ไปเขียนไว้ใน Dek-D เพราะเพิ่งลองโฉบไปที่นั่น แล้วก็พบว่ามีบางเรื่องที่คิดว่าควรต้องบอกกล่าว แต่คิดไปคิดมาก็เอามาแปะไว้ที่นี่ด้วยดีกว่า เพราะปกติก็อยู่ที่นี่ ไปแปะแต่ที่นั่นก็แลดูจะลำเอียงไปสักหน่อย เขียนเอาไว้ตามนี้ค่ะ
===================================
ขอเกริ่นก่อนว่า ปกติเราจะอ่านหรือช่วยเม้นต์นิยายอยู่ใน pantip แต่ทีนี้เห็นมีนักเขียนหลายคนไปที่นั่นเพื่อขอคำแนะนำ ก็เลยคิดว่าลองมาที่นี่ดู เผื่อช่วยๆ ดูอะไรโน่นนั่นนี่ให้บ้าง แล้วก็ได้พบจุดร่วมกันบางอย่างที่เชื่อว่าพวกคุณอาจไม่รู้ หรืออาจไม่มีใครบอก หรือบอกแล้วแต่ไม่รู้จะทำยังไงต่อไปหรือเปล่า เลยเป็นเหตุให้มาพลีชีพตั้งจั่วหัวข้อซะกร่างแบบนี้
พวกคุณหลายคนยังอายุไม่มาก อาจใฝ่ฝันถึงการเป็นนักเขียน หรือหวังว่าผลงานของตนจะได้รับการตอบรับ ตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ คุณจึงลองเขียนและมาลงขอคำแนะนำ ขอคำวิจารณ์ หรืออยากได้เม้นต์กำลังใจจากคนอ่าน แต่คุณทำสิ่งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้เสียโอกาสไปอย่างง่ายดาย
ขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่า พวกคุณไม่มีโอกาสเป็นครั้งที่สอง นะคะ
ข้อความนี้หมายความว่ายังไง แปลได้ว่า
1. คนอ่านส่วนมากต้องการอ่านเรื่องครั้งเดียว ไม่ได้มีความอดทนจะมาช่วยอ่านให้ซ้ำๆ เช่น เรื่อง A เขียนขึ้นมา...อะ อ่านให้ คนเขียนไม่พอใจ เรื่อง A รีไรท์ครั้งที่ 1...อะ อ่านให้ โอ๊ะ ยังไม่ถูกใจ เรื่อง A รีไรท์ครั้งที่ 2...อะ อ่านให้ ลองอ่านดูแล้วคิดว่าจะมีคนที่ใจดีขนาดนั้นมาช่วยอ่านเรื่องซ้ำๆ ให้ตลอดเวลาหรือเปล่า (ยกเว้นเป็นเพื่อนกัน หรือคนที่มีความเป็นนางฟ้าในตัวสูงจัด หรือไม่ก็คือ คนที่มีผลประโยชน์บางอย่างเกี่ยวข้องที่จะทำให้มีความอดทนในการอ่านงานหลายๆ รอบ)
อ้อ หากมีคำโต้แย้งว่า ก็การรีไรท์ก็เหมือนกับเขียนเรื่องใหม่แล้วไง ไม่น่าเบื่อหรอก การรีไรท์ เชื่อว่าคงไม่มีคนเขียนยกเครื่องใหม่หมดหรอกค่ะ (ถ้างั้นเขียนเรื่องใหม่ดีกว่า) ถ้าเปรียบเหมือนรถ Vios มันก็คือ Minor Change เฉยๆ สุดท้ายมันก็คือรถ Vios อยู่ดี ไม่มีทางเปลี่ยนเป็น Mazda 2 ไปได้ค่ะ พูดง่ายๆ ก็คือเปลี่ยนรายละเอียดปลีกย่อย แต่โครงใหญ่ไม่ถึงขนาดหายไป
2. "ไม่มีโอกาสเป็นครั้งที่สอง" ยังหมายถึง "ความประทับใจแรก" ด้วย
คนอ่านหวังที่จะอ่านเรื่องสนุก แต่คนอ่านเปิดแค่หน้าแรก ไม่มีทางรู้หรอกว่า เรื่องนี้สนุก เรื่องนี้น่าสนใจจนกว่าจะพลิกหน้าถัดไป แต่ถ้าเรื่องนี้ เปิดหน้าแรกก็พบว่า มีคำ "สะกดผิด" อันนี้คนอ่านเห็นและรู้แน่ๆ ไม่ต้องพลิกหน้าถัดไปหรอก พวกเขาพร้อมจะปิดเรื่องของคุณทันที ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อไปอีกแล้ว
หนังสือก็เหมือนคน เหมือนสินค้าที่ต้องมี Package ค่ะ ถ้าเป็นคน เวลาจะไปเที่ยวกับแฟนครั้งแรก เราก็ต้องเลือกเสื้อผ้าที่ดีที่สุด ใส่แล้วดูดี หรืออย่างน้อยถ้าไม่แต่งตัว แต่เราก็ต้องแสดงออกให้ดูดี ไม่ใช่แคะขี้มูกแล้วดีดใส่ หรือตดเสียงดังเปิดเผยถูกต้องไหมคะ ถ้าเป็นเรื่องออนไลน์ที่ยังไม่ได้ทำปกหรืออะไร สิ่งที่เป็น Package ของมันก็คือ ตัวหนังสือที่เรียงเป็นพรืดนั่นแหละค่ะ และถ้ามันสะกดผิดนั่น ความประทับใจแรกนั่นเริ่มติดลบแล้วนะ ถ้าเป็นกองบก.ที่มีต้นฉบับที่ต้องอ่านเป็นร้อยๆ เรื่อง อาจโดนโยนลงถังเอาได้โดยที่ไม่ทันได้อ่านด้วยซ้ำ
คำผิด แสดงถึงความไม่ใส่ใจ ผิดเล็กน้อย พอให้อภัย แต่ถ้าพบที่ผิดมันทุกหน้า หรือแค่เป็นสิบๆ หน้า อันนี้ไม่ใช่แล้ว เพราะมันแสดงถึงความไม่ใส่ใจ ความไม่ให้เกียรติให้ผลงานของตัวเองค่ะ
อ้อ นอกจากนี้ คำบางคำที่ไม่ใช่คำผิด แต่เป็นภาษาพูดที่ไม่ได้อยู่ในเครื่องหมายคำพูด อันนี้ก็ไม่ควรอีกเช่นกัน เป็นลักษณะอีกประเภทหนึ่งที่อาจทำให้คนอ่าน (ผู้ใหญ่) คิ้วกระตุกเอาได้ อันนี้ไม่ใช่เรื่องของความไม่ใส่ใจแล้ว แต่เป็นเรื่องของกาลเทศะค่ะ อาจจะแย่กว่าอย่างแรกอีกมั้ง เพราะแปลว่าคุณรู้ตัวแต่ยังเลือกใช้น่ะค่ะ ขอให้ระวังด้วย
ก่อนที่งานเขียนจะออกสู่สายตาคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นในเวบบอร์ด หรือส่งไปให้กองบรรณาธิการ ขอให้ระลึกข้อนี้ไว้ให้ดี ว่าทุกคนมีเวลาจำกัด คนอ่านไม่ได้เป็นอะไรกับคุณ เพราะงั้นเขาไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความอดทน พวกคุณมีแค่โอกาสเดียวเท่านั้นที่จะดึงความสนใจพวกเขาไว้ อย่าให้จุดผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ มาตัดเส้นทางโอกาสของคุณค่ะ
3. ตามที่บอกไปข้อ 1. แล้วว่าคนอ่านไม่มีความอดทนจะอ่านเรื่องเดิมซ้ำๆ หลายรอบ ดังนั้นในเมื่อมีโอกาสเดียวจงใช้มันให้ดีที่สุด เท่าที่เคยลองเข้าไปดูทำให้พบปัญหาซึ่งทำให้คนเขียนเสียโอกาสจะได้รับคำวิจารณ์ที่ควรจะเป็นอยู่ค่ะ
นั่นคือ ปัญหาเรื่องภาษา
ให้ลองจินตนาการดูนะคะ สมมติว่านิยายหรือเรื่องสั้นที่คุณกำลังเขียนอยู่ แต่เราให้โจทย์ว่า คุณต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด คุณจะเริ่มเห็นอุปสรรคแล้วว่าจะเขียนออกมายังไงดี เพราะไม่ใช่เขียนเรื่องไม่ได้ แต่ลูกเล่นไวยกรณ์ทางภาษา รวมทั้งคำศัพท์ที่คุณมีมันไม่พอ จะเขียนทีก็ต้องเปิดพจนานุกรมทีกว่าจะได้มาสักย่อหน้าหนึ่ง ตรงประโยคนี้ควรจะใช้เป็น Past Simple Tense หรือเป็น Present Continuous Tense (เดี๋ยวนี้เปลี่ยนชื่อแต่เรายังชินชื่อนี้) อะไรประมาณนั้น
บางคนอาจโต้เถียง ก็แหงล่ะ ไม่ใช่ภาษาแม่นี่ จะเล่นคำจะเล่นประโยคให้หลากหลายได้ยังไงกัน ขอบอกว่าภาษาแม่ก็เกิดปัญหานี้ได้ค่ะ
ยกตัวอย่าง เวลานางเอกร้องไห้จะบรรยายยังไง
มีเรื่องหนึ่งเขียนว่า นางเอกน้ำตาไหลพราก พอเปิดไปฉากที่ต้องร้องไห้ ก็จะ "น้ำตาไหลพราก" อยู่นั่นแหละ ไม่มีความหลากหลายของภาษา มี Adverb มากมายที่จะบรรยายนอกเหนือจากคำว่า "พราก" หรือไม่ต้องใช้ Adverb ก็มีคำบรรยายอย่างอื่นอีกมากมายในการพูดถึงนางเอกร้องไห้ เช่น หยาดน้ำรื้นที่ดวงตา หรือหยาดน้ำตารินอาบแก้ม หรือน้ำตาไหลราวทำนบทลาย ฯลฯ
สาเหตุมาจาก "คลังคำ" ที่คุณมีไม่พอค่ะ
อย่าคิดว่าเป็นภาษาแม่แล้วจะคิดว่ามันพอแล้วนะคะ คำที่ใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะได้อยู่ แต่ไม่ใช่สำหรับคนที่ตั้งเป้าจะเป็นนักเขียนค่ะ ดังนั้น เวลาที่คนวิจารณ์อ่านเรื่องของใคร แทนที่จะสามารถบอกให้ว่า ควรต้องปรับนั่นปรับนี่ในส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง กลับต้องบอกว่า ให้ไปอ่านหนังสือให้เยอะกว่านี้ ต้องไปเพิ่มคลังคำศัพท์มาก่อน เพราะไม่เห็นประโยชน์อะไรกับการกล่าวถึงเนื้อเรื่อง ในเมื่อคำศัพท์กับไวยกรณ์ของคุณยังไม่หลากหลายพอเลย และแน่นอนว่า คนวิจารณ์คนนั้นก็คงไม่กลับไปอ่านงานเดิมอีก ทำให้เรื่องนั้นเสียโอกาสไปเลย
(มีต่อค่ะ)
นัก (หัด) เขียนเข้ามาอ่านหน่อยนะคะ มีเรื่องจะบอกกล่าวค่ะ
===================================
ขอเกริ่นก่อนว่า ปกติเราจะอ่านหรือช่วยเม้นต์นิยายอยู่ใน pantip แต่ทีนี้เห็นมีนักเขียนหลายคนไปที่นั่นเพื่อขอคำแนะนำ ก็เลยคิดว่าลองมาที่นี่ดู เผื่อช่วยๆ ดูอะไรโน่นนั่นนี่ให้บ้าง แล้วก็ได้พบจุดร่วมกันบางอย่างที่เชื่อว่าพวกคุณอาจไม่รู้ หรืออาจไม่มีใครบอก หรือบอกแล้วแต่ไม่รู้จะทำยังไงต่อไปหรือเปล่า เลยเป็นเหตุให้มาพลีชีพตั้งจั่วหัวข้อซะกร่างแบบนี้
พวกคุณหลายคนยังอายุไม่มาก อาจใฝ่ฝันถึงการเป็นนักเขียน หรือหวังว่าผลงานของตนจะได้รับการตอบรับ ตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ คุณจึงลองเขียนและมาลงขอคำแนะนำ ขอคำวิจารณ์ หรืออยากได้เม้นต์กำลังใจจากคนอ่าน แต่คุณทำสิ่งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้เสียโอกาสไปอย่างง่ายดาย
ขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่า พวกคุณไม่มีโอกาสเป็นครั้งที่สอง นะคะ
ข้อความนี้หมายความว่ายังไง แปลได้ว่า
1. คนอ่านส่วนมากต้องการอ่านเรื่องครั้งเดียว ไม่ได้มีความอดทนจะมาช่วยอ่านให้ซ้ำๆ เช่น เรื่อง A เขียนขึ้นมา...อะ อ่านให้ คนเขียนไม่พอใจ เรื่อง A รีไรท์ครั้งที่ 1...อะ อ่านให้ โอ๊ะ ยังไม่ถูกใจ เรื่อง A รีไรท์ครั้งที่ 2...อะ อ่านให้ ลองอ่านดูแล้วคิดว่าจะมีคนที่ใจดีขนาดนั้นมาช่วยอ่านเรื่องซ้ำๆ ให้ตลอดเวลาหรือเปล่า (ยกเว้นเป็นเพื่อนกัน หรือคนที่มีความเป็นนางฟ้าในตัวสูงจัด หรือไม่ก็คือ คนที่มีผลประโยชน์บางอย่างเกี่ยวข้องที่จะทำให้มีความอดทนในการอ่านงานหลายๆ รอบ)
อ้อ หากมีคำโต้แย้งว่า ก็การรีไรท์ก็เหมือนกับเขียนเรื่องใหม่แล้วไง ไม่น่าเบื่อหรอก การรีไรท์ เชื่อว่าคงไม่มีคนเขียนยกเครื่องใหม่หมดหรอกค่ะ (ถ้างั้นเขียนเรื่องใหม่ดีกว่า) ถ้าเปรียบเหมือนรถ Vios มันก็คือ Minor Change เฉยๆ สุดท้ายมันก็คือรถ Vios อยู่ดี ไม่มีทางเปลี่ยนเป็น Mazda 2 ไปได้ค่ะ พูดง่ายๆ ก็คือเปลี่ยนรายละเอียดปลีกย่อย แต่โครงใหญ่ไม่ถึงขนาดหายไป
2. "ไม่มีโอกาสเป็นครั้งที่สอง" ยังหมายถึง "ความประทับใจแรก" ด้วย
คนอ่านหวังที่จะอ่านเรื่องสนุก แต่คนอ่านเปิดแค่หน้าแรก ไม่มีทางรู้หรอกว่า เรื่องนี้สนุก เรื่องนี้น่าสนใจจนกว่าจะพลิกหน้าถัดไป แต่ถ้าเรื่องนี้ เปิดหน้าแรกก็พบว่า มีคำ "สะกดผิด" อันนี้คนอ่านเห็นและรู้แน่ๆ ไม่ต้องพลิกหน้าถัดไปหรอก พวกเขาพร้อมจะปิดเรื่องของคุณทันที ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อไปอีกแล้ว
หนังสือก็เหมือนคน เหมือนสินค้าที่ต้องมี Package ค่ะ ถ้าเป็นคน เวลาจะไปเที่ยวกับแฟนครั้งแรก เราก็ต้องเลือกเสื้อผ้าที่ดีที่สุด ใส่แล้วดูดี หรืออย่างน้อยถ้าไม่แต่งตัว แต่เราก็ต้องแสดงออกให้ดูดี ไม่ใช่แคะขี้มูกแล้วดีดใส่ หรือตดเสียงดังเปิดเผยถูกต้องไหมคะ ถ้าเป็นเรื่องออนไลน์ที่ยังไม่ได้ทำปกหรืออะไร สิ่งที่เป็น Package ของมันก็คือ ตัวหนังสือที่เรียงเป็นพรืดนั่นแหละค่ะ และถ้ามันสะกดผิดนั่น ความประทับใจแรกนั่นเริ่มติดลบแล้วนะ ถ้าเป็นกองบก.ที่มีต้นฉบับที่ต้องอ่านเป็นร้อยๆ เรื่อง อาจโดนโยนลงถังเอาได้โดยที่ไม่ทันได้อ่านด้วยซ้ำ
คำผิด แสดงถึงความไม่ใส่ใจ ผิดเล็กน้อย พอให้อภัย แต่ถ้าพบที่ผิดมันทุกหน้า หรือแค่เป็นสิบๆ หน้า อันนี้ไม่ใช่แล้ว เพราะมันแสดงถึงความไม่ใส่ใจ ความไม่ให้เกียรติให้ผลงานของตัวเองค่ะ
อ้อ นอกจากนี้ คำบางคำที่ไม่ใช่คำผิด แต่เป็นภาษาพูดที่ไม่ได้อยู่ในเครื่องหมายคำพูด อันนี้ก็ไม่ควรอีกเช่นกัน เป็นลักษณะอีกประเภทหนึ่งที่อาจทำให้คนอ่าน (ผู้ใหญ่) คิ้วกระตุกเอาได้ อันนี้ไม่ใช่เรื่องของความไม่ใส่ใจแล้ว แต่เป็นเรื่องของกาลเทศะค่ะ อาจจะแย่กว่าอย่างแรกอีกมั้ง เพราะแปลว่าคุณรู้ตัวแต่ยังเลือกใช้น่ะค่ะ ขอให้ระวังด้วย
ก่อนที่งานเขียนจะออกสู่สายตาคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นในเวบบอร์ด หรือส่งไปให้กองบรรณาธิการ ขอให้ระลึกข้อนี้ไว้ให้ดี ว่าทุกคนมีเวลาจำกัด คนอ่านไม่ได้เป็นอะไรกับคุณ เพราะงั้นเขาไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความอดทน พวกคุณมีแค่โอกาสเดียวเท่านั้นที่จะดึงความสนใจพวกเขาไว้ อย่าให้จุดผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ มาตัดเส้นทางโอกาสของคุณค่ะ
3. ตามที่บอกไปข้อ 1. แล้วว่าคนอ่านไม่มีความอดทนจะอ่านเรื่องเดิมซ้ำๆ หลายรอบ ดังนั้นในเมื่อมีโอกาสเดียวจงใช้มันให้ดีที่สุด เท่าที่เคยลองเข้าไปดูทำให้พบปัญหาซึ่งทำให้คนเขียนเสียโอกาสจะได้รับคำวิจารณ์ที่ควรจะเป็นอยู่ค่ะ
นั่นคือ ปัญหาเรื่องภาษา
ให้ลองจินตนาการดูนะคะ สมมติว่านิยายหรือเรื่องสั้นที่คุณกำลังเขียนอยู่ แต่เราให้โจทย์ว่า คุณต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด คุณจะเริ่มเห็นอุปสรรคแล้วว่าจะเขียนออกมายังไงดี เพราะไม่ใช่เขียนเรื่องไม่ได้ แต่ลูกเล่นไวยกรณ์ทางภาษา รวมทั้งคำศัพท์ที่คุณมีมันไม่พอ จะเขียนทีก็ต้องเปิดพจนานุกรมทีกว่าจะได้มาสักย่อหน้าหนึ่ง ตรงประโยคนี้ควรจะใช้เป็น Past Simple Tense หรือเป็น Present Continuous Tense (เดี๋ยวนี้เปลี่ยนชื่อแต่เรายังชินชื่อนี้) อะไรประมาณนั้น
บางคนอาจโต้เถียง ก็แหงล่ะ ไม่ใช่ภาษาแม่นี่ จะเล่นคำจะเล่นประโยคให้หลากหลายได้ยังไงกัน ขอบอกว่าภาษาแม่ก็เกิดปัญหานี้ได้ค่ะ
ยกตัวอย่าง เวลานางเอกร้องไห้จะบรรยายยังไง
มีเรื่องหนึ่งเขียนว่า นางเอกน้ำตาไหลพราก พอเปิดไปฉากที่ต้องร้องไห้ ก็จะ "น้ำตาไหลพราก" อยู่นั่นแหละ ไม่มีความหลากหลายของภาษา มี Adverb มากมายที่จะบรรยายนอกเหนือจากคำว่า "พราก" หรือไม่ต้องใช้ Adverb ก็มีคำบรรยายอย่างอื่นอีกมากมายในการพูดถึงนางเอกร้องไห้ เช่น หยาดน้ำรื้นที่ดวงตา หรือหยาดน้ำตารินอาบแก้ม หรือน้ำตาไหลราวทำนบทลาย ฯลฯ
สาเหตุมาจาก "คลังคำ" ที่คุณมีไม่พอค่ะ
อย่าคิดว่าเป็นภาษาแม่แล้วจะคิดว่ามันพอแล้วนะคะ คำที่ใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะได้อยู่ แต่ไม่ใช่สำหรับคนที่ตั้งเป้าจะเป็นนักเขียนค่ะ ดังนั้น เวลาที่คนวิจารณ์อ่านเรื่องของใคร แทนที่จะสามารถบอกให้ว่า ควรต้องปรับนั่นปรับนี่ในส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง กลับต้องบอกว่า ให้ไปอ่านหนังสือให้เยอะกว่านี้ ต้องไปเพิ่มคลังคำศัพท์มาก่อน เพราะไม่เห็นประโยชน์อะไรกับการกล่าวถึงเนื้อเรื่อง ในเมื่อคำศัพท์กับไวยกรณ์ของคุณยังไม่หลากหลายพอเลย และแน่นอนว่า คนวิจารณ์คนนั้นก็คงไม่กลับไปอ่านงานเดิมอีก ทำให้เรื่องนั้นเสียโอกาสไปเลย
(มีต่อค่ะ)