ข้อสรุปจาก บก.02 เรื่อง Rack หลังคาครับ

กระทู้สนทนา
ได้ share มาจากใน FB ครับ อ่านแล้วก็งงเลยทีเดียว


ชุดจับจักรยานบนหลังคา ชุดตะแกรงบนหลังคารถยนต์ ติดตั้งอย่างถูกกฎหมาย ได้หรือไม่ ?
ชุดจับจักรยาน หรือตะแกรงที่ติดตั้งบนหลังรถ ที่คนทั่วไปเรียกว่า “แร็คหลังคา” นั้นอยู่ภายใต้บังคับของ พรบ. รถยนต์ ในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม รถด้วยอุปกรณ์หรือส่วนควบอื่นๆ ต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของผู้อื่น เช่นเดียวกับเรื่องฟิล์มติดรถยนต์สะท้อนแสง. . . .

พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๒ ได้กล่าวถึง วิธีการเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" ในทะเบียนรถยนต์ มีเนื้อหาว่า…. . . .
ตอนจดทะเบียนรถใหม่ ถ้าไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นว่ามี “แร็คหลังคา” ด้วย ก็ถือว่าเป็นการ "เพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป" แม้จะแลดูมั่นคง แต่การที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน

ถือว่ายังไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายว่า "ไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น"

จึงอยู่ในข่ายที่อาจถูก "ห้ามใช้รถนั้น จนกว่าจะเอาออกแล้ว". . . .

พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๔ ได้กำหนดหลักการ การตรวจสภาพรถที่ติด "แร็คหลังคา" เอาไว้ว่า…. . . .
การติด แร็คหลังคา จำต้องนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อน ถ้าตรวจแล้วเห็นว่าปลอดภัย ก็ให้นายทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

สรุป : . . . . เราสามารถติดตั้งแร็คแบบถาวร บนหลังคารถยนต์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๑๒, ๑๔ แห่ง พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือเพื่อความมั่นใจในกรณีที่โดนตำรวจเรียกว่าจะได้ไม่ต้องไปเถียงกับตำรวจในเรื่องความปลอดภัย
ซึ่งโดยส่วนมากเรามักจะไม่เคยเถียงตำรวจชนะเลย โดยให้นายทะเบียนเป็นผู้รับรองให้ ซึ่งก็มีความยุ่งยากในการตีความก่อนรับรองระดับหนึ่ง
แต่ทั้งนี้ใช้ว่าปัญหาจะหมดไปหลังจากได้รับการรับรองแล้ว เพราะถ้าเราถอด แร็คหลังคาออก ก็จะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนอีกเช่นกัน ก็จะมีปัญหาในกรณีที่ถูกเรียกดูคู่มือทะเบียนรถ

นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงเรื่องของความสูงของรถรวมส่วนควบอีก ดังนี้
รถนั่ง บรรทุกได้สูง เมตรครึ่ง จาก หลังคา หรือว่า พื้นทาง ?. . . .
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๑๒ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบกฯ) บัญญัติไว้ดังนี้. . . .
ข้อ ๑ รถโรงเรียน รถบรรทุก หรือรถบรรทุกคนโดยสาร บรรทุกของได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้. . . . . . . .
(๓) สำหรับส่วนสูง. . . . . . . . . . . .
(ก) ในกรณีที่เป็นรถบรรทุก รถม้าสี่ล้อบรรทุกของ หรือเกวียน ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง เว้นแต่รถบรรทุกที่มีความกว้างของรถเกิน ๒.๓๐ เมตร ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๘๐ เมตร จากพื้นทาง. . . . . . . . . . . .
(ข) ในกรณีที่เป็นรถอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (ก) ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร

คำอธิบาย :. . . .
ข้อ ๑ (๓) (ก) มีใจความเกี่ยวข้องกับ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รถกระบะ รถสเปซแคป) ว่า "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง". . . .
ข้อ ๑ (๓) (ข) มีใจความเกี่ยวข้องกับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) และ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) ว่า "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร". . . .
พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้นิยามคำว่า "รถบรรทุก" ไว้ว่า หมายถึง รถยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของหรือสัตว์ จึงครอบคลุมคำว่า "รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล" ใน กฎกระทรวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๔ ที่ออกตามความใน พรบ.รถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒. . . .
ส่วนรถยนต์(ตาม พรบ.รถยนต์ฯ) อีก ๒ ประเภท คือ "รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน" กับ "รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน" ต่างก็อยู่ในความหมายของคำว่า "รถอื่น" ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ ๑๒ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒) ข้อ ๑ (๓) (ข). . . .
ความหมายของ "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร" ใน ข้อ ๑ (๓) (ข) นั้น จากการสอบถามไปยังแผนกกฎหมาย(โทร. ๐-๒๒๒๓-๖๑๐๒) ของกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพรบ.จราจรทางบกฯ ก็ได้รับการยืนยันว่า ในทางปฏิบัติหมายถึง "ให้บรรทุกสูงไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง". . . .
กรณีตัวแร็คชนิดติดตั้งบนหลังคา จึงมีปัญหาเรื่องความสูง ตั้งแต่ยังไม่ได้บรรทุกจักรยาน เพราะหลังคารถเก๋ง รถกระบะสองตอน ก็สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร อยู่แล้ว ฉะนั้น เมื่อนำแร็คไปติดตั้งบนหลังคา ส่วนบนของตัวแร็คจึงอาจสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง
แต่หากผ่านการตรวจสภาพ และนายทะเบียนเห็นว่า รถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ จนได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" ลงในทะเบียน และใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วยแล้ว ก็ต้องถือว่า "แร็คหลังคา" เป็นส่วนควบของรถ ส่วนบนของแร็คจึงอาจสูงเกิน ๑.๕๐ เมตรจากพื้นทางได้ เพราะกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (ออกตามความใน พรบ.รถยนต์ฯ) นั้น กำหนดไว้ใน ข้อ ๑ (๓) (ก) (ข) แต่เพียงว่า "รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน เจ็ดคน และ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน เจ็ดคน ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร ยาวไม่เกิน ๑๒ เมตร" เท่านั้น แต่มิได้จำกัดความสูงของตัวรถไว้ว่าห้ามเกินเท่าใดเมตร. . . .

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำจักรยานมาบรรทุกบนแร็ค ก็ย่อมสูงเกิน ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง
ซึ่งเกินจากระดับความสูงที่ได้กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (ออกตามความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒) ข้อ ๑. (๓) (ข)
ฉะนั้น เมื่อตำรวจเรียกตรวจ ควรรีบแสดงสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายการ "แร็คหลังคา" จะเป็นการดีกว่า หลงไปถกเถียงในประเด็น ความสูงของจักรยานที่บรรทุก ว่าต้องวัดระยะความสูง ๑.๕๐ เมตร จากพื้นทาง ? หรือ จากหลังคารถเก๋ง ?

สรุป : . . . . กฎหมายอนุญาตให้
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รถกระบะ รถสเปซแคป) บรรทุกจักรยานได้สูงไม่เกิน ๓.๐๐ เมตร จากพื้นทาง
- ส่วน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถกระบะแวน รถตู้) กับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน(รถเก๋ง รถกระบะสองตอน) นั้น บรรทุกจักรยานได้สูงจากพื้นทางเพียง ๑.๕๐ เมตร เท่านั้น. . . .


แม้ทางทฤษฎีอาจจะมีข้อไม่ชัดเจนอยู่บ้าง แต่ไม่น่าวิตกเกินไปนัก
เพราะจากการสอบถามไปยังผู้ปฏิบัติในหลายหน่วยงาน เช่น กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจทางหลวง กองบังคับการตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี ด่านเก็บเงินทางด่วนบางนา ต่างก็ให้ความเห็นคล้ายๆ กันว่า
ถ้าบรรทุกจักรยาน (ซึ่งเป็นสัมภาระของผู้เดินทาง) ไว้บนแร็คหลังคา แล้วแลดูว่า มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย ในเวลาใช้ ก็จะไม่เรียกตรวจ แต่หากเป็นกรณีใช้ "รถยนต์นั่งส่วนบุคคล" บรรทุกจักรยานในลักษณะทางธุรกิจรับจ้างขนส่งหรือนำไปเพื่อการค้าขาย ก็ถือเป็นการบรรทุก "สิ่งของ" อันเป็นความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10202127278238410&id=152824254906413
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่