บาฮาดูร์ ชาห์ ที่ 2 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 17 ของจักรวรรดิโมกุล และเป็นพระองค์สุดท้ายด้วย เพราะหลังจากนั้น จักรวรรดิโมกุลก็ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช (ประเทศอินเดีย,บังคลาเทศ,ปากีสถาน และ พม่า ในปัจจุบัน)
บาฮาดูร์ ชาห์ ที่ 2 ทรงพระราชสมภพเมื่อ 24 ตุลาคม 1775 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอัคบาร์ ชาห์ที่ 2 กับ ลาล ไบ ทรงพระนามเดิมว่า ซาฟาร์
ยุคของ อัคบาร์ที่ 2 พระราชบิดา ทรงปกครองจักรวรรดิได้ค่อนข้างไม่ดีจนเสื่อมอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลานั้น บริษัทอินเดียตะวันออกได้สร้างข้อมูลเท็จๆให้พระองค์และสั่งลบพระนามของพระองค์ลงบนเหรียญเงินที่ลงพระนามพระองค์ไว้ในพื้นที่ที่พวกเขาปกครอง
เจ้าฟ้าชายซาฟาร์ไม่ได้ทรงเป็นทางเลือกที่ดีในการเป็นรัชทายาทเลยสำหรับพระราชบิดา เพราะพระองค์ทรงถูกพระนางมุมตัส เพคุม กดดันพระองค์ให้เลือกพระราชโอรสของพระนาง มิรซา ชาฮากีร์ เป็นรัชทายาท แต่เจ้าฟ้าชายมิรซาทรงถูกอังกฤษเนรเทศออกไป หลังพระองค์ลอบโจมตีบ้านพักของ แอเชอร์เบลด์ เซตัน ที่ป้อมแดง
หลังจากนั้นเอง เจ้าฟ้าชายซาฟาร์ก็ทรงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุล โดยยุคนั้นมีบริษัทอินเดียตะวันออก คุมการทหารและการเมืองในพระราชอาณาจักรในกลางยุคศตวรรษที่ 19 ในยุคนั้น อาณาจักรใต้การควบคุมของอังกฤษ ต้องเสียดินแดนให้กับอังกฤษ บางอาณาจักรได้รับเงินจากอังกฤษ บางอาณาจักรต้องจ่ายส่วยให้อังกฤษ
ด้านศาสนา ทรงนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุฟี และทรงเคยพระนิพนธ์บทกวีเกี่ยวกับศาสนาไว้ด้วย ถึงกระนั้น ทรงรู้สึกเลื่อมใสแนวคิดของศาสนาฮินดู และให้ความเท่าเทียมมาก เช่น ทรงมักออกไปร่วมเทศกาลหรือจัดงานต่างๆในช่วงวันสำคัญทางศาสนาด้วย
นอกจากนี้ทรงได้สร้าง ซาฟาร์ มาฮาล เพื่อเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ด้วย สถานที่นี้สร้างมาแต่ยุคพระราชบิดาของพระองค์ แต่สร้างเสร็จในยุคของพระองค์ สถานที่เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระองค์เมื่อพระองค์ต้องการแปรพระราชฐาน สถานที่แห่งนี้มีความเป็นยุคใหม่ที่ผสานความเป็นตะวันตกอยู่พอสมควรด้วย
ชาวอังกฤษให้การยอมรับพระองค์จนกระทั่ง วันที่ 12 พฤษภาคม ทรงประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบหลายปี โดยมีทหารซีปอยเข้าร่วมด้วย 4 วันต่อมา วันที่ 16 พฤษภาคม 1857 ทหารซีปอยได้สังหารชาวยุโรป 52 คนที่ถูกจับเป็นตัวประกัน รวมถึงผู้ที่ซ่อนตัวในเมืองและถูกจับได้ด้วย
การประหารครั้งนี้แม้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระองค์ แต่การประหารชาวยุโรปนั้นทำให้ยากที่พระองค์จะอธิบายให้อังกฤษได้ พระองค์ให้มีร์ซา โมกุล พระราชโอรสองค์โต เป็นผู้บัญชาการทหาร แต่เนื่องจากพระองค์มีประสบการณ์ที่อ่อนด้อย และไม่ค่อยได้รับความเคารพจากทหาร ทำให้การบัญชาการเป็นไปด้วยความยากลำบาก
20 กันยายน วิลเลี่ยม ฮอดสัน ได้บัญชาการทัพอังกฤษและคุมตัวพระองค์กับพระราชโอรสและพระราชนัดดาได้ที่สุสานจักรพรรดิหุมายุน วันต่อมา ฮอดสันสั่งปลงพระชนม์ พระราชโอรส 2 พระองค์ คือ มีร์ซา โมกุล และ มีร์ซา กีร์ สุลต่าน และ พระราชนัดดา มีร์ซา อาบู บาห์ ณ ป้อมคุรณี ดาร์วาซา ใกล้กับประตูเดลี
พระราชวงศ์ที่เป็นชายเกือบทั้งหมดถูกปลงพระชนม์โดยทหารอังกฤษ และเนรเทศพระราชวงศ์ที่เหลือ (ซึ่งเป็นพระราชวงศ์หญิง) ส่วนบาฮาดูร์ ชาห์ ถูกศาลอังกฤษตัดสินพระองค์ว่ามีความผิดฐานสนับสนุนกบฏและฆาตกรรมชาวอังกฤษ 49 คน พระองค์กับซีฟา มาฮาล ถูกเนรเทศไปยังย่างกุ้ง ประเทศพม่า พร้อมกับพระราชวงศ์บางพระองค์ ถือเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโมกุลที่ปกครองประเทศอินเดียนานนับ3 ศตวรรษ
ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในพระราชวังและป้อมแดงถูกทหารอังกฤษขโมยไป และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินพระราชวงศ์อังกฤษ
พระองค์ทรงสวรรคตในตีห้า วันที่ 7 พฤศจิกายน 1862 สิริพระชนมายุ 87 พรรษา ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า พระองค์ทรงถูกฝังใกล้กับบริเวณพระเจดีย์ชเวดากองและพระโกศของพระนางศุภยาลัต ต่อมาพระมเหสีและพระราชธิดา พระราชนัดดาก็ถูกฝังใกล้เคียงพระศพพระองค์
พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์
ประวัติบาฮาดูร ชาห์ ที่ 2 กษัตริย์โมกุลพระองค์สุดท้าย
บาฮาดูร์ ชาห์ ที่ 2 ทรงพระราชสมภพเมื่อ 24 ตุลาคม 1775 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอัคบาร์ ชาห์ที่ 2 กับ ลาล ไบ ทรงพระนามเดิมว่า ซาฟาร์
ยุคของ อัคบาร์ที่ 2 พระราชบิดา ทรงปกครองจักรวรรดิได้ค่อนข้างไม่ดีจนเสื่อมอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลานั้น บริษัทอินเดียตะวันออกได้สร้างข้อมูลเท็จๆให้พระองค์และสั่งลบพระนามของพระองค์ลงบนเหรียญเงินที่ลงพระนามพระองค์ไว้ในพื้นที่ที่พวกเขาปกครอง
เจ้าฟ้าชายซาฟาร์ไม่ได้ทรงเป็นทางเลือกที่ดีในการเป็นรัชทายาทเลยสำหรับพระราชบิดา เพราะพระองค์ทรงถูกพระนางมุมตัส เพคุม กดดันพระองค์ให้เลือกพระราชโอรสของพระนาง มิรซา ชาฮากีร์ เป็นรัชทายาท แต่เจ้าฟ้าชายมิรซาทรงถูกอังกฤษเนรเทศออกไป หลังพระองค์ลอบโจมตีบ้านพักของ แอเชอร์เบลด์ เซตัน ที่ป้อมแดง
หลังจากนั้นเอง เจ้าฟ้าชายซาฟาร์ก็ทรงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุล โดยยุคนั้นมีบริษัทอินเดียตะวันออก คุมการทหารและการเมืองในพระราชอาณาจักรในกลางยุคศตวรรษที่ 19 ในยุคนั้น อาณาจักรใต้การควบคุมของอังกฤษ ต้องเสียดินแดนให้กับอังกฤษ บางอาณาจักรได้รับเงินจากอังกฤษ บางอาณาจักรต้องจ่ายส่วยให้อังกฤษ
ด้านศาสนา ทรงนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุฟี และทรงเคยพระนิพนธ์บทกวีเกี่ยวกับศาสนาไว้ด้วย ถึงกระนั้น ทรงรู้สึกเลื่อมใสแนวคิดของศาสนาฮินดู และให้ความเท่าเทียมมาก เช่น ทรงมักออกไปร่วมเทศกาลหรือจัดงานต่างๆในช่วงวันสำคัญทางศาสนาด้วย
นอกจากนี้ทรงได้สร้าง ซาฟาร์ มาฮาล เพื่อเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ด้วย สถานที่นี้สร้างมาแต่ยุคพระราชบิดาของพระองค์ แต่สร้างเสร็จในยุคของพระองค์ สถานที่เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระองค์เมื่อพระองค์ต้องการแปรพระราชฐาน สถานที่แห่งนี้มีความเป็นยุคใหม่ที่ผสานความเป็นตะวันตกอยู่พอสมควรด้วย
ชาวอังกฤษให้การยอมรับพระองค์จนกระทั่ง วันที่ 12 พฤษภาคม ทรงประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบหลายปี โดยมีทหารซีปอยเข้าร่วมด้วย 4 วันต่อมา วันที่ 16 พฤษภาคม 1857 ทหารซีปอยได้สังหารชาวยุโรป 52 คนที่ถูกจับเป็นตัวประกัน รวมถึงผู้ที่ซ่อนตัวในเมืองและถูกจับได้ด้วย
การประหารครั้งนี้แม้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระองค์ แต่การประหารชาวยุโรปนั้นทำให้ยากที่พระองค์จะอธิบายให้อังกฤษได้ พระองค์ให้มีร์ซา โมกุล พระราชโอรสองค์โต เป็นผู้บัญชาการทหาร แต่เนื่องจากพระองค์มีประสบการณ์ที่อ่อนด้อย และไม่ค่อยได้รับความเคารพจากทหาร ทำให้การบัญชาการเป็นไปด้วยความยากลำบาก
20 กันยายน วิลเลี่ยม ฮอดสัน ได้บัญชาการทัพอังกฤษและคุมตัวพระองค์กับพระราชโอรสและพระราชนัดดาได้ที่สุสานจักรพรรดิหุมายุน วันต่อมา ฮอดสันสั่งปลงพระชนม์ พระราชโอรส 2 พระองค์ คือ มีร์ซา โมกุล และ มีร์ซา กีร์ สุลต่าน และ พระราชนัดดา มีร์ซา อาบู บาห์ ณ ป้อมคุรณี ดาร์วาซา ใกล้กับประตูเดลี
พระราชวงศ์ที่เป็นชายเกือบทั้งหมดถูกปลงพระชนม์โดยทหารอังกฤษ และเนรเทศพระราชวงศ์ที่เหลือ (ซึ่งเป็นพระราชวงศ์หญิง) ส่วนบาฮาดูร์ ชาห์ ถูกศาลอังกฤษตัดสินพระองค์ว่ามีความผิดฐานสนับสนุนกบฏและฆาตกรรมชาวอังกฤษ 49 คน พระองค์กับซีฟา มาฮาล ถูกเนรเทศไปยังย่างกุ้ง ประเทศพม่า พร้อมกับพระราชวงศ์บางพระองค์ ถือเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโมกุลที่ปกครองประเทศอินเดียนานนับ3 ศตวรรษ
ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในพระราชวังและป้อมแดงถูกทหารอังกฤษขโมยไป และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินพระราชวงศ์อังกฤษ
พระองค์ทรงสวรรคตในตีห้า วันที่ 7 พฤศจิกายน 1862 สิริพระชนมายุ 87 พรรษา ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า พระองค์ทรงถูกฝังใกล้กับบริเวณพระเจดีย์ชเวดากองและพระโกศของพระนางศุภยาลัต ต่อมาพระมเหสีและพระราชธิดา พระราชนัดดาก็ถูกฝังใกล้เคียงพระศพพระองค์
พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์