คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ครีมกันแดดเป็นตัวนึงที่ต้องทำการเทสต่างๆ มาก กว่าจะได้มาซึ่งข้อมูล SPF หรือ PA (ค่านี้ใช้ในค่ายญี่ปุ่น สังเกตว่าค่ายอเมริกา หรือยุโรป มักไม่ค่อยมี)
ซึ่งการตรวจสอบต่างๆ นี้ถ้าในค่ายอเมริกา หรือยุโรป จะเข้มงวดมาก เพราะเค้าจัดกลุ่มอยู่ในเวชภัณฑ์ หรือกลุ่มยา
แต่เมืองไทยจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง ดังนั้นการตรวจจะไม่เข้มข้นมาก
ถ้าถามว่า SPF หน้าขวดเชื่อถือได้มากแค่ไหน บอกเลยว่าแล้วแต่จรรยาบรรผู้จำหน่าย (ที่ขายในประเทศไทย)
เพราะเมื่อมีการขอเลขใบจดแจ้ง อย อย จะตรวจแค่ไม่มีสารต้องห้าม แต่จะไม่ได้ตรวจ SPF ว่าได้เท่าไหร่ เพราะค่าตรวจแพงมาก
หาก SPF ที่ขอจดแจ้งไม่เกิน 50 อย จะให้ตามนั้น ส่วนที่เกิน 50 ปัจจุบันนี้ อย จะให้ใช้ SPF50+ เท่านั้น (ดังนั้นหากมีครีมกันแดดที่มีฉลาก SPF เกิน 50 โดยระบุเป็นตัวเลข ถือว่าผิด)
เกริ่นมาซะยาว มาตอบคำถามดีกว่า
ที่เจ้าของกระทู้ถามว่าทำไมบางอัน SPF สูง ได้ปริมาณเยอะ แต่ราคาถูก
ความเห็นส่วนตัว ไม่เชื่อ SPF ที่ฉลากบอกค่ะ เคยใช้มาหลายยี่ห้อมากๆ เช่น Ni... ไปทะเล กลับมาดำเป็นเหนี่ยง
เทียบกับบางอันราคาพอกัน ดำน้อยกว่า อาจเป็นเพราะความเข้มข้นของตัวสะท้อน หรือดูดซึม UV มันน้อยเกินฉลาก
ส่วนเรื่อง physical กับ chemical เราว่าแต่ละยี่ห้อไม่ต่างกันมาก ถ้าต่างน่าจะเป็นเรื่องความเข้มข้นมากกว่าค่ะ
เรื่องกันแดดรายละเอียดมันเยอะค่ะ อยู่เมืองไทยตาดีได้ ตาร้ายเสียนะ เราว่า
ซึ่งการตรวจสอบต่างๆ นี้ถ้าในค่ายอเมริกา หรือยุโรป จะเข้มงวดมาก เพราะเค้าจัดกลุ่มอยู่ในเวชภัณฑ์ หรือกลุ่มยา
แต่เมืองไทยจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง ดังนั้นการตรวจจะไม่เข้มข้นมาก
ถ้าถามว่า SPF หน้าขวดเชื่อถือได้มากแค่ไหน บอกเลยว่าแล้วแต่จรรยาบรรผู้จำหน่าย (ที่ขายในประเทศไทย)
เพราะเมื่อมีการขอเลขใบจดแจ้ง อย อย จะตรวจแค่ไม่มีสารต้องห้าม แต่จะไม่ได้ตรวจ SPF ว่าได้เท่าไหร่ เพราะค่าตรวจแพงมาก
หาก SPF ที่ขอจดแจ้งไม่เกิน 50 อย จะให้ตามนั้น ส่วนที่เกิน 50 ปัจจุบันนี้ อย จะให้ใช้ SPF50+ เท่านั้น (ดังนั้นหากมีครีมกันแดดที่มีฉลาก SPF เกิน 50 โดยระบุเป็นตัวเลข ถือว่าผิด)
เกริ่นมาซะยาว มาตอบคำถามดีกว่า
ที่เจ้าของกระทู้ถามว่าทำไมบางอัน SPF สูง ได้ปริมาณเยอะ แต่ราคาถูก
ความเห็นส่วนตัว ไม่เชื่อ SPF ที่ฉลากบอกค่ะ เคยใช้มาหลายยี่ห้อมากๆ เช่น Ni... ไปทะเล กลับมาดำเป็นเหนี่ยง
เทียบกับบางอันราคาพอกัน ดำน้อยกว่า อาจเป็นเพราะความเข้มข้นของตัวสะท้อน หรือดูดซึม UV มันน้อยเกินฉลาก
ส่วนเรื่อง physical กับ chemical เราว่าแต่ละยี่ห้อไม่ต่างกันมาก ถ้าต่างน่าจะเป็นเรื่องความเข้มข้นมากกว่าค่ะ
เรื่องกันแดดรายละเอียดมันเยอะค่ะ อยู่เมืองไทยตาดีได้ ตาร้ายเสียนะ เราว่า
แสดงความคิดเห็น
ทำไมกันแดดแพงกับถูกๆต่างกันยังไง ในเมื่อป้องกันUV เหมือนกัน
ตัวอย่างโคตรแพง
La Mer SPF 30 40ml 3,500 THB (Physical+Chemical)
ตัวอย่างกลางๆ
Biore UV SPF50 30 ml. 259 บาท (Physical+Chemical)
กานิเย่ 269 บาท / 30ml. (Physical+Chemical)
NIviea Sun Protect Spf50 30ml/300บาท (Physical)
ตัวอย่างโคตรถูก
NIVEA EXTRA WHITENING SKIN THERAPY SERUM SPF 33 320 ml/275 บาท (Chemical)
Vaseline healthy white serum spf24 320 ml /250 บาท (Chemical)
สงสัยว่าทำไมกันแดดราคาถูกแบบ Chemical ล้วนๆถึงราคาถูกมาก ในเมื่อผลลัพธ์มันก็คือปกป้องUV เหมือนกัน
ไม่ต่างจากพวกกันแดด Physical หรือกันแดดแบบผสม Physical+Chemical
บางคนอาจแย้งว่า Chemical บางตัวไม่เสถียรเช่น Avobenzone เมื่อดูดซับUVนานๆจะเสื่อมประสิทธิภาพ
แต่ผลการทดลองถ้าเติมสารให้ความสเถียร stabilizer ไปก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ ส่วนแบรนด์ส่วนใหญ่ Nivea Vaseline ก็เติมสารให้ความสเถียรพวกนี้หมด
ดังนั้นจึงกันแดดถูกๆ Chemical จึงไม่น่าจะแตกต่างกับพวกกันแดดราคากลางๆหรือราคาแพงๆที่ใช้ Physical หรือผสมChemical นิครับ
เพราะผลลัพธ์คือปกป้อง UV เหมือนกัน
แต่ทำไมราคามันต่างกันขนาดนี้ ช่วยไขข้อสงสัยไห้ผมทีนะครับ