พอดีมีความรู้พอแกล้มเหล้าช่วงเย็นได้บ้าง เผื่อท่านใดสนใจข้อมูลก็ลองอ่านเล่นๆดูนะครับ
ข้อมูลเกี่ยวกับการกระโดดร่มอย่างเดียวนะครับ ส่วนเรื่องสาเหตุ เกี่ยวกับลวดสลิงบนเครื่องบินเป็นรอยไหม้ หรืออะไรก็แล้วแต่ให้ดูข่าวเอานะครับ
ข้อมูลของการฝึกกระโดดร่ม
ก่อนที่ นรต.ปี 2 จะทำการโดดร่มใด้ ต้องฝึกหนัก 3 สัปดาห์ ภาคพื้นดิน ฝึกสภาพจิตใจ กับร่างกาย (ดูๆไปไม่ค่อยจะเกี่ยวกับการกระโดดร่มซักเท่าไหร่เน้นไปทางซ่อมซะมากกว่า)ถือว่าค่อนข้างหฤโหดพอสมควรสำหรับเด็กสมัยนี้
ร่มของ นรต.ที่กระโดดนี้ เรียกว่า ร่ม (โบราณ)T10B(ตามภาษาปาก ชาว นรต.ยุคผมเรียกว่าร่มทิ้งของ)
ร่มแบ่งตามการใช้งานได้ 2 ชนิด คือ
1 ใช้ในการกระโดด
2 ใช้ในการทิ้งของ
ร่มแบ่งตามการทำงานได้ 2 ชนิดคือ
1 ทำงานด้วยสายดึงประจำที่ (แบบ สตาติกไลน์(Static Line ) ใช้ในยุทธวิธีขนส่งทางอากาศเพื่อลงพื้นที่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว)
2 ทำงานด้วยการกระตุกเอง( แบบ สกายฯ(Skydiving) ใช้ในยุทธวิธีขนส่งทางอากาศ เพื่อ เคลื่อนที่จากระยะไกลมายังจุดเป้าหมาย)
การกระโดดแบบสตาติกไลน์ ท้ายเครื่องบิน
ร่มโบราณ
เป็นร่มทางยุทธวิธี ลงเร็วมาก ประมาณ 20 ฟุต/วินาที ใช้ในกรณีลงหาเป้าหมายในระยะเวลาสั้น ๆ คือ 12-15 วินาที จะต่างกับการกระโดดร่มแบบ สกายฯ(Skydiving) หรือร่มกระตุกเองที่แผ่นร่มจะกินลม เพื่อลงพื้นที่เป้าหมายในระยะไกลได้พอสมควร กระโดดในที่สูงในระดับ 4,000 ฟิตขึ้นไป
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://th-th.facebook.com/Aircraft.Fighter
http://news.sanook.com/1548034/เจาะลึกปมเหตุ-โดดร่มไม่กาง-2-นรต.เสียชีวิต/
ในการกระโดดร่มแบบ สตาติก ไลน์ (Static Line ) หรือการกระโดดร่มทางยุทธวิธีในระยะเวลาอันสั้น อันตรายกว่าการกระโดดร่มแบบสกาย หรือ ร่มดิ่งพสุธา หรือ ร่มดิ่งเวหา ตามแต่จะเรียก เพราะมีเวลาอยู่กลางอากาศจนถึงพื้นเพียง 12 วินาที (หลังจากกระโดดออกจากเครื่อง หลักสูตร นรต.จะนับ ออกเสียง5 วินาทีคือ "1 thousand | 2 thousand | 3 thousand |4 thousand | check canopy พร้อมกับกางแขนจับสายโยงบ่า|" เพื่อเช็กว่าร่มหลักกางหรือไม่กาง(ต้องเทียบกรณีร่มไม่กางจะลงเร็วกว่าร่มกางอีกเวลาหนึ่ง) ในเวลาประมาณ 7 วินาทีที่เหลือ มีเวลาตัดสินใจประมาณ 4 วินาทีบนท้องฟ้าเท่านั้น เพื่อที่จะสามารถดึงร่มช่วยชีวิตด้านหน้าได้ทัน )
การกระโดดร่มแบบสตาติก ไลน์ ของตำรวจนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
โมเดลแพ็คร่มแบบสตาติกไลน์(สังเกตุสายเส้นสีเหลือง(หรือStatic Line) เป็นเส้นหัวใจของการกระโดดร่มแบบกระตุกคงที่)
แบ็คแพ็ค ของร่มแบบสตาติกไลน์
ตัวอย่างการยืน จะมีร่มเล็กหน้าหรือร่มช่วยฯ(เรียกว่าร่มช่วยชีวิตตอนร่มหลักไม่กาง) ด้านหลังเป็นร่มหลัก(ไม่มีรูป ร่มT10B เอารูปT21 แทน การยืนในท่าบุคคลพร้อมร่มเหมือนกัน)
1.แบบ T10B (หรือออกเสียงตามลักษณะนิยมว่า ทีเท็นบี) ร่มโบราณ(นรต.ยุคผมเรียกกันติดปากว่าร่มทิ้งของ) ประยุกต์ดัดแปลง มาจากร่มชนิด T10 ซึ่ง เป็นร่มยุทธวิธีรุ่นเก่าที่ใช้ในสหรัฐ และไทยมากกว่า 50 ปีมาแล้ว บังคับทิศทางโดยมีสายโยงบ่า 4 เส้น ตัวเพดานร่มไม่มีช่องลม
รองรับน้ำหนักได้ราวๆ 300 ปอนด์ อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thaic-130.net/forums/showthread.php?t=1054
ร่ม T10B ลักษณะ จะไม่มีช่องลม เป็นร่มกลมรอบด้าน บังคับทิศทางโดยสายโยงบ่า เพียง 4 เส้น
2.แบบ MC1-1B(หรือออกเสียงตามลักษณะนิยมว่า เอ็มซีวันแดทวันบี) (เหล่าทหารใช้ร่มรุ่นนี้ในการฝึกกระโดด รวมทั้งการฝึกของตำรวจหลังจากจบออกมาจากโรงเรียน นรต.หรือนักเรียนในค่ายพลร่ม เป็นต้น)
ร่มบุคคลโดดแบบ MC1-1B/NS ซึ่งทหารร่มมักจะเรียกว่าร่มกลม เนื่องจากมีรูปทรงเวลากางออกแล้วเป็นวงกลมนั้นเอง เป็นแบบสายดึงประจำที สายร่มจะออกก่อนเพดานร่ม กางเป็นรูปค่อนวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต ที่ขอบชายร่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 24.5 ฟุต สามารถพาผู้โดดเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็ว 6-8 น็อทส์ (1 น็อทส์ =0.51 ม./วินาที) มีความเร็วของลมเป็นศูนย์จะมีอัตราการตกที่ 15.37-22.7 ฟุต ต่อวินาที มีอายุการใช้งาน 10 ปี หรือใช้ทำการโดดครบ 100 ครั้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่มเมื่อพับแล้ว มีน้ำหนัก 31 ปอนด์
ส่วนประกอบของร่ม MC1-1B/NS แบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้
1 ส่วนเพดานร่มและสายร่ม
2 ส่วนสายโยงบ่า 4 เส้น
3 ส่วนสายรัดตัว
4 ส่วนแผ่นหุ้มห่อ
5 ชุดถุงบรรจุเพดานร่ม
ข้อดี MC1-1Bคือมีช่องลม บังคับเพดานร่มโดยสายบังคับช่องลมร่มแยกส่วนอออกมา ซึ่งจะแตกต่างจาก T10B ที่ใช้สายโยงบ่า 4 เส้นบังคับเพดานร่ม ในการบังคับทิศทางเพื่อลงสู่พื้นที่เป้าหมาย
ดีกว่าร่มแบบ T10B เพราะสามารถบังคับการลงได้นิ่มกว่าT10B มาก (หรือเจ็บตัวน้อยลงนั้นเอง ป้องกันการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดากจะจะ สะเทือนซาง หรือหัวน็อคพื้นโปกป้าก ได้ดีกว่าT10B มาก )
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://thaiairborne.blogspot.com/2010/03/mc1-1bns.html
ร่ม MC1-1B มีช่องลมและสายบังคับช่องลมเพื่อลดความเร็วและบังคับการลงให้ตรงจุดเป้าหมาย
ร่มทิ้งของ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ร่มทิ้งของขนาดเบา G-13 รับ น้ำหนักไม่เกิน 500 ปอนด์(สหรัฐเลิกใช้ไปแบ้ว)
2. ร่มทิ้งของขนาดกลาง G-12 รับ น้ำหนักไม่เกิน 2200 ปอนด์
3 .ร่มทิ้งของขนาดหนัก G-11 รับ น้ำหนักไม่เกิน 3500 ปอนด์
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=5&t=683&start=15
ร่มทิ้งของ
คลิปการกระโดดร่ม ของ นรต.ชั้นปีที่ 2 รวมทั้งกระโดดร่มแบบกระตุกเอง(Skydiving)ของหลักสูตรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนการกระโดดร่มแบบ กระตุกเอง หรือ สกายฯ(Skydiving) ตามลิงค์นี้นะครับ เนื้อหาเยอะหน่อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://babyofskydiving.blogspot.com/2010/09/blog-post_18.html
ครูฝึกค่ายนเรศวรแสดงการบังคับร่มแบบกระตุกเอง(สกายฯ)
แบ็คแพ็คของร่มแบบกระตุกเอง
คลิป การกระโดด แบบกระตุกเอง(สกายฯ)ในระดับ 4,000 ฟิตเป็นต้นไป หลักสูตร(กระโดดร่มสกายฯ(ดาวดำ))ของสำนักงานตำรวจเแห่งชาติ
1st Jump without Static Line at 4,000 feet (1st jumper)
ปล.(ที่แท็กห้อง การเมือง เพราะคนเยอะ ห้องอื่นเท่าที่สังเกตุคนน้อย ส่วน WM จะย้ายกระทู้ผมก็แล้วแต่นะครับ)
จากที่ผมได้เคยสัมผัสลิ้มลองการกระโดดร่มมาแล้ว 16 ครั้ง T10B จำนวน 12 ครั้ง MC1-1B จำนวน 4 ครั้ง (สมัยเป็น นรต.6 ครั้ง ปรับอัตราปีกร่มตอนเป็น ผู้บังคับหมวด อีก 10 ครั้ง ก่อนที่จะย้ายสังกัด ไม่ทันได้โดดสกายฯ)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติน่าจะเปลี่ยนให้ นรต.มาใช้MC1-1B แบบเหล่าทหารได้แล้วนะครับผมว่า ( MC1-1Bเซฟเรื่องการลงพื้นดีกว่าT10B มาก)
นอกเรื่องหน่อยนะครับ
ยุคสมัยผมเป็น นรต.ยังเจ็บใจไม่หาย ครูฝึกไม่ให้กินน้ำถ้ากินอาจโดนโทษหนักถึงขั้นอาจไม่ได้โดดร่มเลยก็ว่าได้
กลัวไม่กลัวก็คิดเอาครับ ช่วงเวลาฝึกเกือบทั้งวัน(ซึ่งครูฝึกไม่ให้แดรกน้ำ) ผมและเพื่อนอีกกลุ่มต้องแอบแกล้งไปห้องน้ำเพื่อไปกินน้ำโรงอาบน้ำรวม ที่มีสบู่ตกอยู่ในอ่างรวม ดื่มน้ำสบู่สบายใจ หรือบางทีก็ต้องฝังขวดน้ำกับดินไว้
ไม่รู้ว่า นรต.ยุคใหม่จะเหมือนกับยุคผมรึเปล่า!!(ปล.อีกหน่อย รุ่นผมรุ่นซูเปอร์แมน แบบมีแค่เกงใน ฉมน้ำหน้า หนีออกไปเที่ยวข้างนอกดีนัก ครูฝึกแดรกมันทั้งคืนเบย รวมทั้งกลุ่มเพื่อนอีกทั้งรุ่นฝึก ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอนกัน จะขำดีไหมเนี้ยะ รุ่นในตำนานอีกรุ่นหนึ่ง)
*แก้ไขข้อผิดพลาด
ต้องขอขอบคุณ
คุณ hideto b1 ความคิดเห็นที่6 ที่ได้ช่วยสนับสนุนข้อมูลในเรื่องของ paragliders หรือ การกระโดดจากภาคพื้นดินหรือยอดเขาสูง
จากที่กระผมได้ลงรูปข้างล่างนี้ แทรกไว้ กับรูปของการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง ซึ่งเป็นภาพของการกระโดดแบบ paragliders
ต้องขอ อภัยผู้อ่านมา ณ ที่นี้
พร้อมทั้งขอขอบคุณคุณ hideto b1 ด้วยครับที่ได้ท้วงติงและสนับสนุนข้อมูลในเรื่อง paragliders
"ภาพการร่อนแบบเหินเวหา ของการกระโดดแบบกระตุกเอง แก้ไข เป็น paragliders"
เรื่องเด่นเย็นนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับการกระโดดร่มอย่างเดียวนะครับ ส่วนเรื่องสาเหตุ เกี่ยวกับลวดสลิงบนเครื่องบินเป็นรอยไหม้ หรืออะไรก็แล้วแต่ให้ดูข่าวเอานะครับ
ข้อมูลของการฝึกกระโดดร่ม
ก่อนที่ นรต.ปี 2 จะทำการโดดร่มใด้ ต้องฝึกหนัก 3 สัปดาห์ ภาคพื้นดิน ฝึกสภาพจิตใจ กับร่างกาย (ดูๆไปไม่ค่อยจะเกี่ยวกับการกระโดดร่มซักเท่าไหร่เน้นไปทางซ่อมซะมากกว่า)ถือว่าค่อนข้างหฤโหดพอสมควรสำหรับเด็กสมัยนี้
ร่มของ นรต.ที่กระโดดนี้ เรียกว่า ร่ม (โบราณ)T10B(ตามภาษาปาก ชาว นรต.ยุคผมเรียกว่าร่มทิ้งของ)
ร่มแบ่งตามการใช้งานได้ 2 ชนิด คือ
1 ใช้ในการกระโดด
2 ใช้ในการทิ้งของ
ร่มแบ่งตามการทำงานได้ 2 ชนิดคือ
1 ทำงานด้วยสายดึงประจำที่ (แบบ สตาติกไลน์(Static Line ) ใช้ในยุทธวิธีขนส่งทางอากาศเพื่อลงพื้นที่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว)
2 ทำงานด้วยการกระตุกเอง( แบบ สกายฯ(Skydiving) ใช้ในยุทธวิธีขนส่งทางอากาศ เพื่อ เคลื่อนที่จากระยะไกลมายังจุดเป้าหมาย)
การกระโดดแบบสตาติกไลน์ ท้ายเครื่องบิน
ร่มโบราณ
เป็นร่มทางยุทธวิธี ลงเร็วมาก ประมาณ 20 ฟุต/วินาที ใช้ในกรณีลงหาเป้าหมายในระยะเวลาสั้น ๆ คือ 12-15 วินาที จะต่างกับการกระโดดร่มแบบ สกายฯ(Skydiving) หรือร่มกระตุกเองที่แผ่นร่มจะกินลม เพื่อลงพื้นที่เป้าหมายในระยะไกลได้พอสมควร กระโดดในที่สูงในระดับ 4,000 ฟิตขึ้นไป
อ้างอิง[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในการกระโดดร่มแบบ สตาติก ไลน์ (Static Line ) หรือการกระโดดร่มทางยุทธวิธีในระยะเวลาอันสั้น อันตรายกว่าการกระโดดร่มแบบสกาย หรือ ร่มดิ่งพสุธา หรือ ร่มดิ่งเวหา ตามแต่จะเรียก เพราะมีเวลาอยู่กลางอากาศจนถึงพื้นเพียง 12 วินาที (หลังจากกระโดดออกจากเครื่อง หลักสูตร นรต.จะนับ ออกเสียง5 วินาทีคือ "1 thousand | 2 thousand | 3 thousand |4 thousand | check canopy พร้อมกับกางแขนจับสายโยงบ่า|" เพื่อเช็กว่าร่มหลักกางหรือไม่กาง(ต้องเทียบกรณีร่มไม่กางจะลงเร็วกว่าร่มกางอีกเวลาหนึ่ง) ในเวลาประมาณ 7 วินาทีที่เหลือ มีเวลาตัดสินใจประมาณ 4 วินาทีบนท้องฟ้าเท่านั้น เพื่อที่จะสามารถดึงร่มช่วยชีวิตด้านหน้าได้ทัน )
การกระโดดร่มแบบสตาติก ไลน์ ของตำรวจนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
โมเดลแพ็คร่มแบบสตาติกไลน์(สังเกตุสายเส้นสีเหลือง(หรือStatic Line) เป็นเส้นหัวใจของการกระโดดร่มแบบกระตุกคงที่)
แบ็คแพ็ค ของร่มแบบสตาติกไลน์
ตัวอย่างการยืน จะมีร่มเล็กหน้าหรือร่มช่วยฯ(เรียกว่าร่มช่วยชีวิตตอนร่มหลักไม่กาง) ด้านหลังเป็นร่มหลัก(ไม่มีรูป ร่มT10B เอารูปT21 แทน การยืนในท่าบุคคลพร้อมร่มเหมือนกัน)
1.แบบ T10B (หรือออกเสียงตามลักษณะนิยมว่า ทีเท็นบี) ร่มโบราณ(นรต.ยุคผมเรียกกันติดปากว่าร่มทิ้งของ) ประยุกต์ดัดแปลง มาจากร่มชนิด T10 ซึ่ง เป็นร่มยุทธวิธีรุ่นเก่าที่ใช้ในสหรัฐ และไทยมากกว่า 50 ปีมาแล้ว บังคับทิศทางโดยมีสายโยงบ่า 4 เส้น ตัวเพดานร่มไม่มีช่องลม
รองรับน้ำหนักได้ราวๆ 300 ปอนด์ อ้างอิง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ร่ม T10B ลักษณะ จะไม่มีช่องลม เป็นร่มกลมรอบด้าน บังคับทิศทางโดยสายโยงบ่า เพียง 4 เส้น
2.แบบ MC1-1B(หรือออกเสียงตามลักษณะนิยมว่า เอ็มซีวันแดทวันบี) (เหล่าทหารใช้ร่มรุ่นนี้ในการฝึกกระโดด รวมทั้งการฝึกของตำรวจหลังจากจบออกมาจากโรงเรียน นรต.หรือนักเรียนในค่ายพลร่ม เป็นต้น)
ร่มบุคคลโดดแบบ MC1-1B/NS ซึ่งทหารร่มมักจะเรียกว่าร่มกลม เนื่องจากมีรูปทรงเวลากางออกแล้วเป็นวงกลมนั้นเอง เป็นแบบสายดึงประจำที สายร่มจะออกก่อนเพดานร่ม กางเป็นรูปค่อนวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต ที่ขอบชายร่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 24.5 ฟุต สามารถพาผู้โดดเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็ว 6-8 น็อทส์ (1 น็อทส์ =0.51 ม./วินาที) มีความเร็วของลมเป็นศูนย์จะมีอัตราการตกที่ 15.37-22.7 ฟุต ต่อวินาที มีอายุการใช้งาน 10 ปี หรือใช้ทำการโดดครบ 100 ครั้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่มเมื่อพับแล้ว มีน้ำหนัก 31 ปอนด์
ส่วนประกอบของร่ม MC1-1B/NS แบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้
1 ส่วนเพดานร่มและสายร่ม
2 ส่วนสายโยงบ่า 4 เส้น
3 ส่วนสายรัดตัว
4 ส่วนแผ่นหุ้มห่อ
5 ชุดถุงบรรจุเพดานร่ม
ข้อดี MC1-1Bคือมีช่องลม บังคับเพดานร่มโดยสายบังคับช่องลมร่มแยกส่วนอออกมา ซึ่งจะแตกต่างจาก T10B ที่ใช้สายโยงบ่า 4 เส้นบังคับเพดานร่ม ในการบังคับทิศทางเพื่อลงสู่พื้นที่เป้าหมาย
ดีกว่าร่มแบบ T10B เพราะสามารถบังคับการลงได้นิ่มกว่าT10B มาก (หรือเจ็บตัวน้อยลงนั้นเอง ป้องกันการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดากจะจะ สะเทือนซาง หรือหัวน็อคพื้นโปกป้าก ได้ดีกว่าT10B มาก )
อ้างอิง[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ร่ม MC1-1B มีช่องลมและสายบังคับช่องลมเพื่อลดความเร็วและบังคับการลงให้ตรงจุดเป้าหมาย
ร่มทิ้งของ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ร่มทิ้งของขนาดเบา G-13 รับ น้ำหนักไม่เกิน 500 ปอนด์(สหรัฐเลิกใช้ไปแบ้ว)
2. ร่มทิ้งของขนาดกลาง G-12 รับ น้ำหนักไม่เกิน 2200 ปอนด์
3 .ร่มทิ้งของขนาดหนัก G-11 รับ น้ำหนักไม่เกิน 3500 ปอนด์
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ร่มทิ้งของ
คลิปการกระโดดร่ม ของ นรต.ชั้นปีที่ 2 รวมทั้งกระโดดร่มแบบกระตุกเอง(Skydiving)ของหลักสูตรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนการกระโดดร่มแบบ กระตุกเอง หรือ สกายฯ(Skydiving) ตามลิงค์นี้นะครับ เนื้อหาเยอะหน่อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ครูฝึกค่ายนเรศวรแสดงการบังคับร่มแบบกระตุกเอง(สกายฯ)
แบ็คแพ็คของร่มแบบกระตุกเอง
คลิป การกระโดด แบบกระตุกเอง(สกายฯ)ในระดับ 4,000 ฟิตเป็นต้นไป หลักสูตร(กระโดดร่มสกายฯ(ดาวดำ))ของสำนักงานตำรวจเแห่งชาติ
1st Jump without Static Line at 4,000 feet (1st jumper)
ปล.(ที่แท็กห้อง การเมือง เพราะคนเยอะ ห้องอื่นเท่าที่สังเกตุคนน้อย ส่วน WM จะย้ายกระทู้ผมก็แล้วแต่นะครับ)
จากที่ผมได้เคยสัมผัสลิ้มลองการกระโดดร่มมาแล้ว 16 ครั้ง T10B จำนวน 12 ครั้ง MC1-1B จำนวน 4 ครั้ง (สมัยเป็น นรต.6 ครั้ง ปรับอัตราปีกร่มตอนเป็น ผู้บังคับหมวด อีก 10 ครั้ง ก่อนที่จะย้ายสังกัด ไม่ทันได้โดดสกายฯ)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติน่าจะเปลี่ยนให้ นรต.มาใช้MC1-1B แบบเหล่าทหารได้แล้วนะครับผมว่า ( MC1-1Bเซฟเรื่องการลงพื้นดีกว่าT10B มาก)
นอกเรื่องหน่อยนะครับ
ยุคสมัยผมเป็น นรต.ยังเจ็บใจไม่หาย ครูฝึกไม่ให้กินน้ำถ้ากินอาจโดนโทษหนักถึงขั้นอาจไม่ได้โดดร่มเลยก็ว่าได้
กลัวไม่กลัวก็คิดเอาครับ ช่วงเวลาฝึกเกือบทั้งวัน(ซึ่งครูฝึกไม่ให้แดรกน้ำ) ผมและเพื่อนอีกกลุ่มต้องแอบแกล้งไปห้องน้ำเพื่อไปกินน้ำโรงอาบน้ำรวม ที่มีสบู่ตกอยู่ในอ่างรวม ดื่มน้ำสบู่สบายใจ หรือบางทีก็ต้องฝังขวดน้ำกับดินไว้
ไม่รู้ว่า นรต.ยุคใหม่จะเหมือนกับยุคผมรึเปล่า!!(ปล.อีกหน่อย รุ่นผมรุ่นซูเปอร์แมน แบบมีแค่เกงใน ฉมน้ำหน้า หนีออกไปเที่ยวข้างนอกดีนัก ครูฝึกแดรกมันทั้งคืนเบย รวมทั้งกลุ่มเพื่อนอีกทั้งรุ่นฝึก ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอนกัน จะขำดีไหมเนี้ยะ รุ่นในตำนานอีกรุ่นหนึ่ง)
*แก้ไขข้อผิดพลาด
ต้องขอขอบคุณ
คุณ hideto b1 ความคิดเห็นที่6 ที่ได้ช่วยสนับสนุนข้อมูลในเรื่องของ paragliders หรือ การกระโดดจากภาคพื้นดินหรือยอดเขาสูง
จากที่กระผมได้ลงรูปข้างล่างนี้ แทรกไว้ กับรูปของการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง ซึ่งเป็นภาพของการกระโดดแบบ paragliders
ต้องขอ อภัยผู้อ่านมา ณ ที่นี้
พร้อมทั้งขอขอบคุณคุณ hideto b1 ด้วยครับที่ได้ท้วงติงและสนับสนุนข้อมูลในเรื่อง paragliders
"ภาพการร่อนแบบเหินเวหา ของการกระโดดแบบกระตุกเอง แก้ไข เป็น paragliders"