ชาวอัสสัม(อินเดีย)คนเดียวปลูกป่าไม้ 3,400 ไร่

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Jadab Payeng's incredible story






Molai Woods, credit: Flickr


ทุกครั้งที่คนเราเริ่มต้นลงมือทำอะไรสักอย่าง
ความอยุติธรรมมักจะเป็นประจักษ์พยาน
คนเราไม่จำเป็นที่ต้องลดคุณค่าโอกาสของงานลงไป
ด้วยการไปกล่าวโทษ/ให้ร้ายใคร ๆ
เรื่องราวเหล่านี้  Jadav Payeng
ได้ตัดสินใจว่าบ้านของเขาในรัฐอัสสัมเขตภาคอีสาน
ต้องการต้นไม้จำนวนมากเพื่อชีวิตสัตว์ป่า

เรื่องราวทั้งหมดนี้เริ่มต้นในปี 1979(2522)
เมื่อน้ำท่วมครั้งใหญ่ได้ทำลายโพรงดินทราย
ที่อยู่ของงู/สัตว์เลื้อยคลานเป็นจำนวนมาก
แถวบริเวณหาดทรายใกล้บ้านพักเขาตอนเขาวัย 16 ปี
หลังจากน้ำท่วมลดลงหมดแล้ว
Jadav Payeng พบว่าพื้นที่บนตลิ่งเต็มไปด้วย
สัตว์เลื้อยคลานที่นอนตายเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด
เรื่องนี้ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของเขาไปเลย

" งูตายเพราะอากาศร้อน  ไม่มีต้นไม้ให้ร่มเงา
ผมนั่งลงแล้วร้องไห้ให้กับการตายของพวกมัน
มันเป็นฆาตกรรมหมู่
ผมได้ไปที่กรมป่าไม้แล้ว  
ถามพวกเขาว่าจะปลูกต้นไม้ที่นั่นได้หรือไม่
พวกเขาตอบว่าไม่มีต้นไม้อะไรที่จะปลูกขึ้นได้เลยในบริเวณนั้น
แต่พวกเขาบอกว่าลองปลูกต้นไผ่ดูก็แล้วกัน
เรื่องนี้มันเจ็บปวดมาก  แต่ผมก็เริ่มลงมือทำ
ไม่มีชาวบ้านคนไหนมาช่วยผมเลย
และไม่มีชาวบ้านคนใดที่สนใจเรื่องนี้ด้วย "
Jadav Payeng ตอนนี้วัย 47 ปีเล่าให้ฟัง



หลังจากผ่านการเรียนรู้จนเกิดประสบการณ์ขึ้นมา
Jadav Payeng เริ่มฝังเมล็ดพืชตามสันทรายที่แห้งแล้ง
แล้วรดน้ำตอนเช้ากับตอนเย็นในช่วงกล้ายังอ่อน
รวมทั้งพรวนดินเมื่อต้นไม้เริ่มเติบโตขึ้นมา
ต้นไม้เหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นที่หลบภัยสำหรับสัตว์ป่า
มันต้องใช้เวลามากกว่า 30 ปีในการทำงานอย่างหนักของเขา
ก่อนที่เรื่องราวของเขาจะเป็นข่าว
ที่ได้รับความสนใจกันทั่วไปในระดับนานาชาติ
แต่มันใช้เวลาไม่นานเลยที่รัฐอัสสัม
ได้รับประโยชน์มากมายจากป่าไม้ที่ปลูกขึ้นมาใหม่
Jadav Payeng ได้ปลูกป่าด้วยตนเองมากกว่า 1,360 เอเคอร์(3,400 ไร่)

ด้วยความกระตือรือล้นเพราะสนใจในเรื่องสมดุลของระบบนิเวศ
Jadav Payeng จึงได้จับมดแดงมาแล้วปล่อย
ให้มดแดงจำนวนมากแพร่กระจายไปในระบบนิเวศ
เพื่อสร้างธรรมชาติที่กลมกลืนสมดุลซึ่งกันและกัน
(มดช่วยผสมเกสรดอกไม้/ป้องกันพืชจากแมลง/สัตว์มากัดกิน/อาหารนก)
ไม่นานนัก  สันทรายน้อยสองชายฝั่งคลอง
เริ่มมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด
และป่าที่ปลูกขึ้นมาตอนนี้ชื่อว่า ป่าโมไล Molai
เป็นสวรรค์ของนกหลายชนิด กวาง แรด เสือ ช้าง
รวมทั้งสัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จำนวนหลายชนิด

หลังจากป่าไม้แห่งนี้ได้รับความสนใจจากต่างชาติแล้ว
ทำให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของรัฐที่เคยละเลยไม่สนใจ
ต้องรีบเร่งมาสนใจป่าไม้แห่งใหม่นี้ในปี 2008(2551)
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกเขาจึงเริ่มยอมรับว่า  
ป่าไม้แห่งนี้เกิดขึ้นมาได้จากหยดเหงื่อ/น้ำตา
และแรงงานของ Jadav Payeng คนเดียวโดยลำพัง



“ พวกเราประหลาดใจมากกับ Jadav Payeng
การที่เขาได้ทำงานหนักนานกว่า 30 ปีในการสร้างป่าใหม่
ถ้าเขาอยู่ที่ประเทศอื่นป่านนี้เขาเป็นวีรบุรุษของชาติไปแล้ว ”
Gunin Saikia ผู้ช่วยนักอนุรักษ์ป่าไม้  กล่าว

แม้ว่าการทุ่มเทกำลังกายกำลังใจของ Jadav Payeng
จะไม่ได้รับผลตอบแทนกลับมาในรูปตัวเงินแต่อย่างใด
แต่สำหรับชาวบ้านและตัวเขาเองได้รับผลตอบแทนกลับมามากกว่า
ในการใช้ป่าชุมชน/การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและชีวิตสัตว์ป่า
รวมทั้ง Jadav  Payeng ได้สร้างแรงบันดาลใจ
ให้กับผู้คนอีกจำนวนมากมายว่า

เมื่อใดก็ตามที่พวกเขามีโอกาสลงมือทำงานแล้ว
พวกเขาต้องคิดเสมอว่าพลังของการสร้างสรรค์
จะก่อให้เกิดผลลัพธ์สะเทือนกับโลกใบนี้ได้

เรียบเรียงจาก
http://bit.ly/1B2znJZ
http://bit.ly/1EwW1P4
http://bit.ly/1I0F1Sl (april 1, 2012)




เรื่องราวคนไทยนักปลูกป่าไม้

http://bit.ly/1F61y1U   นายดาบตำรวจวิชัย สุริยุทธ  นักสู้ผู้สร้างป่า            

http://bit.ly/18JvT8y    ลุงสอน กล้าศึก  คนปลูกต้นไม้  แห่งบ้านโนนเสลา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่