สวัสดีครับ
ขออนุญาต นำคอลัมน์ "ม็อกค่าปาท่องโก๋" ที่ผมเขียนประจำในเนชั่นสุดสัปดาห์นั้น มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน เพื่อขอคำแนะนำ คำติชม เพื่อปรับปรุงงานเขียนต่อไปในอนาคตเรื่อยๆครับ ขอบคุณครับ
เนชั่นสุดสัปดาห์ เล่มที่ 1135
ทุกวันนี้ โรงหนังเกือบทั่วประเทศ ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบเครื่องฉายหนังจากระบบฟิล์ม 35 mm ไปสู่ระบบการฉายหนังแบบดิจิทัลน่าจะมากกว่า 95 % แล้ว...
เนื่องด้วยค่ายหนังในต่างประเทศเกือบทุกค่าย ได้ประกาศยกเลิกการส่งฟิล์มหนัง และเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลกันเกือบหมดแล้ว...
แม้ในปีที่ผ่านมา อาจมีบางโรงหนังยังใช้ระบบฉายด้วยฟิล์มอยู่ แต่กระนั้น ในปี 2557 นี้ จะถือเป็นปีที่เป็นจุดเปลี่ยนระบบการฉายหนังจากระบบฟิล์ม 35 mm ไปสู่ระบบฉายหนังดิจิทัลอย่างแท้จริง
แรกเริ่มเดิมที ระบบการฉายหนังด้วยฟิล์มนั้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...
แต่ในส่วนที่เปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เรามักจะเห็นสัญลักษณ์บนจอฉายของการเปลี่ยนแปลง ก็จะเป็นเรื่องของระบบเสียง...
เพราะระบบภาพนั้น ก็ยังคงใช้แสงจากหลอดไฟที่มีความสว่างมากๆ ส่งผ่านฟิล์ม ผ่านเลนส์ขยาย ไปสู่จอหนัง การพัฒนาก็มีบ้างจากการใช้ “ถ่านฉาย” มีลักษณะเป็นแท่งคาร์บอนอัดคล้ายดินสอยาวประมาณ 1 ฟุต จุดในเตาฉายให้แสงสว่างมากๆ และมีความร้อนสูง
ถ้าจำได้กันในสมัยก่อนจะมีเหตุการณ์ฟิล์มไหม้ละลายเละเกิดขึ้นบ่อยๆ
จากนั้นก็มีการเปลี่ยนมาเป็นหลอดไฟแบบ xenon ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวจ่ายพลังงานแทนถ่านฉาย โดยมีกระจกตัวสะท้อน reflector รวมแสงจากฟิล์มไปหาเลนส์อีกที
อัตราส่วนของภาพที่ใช้นั้น หลักๆ ก็มีแค่ 1.85:1 widescreen และ 2.39:1 cinema scope
แต่ระบบเสียง มีการพัฒนาปรับปรุงมาเรื่อยๆ จากระบบการพากย์เสียงสดๆ ไปสู่ระบบการฝั่งร่องเสียงลงบนด้านข้างของตัวฟิล์ม ตั้งแต่มีเส้นเดียว คือระบบ mono แบบ 2เส้น ที่พัฒนามาเป็นระบบเสียง dolby stereo ซึ่งจะแยกเสียง ซ้าย-กลาง-ขวา และ surround แต่ก็ยังใช้วิธีการอ่านร่องเสียงโดยตรงหรือ analog
จากนั้นระบบเสียงของโรงหนัง ก็พัฒนาการสู่ระบบดิจิทัล โดยเริ่มต้นจากระบบของทางค่าย dolby ที่ code เสียงเป็นสี่เหลียมผืนผ้า แทรกลงไปที่ระหว่างรูหนามเตยแต่ละรูของฟิล์ม ระบบนี้ถูกเรียกว่าระบบ dolby SR-D ที่มีจำนวนร่องเสียงหรือ channel เท่ากับ 5.1 คือ ซ้าย-กลาง -ขวา-ซ้าย surround-ขวา surround และเสียง Subwoofer หรือเสียงความถี่ต่ำ
ซึ่งระบบนี้ให้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นจากระบบ dolby stereo อย่างชัดเจน
ระบบนี้มีข้อเสียใหญ่ๆ อยู่ 2 ประการคือพื้นที่ระหว่างหนามเตยนั้นมีไม่มาก จึงทำให้ระบบนี้มีคุณภาพเสียงที่ระดับ 320 kb/s มีอัตราส่วนการบีบอัดที่ 10:1 และต่อ channel มีคุณภาพเสียงที่ 64 kb/s
ข้อเสียหลักประการที่ 2 คือ เมื่อมีการฉายหนังด้วยฟิล์มม้วนดังกล่าวไปนานๆ หลายๆ รอบ จะทำให้ร่องของหนามเตยบนฟิล์มมีการสึกหรอ รูหนามเตยใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พอสึกหรอจนถึงจุดหนึ่ง code เสียงที่อยู่ระหว่างรูหนามเตย ก็จะไม่สามารถอ่านได้
ทำให้ระบบเสียงจะย้อนกลับไปอ่านระบบเก่าคือ dolby stereo จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อไปดูหนังในระบบฟิล์มที่เข้าฉายมานานระยะหนึ่งแล้วจะพบว่า ในหนังเรื่องเดียวกันคุณภาพเสียงแย่ลง ไม่สม่ำเสมอบางช่วงก็ดี บางทีก็แย่
ระบบต่อมาคือ DTS ที่เป็นระบบเสียง 5.1 เหมือนกับ dolby SR-D ซึ่งจะมีวิธีการที่แตกต่างออกไป คือใช้การทำเส้นประไข่ปลาขนานไปกับแนวเส้นเสียง dolby Stereo ซึ่งจะมีหน้าที่ระบุเวลาของหนังแล้วไป sync เชื่อมต่อกับเครื่องเล่นแผ่น CD –ROM ภายนอก (1 เรื่องใช้ประมาณ 2แผ่น)
โดยเสียงจะถูกเล่นผ่านเครื่องเล่น CD-ROM แทน ระบบนี้ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า dolby SR-D มากพอสมควร ด้วยคุณภาพเสียงที่ระดับ 1.04 mb/s มีอัตราส่วนการบีบอัดที่ 4:1 และต่อ channel มีคุณภาพเสียงที่ 240 Kb/s แต่ระบบนี้ค่อนข้างมีปัญหาในแง่การฉายและการส่งฟิล์ม เพราะต้องมีเครื่องเล่น CD-ROM สำหรับระบบนี้โดยเฉพาะ
และการส่งฟิล์มมาเพื่อฉาย ต้องส่งแผ่น CD-ROM เสียงมาด้วย จึงไม่น่าแปลกใจโรงหนังที่มีระบบเสียง DTS นั้น มีไม่มากนัก
เพราะมีขั้นตอนที่วุ่นวาย และไม่เอื้อต่อการให้การทำรอบหนัง เพิ่มรอบฉายของโรงหนัง ซึ่งปกติฟิล์มหนัง 1 เรื่อง จะสามารถฉายได้หลายๆ โรงพร้อมๆ กันโดย โดยใช้การฉายเหลื่อมม้วนฟิล์ม แต่ระบบ DTS ทำให้ทำแบบนี้ไม่ได้
อีกระบบหนึ่งที่คือระบบเสียง SDDS (sony dynamic digital sound) ซึ่งโฆษณาว่าให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าด้วยระบบ 7.1 channel คือ ซ้าย-ซ้ายกลาง-กลาง-ขวากลาง-ขวา-ซ้าย surround-ขวา surround และ subwoofer
โดย SDDS จะใช้พื้นที่บนฟิล์มแนวด้านนอกหนามเตยแนวนอกสุด 2 ข้าง เพื่อใส่ code เสียง (ลักษณะเดียวกับ dolby SR-D) ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใส่ code เสียงคุณภาพสูงได้เต็มที่ คุณภาพเสียงของ SDDS จะอยู่ที่ระดับ 2.46 mb/s มีอัตราส่วนการบีบอัดที่ 5:1 และต่อ channel มีคุณภาพเสียงที่ 307 kb/s
แต่เนื่องจาก SDDS มีระบบสำรองร่องเสียง โดยหากมีความเสียหายไม่สามารถทำงานที่ 7.1 ได้ ก็จะลดลงเหลือ 4 channel คือ กลาง-subwoofer- ซ้ายกลาง –ขวากลาง แต่เนื่องจากการที่ระบบ SDDS เข้ามาสู่โรงหนัง ช้ากว่า dolby SR-D และ DTS แถมยังต้องมีการลงทุนระบบลำโพงที่มีจำนวนมากกว่า ทำให้ต้นทุนสูงกว่าไปด้วย
อีกทั้งผู้บริโภคทั่วไปที่แยกความแตกต่างของคุณภาพเสียงระหว่าง dolby SR-D, DTS และ SDDS ได้มีไม่มากถึงระดับที่เป็นปัจจัยในการเลือกโรงหนัง
ทำให้ SDDS มีอยู่ในระบบโรงหนังบ้านเราแค่จำนวนหนึ่ง จึงทำให้ระบบ dolby SR-D กลายเป็นระบบเสียงขั้นต่ำตามมาตรฐานของระบบโรงหนังในยุคปัจจุบันในบ้านเรา
ผ่านมาได้สักระยะหนึ่งทางระบบ dolby ก็นำเสนอการ upgrade ระบบ dolby SR-D หลายครั้งแต่ครั้งที่เด่นๆเพื่อแข่งขันกับ SDDS คือการเพิ่มร่องเสียงจาก 5.1 เป็น 7.1
โดยให้ชื่อใหม่ของระบบนี้ว่า dolby surround 7.1 ซึ่งจะแยกร่องเสียงเป็น ซ้าย-กลาง -ขวา-ซ้าย surround-ขวา surround-หลังซ้าย surround -หลังขวา surround สังเกตได้ว่าร่องเสียงของ SDDS กับ dolby surround 7.1 นั้น เป็น 7.1 channel เหมือนกันแต่การวางลำโพงจะแตกต่างกัน
แต่สุดท้าย ผู้บริโภคมักไม่สามารถแยกความแตกต่างของคุณภาพเสียงของแต่ละระบบได้อย่างชัดเจน เพราะปัจจัยที่เกี่ยวข้องมมีมากมายตั้งแต่ขนาดของ และ acoustic ของโรงหนัง ขนาดและยี่ห้อของลำโพงและ amplifier ที่ใช้ การบันทึกเสียงจากต้นทางคือตั้งแต่การผลิตหนัง และอื่นๆ
สำหรับระบบเสียงนั้น ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมคือ ขอที่ฟังได้ชัดๆ เสียงไม่แตกพร่า ลำโพงไม่แตก มีความดังอย่างเหมาะสมและมีเสียงครบอย่างน้อย 5.1 channel ก็เพียงพอต่อการดูหนังให้ได้อรรถรสแล้ว แต่ในปัจจุบันมีระบบที่ว่ากันว่าเสียงที่สุดอย่าง dolby atmos
ซึ่งตัวผมเองก็ยังไม่ได้มีโอกาสลองฟัง แต่ระดับ 61.3 channel ลำโพงมากที่สุด 64 ตัว โดยที่แต่ละตัวมีระบบ amplifier แยกของตัวเอง ผมไม่กล้าจินตนาการถึงเสียงจริงๆ
แต่ในแง่ของผู้ลงทุนด้านโรงหนังก็ต้องมองว่า อีกนาน เพราะเป็นการเพิ่มอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในระบบจำนวนมหาศาล ในด้านการลงทุนก็มองหาจุดคุ้มทุนแทบไม่เจอในระยะเวลาอันใกล้
ดังนั้นถ้าใครอยากฟังเสียงของระบบนี้ ก็แนะนำให้ไปลองดูได้ที่ SF world cinema โรงที่ 12 major cineplex รัชโยธิน โรงที่ 5 paragon cineplex โรงที่ 6 และ esplanade cineplex รัชดา โรงที่ 8 ครับ
ช่วงที่กระแสความนิยมหนังแบบ 3D ซึ่งในช่วงแรกนั้น หนัง 3D จำเป็นต้องฉายผ่านเครื่องฉายหนังระบบดิจิทัลเท่านั้น ทำให้โรงหนังปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการหนัง 3D โดนเปลี่ยนไปใช้เครื่องฉายหนังระบบดิจิทัลโดยปริยาย
ซึ่งในขณะนั้นราคาของเครื่องฉายหนังดิจิทัลก็สูงมากๆ และในช่วงแรกก็ไม่หนังพากย์ไทยให้เลือกด้วย ดังนั้นทางค่าย Technicolor ได้พัฒนาระบบการฉายหนัง 3D ด้วยฟิล์มขึ้นมา
โดยใช้วิธีการแบ่งฟิล์ม 35 mm ออกเป็น 2 เฟรมย่อย ด้านบนสำหรับตาซ้าย ด้านล่างสำหรับตาขวา และใช้แว่นระบบ polarize ที่มีลักษณะคล้ายกับแว่นของระบบ realD 3D แต่สลับข้างกัน และต้องมีการปรับปรุงเลนส์ฉายใหม่เพื่อให้แบ่งฉายภาพมาซ้อนกันเพื่อเป็นระบบ 3D
ซึ่งก็เป็นทางเลือกของโรงหนังที่ไม่มีงบเพียงพอในการลงทุนซื้อเครื่องฉายในระบบดิจิทัลใหม่ทั้งเครื่อง แต่ราคาเลนส์ก็ไม่ถูกนะครับ ประมาณ 500,000 บาท และอาจต้องปรับเปลี่ยนจอฉายที่มีความสว่างสูงขึ้นเพิ่มเติมเพื่อชดเชยความสว่างที่ถูกลดลงไปจากแว่นตา 3D ด้วย แต่ถ้าหากลงทุนซื้อเครื่องฉายหนังดิจิทัล อาจต้องลงทุนมากกว่านี้ 10 เท่า!
ดังนั้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราก็จะได้เห็นหนัง 3D ในระบบ technicolor ที่ใช้ฟิล์มและพากย์ไทย ฉายปะปนอยู่กับระบบดิจิทัล 3D ที่มีทั้ง dolby digital 3D และ realD 3D
ซึ่งก็ถือเป็นพัฒนาการช่วงท้ายๆ ของระบบฉายหนังด้วยฟิล์ม เพราะในที่สุดก็มีวันจากลา
ส่วนการเลิกใช้ระบบฟิล์ม 35 mm ในการฉายหนังนั้น จะทำให้โรงหนังที่ไม่อยู่ในเครือใหญ่ โรงหนังชั้น 2 และหนังกลางแปลง ต้องหายสาบสูญไปหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกสิ่งที่อย่างต้องมีการปรับตัวครับ ปรับตัวได้ ก็อยู่รอดได้ ปรับตัวไม่ได้ ก็ต้องตายจากไป
แต่ที่แน่ๆ ระบบการฉายหนังด้วยฟิล์มที่ใช้กันมาอย่างยาวนานนั้น ก็ยังสามารถรองรับหนังเก่าที่ยังมีฟิล์มหลงเหลืออยู่ได้อีกมากมาย ในแง่การอนุรักษ์หนังเก่า ดูเหมือนจะไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด
ส่วนการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ระหว่างระบบฉายหนังด้วยฟิล์มกับระบบฉายหนังดิจิทัล ระบบการทำงานของเครื่องฉายหนังดิจิทัล การเลือกซื้อ และเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการฉายหนังด้วยดิจิทัลนั้น ขอยกยอดไว้กล่าวถึงในตอนหน้าครับ...
**** อ่านตอนจบได้ที่นี่ครับ http://ppantip.com/topic/31850667 ****
ที่มาและอ้างอิง:
http://lenardaudio.com/education/17_cinema_3.html
http://en.wikipedia.org/wiki/DTS_(sound_system)
http://en.wikipedia.org/wiki/Sony_Dynamic_Digital_Sound
http://en.wikipedia.org/wiki/35_mm_film
http://mkpe.com/publications/d-cinema/misc/multichannel.php
http://695quarterly.com/4-2/4-2-when-sound-was-reel-9/
http://www.peterjknight.co.uk/cinema/flix-projectionist-training/
http://www.triggertone.com/term/Quad_Optical
http://www.dolby.com/us/en/consumer/technology/movie/dolby-surround-7-1.html
ม็อคค่าปาท่องโก๋ : กำหนดวันฌาปนกิจฟิล์ม (ตอนแรก)
ขออนุญาต นำคอลัมน์ "ม็อกค่าปาท่องโก๋" ที่ผมเขียนประจำในเนชั่นสุดสัปดาห์นั้น มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน เพื่อขอคำแนะนำ คำติชม เพื่อปรับปรุงงานเขียนต่อไปในอนาคตเรื่อยๆครับ ขอบคุณครับ
เนชั่นสุดสัปดาห์ เล่มที่ 1135
ทุกวันนี้ โรงหนังเกือบทั่วประเทศ ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบเครื่องฉายหนังจากระบบฟิล์ม 35 mm ไปสู่ระบบการฉายหนังแบบดิจิทัลน่าจะมากกว่า 95 % แล้ว...
เนื่องด้วยค่ายหนังในต่างประเทศเกือบทุกค่าย ได้ประกาศยกเลิกการส่งฟิล์มหนัง และเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลกันเกือบหมดแล้ว...
แม้ในปีที่ผ่านมา อาจมีบางโรงหนังยังใช้ระบบฉายด้วยฟิล์มอยู่ แต่กระนั้น ในปี 2557 นี้ จะถือเป็นปีที่เป็นจุดเปลี่ยนระบบการฉายหนังจากระบบฟิล์ม 35 mm ไปสู่ระบบฉายหนังดิจิทัลอย่างแท้จริง
แรกเริ่มเดิมที ระบบการฉายหนังด้วยฟิล์มนั้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...
แต่ในส่วนที่เปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เรามักจะเห็นสัญลักษณ์บนจอฉายของการเปลี่ยนแปลง ก็จะเป็นเรื่องของระบบเสียง...
เพราะระบบภาพนั้น ก็ยังคงใช้แสงจากหลอดไฟที่มีความสว่างมากๆ ส่งผ่านฟิล์ม ผ่านเลนส์ขยาย ไปสู่จอหนัง การพัฒนาก็มีบ้างจากการใช้ “ถ่านฉาย” มีลักษณะเป็นแท่งคาร์บอนอัดคล้ายดินสอยาวประมาณ 1 ฟุต จุดในเตาฉายให้แสงสว่างมากๆ และมีความร้อนสูง
ถ้าจำได้กันในสมัยก่อนจะมีเหตุการณ์ฟิล์มไหม้ละลายเละเกิดขึ้นบ่อยๆ
จากนั้นก็มีการเปลี่ยนมาเป็นหลอดไฟแบบ xenon ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวจ่ายพลังงานแทนถ่านฉาย โดยมีกระจกตัวสะท้อน reflector รวมแสงจากฟิล์มไปหาเลนส์อีกที
อัตราส่วนของภาพที่ใช้นั้น หลักๆ ก็มีแค่ 1.85:1 widescreen และ 2.39:1 cinema scope
แต่ระบบเสียง มีการพัฒนาปรับปรุงมาเรื่อยๆ จากระบบการพากย์เสียงสดๆ ไปสู่ระบบการฝั่งร่องเสียงลงบนด้านข้างของตัวฟิล์ม ตั้งแต่มีเส้นเดียว คือระบบ mono แบบ 2เส้น ที่พัฒนามาเป็นระบบเสียง dolby stereo ซึ่งจะแยกเสียง ซ้าย-กลาง-ขวา และ surround แต่ก็ยังใช้วิธีการอ่านร่องเสียงโดยตรงหรือ analog
จากนั้นระบบเสียงของโรงหนัง ก็พัฒนาการสู่ระบบดิจิทัล โดยเริ่มต้นจากระบบของทางค่าย dolby ที่ code เสียงเป็นสี่เหลียมผืนผ้า แทรกลงไปที่ระหว่างรูหนามเตยแต่ละรูของฟิล์ม ระบบนี้ถูกเรียกว่าระบบ dolby SR-D ที่มีจำนวนร่องเสียงหรือ channel เท่ากับ 5.1 คือ ซ้าย-กลาง -ขวา-ซ้าย surround-ขวา surround และเสียง Subwoofer หรือเสียงความถี่ต่ำ
ซึ่งระบบนี้ให้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นจากระบบ dolby stereo อย่างชัดเจน
ระบบนี้มีข้อเสียใหญ่ๆ อยู่ 2 ประการคือพื้นที่ระหว่างหนามเตยนั้นมีไม่มาก จึงทำให้ระบบนี้มีคุณภาพเสียงที่ระดับ 320 kb/s มีอัตราส่วนการบีบอัดที่ 10:1 และต่อ channel มีคุณภาพเสียงที่ 64 kb/s
ข้อเสียหลักประการที่ 2 คือ เมื่อมีการฉายหนังด้วยฟิล์มม้วนดังกล่าวไปนานๆ หลายๆ รอบ จะทำให้ร่องของหนามเตยบนฟิล์มมีการสึกหรอ รูหนามเตยใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พอสึกหรอจนถึงจุดหนึ่ง code เสียงที่อยู่ระหว่างรูหนามเตย ก็จะไม่สามารถอ่านได้
ทำให้ระบบเสียงจะย้อนกลับไปอ่านระบบเก่าคือ dolby stereo จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อไปดูหนังในระบบฟิล์มที่เข้าฉายมานานระยะหนึ่งแล้วจะพบว่า ในหนังเรื่องเดียวกันคุณภาพเสียงแย่ลง ไม่สม่ำเสมอบางช่วงก็ดี บางทีก็แย่
ระบบต่อมาคือ DTS ที่เป็นระบบเสียง 5.1 เหมือนกับ dolby SR-D ซึ่งจะมีวิธีการที่แตกต่างออกไป คือใช้การทำเส้นประไข่ปลาขนานไปกับแนวเส้นเสียง dolby Stereo ซึ่งจะมีหน้าที่ระบุเวลาของหนังแล้วไป sync เชื่อมต่อกับเครื่องเล่นแผ่น CD –ROM ภายนอก (1 เรื่องใช้ประมาณ 2แผ่น)
โดยเสียงจะถูกเล่นผ่านเครื่องเล่น CD-ROM แทน ระบบนี้ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า dolby SR-D มากพอสมควร ด้วยคุณภาพเสียงที่ระดับ 1.04 mb/s มีอัตราส่วนการบีบอัดที่ 4:1 และต่อ channel มีคุณภาพเสียงที่ 240 Kb/s แต่ระบบนี้ค่อนข้างมีปัญหาในแง่การฉายและการส่งฟิล์ม เพราะต้องมีเครื่องเล่น CD-ROM สำหรับระบบนี้โดยเฉพาะ
และการส่งฟิล์มมาเพื่อฉาย ต้องส่งแผ่น CD-ROM เสียงมาด้วย จึงไม่น่าแปลกใจโรงหนังที่มีระบบเสียง DTS นั้น มีไม่มากนัก
เพราะมีขั้นตอนที่วุ่นวาย และไม่เอื้อต่อการให้การทำรอบหนัง เพิ่มรอบฉายของโรงหนัง ซึ่งปกติฟิล์มหนัง 1 เรื่อง จะสามารถฉายได้หลายๆ โรงพร้อมๆ กันโดย โดยใช้การฉายเหลื่อมม้วนฟิล์ม แต่ระบบ DTS ทำให้ทำแบบนี้ไม่ได้
อีกระบบหนึ่งที่คือระบบเสียง SDDS (sony dynamic digital sound) ซึ่งโฆษณาว่าให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าด้วยระบบ 7.1 channel คือ ซ้าย-ซ้ายกลาง-กลาง-ขวากลาง-ขวา-ซ้าย surround-ขวา surround และ subwoofer
โดย SDDS จะใช้พื้นที่บนฟิล์มแนวด้านนอกหนามเตยแนวนอกสุด 2 ข้าง เพื่อใส่ code เสียง (ลักษณะเดียวกับ dolby SR-D) ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใส่ code เสียงคุณภาพสูงได้เต็มที่ คุณภาพเสียงของ SDDS จะอยู่ที่ระดับ 2.46 mb/s มีอัตราส่วนการบีบอัดที่ 5:1 และต่อ channel มีคุณภาพเสียงที่ 307 kb/s
แต่เนื่องจาก SDDS มีระบบสำรองร่องเสียง โดยหากมีความเสียหายไม่สามารถทำงานที่ 7.1 ได้ ก็จะลดลงเหลือ 4 channel คือ กลาง-subwoofer- ซ้ายกลาง –ขวากลาง แต่เนื่องจากการที่ระบบ SDDS เข้ามาสู่โรงหนัง ช้ากว่า dolby SR-D และ DTS แถมยังต้องมีการลงทุนระบบลำโพงที่มีจำนวนมากกว่า ทำให้ต้นทุนสูงกว่าไปด้วย
อีกทั้งผู้บริโภคทั่วไปที่แยกความแตกต่างของคุณภาพเสียงระหว่าง dolby SR-D, DTS และ SDDS ได้มีไม่มากถึงระดับที่เป็นปัจจัยในการเลือกโรงหนัง
ทำให้ SDDS มีอยู่ในระบบโรงหนังบ้านเราแค่จำนวนหนึ่ง จึงทำให้ระบบ dolby SR-D กลายเป็นระบบเสียงขั้นต่ำตามมาตรฐานของระบบโรงหนังในยุคปัจจุบันในบ้านเรา
ผ่านมาได้สักระยะหนึ่งทางระบบ dolby ก็นำเสนอการ upgrade ระบบ dolby SR-D หลายครั้งแต่ครั้งที่เด่นๆเพื่อแข่งขันกับ SDDS คือการเพิ่มร่องเสียงจาก 5.1 เป็น 7.1
โดยให้ชื่อใหม่ของระบบนี้ว่า dolby surround 7.1 ซึ่งจะแยกร่องเสียงเป็น ซ้าย-กลาง -ขวา-ซ้าย surround-ขวา surround-หลังซ้าย surround -หลังขวา surround สังเกตได้ว่าร่องเสียงของ SDDS กับ dolby surround 7.1 นั้น เป็น 7.1 channel เหมือนกันแต่การวางลำโพงจะแตกต่างกัน
แต่สุดท้าย ผู้บริโภคมักไม่สามารถแยกความแตกต่างของคุณภาพเสียงของแต่ละระบบได้อย่างชัดเจน เพราะปัจจัยที่เกี่ยวข้องมมีมากมายตั้งแต่ขนาดของ และ acoustic ของโรงหนัง ขนาดและยี่ห้อของลำโพงและ amplifier ที่ใช้ การบันทึกเสียงจากต้นทางคือตั้งแต่การผลิตหนัง และอื่นๆ
สำหรับระบบเสียงนั้น ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมคือ ขอที่ฟังได้ชัดๆ เสียงไม่แตกพร่า ลำโพงไม่แตก มีความดังอย่างเหมาะสมและมีเสียงครบอย่างน้อย 5.1 channel ก็เพียงพอต่อการดูหนังให้ได้อรรถรสแล้ว แต่ในปัจจุบันมีระบบที่ว่ากันว่าเสียงที่สุดอย่าง dolby atmos
ซึ่งตัวผมเองก็ยังไม่ได้มีโอกาสลองฟัง แต่ระดับ 61.3 channel ลำโพงมากที่สุด 64 ตัว โดยที่แต่ละตัวมีระบบ amplifier แยกของตัวเอง ผมไม่กล้าจินตนาการถึงเสียงจริงๆ
แต่ในแง่ของผู้ลงทุนด้านโรงหนังก็ต้องมองว่า อีกนาน เพราะเป็นการเพิ่มอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในระบบจำนวนมหาศาล ในด้านการลงทุนก็มองหาจุดคุ้มทุนแทบไม่เจอในระยะเวลาอันใกล้
ดังนั้นถ้าใครอยากฟังเสียงของระบบนี้ ก็แนะนำให้ไปลองดูได้ที่ SF world cinema โรงที่ 12 major cineplex รัชโยธิน โรงที่ 5 paragon cineplex โรงที่ 6 และ esplanade cineplex รัชดา โรงที่ 8 ครับ
ช่วงที่กระแสความนิยมหนังแบบ 3D ซึ่งในช่วงแรกนั้น หนัง 3D จำเป็นต้องฉายผ่านเครื่องฉายหนังระบบดิจิทัลเท่านั้น ทำให้โรงหนังปรับตัวเพื่อรองรับความต้องการหนัง 3D โดนเปลี่ยนไปใช้เครื่องฉายหนังระบบดิจิทัลโดยปริยาย
ซึ่งในขณะนั้นราคาของเครื่องฉายหนังดิจิทัลก็สูงมากๆ และในช่วงแรกก็ไม่หนังพากย์ไทยให้เลือกด้วย ดังนั้นทางค่าย Technicolor ได้พัฒนาระบบการฉายหนัง 3D ด้วยฟิล์มขึ้นมา
โดยใช้วิธีการแบ่งฟิล์ม 35 mm ออกเป็น 2 เฟรมย่อย ด้านบนสำหรับตาซ้าย ด้านล่างสำหรับตาขวา และใช้แว่นระบบ polarize ที่มีลักษณะคล้ายกับแว่นของระบบ realD 3D แต่สลับข้างกัน และต้องมีการปรับปรุงเลนส์ฉายใหม่เพื่อให้แบ่งฉายภาพมาซ้อนกันเพื่อเป็นระบบ 3D
ซึ่งก็เป็นทางเลือกของโรงหนังที่ไม่มีงบเพียงพอในการลงทุนซื้อเครื่องฉายในระบบดิจิทัลใหม่ทั้งเครื่อง แต่ราคาเลนส์ก็ไม่ถูกนะครับ ประมาณ 500,000 บาท และอาจต้องปรับเปลี่ยนจอฉายที่มีความสว่างสูงขึ้นเพิ่มเติมเพื่อชดเชยความสว่างที่ถูกลดลงไปจากแว่นตา 3D ด้วย แต่ถ้าหากลงทุนซื้อเครื่องฉายหนังดิจิทัล อาจต้องลงทุนมากกว่านี้ 10 เท่า!
ดังนั้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราก็จะได้เห็นหนัง 3D ในระบบ technicolor ที่ใช้ฟิล์มและพากย์ไทย ฉายปะปนอยู่กับระบบดิจิทัล 3D ที่มีทั้ง dolby digital 3D และ realD 3D
ซึ่งก็ถือเป็นพัฒนาการช่วงท้ายๆ ของระบบฉายหนังด้วยฟิล์ม เพราะในที่สุดก็มีวันจากลา
ส่วนการเลิกใช้ระบบฟิล์ม 35 mm ในการฉายหนังนั้น จะทำให้โรงหนังที่ไม่อยู่ในเครือใหญ่ โรงหนังชั้น 2 และหนังกลางแปลง ต้องหายสาบสูญไปหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกสิ่งที่อย่างต้องมีการปรับตัวครับ ปรับตัวได้ ก็อยู่รอดได้ ปรับตัวไม่ได้ ก็ต้องตายจากไป
แต่ที่แน่ๆ ระบบการฉายหนังด้วยฟิล์มที่ใช้กันมาอย่างยาวนานนั้น ก็ยังสามารถรองรับหนังเก่าที่ยังมีฟิล์มหลงเหลืออยู่ได้อีกมากมาย ในแง่การอนุรักษ์หนังเก่า ดูเหมือนจะไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด
ส่วนการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ระหว่างระบบฉายหนังด้วยฟิล์มกับระบบฉายหนังดิจิทัล ระบบการทำงานของเครื่องฉายหนังดิจิทัล การเลือกซื้อ และเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการฉายหนังด้วยดิจิทัลนั้น ขอยกยอดไว้กล่าวถึงในตอนหน้าครับ...
**** อ่านตอนจบได้ที่นี่ครับ http://ppantip.com/topic/31850667 ****
ที่มาและอ้างอิง:
http://lenardaudio.com/education/17_cinema_3.html
http://en.wikipedia.org/wiki/DTS_(sound_system)
http://en.wikipedia.org/wiki/Sony_Dynamic_Digital_Sound
http://en.wikipedia.org/wiki/35_mm_film
http://mkpe.com/publications/d-cinema/misc/multichannel.php
http://695quarterly.com/4-2/4-2-when-sound-was-reel-9/
http://www.peterjknight.co.uk/cinema/flix-projectionist-training/
http://www.triggertone.com/term/Quad_Optical
http://www.dolby.com/us/en/consumer/technology/movie/dolby-surround-7-1.html