ฐานทัพเรือสัตหีบ เริ่มก่อกำเนิดขึ้นมาด้วยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2457 ขณะที่เสด็จประพาสทางชลมารคเลียบฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทยโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี พระองค์ได้เสด็จฯ มาประทับในอ่าวสัตหีบเพื่อทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองทัพเรือด้วย ในการเสด็จคราวนั้นพระองค์ได้ทอดพระเนตรหมู่บ้านสัตหีบ เห็นว่า เป็นชัยภูมิอันเหมาะที่จะตั้งเป็นฐานทัพเรือ จึงได้มีพระบรมราชโองการด้วยพระโอษฐ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2457 แก่พระยาราชเสนาผู้แทนสมุหเทศภิบาล มณฑลจันทบุรี และพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี ขณะทรงประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งว่า มีพระราชประสงค์ที่ดินฝั่งตำบลสัตหีบและที่ใกล้เคียงตลอดทั้งเกาะใหญ่น้อย บรรดาที่มีอยู่ริมฝั่งน้ำอย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับใบเหยียบย่ำหรือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินบนฝั่ง หรือเกาะที่สงวนไว้แล้วนั้นเป็นอันขาด กันยายน 2465 พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงเธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ขณะที่ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ ได้มีหนังสือไปกราบถวายบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานที่ดินตำบลสัตหีบที่ทรงสงวนไว้เพื่อจัดเป็นฐานทัพเรือ โดยทรงเน้นให้เห็นคุณและโทษ ของการจัดสัตหีบเป็นฐานทัพเรือไว้ ดังต่อไปนี้
คุณ
1. อยู่เป็นสถานกลางของอ่าวสยาม
2. เป็นต้นทางของ Vital Point คือ แม่น้ำเจ้าพระยา
3. น้ำลึกพอที่จะเป็นอ่าวเรือใหญ่หรือที่ฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโดได้
4. มีเกาะต่าง ๆ เป็นที่กำบังสำหรับเล็ดลอดออกกระทำการยุทธวิธีด้วยเรือเล็กได้สะดวก
5.ที่บนบกไม่ได้ตกเป็นสิทพิ์ขาดของผู้หนึ่งผู้ใด โดยทรงพระหากรุณาธิคุณให้เทศภิบาลหวงห้ามไว้ เป็นพระคุณแก่ทหารเรืออย่างยิ่ง
6. ทางบกมีทางติดต่อกับทางรถไสายปราจีนได้สะดวกไม่ต้องกลัว Isolation
7. โดยข้อ 6. นั้นเองอาจติดต่อกับกำลังทางทหารบกและเป็นปีกหนึ่งของกองทัพบกฝ่ายตะวันตกได้สะดวก
8 . เป็นที่ฝึกหัดทางทะเลได้ตลอดทั้งสองมรสุม โดยเป็นที่กำบังมิดชิด
โทษ
1. ในเวลานี้ยังไม่มีที่ขังน้ำจืด
2. ในเวลานี้ยังกันดารด้วยเสบียงอาหาร
3. ในเวลานี้ยังห่างจากคมนาคมกับกรุงเทพฯ คือยังไม่มีรถไฟ
4. ถ้าจะให้เป็นที่มั่นจะเปลืองค่าป้อมและเครื่องป้องกัน ในข้อนี้ไม่ว่าเป็นฐานทัพแล้วต้องป้องกันทั้งสิ้น
5. ในขั้นต้นนี้จะจัดเป็นฐานทัพยั่งยืนไม่ได้ โดยไม่มีทุนพอที่สร้างในเร็ววัน
6. เวลานี้ความไข้ชุกชุมมาก เพราะเป็นที่รกร้างโดยไม่มีใครจะถากถาง เพราะจะยึดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้
ต่อมาเมื่อวันที่ กันยายน พ.ศ.2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเสด็จ ในกรมฯ ความว่า "การที่จะเอาสัตหีบเป็นฐานทัพเรือนั้นก็ตรงตามความปรารถณาของเราอยู่แล้ว เพราะที่เราได้สั่ง หวงห้ามที่ดินไว้ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือและไม่อยากให้ โจทย์กันวุ่น จึงได้กล่าวไว้ว่าจะต้องการที่ไว้ทำวังสำหรับเผื่อจะมีผู้ขอจับจอง ฝ่ายเทศภิบาลจะได้ตอบไม่อนุญาต โดยอ้างเหตุว่า พระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์ เมื่อบัดนี้ทหารเรือจะต้องการที่นั้นก็ยินดีอนุญาติให้ (สั่งไปทางมหาดไทยด้วย) ราม ร." นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทหารเรือก็ได้ใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ และได้พัฒนาให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ดังจะได้ลำดับความเป็นมาดังนี้...
* 23 ธันวาคม พ.ศ.2465 มีชื่อว่า "กองโยธาสัตหีบ"
* 4 กันยายน พ.ศ.2473 เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีฝึกสัตหีบ"
* 20 เมษายน พ.ศ.2480 เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีทหารเรือสัตหีบ"
* 10 มิถุนายน พ.ศ.2486 เปลี่ยนชื่อเป็น "มณฑลทหารเรือสัตหีบ"
* 12 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีทหารเรือสัตหีบ"
* 19 กันยายน พ.ศ.2517 เปลี่ยนชื่อเป็น "ฐานทัพเรือ
ประวัติ ฐานทัพเรือ สัตหีบ
คุณ
1. อยู่เป็นสถานกลางของอ่าวสยาม
2. เป็นต้นทางของ Vital Point คือ แม่น้ำเจ้าพระยา
3. น้ำลึกพอที่จะเป็นอ่าวเรือใหญ่หรือที่ฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโดได้
4. มีเกาะต่าง ๆ เป็นที่กำบังสำหรับเล็ดลอดออกกระทำการยุทธวิธีด้วยเรือเล็กได้สะดวก
5.ที่บนบกไม่ได้ตกเป็นสิทพิ์ขาดของผู้หนึ่งผู้ใด โดยทรงพระหากรุณาธิคุณให้เทศภิบาลหวงห้ามไว้ เป็นพระคุณแก่ทหารเรืออย่างยิ่ง
6. ทางบกมีทางติดต่อกับทางรถไสายปราจีนได้สะดวกไม่ต้องกลัว Isolation
7. โดยข้อ 6. นั้นเองอาจติดต่อกับกำลังทางทหารบกและเป็นปีกหนึ่งของกองทัพบกฝ่ายตะวันตกได้สะดวก
8 . เป็นที่ฝึกหัดทางทะเลได้ตลอดทั้งสองมรสุม โดยเป็นที่กำบังมิดชิด
โทษ
1. ในเวลานี้ยังไม่มีที่ขังน้ำจืด
2. ในเวลานี้ยังกันดารด้วยเสบียงอาหาร
3. ในเวลานี้ยังห่างจากคมนาคมกับกรุงเทพฯ คือยังไม่มีรถไฟ
4. ถ้าจะให้เป็นที่มั่นจะเปลืองค่าป้อมและเครื่องป้องกัน ในข้อนี้ไม่ว่าเป็นฐานทัพแล้วต้องป้องกันทั้งสิ้น
5. ในขั้นต้นนี้จะจัดเป็นฐานทัพยั่งยืนไม่ได้ โดยไม่มีทุนพอที่สร้างในเร็ววัน
6. เวลานี้ความไข้ชุกชุมมาก เพราะเป็นที่รกร้างโดยไม่มีใครจะถากถาง เพราะจะยึดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้
ต่อมาเมื่อวันที่ กันยายน พ.ศ.2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเสด็จ ในกรมฯ ความว่า "การที่จะเอาสัตหีบเป็นฐานทัพเรือนั้นก็ตรงตามความปรารถณาของเราอยู่แล้ว เพราะที่เราได้สั่ง หวงห้ามที่ดินไว้ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือและไม่อยากให้ โจทย์กันวุ่น จึงได้กล่าวไว้ว่าจะต้องการที่ไว้ทำวังสำหรับเผื่อจะมีผู้ขอจับจอง ฝ่ายเทศภิบาลจะได้ตอบไม่อนุญาต โดยอ้างเหตุว่า พระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์ เมื่อบัดนี้ทหารเรือจะต้องการที่นั้นก็ยินดีอนุญาติให้ (สั่งไปทางมหาดไทยด้วย) ราม ร." นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทหารเรือก็ได้ใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ และได้พัฒนาให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ดังจะได้ลำดับความเป็นมาดังนี้...
* 23 ธันวาคม พ.ศ.2465 มีชื่อว่า "กองโยธาสัตหีบ"
* 4 กันยายน พ.ศ.2473 เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีฝึกสัตหีบ"
* 20 เมษายน พ.ศ.2480 เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีทหารเรือสัตหีบ"
* 10 มิถุนายน พ.ศ.2486 เปลี่ยนชื่อเป็น "มณฑลทหารเรือสัตหีบ"
* 12 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีทหารเรือสัตหีบ"
* 19 กันยายน พ.ศ.2517 เปลี่ยนชื่อเป็น "ฐานทัพเรือ