ทำไมป้ายบอกทางด่วนเป็นดาวคะนอง ทั้งที่ทางด่วนไม่ได้ผ่านดาวคะนอง ควรจะเป็นสุขสวัสดิ์ หรือพระราม ๒

หรือจอมทอง หรือราษฎร์บูรณะ ไม่ใช่หรอคะ เพราะดาวคะนอง อยู่ตรงถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรีนี่นา งงค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ทางลงดาวคะนองเป็นทางลงของทางด่วนขั้นที่ 1 หรือเป็นทางด่วนยุคแรกของประเทศเลยทีเดียว ซึ่งทางด่วนขั้นที่ 1 นี้ประกอบด้วย 3  เส้นทาง โดยนับจากจุดศูนย์กลางคือบริเวณท่าเรือ (คลองเตย)

สายท่าเรือ-ดินแดง เปิดให้บริการปี 2524
สายท่าเรือ-บางนา เปิดให้บริการปี 2526
สายท่าเรือ-ดาวคะนอง เปิดให้บริการ 5 ธ.ค.ปี 2530

ซึ่งในยุคนั้น ทางด่วนขึ้นที่ 1 การตั้งชื่อปลายทางยังใช้การตั้งชื่อจากชุมชนที่ตั้งอยู่ ซึ่งได้แก่ ชุมชนดินแดง ชุมชนบางนา และชุมชนดาวคะนอง ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องเป็นชุมชนใหญ่ มีคนรู้จักมาก พูดชื่อแล้วคนจะนึกออกว่าอยู่ส่วนไหน จึงนำเอาชื่อเหล่านั้นมาเป็นชื่อปลายทางที่ทำให้คนรู้จักง่าย สะดวก

ดาวคะนองในสมัยนั้นถือเป็นชุมชนที่ใหญ่ในย่านฝั่งธนบุรี เลยจากดาวคะนองมาก็แทบจะเป็นทุ่งแล้ว ชุมชนอื่นๆจึงยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอที่จะนำมาเป็นชื่อปลายทางสำคัญของทางด่วนได้

ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ ทางด่วนขั้นที่ 1 นี้เจตนาเดิมต้องการเป็นทางด่วนให้รถวิ่งผ่านเมืองจาก 3 ชุดที่เป็นประตูทางเข้าเมือง (ดินแดง บางนา ดาวคะนอง) มายังท่าเรือ หรือทะลุไปออกประตูอื่น จึงทำให้การออกแบบครั้งแรก ไม่มีทางลงต่างๆมากมายที่เราเห็นอยู่ เช่นพวก ทางลงเพชรบุรี ทางลงสุขุมวิท ทางลงสุขุวิท 62 ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมที่หลัง ไม่รู้ว่าคิดถูกหรือคิดผิดที่ทำแบบนี้

สิ่งที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งในเรื่องชื่อปลายทาง จะพบว่า ทางด่วนยุคต่อมา เช่น ทางด่วนขั้นที่สองจะเรียกชื่อปลายทางโดยใช้ชื่อที่หลากหลายขึ้น เช่น ปลายทางแจ้งวัฒนะ (ถนน) ปลายทางอโศก (ถนนและชุมชน ก่อนที่จะต่อไปถึงถนนศรีนครินทร์) ปลายทางบางโคล่ (ชุมชน) ปลายทางราชดำริ (ซึ่งไม่ได้สร้างเนื่องจากติดปัญหาการเวนคืน) หรือทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ที่ชื่อปลายทางก็เป็นชื่อทั้ง ถนน และชุมชน

ทั้งหมดนี้เกิดจากการประติดประต่อเรื่องราวและจากที่ได้เคยทำงานใกล้ชิดกับโครงการทางด่วนเหล่านี้มาบ้างนะครับ อย่าเชื่อร้อยเปอร์เซนต์นะครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  แผนที่เดินทาง กรุงเทพมหานคร ภูมิศาสตร์ การจราจร
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่