สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
นารีแดง เป็นเหล้ายอดนิยมชนิดหนึ่งของชาวจีน จุดเด่นของนารีแดงคือ การหมักบ่มที่ยาวนานจนกลิ่นและรสเป็นเลิศ ประกอบด้วย 6 รสชาติทั้ง หวาน ฝาด เปรี้ยว ขม ร้อน และกลมกล่อม
มีเรื่องเล่าว่าสมัยราชวงศ์จิ้น ในมณฑลเจ้อเจียง ภรรยาของช่างตัดเสื้อคนหนึ่งตั้งท้องขึ้น ช่างตัดเสื้อหวังเต็มที่ว่าลูกคนนี้ต้องเป็นผู้ชาย เขาจึงไปซื้อเหล้ามาเตรียมไว้ฉลองตอนลูกเกิด แต่แล้วเด็กกลับคลอดออกมาเป็นหญิง ช่างตัดเสื้อผิดหวังมากเลยงดงานฉลอง เอาเหล้าทั้งหมดฝังไปไว้ใต้ดิน เวลาผ่านไปลูกสาวของเขาโตขึ้นเป็นสาวที่เฉลียวฉลาด มีฝีมือปักผ้าเป็นเลิศ ใครๆก็ชมช่างตัดเสื้อว่าได้ลูกดี ทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่าถึงมีลูกสาวก็ไม่เสียหายอะไร
ต่อมาช่างตัดเสื้อยกลูกสาวให้แต่งงานกับลูกศิษย์คนโปรดของตัวเอง ในวันแต่งงานเขานึกถึงเหล้าที่ฝังไว้ได้เลยขุดขึ้นมาเลี้ยงแขก เมื่อเปิดออกกลิ่นหอมรัญจวนใจก็ขยายขจรไปไกล รสชาติของเหล้าที่บ่มนานนับสิบปีกลมกล่อมยิ่งนัก ทุกคนจึงพร้อมใจกันเรียกเหล้านี้ว่า “นารีแดง”
จากนั้นก็มีธรรมเนียมว่าเวลาบ้านไหนได้ลูกสาวจะฝังเหล้าไว้ใต้ดิน เพื่อหมักไว้สำหรับเลี้ยงในงานแต่งงานของลูกสาว นารีแดง จึงกลายเป็นเหล้าสำหรับงานมงคลนับตั้งแต่นั้น
เหล้าไผ่เขียว หรือ จูเย้ฉิง จิ่ว (竹葉青酒;?Zhúyèqīng jiǔ)
เหล้าไผ่เขียว เป็นเหล้ากลั่น (白酒; ไบ จิ่ว)
เหล้าชนิดนี้มี สมุนไพร กว่า 12 ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั่น คือ ใบไผ่ ที่ทำให้ สีของเหล้า ออกเขียว (เลยเป็นชื่อ เหล้าใบไผ่เขียว)
ปริมาณแอลกอฮอลราวๆ 46%
เหล้าไผ่เขียว ผลิตในมลฑลซานซี ซึ่งอยู่บริเวณหลัก เรียก จงหยวน ที่มักเป็นท้องเรื่องของนิยายกำลังภายใน
** ในมลฑลนี้จะมี เขาเหิงซานเหนือ (恒山) ซึ่งเป็น หนึ่งในห้าเขาศักดิ์สิทธิของลัทธิเต๋า
ที่กิมย้ง ใช้เป็นพื้นฐานของ ห้าขุนเขากระบี่ ใน "กระบี่เย้ยยุทธจักร"
เหิงซานเหนือ ที่เล้งฮู้ชงได้เป็นเจ้าสำนัก เพราะ แม่ชีติ่งเฉียน ได้มอบตำแหน่งเจ้าสำนักให้ ก่อนที่นางจะตาย
** นอกจากเหิงซาน แล้วซานซี ยังมีเมืองผิงเหยา (平遥;?Píngyáo) ?มรดกโลก ที่รักษาสภาพของเมืองและกำแพงเมืองโบราณ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงและชิงไว้ได้อย่างดี
ทั้งหมด เรียกรวมกันว่า เหล้าหมักในไหดิน (เกาเหลียง)
มีเรื่องเล่าว่าสมัยราชวงศ์จิ้น ในมณฑลเจ้อเจียง ภรรยาของช่างตัดเสื้อคนหนึ่งตั้งท้องขึ้น ช่างตัดเสื้อหวังเต็มที่ว่าลูกคนนี้ต้องเป็นผู้ชาย เขาจึงไปซื้อเหล้ามาเตรียมไว้ฉลองตอนลูกเกิด แต่แล้วเด็กกลับคลอดออกมาเป็นหญิง ช่างตัดเสื้อผิดหวังมากเลยงดงานฉลอง เอาเหล้าทั้งหมดฝังไปไว้ใต้ดิน เวลาผ่านไปลูกสาวของเขาโตขึ้นเป็นสาวที่เฉลียวฉลาด มีฝีมือปักผ้าเป็นเลิศ ใครๆก็ชมช่างตัดเสื้อว่าได้ลูกดี ทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่าถึงมีลูกสาวก็ไม่เสียหายอะไร
ต่อมาช่างตัดเสื้อยกลูกสาวให้แต่งงานกับลูกศิษย์คนโปรดของตัวเอง ในวันแต่งงานเขานึกถึงเหล้าที่ฝังไว้ได้เลยขุดขึ้นมาเลี้ยงแขก เมื่อเปิดออกกลิ่นหอมรัญจวนใจก็ขยายขจรไปไกล รสชาติของเหล้าที่บ่มนานนับสิบปีกลมกล่อมยิ่งนัก ทุกคนจึงพร้อมใจกันเรียกเหล้านี้ว่า “นารีแดง”
จากนั้นก็มีธรรมเนียมว่าเวลาบ้านไหนได้ลูกสาวจะฝังเหล้าไว้ใต้ดิน เพื่อหมักไว้สำหรับเลี้ยงในงานแต่งงานของลูกสาว นารีแดง จึงกลายเป็นเหล้าสำหรับงานมงคลนับตั้งแต่นั้น
เหล้าไผ่เขียว หรือ จูเย้ฉิง จิ่ว (竹葉青酒;?Zhúyèqīng jiǔ)
เหล้าไผ่เขียว เป็นเหล้ากลั่น (白酒; ไบ จิ่ว)
เหล้าชนิดนี้มี สมุนไพร กว่า 12 ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั่น คือ ใบไผ่ ที่ทำให้ สีของเหล้า ออกเขียว (เลยเป็นชื่อ เหล้าใบไผ่เขียว)
ปริมาณแอลกอฮอลราวๆ 46%
เหล้าไผ่เขียว ผลิตในมลฑลซานซี ซึ่งอยู่บริเวณหลัก เรียก จงหยวน ที่มักเป็นท้องเรื่องของนิยายกำลังภายใน
** ในมลฑลนี้จะมี เขาเหิงซานเหนือ (恒山) ซึ่งเป็น หนึ่งในห้าเขาศักดิ์สิทธิของลัทธิเต๋า
ที่กิมย้ง ใช้เป็นพื้นฐานของ ห้าขุนเขากระบี่ ใน "กระบี่เย้ยยุทธจักร"
เหิงซานเหนือ ที่เล้งฮู้ชงได้เป็นเจ้าสำนัก เพราะ แม่ชีติ่งเฉียน ได้มอบตำแหน่งเจ้าสำนักให้ ก่อนที่นางจะตาย
** นอกจากเหิงซาน แล้วซานซี ยังมีเมืองผิงเหยา (平遥;?Píngyáo) ?มรดกโลก ที่รักษาสภาพของเมืองและกำแพงเมืองโบราณ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงและชิงไว้ได้อย่างดี
ทั้งหมด เรียกรวมกันว่า เหล้าหมักในไหดิน (เกาเหลียง)
แสดงความคิดเห็น
สุราในนิยายจีนนี่คือสุราประเภทไหนครับ
หรือเอาแบบใกล้เคียงก็ได้ครับ