ตาแมว ในแบตเตอร์รี่ ทำงานได้อย่างไร

สงสัยมานานแล้วครับ
ตัวบอกสถานะแบตเตอร์รี่ชนิด FREE MAINTENANT
ที่บอกสถานะว่ามีไฟเต็ม เป็นวงแหวนสีฟ้า หากไม่มีไฟหรือไฟอ่อน สีฟ้าก็จะหายไป กลายเป็นสีขาว
และสีแดง แสดงว่าต้องเติมน้ำกลั่น

เมื่อวาน ตรวจเช็คแบตเตอร์รี่อายุ 2 ปี 1 เดือน ปรากฎว่าเป็นสีขาว
เลยจัดการยกออกมาชาร์ตไฟ ทั้งหมด 9 ช.ม. จนตาแมวบอกสถานะว่าไฟเต็ม
(ตัวชาร์จแบบอัตโนมัติ ตัดการชาร์จแล้วด้วย)
เลยสงสัยครับว่า มันทำงานอย่างไร
ใช่เป็นระบบ Hydrometer หรือไม่

อีกข้อครับ
เรื่องทำสาวแบตเตอร์รี่
เท่าที่หาในอินเตอร์เน็ต
มีด้วยกัน 2 วิธี แบบที่ล้างแบตแล้วตากแดด กับที่ไม่ต้องล้าง
อยากทราบว่า ประสิทธิภาพหลังทำสาว ระบบไหนจะรักษาแบตเตอร์รี่ได้ยาวนานกว่ากัน

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตาแมวเป็น build-in hydrometer ครับ วัดค่าความถ่วงจำเพาะ แต่วัดแค่ช่องเดียว  ดังนั้นถามว่าแม่นยำ ไว้ใจได้หรือไม่ คือไว้ใจได้ในระดับหนึ่งครับ

ในตาแมว เป็นลูกบอลสีที่มีน้ำหนักไม่สมมารต มันจะหมุนไปตาม ถพ. ของน้ำกรดในช่องนั้น หมุนมากหรือน้อย ก็เห็นเป็นสีต่างกันไป แบตเวลาที่ใช้ไป มันจะเกิดผลึกซัลเฟอร์ไปเคลือบเพลต ผลึกนี้เองที่ทำให้สารละลายน้ำกรดเข้มข้นขึ้น จนวัด ถพ. ที่แตกต่างไปได้ - มันก็เป็นกระบวนการเคลือบด้วยไฟฟ้า เหมือนที่ร้านชุบโลหะ ชุบโครเมี่ยมทำกันน่ะแหละ

การถ่ายน้ำกรดออกทิ้ง(อันตรายมาก) แล้วเติมน้ำกรดใหม่ ทำให้แบตใช้ได้อีกสักพักครับ (ย้อมแมว) แต่ว่าเพลตโดนซัลเฟอร์เคลือบหมดแล้ว ก็ จ่ายไฟไม่ได้อยู่ดี

ถ้าใช้มาถึงสองปีอย่าไปคว่ำแบตมันเลยครับ เปลี่ยนเหอะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่