบาลอาจเข้าไปสองถึงสี่ชั่วโมงครั้ง ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติไม่ควรอยู่ห้องแยกครับ
2. หน้าที่ของพยาบาลประจำวอร์ดคืออะไร พวกหน้าที่การดูดเสมหะ พลิกตัว ให้อาหารทางสายยางถือเป็นหน้าที่ของใคร ระหว่างพยาบาลกับผู้ช่วยพยาบาล และถ้าไม่จ้างเฝ้าไข้พิเศษ พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลที่ขึ้นเวรประจำวอร์ดนั้นจะไม่มาทำให้หรือ (ไปเยี่ยมทีไรก็เห็นพยาบาลนั่งอยู่แต่ในวอร์ด ยกเว้นเวลาถือยามาให้ กับเดินตามหมอ)
- ทำนะครับ แต่เชื่อเถอะว่าไม่ดีเท่าญาติทำเองหรือจ้างคนอื่นๆมาช่วยทำ เพราะงานพยาาลนอกจากจะต้องคอยจัดการให้ยาถูกต้องถูกคนถูกเวลา ต้องรับหน้าปัญหาทุกเรื่อง ต้องมีงานเอกสารที่ยาวมาก ในเวร 8 ชั่วโมง 2 ชั่วโมงหมดไปกับการส่งเวรและรับเวร 1 ชั่วโมงหมดไปกับงานเอกสารที่ต้องเขียนบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นหรือไม่เกิดอะไรขึ้นบ้าง 2 ชั่วโมงหมดไปกับการเตรียมและให้ยา 1 ชั่วโมงหมดไปกับเหตุนอกเหนืองานปกติเช่นคนไข้มีปัญหา หมอมาราวด์ เหลือเวลาสองชั่วโมงต่อคนต่อเวร ซึ่งเอาไปทำงานพวกดูดเสมหะ พลิกตัวหากทำให้ดีๆเวรหนึ่งคงทำได้แค่ 2 รอบหรือทุกสี่ชั่วโมงซึ่งน้อยเกินไป
3. ครั้งนี้หมอบอกให้ยาแก้อักเสบ และนอนดูอาการ ถ้าไม่ทำอะไรนอกเหนือจากนี้ เราสามารถขอ discharge จากรพ. เพื่อกลับไปให้ที่ศูนย์ดูแลให้ยาเองจะได้ไหม พอถามเรื่องขอออกจากรพ.ทีไร พยาบาลก็จะตอบคำตอบเดิมทุกครั้งว่าต้องแล้วแต่คุณหมอ (เป็นแบบนี้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ admit) ทำไมญาติไม่มีสิทธิ์มีเสียงเรื่องนี้บ้าง
- คุณต้องถามจากหมอครับ พยาบาลไม่มีสิทธิ์ใดๆในการตัดสินใจ และต่อให้พยาบาลแจ้งหมอแต่หมอไม่ได้คุยกับญาติก็จะไม่สามารถตัดสินใจตรงนี้ได้เพราะหมอเองก็ต้องรู้ว่าออกไปแล้วจะดูแลอย่างไร ศูนย์ดูแลพร้อมแค่ไหนในการให้ยา อาการคงที่พอหรือยัง
แต่จรรยาบรรณตามวิชาชีพอยู่ที่ไหนล่ะคะ?
- ลองคิดง่ายๆว่าคนเฝ้าที่จ้างมาดูแลคนไข้เหนื่อยมั้ย แล้วลองเดินไปนับดูว่าคนไข้ทั้งวอร์ดมีกี่คนหารด้วยจำนวนพยาบาลที่ขึ้นเวร แล้วลองถามคนเฝ้าหรือถามเราเองว่า หากต้องดูแลจำนวนคนไข้เหล่านั้นพร้อมหน้าที่อื่นๆของพยาบาลมันสามารถทำได้จริงมั้ยและทำได้ดีมั้ย อ้อค่าตอบแทนมันก็เท่าๆนั้นแหละครับแม้ว่าจำนวนคนไข้จะเพิ่มขึ้นมาก ผมว่าคนที่ยังยอมทำงานอยู่เขามีจรรยาบรรณพอควรนะครับ
- เป็นระเบียบปกติของรพ.รัฐหรือรพ.เอกชนที่จะบริหารต้นทุนให้ได้เท่ารพ.รัฐบาล ปัญหาที่สำคัญคือหากผู้ป่วยเกิดอะไรขึ้นกว่าพยาบาลจะทราบมันก็อาจจะสายเกินไปคับเพราะในสภาพห้องปิดแบบนั้นพยาบาลอาจเข้าไปสองถึงสี่ชั่วโมงครั้ง ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติไม่ควรอยู่ห้องแยกครับ
2. หน้าที่ของพยาบาลประจำวอร์ดคืออะไร พวกหน้าที่การดูดเสมหะ พลิกตัว ให้อาหารทางสายยางถือเป็นหน้าที่ของใคร ระหว่างพยาบาลกับผู้ช่วยพยาบาล และถ้าไม่จ้างเฝ้าไข้พิเศษ พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลที่ขึ้นเวรประจำวอร์ดนั้นจะไม่มาทำให้หรือ (ไปเยี่ยมทีไรก็เห็นพยาบาลนั่งอยู่แต่ในวอร์ด ยกเว้นเวลาถือยามาให้ กับเดินตามหมอ)
- ทำนะครับ แต่เชื่อเถอะว่าไม่ดีเท่าญาติทำเองหรือจ้างคนอื่นๆมาช่วยทำ เพราะงานพยาาลนอกจากจะต้องคอยจัดการให้ยาถูกต้องถูกคนถูกเวลา ต้องรับหน้าปัญหาทุกเรื่อง ต้องมีงานเอกสารที่ยาวมาก ในเวร 8 ชั่วโมง 2 ชั่วโมงหมดไปกับการส่งเวรและรับเวร 1 ชั่วโมงหมดไปกับงานเอกสารที่ต้องเขียนบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นหรือไม่เกิดอะไรขึ้นบ้าง 2 ชั่วโมงหมดไปกับการเตรียมและให้ยา 1 ชั่วโมงหมดไปกับเหตุนอกเหนืองานปกติเช่นคนไข้มีปัญหา หมอมาราวด์ เหลือเวลาสองชั่วโมงต่อคนต่อเวร ซึ่งเอาไปทำงานพวกดูดเสมหะ พลิกตัวหากทำให้ดีๆเวรหนึ่งคงทำได้แค่ 2 รอบหรือทุกสี่ชั่วโมงซึ่งน้อยเกินไป
3. ครั้งนี้หมอบอกให้ยาแก้อักเสบ และนอนดูอาการ ถ้าไม่ทำอะไรนอกเหนือจากนี้ เราสามารถขอ discharge จากรพ. เพื่อกลับไปให้ที่ศูนย์ดูแลให้ยาเองจะได้ไหม พอถามเรื่องขอออกจากรพ.ทีไร พยาบาลก็จะตอบคำตอบเดิมทุกครั้งว่าต้องแล้วแต่คุณหมอ (เป็นแบบนี้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ admit) ทำไมญาติไม่มีสิทธิ์มีเสียงเรื่องนี้บ้าง
- คุณต้องถามจากหมอครับ พยาบาลไม่มีสิทธิ์ใดๆในการตัดสินใจ และต่อให้พยาบาลแจ้งหมอแต่หมอไม่ได้คุยกับญาติก็จะไม่สามารถตัดสินใจตรงนี้ได้เพราะหมอเองก็ต้องรู้ว่าออกไปแล้วจะดูแลอย่างไร ศูนย์ดูแลพร้อมแค่ไหนในการให้ยา อาการคงที่พอหรือยัง
แต่จรรยาบรรณตามวิชาชีพอยู่ที่ไหนล่ะคะ?
- ลองคิดง่ายๆว่าคนเฝ้าที่จ้างมาดูแลคนไข้เหนื่อยมั้ย แล้วลองเดินไปนับดูว่าคนไข้ทั้งวอร์ดมีกี่คนหารด้วยจำนวนพยาบาลที่ขึ้นเวร แล้วลองถามคนเฝ้าหรือถามเราเองว่า หากต้องดูแลจำนวนคนไข้เหล่านั้นพร้อมหน้าที่อื่นๆของพยาบาลมันสามารถทำได้จริงมั้ยและทำได้ดีมั้ย อ้อค่าตอบแทนมันก็เท่าๆนั้นแหละครับแม้ว่าจำนวนคนไข้จะเพิ่มขึ้นมาก ผมว่าคนที่ยังยอมทำงานอยู่เขามีจรรยาบรรณพอควรนะครับ
แสดงความคิดเห็น
คนไข้ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ นอนห้องรวม จำเป็นต้องมีคนเฝ้าไข้ตลอด 24 ชม.ไหม พยาบาลไม่ทำหน้าที่ให้หรือคะ
ครั้งแรกที่ admit นอนห้องคู่ (ญาติต้องจ่ายค่าห้องเพิ่มเอง) แต่พยาบาลประจำวอร์ดบอกว่า คนไข้ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีคนเฝ้าไข้ตลอด เพราะพยาบาลจะไม่รับความเสี่ยงใดๆ เลยติดต่อจ้างพยาบาลเฝ้าไข้ วันละ 2 เวร (เวรเช้าและเวรกลางคืน) อัตราเวรละ 600-800 บาทแล้วแต่เรตของแต่ละคน เคยถามว่าถ้าหาเวรไม่ได้จะทำยังไง น้องผู้ช่วยพยาบาลก็ตอบว่า “เดี๋ยวช่วยๆ กันดูได้ค่ะ” แต่สุดท้ายมีครั้งหนึ่งที่หาเวรเฝ้าไม่ได้ พยาบาลโทรมาบอกว่า “ถ้าญาติไม่มาเฝ้าเอง ก็ต้องย้ายลงไปที่ห้องรวม ที่จะไม่มีคนเฝ้าก็ได้” แต่ครั้งนั้นญาติไปเฝ้าได้เรื่องก็จบไป
ครั้งที่สองที่ admit ขอนอนห้องรวม เพราะเกรงปัญหาเรื่องคนเฝ้าไข้ แต่ก็ติดต่อพยาบาลเฝ้าไข้เหมือนเดิม ด้วยอัตราแบบเดิม มีบางครั้งที่หาเวรเฝ้าไม่ได้ ผู้ช่วยพยาบาลที่ขึ้นเวรวอร์ดนั้นบอกว่าเดี๋ยวจะช่วยดูให้ (แต่สุดท้ายก็มาคิดเงินค่าเฝ้าไข้ในวันนั้นด้วย ทั้งๆ ที่ตอนแรกบอกว่าจะช่วยมาเดินดูให้เพราะขึ้นเวรที่วอร์ตอยู่แล้ว)
สองครั้งที่ผ่านมา admit ครั้งละประมาณ 3 อาทิตย์ ถึงเกือบเดือน เฉพาะค่าเฝ้าไข้ที่ต้องจ่ายต่างหากตกครั้งละหลายหมื่น
ครั้งนี้ครั้งที่สามที่ admit อยู่ห้องรวมเหมือนเดิม โทรคุยกับผู้ช่วยพยาบาลเรื่องเฝ้าไข้ไว้ว่า ถ้าจะพอประหยัดค่าเฝ้าไข้ให้ได้บ้างก็จะขอบคุณมาก เพราะญาติๆ เริ่มรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว ผู้ช่วยก็บอกว่า จะพยายามตัดเวรเช้าไป เหลือแค่เวรกลางคืน จะได้ช่วยประหยัด แต่ล่าสุดเธอบอกว่า หมอสั่งให้ต้องมีคนเฝ้า 24 ชั่วโมง เนื่องจากต้องคอยพลิกตัว ฯลฯ
คำถามที่คาใจมาตลอดคือ
1. ครั้งแรกสุดพยาบาลบอกว่า ถ้าอยู่ห้องรวม ไม่ต้องมีคนเฝ้าก็ได้ เพราะจะมีคนเดินไปเดินมาตลอด ทั้งหมอ พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล แต่ทำไมพออยู่ห้องรวมแล้ว ถ้าญาติมาเฝ้าไม่ได้ ก็ยังต้องจ้างคนเฝ้าอีก (แล้วถ้าคนป่วยไม่มีญาติจะทำยังไง)
2. หน้าที่ของพยาบาลประจำวอร์ดคืออะไร พวกหน้าที่การดูดเสมหะ พลิกตัว ให้อาหารทางสายยางถือเป็นหน้าที่ของใคร ระหว่างพยาบาลกับผู้ช่วยพยาบาล และถ้าไม่จ้างเฝ้าไข้พิเศษ พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลที่ขึ้นเวรประจำวอร์ดนั้นจะไม่มาทำให้หรือ (ไปเยี่ยมทีไรก็เห็นพยาบาลนั่งอยู่แต่ในวอร์ด ยกเว้นเวลาถือยามาให้ กับเดินตามหมอ)
3. ครั้งนี้หมอบอกให้ยาแก้อักเสบ และนอนดูอาการ ถ้าไม่ทำอะไรนอกเหนือจากนี้ เราสามารถขอ discharge จากรพ. เพื่อกลับไปให้ที่ศูนย์ดูแลให้ยาเองจะได้ไหม พอถามเรื่องขอออกจากรพ.ทีไร พยาบาลก็จะตอบคำตอบเดิมทุกครั้งว่าต้องแล้วแต่คุณหมอ (เป็นแบบนี้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ admit) ทำไมญาติไม่มีสิทธิ์มีเสียงเรื่องนี้บ้าง
ลึกๆ แล้วก็พอเข้าใจว่าเป็นธุรกิจและเป็นรายได้เสริมของเหล่าผู้ช่วยพยาบาล แต่จรรยาบรรณตามวิชาชีพอยู่ที่ไหนล่ะคะ?