มีสิ่งที่เล็กที่สุดไหม

มีสิ่งที่เล็กที่สุดไหมครับ ผมจินตนาการว่าถ้าเราใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงๆส่องอนุภาคที่คิดว่าน่าจะเล็กที่สุด แต่ผมว่ามันน่าจะเล็กลงได้อีก เล็กลงไปเรื่อยๆจนอนุภาคนั้นว่างเปล่า กล่าวคือไม่มีอนุภาค แล้วตรงไหนเป็แนวแบ่งเขตระหว่างอนุภาคที่เล็กที่สุดกับความว่างเปล่า เพราะถ้าจินตนาการว่าขนาดเท่านี้มันเล็กที่สุดแล้ว แต่มันน่าจะเล็กลงได้อีกเรื่อยๆ แล้วอนุภาคที่เล็กที่สุดมาประกอบกันเป็นมวลใหญ่ได้อย่างไร เช่น เก้าอี้ ดินสอ มนุษย์ สัตว์
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
มีครับ ในแบบจำลองทางฟิสิกส์ มีระยะทางที่สั้นที่สุดที่สามารถเป็นไปได้อยู่ เราเรียกว่า planck length (ความยาวแพลงค์)
เราตีความว่า เราสามารถแบ่งระยะทางได้สั้นลงไปได้เรื่อยๆ จนสั้นที่สุดได้แค่ความยาวแพลงค์ครับ ซึ่งเป็นความยาวที่สั้นที่สุดแล้วไมีสามารถแบ่งแยกไปได้อีก
เพราะอะไรก็ตามที่สั้นกว่านี้  เราจะไม่สามารถสังเกตุข้อมูลและสิ่งต่างๆได้อีก ที่ระยะทางที่สั้นกว่านี้ มันจึงไม่มีความหมายที่เราสังเกตุมันครับ

ที่มาของความยาวแพลงค์คือ เราพบว่าอนุภาคยิ่งมีพลังงานที่สูงมากๆขึ้น ความไม่แน่นอนทางต่ำแหน่งของมันจะยิ่งสั้นลงๆ จนกระทั้ง ความไม่แน่นอนทางต่ำแหน่งของมันหดสั้นลงเหลือยาวเท่ากับ รัศมีชวาลชิล(ซึ่งคือรัศมีที่ใช้ทำนายขิบฟ้าสังเกตุการของหลุมดำ) ซึ้งหมายถึงถ้ามีพลังงานที่สูงมากกว่าระดับนี้ ความไม่แน่นอนทางต่ำแหน่งหดสั้นลงกว่าขอบฟ้าของหลุมดำ ซึ่งอะไรก็ตามที่อยู่ภายในขอบฟ้าสังเกตุการคือบริเวณที่เราไม่สามารถ สังเกตุมันได้ เราไม่สามารถสังเกตุมันได้อีก
และเราพบว่า จากด้านบนที่อธิบายมา ความยาวแพลงค์ ที่ได้จากสมการ มันเกิดจากค่าคงที่พื้นฐานในธรรมชาติ(มีค่าG,hbar,c) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับกรอบอ้างอิงไดๆ ทุกๆกรอบอ้างอิงควรวัดค่าคงที่พื้นฐานเหล่านี้ได้เท่ากันหมด ดังนั้น ทุกๆกรอบอ้างอิงควรวัดความยาวแพลงค์ได้เท่ากันทุกๆกรอบอ้างอิงด้วย ดังนั้นความยาวแพลงค์จึงเป็นระยะทางที่สั้นที่สุด ที่เราสามารถสังเกตุได้ในเอกภพครับ
ทฤษฎีที่นำไปใช้มีหลายทฤษฎี เช่น Quantum field, String theory และ อื่นๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่