สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
จากประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะเป็นอ.มหาวิทยาลัยและทำงานมากกว่า 4 ปี มีเรื่องราวแชร์ให้ฟังดังนี้นะครับ (ที่ทำงานเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านการวิจัยมาก และมีการแข่งขันสูงครับ)
1. ความมั่นคงในการทำงาน โดยนิยามหลัก ๆ คือ โอกาสที่จะตกงานจากงานที่ทำอยู่มากน้อยเพียงใด, ถ้าหากว่ามีโอกาสที่จะตกงานหรือจ้างออกมากก็หมายความว่า ความมั่นคงในการทำงานต่ำ, ในปัจจุบันนั้นมหาวิทยาลัยจะมีการจ้างงานแบบพนักงานมหาวิทยาลัย มีสัญญาจ้างโดยมีกำหนดการจ้างงานเป็นรอบ ๆ เช่น 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยของผลการปฏิบัติงานครับ ซึ่งกฎเกณฑ์ต่าง ก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยและ คณะหรือหลักสูตรที่สังกัด ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัวแล้ว อ.มหาวิทยาลัยในสมัยนี้ก็ไม่ค่อยมั่นคงเหมือนสมัยก่อน (จากสัญญาจ้าง และภาระงาน) แต่ข้อดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยคือการมีอิสระในการทำงาน (ซึ่งปัจจุบันเริ่มน้อยลงเนื่องจากภาระงานด้านเอกสารและประกันคุณภาพ)
2. ความมั่นคงในการทำงาน โดยหลัก ๆ แล้ว อยู่ด้วยกันในหลายปัจจัยนะครับ ตั้งแต่ ความรู้ความสามารถ, ทักษะทางด้านการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ, เครือข่ายเชิงวิชาการ, การเมืองในที่ทำงานและพวกพ้อง, ความมั่นคงของหลักสูตรที่เปิดสอน ฯลฯ โดยจะอธิบายให้ฟังคร่าว ๆ แบบนี้นะครับ
เนื่องจากปัจจุบันนี้ จะต้องมีการทำรายงานประกันคุณภาพภายใน ภายนอก รวมถึง Edpex ( โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ) ซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วย KPI หลาย ๆ อย่างที่ทำให้มหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตร สาขาวิชาต้องดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอธิบายดังนี้นะครับ
ภาระงานด้านการสอน
โดยปกติมหาวิทยาลัยจะมีภาระงานสอนขั้นต่ำว่าจะต้องมีประมาณกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า หลักสูตรที่เปิดนั้นเปิดรายวิชาแบบไหน นักศึกษาเยอะหรือไม่ และได้รับรายวิชาที่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญหรือเปล่า ประเด็นสำคัญคือ จะต้องมีภาระสอนให้ครบตามจำนวนภาระงานขั้นต่ำ, สอนตรงกับความเชี่ยวชาญ (เพื่อใช้ขอความก้าวหน้าทางวิชาการในอนาคต), และผลประเมินในการเรียนการสอนจากนักศึกษาควรจะมากกว่า 3.51 ขึ้นไป (ซึ่งหมายความว่าการจัดการชั้นเรียน และความสัมพันธ์ของเรากับนักศึกษาควรจะต้องอยู่ในเกณฑ์ดี) จากภาระงานนี้ จะเป็นภาระงานหลัก ๆ ที่จะสะท้อนถึงความมั่นคงของงานค่อนข้างมาก ในบางหลักสูตรจะมีการแย่งภาระงานสอนกันทำให้อ.บางคนไม่มีภาระการสอน หรือสอนในรายวิชาที่ยาก ๆ ทำให้ผลการสอนค่อนข้างต่ำหรือมีปัญหา หรือบางครั้งหลักสูตรไม่มีนักศึกษาเข้ามาเรียน หรือเรียนน้อย หรือหลักสูตรไม่ผ่าน TQF ทำให้จะต้องปิดหลักสูตร เป็นต้น
ภาระงานด้านการวิจัย
ปัจจุบันภาระงานวิจัยนี่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาอย่างมาก ซึ่งเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินก็หลายอย่าง เช่น จำนวนเงินทุนที่ขอจากแหล่งภายนอก (แสดงว่าเราจะต้องเขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอแหล่งทุน ซึ่งค่อนข้างจะมีปัญหากับอาจารย์ใหม่หรือ บางสาขา) ผลงานวิจัยที่นำเสนอในระดับประเทศหรือนานาชาติ หรือการตีพิมพ์วารสารทาวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ซึ่งภาระงานวิจัยก็เป็นภาระงานหนึ่งที่ทำให้ อ.ค่อนข้างลำบาก เนื่องจาก เป็นข้อกำหนดหนึ่งของ สกอ. ว่าอ. ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จะต้องมีผลงานวิจัย ในระยะ 3-5 ปี ครับ
ภาระงานด้านอื่นสารพัด
จริง ๆ แล้วพอทำงานจะมีงานนั่นนี่นู่น กรรมการล้านแปดให้ประสาทเสียอยู่มากมาย เช่นกรรมการประกันคุณภาพ, กิจกรรมนักศึกษา, สวัสดิการ, งานเลขา กรรมการชุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาระงานที่ อ.ใหม่ ถูกมอบหมายรับผิดชอบ และเสียเวลาอย่างมากในการดำเนินการ (แต่ไม่ใช่ KPI หลัก ๆ ในการประเมินผลงาน)
จากภาระงานด้านต่าง ๆ ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงให้กับการทำงานได้ครับ เพราะถ้าเรามีความสามารถ สอนตรงกับความเชี่ยวชาญ มีภาระงานได้ตามความคาดหวังของหน่วยงานก็สามารถอยู่ได้ และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพพอสมควร ปัจจุบันเนื่องจากนโยบายของมหาวิทยาลัยค่อนข้างจะแตกต่างกัน เช่น ม.แห่งหนึ่งมีการบังคับอ.ใหม่ ให้ทำตำแหน่งวิชาการภายในระยะเวลา 4 ปี ถ้าไม่สามารถขอได้จะไม่มีการต่อสัญญาและ ไม่สามารถสมัครงานเข้าในม.นั้นได้อีก ซึ่งในระยะเวลา 4 ปีนั้นจะต้องมีการประเมินทุก 6 เดือน มีการเขียนรายงานความก้าวหน้าและแผนทุก ๆ 3 เดือน และมีการประเมินเพื่อพิจารณาผลงานทุก ๆ ปี ถ้าหากว่าไม่สามารถหาทุนวิจัยภายนอก หรือตีพิมพ์ได้ ตามแผน (ที่ตกลงไว้) มหาวิทยาลัยก็สามารถเลิกจ้าง หรือยกเลิกสัญญาในปีไหนก็ได้และไม่สามารถสมัครงานกับมหาวิทยาลัยได้อีก โดยไม่มีเงินชดเชย
ได้ข้อมูลในลักษณะนี้แล้ว คิดว่าอาชีพนี้มั่นคงไหมครับ?
1. ความมั่นคงในการทำงาน โดยนิยามหลัก ๆ คือ โอกาสที่จะตกงานจากงานที่ทำอยู่มากน้อยเพียงใด, ถ้าหากว่ามีโอกาสที่จะตกงานหรือจ้างออกมากก็หมายความว่า ความมั่นคงในการทำงานต่ำ, ในปัจจุบันนั้นมหาวิทยาลัยจะมีการจ้างงานแบบพนักงานมหาวิทยาลัย มีสัญญาจ้างโดยมีกำหนดการจ้างงานเป็นรอบ ๆ เช่น 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยของผลการปฏิบัติงานครับ ซึ่งกฎเกณฑ์ต่าง ก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยและ คณะหรือหลักสูตรที่สังกัด ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัวแล้ว อ.มหาวิทยาลัยในสมัยนี้ก็ไม่ค่อยมั่นคงเหมือนสมัยก่อน (จากสัญญาจ้าง และภาระงาน) แต่ข้อดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยคือการมีอิสระในการทำงาน (ซึ่งปัจจุบันเริ่มน้อยลงเนื่องจากภาระงานด้านเอกสารและประกันคุณภาพ)
2. ความมั่นคงในการทำงาน โดยหลัก ๆ แล้ว อยู่ด้วยกันในหลายปัจจัยนะครับ ตั้งแต่ ความรู้ความสามารถ, ทักษะทางด้านการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ, เครือข่ายเชิงวิชาการ, การเมืองในที่ทำงานและพวกพ้อง, ความมั่นคงของหลักสูตรที่เปิดสอน ฯลฯ โดยจะอธิบายให้ฟังคร่าว ๆ แบบนี้นะครับ
เนื่องจากปัจจุบันนี้ จะต้องมีการทำรายงานประกันคุณภาพภายใน ภายนอก รวมถึง Edpex ( โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ) ซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วย KPI หลาย ๆ อย่างที่ทำให้มหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตร สาขาวิชาต้องดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอธิบายดังนี้นะครับ
ภาระงานด้านการสอน
โดยปกติมหาวิทยาลัยจะมีภาระงานสอนขั้นต่ำว่าจะต้องมีประมาณกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า หลักสูตรที่เปิดนั้นเปิดรายวิชาแบบไหน นักศึกษาเยอะหรือไม่ และได้รับรายวิชาที่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญหรือเปล่า ประเด็นสำคัญคือ จะต้องมีภาระสอนให้ครบตามจำนวนภาระงานขั้นต่ำ, สอนตรงกับความเชี่ยวชาญ (เพื่อใช้ขอความก้าวหน้าทางวิชาการในอนาคต), และผลประเมินในการเรียนการสอนจากนักศึกษาควรจะมากกว่า 3.51 ขึ้นไป (ซึ่งหมายความว่าการจัดการชั้นเรียน และความสัมพันธ์ของเรากับนักศึกษาควรจะต้องอยู่ในเกณฑ์ดี) จากภาระงานนี้ จะเป็นภาระงานหลัก ๆ ที่จะสะท้อนถึงความมั่นคงของงานค่อนข้างมาก ในบางหลักสูตรจะมีการแย่งภาระงานสอนกันทำให้อ.บางคนไม่มีภาระการสอน หรือสอนในรายวิชาที่ยาก ๆ ทำให้ผลการสอนค่อนข้างต่ำหรือมีปัญหา หรือบางครั้งหลักสูตรไม่มีนักศึกษาเข้ามาเรียน หรือเรียนน้อย หรือหลักสูตรไม่ผ่าน TQF ทำให้จะต้องปิดหลักสูตร เป็นต้น
ภาระงานด้านการวิจัย
ปัจจุบันภาระงานวิจัยนี่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาอย่างมาก ซึ่งเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินก็หลายอย่าง เช่น จำนวนเงินทุนที่ขอจากแหล่งภายนอก (แสดงว่าเราจะต้องเขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอแหล่งทุน ซึ่งค่อนข้างจะมีปัญหากับอาจารย์ใหม่หรือ บางสาขา) ผลงานวิจัยที่นำเสนอในระดับประเทศหรือนานาชาติ หรือการตีพิมพ์วารสารทาวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ซึ่งภาระงานวิจัยก็เป็นภาระงานหนึ่งที่ทำให้ อ.ค่อนข้างลำบาก เนื่องจาก เป็นข้อกำหนดหนึ่งของ สกอ. ว่าอ. ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จะต้องมีผลงานวิจัย ในระยะ 3-5 ปี ครับ
ภาระงานด้านอื่นสารพัด
จริง ๆ แล้วพอทำงานจะมีงานนั่นนี่นู่น กรรมการล้านแปดให้ประสาทเสียอยู่มากมาย เช่นกรรมการประกันคุณภาพ, กิจกรรมนักศึกษา, สวัสดิการ, งานเลขา กรรมการชุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาระงานที่ อ.ใหม่ ถูกมอบหมายรับผิดชอบ และเสียเวลาอย่างมากในการดำเนินการ (แต่ไม่ใช่ KPI หลัก ๆ ในการประเมินผลงาน)
จากภาระงานด้านต่าง ๆ ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงให้กับการทำงานได้ครับ เพราะถ้าเรามีความสามารถ สอนตรงกับความเชี่ยวชาญ มีภาระงานได้ตามความคาดหวังของหน่วยงานก็สามารถอยู่ได้ และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพพอสมควร ปัจจุบันเนื่องจากนโยบายของมหาวิทยาลัยค่อนข้างจะแตกต่างกัน เช่น ม.แห่งหนึ่งมีการบังคับอ.ใหม่ ให้ทำตำแหน่งวิชาการภายในระยะเวลา 4 ปี ถ้าไม่สามารถขอได้จะไม่มีการต่อสัญญาและ ไม่สามารถสมัครงานเข้าในม.นั้นได้อีก ซึ่งในระยะเวลา 4 ปีนั้นจะต้องมีการประเมินทุก 6 เดือน มีการเขียนรายงานความก้าวหน้าและแผนทุก ๆ 3 เดือน และมีการประเมินเพื่อพิจารณาผลงานทุก ๆ ปี ถ้าหากว่าไม่สามารถหาทุนวิจัยภายนอก หรือตีพิมพ์ได้ ตามแผน (ที่ตกลงไว้) มหาวิทยาลัยก็สามารถเลิกจ้าง หรือยกเลิกสัญญาในปีไหนก็ได้และไม่สามารถสมัครงานกับมหาวิทยาลัยได้อีก โดยไม่มีเงินชดเชย
ได้ข้อมูลในลักษณะนี้แล้ว คิดว่าอาชีพนี้มั่นคงไหมครับ?
ความคิดเห็นที่ 24
ต้อง Login เข้ามาเพราะกระทู้นี้เลย
เอาแบบที่เป็นอยู่นะคะ
1.ถ้าคุณจบปริญญาโท ต้องไปเรียนต่อ เพราะ สกอ.ก็ตั้งกฏบีบมาเรื่อยๆ
2. ถ้าคุณเป็นดร.แล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ ตำแหน่งทางวิชาการ เพราะสุดท้ายก็จะโดนระบบบีบให้ต้องทำ
3. เงินเดือน หลายๆมหาวิทยาลัยจะรับเข้าเป็นอัตราจ้าง ป.โท ก็หมื่นปลายๆ ป.เอกก็สองหมื่นต้นๆ
แล้วก็ให้ไปสอบพนักงานเอาเองถึงปรับเงินเดือนใหม่ ซึ่งก็ต่อคิวไปเรื่อยๆ ตามงบประมาณที่จะได้มา (แล้วก็รอตกเบิกอีกต่อไป)
4. ที่ทำงานอยู่ ต่อสัญญาระยะที่ 1 ต้องมีชั่วโมงสอน มีเอกสารประกอบการสอน และภาระงานอื่นๆ
ต่อระยะที่ 2 ก็คล้ายๆ ระยะที่ 1 แต่เพิ่มวิจัย
ต่อระยะที่ 3 ถ้าไม่อยุ่ระหว่างการขอตำแหน่งวิชาการ หรือได้ตำแหน่งแล้วก็ ไม่ต่อสัญญา
ซึ่งทั้ง 3 ระยะต่อให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ไม่ต่อสัญญาเช่นกัน
5. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นภาคการศึกษา 1ปี ประเมิน 2 ครั้ง ถ้าอยู่ในระดับ 1 เลิกจ้าง (มี 5 ระดับ)
ถ้าระดับ 2ติดกัน 2 เทอม เลิกจ้าง
ยังดีที่ทำงานให้อิสระในการทำงานสูงไม่ต้องมาScanนิ้ว รูดบัตร วัดที่ตัวผลงานจริงๆ
แต่ถ้าไม่มีผลงานก็อยู่ยาก
แต่ก่อนอาชีพอาจารย์คนนอกมองว่าสบาย เงินเยอะ (ตรงไหน ?? ปี49-50เดิมทีป.โทเริ่มที่ 9000บาท)
ตอนนี้ไม่มีระบบราชการเหมือนแต่ก่อน และการปรับเงินเดือนจาก ป.ตรีเริ่มต้นที่ 15000 บาท ก็ส่งผล
ให้ต้องเกลี่ยกำลังคน (ออกไป) เพราะเงินเดือนปรับทั้งระบบ (แต่ก็รอคิวต่อๆๆๆๆๆๆไป)
ประเด็นคือถ้า
1. ฐานะทางบ้านไม่ได้เดือดร้อน
2. มีความต้องการอยากสร้างเด็ก และอดทนกับพฤติกรรมเด็กสมัยนี้ได้
(มีเด็กส่วนมากที่คิดว่า อาจารย์คือ คนที่พ่อแม่เค้าจ่ายเงินค่าเทอมมาจ้างให้สอน
ดังนั้นอย่าคาดหวังว่าเด็กจะเคารพคุณทุกคน เพราะเด็กมาจากหลากหลาย )
3. สามารถทำงานได้แทบจะ 24 ชม. เพราะคุณอาจจะต้องเตรียมสอน
ต้องให้คำปรึกษา ต้องทำวิจัย ต้องทำตำรา ขอผลงาน ทั้งนี้
ไม่เหมือนงานที่เลิกงานกลับบ้านแล้วจบ
บ้างครั้งคุณอาจจะต้องเข้าไปแก้ปัญหา "ชีวิต" ให้กับเด็กในรั้วมหาวิทยาลัย
ปัญหาเด็กในวัยนี้ บางทีมันก็ . . .
แต่ทั้งนี้ ถามว่า ถ้ามันแย่ทำไมถึงยังทำอยู่
ตอบได้ว่า การที่เห็นลูกศิษย์ เรียนจบ ไปทีละขั้นๆ จนจบปริญญา
การที่สร้างคน ดึงเด็กขึ้นมา คือความสุข
และงานที่หนัก หากมองเป็นโอกาส มันคือประสบการณ์ค่ะ
พูดเหมือนโลกสวย
แต่คนที่เคยเป็นอาจารย์แล้ว ไม่ได้เดือนร้อนเรื่องรายได้ (ซึ่งเป็นประเด็น)
ไม่ได้มองว่า ทำงานไม่คุ้มกับเงินที่จะได้
และอดทนที่จะสะสมไปเรื่อยๆ แล้ว เราว่าก็เป็นอาชีพที่ดีและมีความสุขได้นะคะ
ปล. เริ่มเหนื่อย แต่ตอนท้ายถ้าคุณเก่ง และมีวุฒิ งานสอนพิเศษจะวิ่งมาหาเองค่ะ
อย่างน้อยก็ชั่วโมงละ 250 (ในเวลา) นอกเวลาก็ 500++
ไหนจะงานวิทยากรอีก
เป็นอาชีพที่ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองในการจะโตหรือจะอยู่กับที่
เอาแบบที่เป็นอยู่นะคะ
1.ถ้าคุณจบปริญญาโท ต้องไปเรียนต่อ เพราะ สกอ.ก็ตั้งกฏบีบมาเรื่อยๆ
2. ถ้าคุณเป็นดร.แล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ ตำแหน่งทางวิชาการ เพราะสุดท้ายก็จะโดนระบบบีบให้ต้องทำ
3. เงินเดือน หลายๆมหาวิทยาลัยจะรับเข้าเป็นอัตราจ้าง ป.โท ก็หมื่นปลายๆ ป.เอกก็สองหมื่นต้นๆ
แล้วก็ให้ไปสอบพนักงานเอาเองถึงปรับเงินเดือนใหม่ ซึ่งก็ต่อคิวไปเรื่อยๆ ตามงบประมาณที่จะได้มา (แล้วก็รอตกเบิกอีกต่อไป)
4. ที่ทำงานอยู่ ต่อสัญญาระยะที่ 1 ต้องมีชั่วโมงสอน มีเอกสารประกอบการสอน และภาระงานอื่นๆ
ต่อระยะที่ 2 ก็คล้ายๆ ระยะที่ 1 แต่เพิ่มวิจัย
ต่อระยะที่ 3 ถ้าไม่อยุ่ระหว่างการขอตำแหน่งวิชาการ หรือได้ตำแหน่งแล้วก็ ไม่ต่อสัญญา
ซึ่งทั้ง 3 ระยะต่อให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ไม่ต่อสัญญาเช่นกัน
5. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นภาคการศึกษา 1ปี ประเมิน 2 ครั้ง ถ้าอยู่ในระดับ 1 เลิกจ้าง (มี 5 ระดับ)
ถ้าระดับ 2ติดกัน 2 เทอม เลิกจ้าง
ยังดีที่ทำงานให้อิสระในการทำงานสูงไม่ต้องมาScanนิ้ว รูดบัตร วัดที่ตัวผลงานจริงๆ
แต่ถ้าไม่มีผลงานก็อยู่ยาก
แต่ก่อนอาชีพอาจารย์คนนอกมองว่าสบาย เงินเยอะ (ตรงไหน ?? ปี49-50เดิมทีป.โทเริ่มที่ 9000บาท)
ตอนนี้ไม่มีระบบราชการเหมือนแต่ก่อน และการปรับเงินเดือนจาก ป.ตรีเริ่มต้นที่ 15000 บาท ก็ส่งผล
ให้ต้องเกลี่ยกำลังคน (ออกไป) เพราะเงินเดือนปรับทั้งระบบ (แต่ก็รอคิวต่อๆๆๆๆๆๆไป)
ประเด็นคือถ้า
1. ฐานะทางบ้านไม่ได้เดือดร้อน
2. มีความต้องการอยากสร้างเด็ก และอดทนกับพฤติกรรมเด็กสมัยนี้ได้
(มีเด็กส่วนมากที่คิดว่า อาจารย์คือ คนที่พ่อแม่เค้าจ่ายเงินค่าเทอมมาจ้างให้สอน
ดังนั้นอย่าคาดหวังว่าเด็กจะเคารพคุณทุกคน เพราะเด็กมาจากหลากหลาย )
3. สามารถทำงานได้แทบจะ 24 ชม. เพราะคุณอาจจะต้องเตรียมสอน
ต้องให้คำปรึกษา ต้องทำวิจัย ต้องทำตำรา ขอผลงาน ทั้งนี้
ไม่เหมือนงานที่เลิกงานกลับบ้านแล้วจบ
บ้างครั้งคุณอาจจะต้องเข้าไปแก้ปัญหา "ชีวิต" ให้กับเด็กในรั้วมหาวิทยาลัย
ปัญหาเด็กในวัยนี้ บางทีมันก็ . . .
แต่ทั้งนี้ ถามว่า ถ้ามันแย่ทำไมถึงยังทำอยู่
ตอบได้ว่า การที่เห็นลูกศิษย์ เรียนจบ ไปทีละขั้นๆ จนจบปริญญา
การที่สร้างคน ดึงเด็กขึ้นมา คือความสุข
และงานที่หนัก หากมองเป็นโอกาส มันคือประสบการณ์ค่ะ
พูดเหมือนโลกสวย
แต่คนที่เคยเป็นอาจารย์แล้ว ไม่ได้เดือนร้อนเรื่องรายได้ (ซึ่งเป็นประเด็น)
ไม่ได้มองว่า ทำงานไม่คุ้มกับเงินที่จะได้
และอดทนที่จะสะสมไปเรื่อยๆ แล้ว เราว่าก็เป็นอาชีพที่ดีและมีความสุขได้นะคะ
ปล. เริ่มเหนื่อย แต่ตอนท้ายถ้าคุณเก่ง และมีวุฒิ งานสอนพิเศษจะวิ่งมาหาเองค่ะ
อย่างน้อยก็ชั่วโมงละ 250 (ในเวลา) นอกเวลาก็ 500++
ไหนจะงานวิทยากรอีก
เป็นอาชีพที่ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองในการจะโตหรือจะอยู่กับที่
ความคิดเห็นที่ 61
ไม่อดตาย โอกาสตกงานต่ำ แต่ไม่รวยเมื่อเทียบกับสายอาชีพเดียวกัน
ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์แพทย์
สิทธิเหลือแค่ ประกันสังคมเพราะโรงเรียนแพทย์ถูกผลักออกนอกระบบเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยกันหมดแล้ว
ขณะที่นศพ.จบใหม่ รับราชการ ได้สิทธิราชการ
เงินเดือนเด็กๆ จบใหม่ที่เป็นราชการ ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่น เพราะมีทั้งเบี้ยกันดาร เบี้ยพตส. เบี้ยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว และเบี้ยเวร
ขณะที่อาจารย์แพทย์มีแต่เบี้ยพตส.เท่านั้น (ไม่มีเงินค่าสอนเด็กให้เพิ่มเติม)
อาจารย์แพทย์จึงต้องทำหน้าที่ทั้งเป็นหมอลงตรวจผู้ป่วย
รับผิดชอบงานบริหารรพ.
และรับผิดชอบการเรียนการสอน การออกข้อสอบของเด็กอีกด้วย
แต่เงินเดือนต่ำกว่าเด็กที่ไปรับราชการ
หากต้องการเงินเดือนสูงๆ อาจารย์แพทย์หลายคนจึงมักจะต้องไปทำงานรพ.เอกชนช่วงวันหยุด หรือหลังเวลาทำงาน 4 โมงเย็น
...ถามว่าอะไรที่ยังทำให้ทำอาชีพอยู่ทุกวันนี้
คำตอบเดียวที่นึกได้คือ "ฉันกำลังสร้างหมอที่จะต้องรักษาฉันเมื่อฉันแก่ อยากได้หมอแบบไหน เรานี่แหละจะเป็นคนสร้างเอง"
...ขอยืนยันเหมือนเดิม
อาจารย์แพทย์ไม่รวย แต่ไม่ตกงานแน่นอน (ทุกวันนี้ขาดอาจารย์อีกเยอะมาก)
ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์แพทย์
สิทธิเหลือแค่ ประกันสังคมเพราะโรงเรียนแพทย์ถูกผลักออกนอกระบบเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยกันหมดแล้ว
ขณะที่นศพ.จบใหม่ รับราชการ ได้สิทธิราชการ
เงินเดือนเด็กๆ จบใหม่ที่เป็นราชการ ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่น เพราะมีทั้งเบี้ยกันดาร เบี้ยพตส. เบี้ยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว และเบี้ยเวร
ขณะที่อาจารย์แพทย์มีแต่เบี้ยพตส.เท่านั้น (ไม่มีเงินค่าสอนเด็กให้เพิ่มเติม)
อาจารย์แพทย์จึงต้องทำหน้าที่ทั้งเป็นหมอลงตรวจผู้ป่วย
รับผิดชอบงานบริหารรพ.
และรับผิดชอบการเรียนการสอน การออกข้อสอบของเด็กอีกด้วย
แต่เงินเดือนต่ำกว่าเด็กที่ไปรับราชการ
หากต้องการเงินเดือนสูงๆ อาจารย์แพทย์หลายคนจึงมักจะต้องไปทำงานรพ.เอกชนช่วงวันหยุด หรือหลังเวลาทำงาน 4 โมงเย็น
...ถามว่าอะไรที่ยังทำให้ทำอาชีพอยู่ทุกวันนี้
คำตอบเดียวที่นึกได้คือ "ฉันกำลังสร้างหมอที่จะต้องรักษาฉันเมื่อฉันแก่ อยากได้หมอแบบไหน เรานี่แหละจะเป็นคนสร้างเอง"
...ขอยืนยันเหมือนเดิม
อาจารย์แพทย์ไม่รวย แต่ไม่ตกงานแน่นอน (ทุกวันนี้ขาดอาจารย์อีกเยอะมาก)
ความคิดเห็นที่ 33
ผมอยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยตั้งแต่เรียน ป.ตรีใหม่ๆ แล้วครับ ก็เลยพยายามเรียนต่อ โดยเลือกเรียนในสาขาเดียวกันทั้ง ป.ตรี ป.โท และ ป.เอก
พอได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็มีความสุขในระดับหนึ่งครับ เพราะสิ่งที่เขาต้องการให้ทำในเบื้องต้น เราก็สามารถทำได้ เช่น สอนนักศึกษาประมาณ 3 - 4 วิชาต่อเทอม เป็นวิทยากรให้กับบุคคลภายนอก ทำวิจัย เขียนบทความ จัดทำเอกสารประกอบการเรียน อาจมีบ้างที่เกิดปัญหาเพราะผมมีโรคประจำตัว แต่ก็จะพยายามทำให้เสร็จหรือทำแผนฯ ว่าจะดำเนินการสำเร็จอย่างแน่นอน ตอนนี้ก็กึ่งโดนบังคับให้ดำเนินการขอตำแหน่ง ผศ. แล้ว จึงต้องพยายามให้ตัวเองแข็งแรงขึ้นเพื่อพยายามต่อไป
เรื่องผลตอบแทน บอกได้เลยว่าความมั่นคงย่อมน้อยกว่าข้าราชการ ยิ่งถ้าเทียบกับข้าราชการครูที่ได้ปรับเงินเดือนขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มองได้เลยว่าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยยิ่งน่าน้อยใจมาก แต่ในปัจจุบันก็มีบางมหาวิทยาลัยโดยผู้บริหารหรือกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยช่วยกันผลักดันให้อาจารย์ได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการ 1.7 เท่าในสายวิชาการ แต่จริงๆ แล้วในบางที่ก็สามารถให้ได้แค่ 1.5 เท่า เท่านั้น พวกผมจึงต้องวางแผนการบริหารงานให้ดีที่สุด เพราะเราไม่มีบำนาญ สิ่งที่ทำได้ คือ หักเข้าสหกรณ์ออมทรัพย์ เก็บเข้าประกันสังคม หรือเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บางคนก็เพิ่มทางเลือกโดยการฝากประจำหรือลงทุนผผ่านสถาบันทางการเงิน ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้ต้องช็อปปิ้งทุกวัน หรือบินไปเที่ยวเมืองนอกทุกเดือน ผมคิดว่าเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยก็อยู่ได้นะครับ ยิ่งบางที่มีเปิดสอนภาคพิเศษ หรือบางท่านอาจมีความสามารถในการเป็นวิทยากร ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ได้อีกทางหนึ่งครับ
ดังนั้น ผมคิดว่า คนที่จะมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องมีใจรักจริงๆ อย่างที่บ้างความคิดเห็นได้แสดงทัศนคติว่า การได้เห็นลูกศิษย์ของเราจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และได้งานทำอย่างที่ต้องการ ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนที่เป็นครูบาอาจารย์แล้วครับ
พอได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็มีความสุขในระดับหนึ่งครับ เพราะสิ่งที่เขาต้องการให้ทำในเบื้องต้น เราก็สามารถทำได้ เช่น สอนนักศึกษาประมาณ 3 - 4 วิชาต่อเทอม เป็นวิทยากรให้กับบุคคลภายนอก ทำวิจัย เขียนบทความ จัดทำเอกสารประกอบการเรียน อาจมีบ้างที่เกิดปัญหาเพราะผมมีโรคประจำตัว แต่ก็จะพยายามทำให้เสร็จหรือทำแผนฯ ว่าจะดำเนินการสำเร็จอย่างแน่นอน ตอนนี้ก็กึ่งโดนบังคับให้ดำเนินการขอตำแหน่ง ผศ. แล้ว จึงต้องพยายามให้ตัวเองแข็งแรงขึ้นเพื่อพยายามต่อไป
เรื่องผลตอบแทน บอกได้เลยว่าความมั่นคงย่อมน้อยกว่าข้าราชการ ยิ่งถ้าเทียบกับข้าราชการครูที่ได้ปรับเงินเดือนขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มองได้เลยว่าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยยิ่งน่าน้อยใจมาก แต่ในปัจจุบันก็มีบางมหาวิทยาลัยโดยผู้บริหารหรือกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยช่วยกันผลักดันให้อาจารย์ได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการ 1.7 เท่าในสายวิชาการ แต่จริงๆ แล้วในบางที่ก็สามารถให้ได้แค่ 1.5 เท่า เท่านั้น พวกผมจึงต้องวางแผนการบริหารงานให้ดีที่สุด เพราะเราไม่มีบำนาญ สิ่งที่ทำได้ คือ หักเข้าสหกรณ์ออมทรัพย์ เก็บเข้าประกันสังคม หรือเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บางคนก็เพิ่มทางเลือกโดยการฝากประจำหรือลงทุนผผ่านสถาบันทางการเงิน ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้ต้องช็อปปิ้งทุกวัน หรือบินไปเที่ยวเมืองนอกทุกเดือน ผมคิดว่าเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยก็อยู่ได้นะครับ ยิ่งบางที่มีเปิดสอนภาคพิเศษ หรือบางท่านอาจมีความสามารถในการเป็นวิทยากร ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ได้อีกทางหนึ่งครับ
ดังนั้น ผมคิดว่า คนที่จะมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องมีใจรักจริงๆ อย่างที่บ้างความคิดเห็นได้แสดงทัศนคติว่า การได้เห็นลูกศิษย์ของเราจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และได้งานทำอย่างที่ต้องการ ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนที่เป็นครูบาอาจารย์แล้วครับ
แสดงความคิดเห็น
ได้ยินว่า อาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ค่อยมีความมั่นคงหรอครับ ใครมี ประสบการณ์แชร์กันนะครับ ขอบคุณครับ ^_^