จะกี่ยุคกี่สมัย "ละคร" ยังคงครองใจคนไทยอยู่เสมอ ด้วยเนื้อหาที่สร้างความบันเทิงให้ทุกเพศทุกวัย ช่วยให้เราหลบลี้จากความเครียดในชีวิตประจำวันได้ และหากลองสังเกตดู "ละคร" มักกลายเป็นประเด็นพูดคุยในทุกวงสนทนาที่คนเราเมาธ์ได้ไม่มีเบื่อ ถ้าดูไม่ทันก็ต้องขอดูย้อนหลัง เดี๋ยวคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง! เรียกได้ว่าละครเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับใครหลายคนไปแล้ว และในปีที่ผ่านมาเจ้าพ่อเจ้าแม่ละครอย่างช่อง 3 และช่อง 7 ก็ได้ผลิตละครออกมาให้เราดูนับร้อยเรื่อง ส่วนละครเรื่องไหนจะฮอตฮิตติดลมบนบ้าง ตามทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative มาดูกัน
alt ในปีที่ผ่านมาละครยอดนิยมของคนไทยยังคงเป็นละครที่ออกอากาศในช่วงไพรม์ไทม์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าละครหลังข่าวภาคค่ำ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลเรตติ้งของ Nielsen ทั่วประเทศพบว่า "ทองเนื้อเก้า" เป็นละครที่ทำเรตติ้งสูงสุดแห่งปี โดยเรตติ้งเฉลี่ยตลอดเวลาเกือบ 2 เดือนที่ออกอากาศอยู่ที่ 18.5 และในตอนจบสามารถทำเรตติ้งได้ถึง 21 โดยหลายปีที่ผ่านมาช่อง 3 หันมาจับกลยุทธ์ถ่ายทำละครเป็นซีรีส์มากขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมาละครชุด "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" ก็ไม่ทำให้ช่อง 3 ผิดหวัง เมื่อคุณชายทั้ง 3 "รัชชานนท์-รณพีร์-พุฒิภัทร" ทำเรตติ้งติดอันดับต้นๆ ของช่อง ตามมาด้วย "พรพรหมอลเวง" และ "คุณสามี (กำมะลอ) ที่รัก ซึ่งกว่าละครแต่ละเรื่องจะเข้าไปอยู่ในใจของคนดูไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องโดดเด่นตั้งแต่บทประพันธ์, การถ่ายทำ และนักแสดง ยิ่งละครเรื่องไหนจับทางหรือรสนิยมของคนดูถูก โอกาสที่ละครเรื่องนั้นจะได้รับความนิยมก็มีมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ช่อง 3 ส่งคุณชายทั้งห้าและวันเฉลิมจากทองเนื้อเก้าเข้าไปอยู่ในใจของคนดูเรียบร้อยแล้ว
alt มาทางฝั่งช่อง 7 กันบ้าง ที่ปีนี้ดูจะเน้นไปที่ละครบู๊แอกชันมากขึ้น แน่นอนว่าด้วยฐานคนดูช่อง 7 ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ส่งผลให้เรตติ้งละครของช่องนี้พุ่งสูงได้ไม่ยากนัก โดยละครที่ทำเรตติ้งสูงสุดให้ช่อง ได้แก่ "หยกเลือดมังกร" ตามด้วย "มายาสีมุก" , "เสือสั่งฟ้า 2 พยัคฆ์ผยอง" , "เลือดเจ้าพระยา" และ "นักสู้มหากาฬ" ซึ่งละครทุกเรื่องก็สามารถจับตลาดที่เป็นฐานคนดูของช่องได้เป็นอย่างดี จนละครหลังข่าวภาคค่ำของช่อง 7 เรตติ้งนำลิ่วสูงกว่าช่องอื่นๆ
แล้วอย่างนี้เรตติ้งของแต่ละช่องมาจากไหน? ใครคือฐานคนดูของช่อง 3 vs ช่อง 7 ?
ความจริงแล้วเรตติ้งที่ทุกสถานีได้มานั้นมาจากฐานคนดูที่ดูรายการบนช่องของตนเองในช่วงเวลาต่างๆ จากกราฟแรกที่ Nielsen เก็บข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าคนกรุงเทพฯ มีสัดส่วนการดูช่อง 3 มากกว่าช่อง7 ดูได้จากเส้นเรตติ้งของช่อง 3 (สีส้ม) ขึ้นแซงเส้นเรตติ้งของช่อง 7 (สีน้ำเงิน) เกือบทุกช่วงเวลา ในขณะที่กราฟถัดไปเป็นการเก็บข้อมูลจากคนกลุ่มอายุเดียวกัน แต่เปลี่ยนฐานข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ เป็นคนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด พบว่าในฝั่งคนต่างจังหวัดกลับมีสัดส่วนการดูช่อง 7 มากกว่าช่อง 3 โดยเส้นเรตติ้งของช่อง 7 (สีน้ำเงิน) ขึ้นสูงกว่าเส้นเรตติ้งของช่อง 3 (เส้นสีส้ม) เกือบทุกช่วงเวลา หรืออาจพูดได้ว่าฐานคนดูหลักของช่อง 3 มาจากคนกรุงเทพฯ ส่วนฐานคนดูหลักของช่อง 7 มาจากคนต่างจังหวัดนั่นเอง ด้วยฐานคนดูที่กระจายอยู่ภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้เรตติ้งละครของช่อง 7 ขึ้นสูงกว่าช่องอื่นๆ
alt ความน่าสนใจของพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยนี้ คือ คนเราไม่ได้ดูละครด้วยใจจดจ่อบนหน้าจอทีวีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องแชร์ความเห็น, อารมณ์, ความรู้สึกร่วมกับคนอื่นผ่านหน้าจอต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Computer PC, Smartphone, Tablet, Notebook จนเราแทบจะเห็นการโพสต์แบบเรียลไทม์นาทีต่อนาทีบน Social Media ว่าตอนนี้ละครกำลังออนแอร์ว่าอย่างไรบ้าง ฉากนี้ดำเนินไปถึงไหนแล้ว ชนิดที่เรียกได้ว่าถึงไม่ได้ดูทีวี อ่านโพสต์นี้ก็รู้ทัน โดยวันนี้เราขอนำตัวอย่างจากละครที่เรตติ้งดีที่สุดแห่งปีและน่าจะเป็นละครที่ถูกพูดถึงบน Social Media มากที่สุดเรื่องหนึ่งอย่าง "ทองเนื้อเก้า" มาชี้ให้เห็นกันว่ากระแสตอบรับบนโลกออนไลน์เป็นอย่างไรบ้าง
นับตั้งแต่วันแรกที่ละคร "ทองเนื้อเก้า" ออนแอร์ ภายใน 2 เดือนมีการกล่าวถึงละครเรื่องนี้กว่า 420,000 ครั้ง! ผ่านทาง Social Network ต่างๆ และเท่าที่ Prophesee ซึ่งเป็น Social Listening Tool ในการจับกระแสต่างๆ ที่คนพูดถึงบน Social Network ของ Initiative สามารถดึงข้อมูลได้พบว่าในการพูดถึงละครทองเนื้อเก้า 420,000 ครั้ง เป็นการ mention ใน Twitter ถึง 99% หรือประมาณ 419,000 ครั้ง (ไม่รวม Facebook) เฉลี่ยแล้วมีการ Tweet ถึงถ้อยคำต่างๆ ที่เกี่ยวกับละคร ทั้งชื่อละคร "ทองเนื้อเก้า" และชื่อตัวละครต่างๆ ทั้ง "ลำยอง" , "วันเฉลิม" , "น้องอ้อย" ,"ยายปั้น-ยายแล" กว่าวันละ 6,900 ครั้ง หรือ 286 ข้อความต่อชั่วโมง โดยในตอนจบมีผู้ทวีตเกี่ยวละครเรื่องนี้เกือบ 40,000 ครั้ง ซึ่งถือว่าไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ และเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของคอละครบ้านเราเลยทีเดียว
เห็นอย่างนี้แล้วบรรดาผู้จัด-กองถ่ายละคร รวมถึงทางสถานี น่าจะลองใช้ Social Media เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับแฟนๆ เพื่อผูกความสัมพันธ์สร้าง loyalty พร้อมติดตามฟีดแบ็กจากคนดู ถือเป็นโอกาสดีในการเช็กเรตติ้งละครของเราในแบบที่แทบไม่ต้องลงทุน และหากนักโฆษณา เอเจนซี่ รวมถึงบรรดา Content Provider รู้จักใช้ Social Listening Tool ให้เป็นประโยชน์แล้วก็จะสามารถจับกระแสที่คนพูดถึงละคร รายการ แบรนด์สินค้าของเราบน Social Media ได้ โดยความเห็นที่ได้ก็สามารถนำมาพัฒนาปรับปรุงเนื้อหารายการ ละคร หรือสินค้าของเราได้ถูกใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,903 วันที่ 8 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
Rating ละครไทย
alt ในปีที่ผ่านมาละครยอดนิยมของคนไทยยังคงเป็นละครที่ออกอากาศในช่วงไพรม์ไทม์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าละครหลังข่าวภาคค่ำ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลเรตติ้งของ Nielsen ทั่วประเทศพบว่า "ทองเนื้อเก้า" เป็นละครที่ทำเรตติ้งสูงสุดแห่งปี โดยเรตติ้งเฉลี่ยตลอดเวลาเกือบ 2 เดือนที่ออกอากาศอยู่ที่ 18.5 และในตอนจบสามารถทำเรตติ้งได้ถึง 21 โดยหลายปีที่ผ่านมาช่อง 3 หันมาจับกลยุทธ์ถ่ายทำละครเป็นซีรีส์มากขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมาละครชุด "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" ก็ไม่ทำให้ช่อง 3 ผิดหวัง เมื่อคุณชายทั้ง 3 "รัชชานนท์-รณพีร์-พุฒิภัทร" ทำเรตติ้งติดอันดับต้นๆ ของช่อง ตามมาด้วย "พรพรหมอลเวง" และ "คุณสามี (กำมะลอ) ที่รัก ซึ่งกว่าละครแต่ละเรื่องจะเข้าไปอยู่ในใจของคนดูไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องโดดเด่นตั้งแต่บทประพันธ์, การถ่ายทำ และนักแสดง ยิ่งละครเรื่องไหนจับทางหรือรสนิยมของคนดูถูก โอกาสที่ละครเรื่องนั้นจะได้รับความนิยมก็มีมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ช่อง 3 ส่งคุณชายทั้งห้าและวันเฉลิมจากทองเนื้อเก้าเข้าไปอยู่ในใจของคนดูเรียบร้อยแล้ว
alt มาทางฝั่งช่อง 7 กันบ้าง ที่ปีนี้ดูจะเน้นไปที่ละครบู๊แอกชันมากขึ้น แน่นอนว่าด้วยฐานคนดูช่อง 7 ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ส่งผลให้เรตติ้งละครของช่องนี้พุ่งสูงได้ไม่ยากนัก โดยละครที่ทำเรตติ้งสูงสุดให้ช่อง ได้แก่ "หยกเลือดมังกร" ตามด้วย "มายาสีมุก" , "เสือสั่งฟ้า 2 พยัคฆ์ผยอง" , "เลือดเจ้าพระยา" และ "นักสู้มหากาฬ" ซึ่งละครทุกเรื่องก็สามารถจับตลาดที่เป็นฐานคนดูของช่องได้เป็นอย่างดี จนละครหลังข่าวภาคค่ำของช่อง 7 เรตติ้งนำลิ่วสูงกว่าช่องอื่นๆ
แล้วอย่างนี้เรตติ้งของแต่ละช่องมาจากไหน? ใครคือฐานคนดูของช่อง 3 vs ช่อง 7 ?
ความจริงแล้วเรตติ้งที่ทุกสถานีได้มานั้นมาจากฐานคนดูที่ดูรายการบนช่องของตนเองในช่วงเวลาต่างๆ จากกราฟแรกที่ Nielsen เก็บข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าคนกรุงเทพฯ มีสัดส่วนการดูช่อง 3 มากกว่าช่อง7 ดูได้จากเส้นเรตติ้งของช่อง 3 (สีส้ม) ขึ้นแซงเส้นเรตติ้งของช่อง 7 (สีน้ำเงิน) เกือบทุกช่วงเวลา ในขณะที่กราฟถัดไปเป็นการเก็บข้อมูลจากคนกลุ่มอายุเดียวกัน แต่เปลี่ยนฐานข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ เป็นคนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด พบว่าในฝั่งคนต่างจังหวัดกลับมีสัดส่วนการดูช่อง 7 มากกว่าช่อง 3 โดยเส้นเรตติ้งของช่อง 7 (สีน้ำเงิน) ขึ้นสูงกว่าเส้นเรตติ้งของช่อง 3 (เส้นสีส้ม) เกือบทุกช่วงเวลา หรืออาจพูดได้ว่าฐานคนดูหลักของช่อง 3 มาจากคนกรุงเทพฯ ส่วนฐานคนดูหลักของช่อง 7 มาจากคนต่างจังหวัดนั่นเอง ด้วยฐานคนดูที่กระจายอยู่ภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้เรตติ้งละครของช่อง 7 ขึ้นสูงกว่าช่องอื่นๆ
alt ความน่าสนใจของพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยนี้ คือ คนเราไม่ได้ดูละครด้วยใจจดจ่อบนหน้าจอทีวีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องแชร์ความเห็น, อารมณ์, ความรู้สึกร่วมกับคนอื่นผ่านหน้าจอต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Computer PC, Smartphone, Tablet, Notebook จนเราแทบจะเห็นการโพสต์แบบเรียลไทม์นาทีต่อนาทีบน Social Media ว่าตอนนี้ละครกำลังออนแอร์ว่าอย่างไรบ้าง ฉากนี้ดำเนินไปถึงไหนแล้ว ชนิดที่เรียกได้ว่าถึงไม่ได้ดูทีวี อ่านโพสต์นี้ก็รู้ทัน โดยวันนี้เราขอนำตัวอย่างจากละครที่เรตติ้งดีที่สุดแห่งปีและน่าจะเป็นละครที่ถูกพูดถึงบน Social Media มากที่สุดเรื่องหนึ่งอย่าง "ทองเนื้อเก้า" มาชี้ให้เห็นกันว่ากระแสตอบรับบนโลกออนไลน์เป็นอย่างไรบ้าง
นับตั้งแต่วันแรกที่ละคร "ทองเนื้อเก้า" ออนแอร์ ภายใน 2 เดือนมีการกล่าวถึงละครเรื่องนี้กว่า 420,000 ครั้ง! ผ่านทาง Social Network ต่างๆ และเท่าที่ Prophesee ซึ่งเป็น Social Listening Tool ในการจับกระแสต่างๆ ที่คนพูดถึงบน Social Network ของ Initiative สามารถดึงข้อมูลได้พบว่าในการพูดถึงละครทองเนื้อเก้า 420,000 ครั้ง เป็นการ mention ใน Twitter ถึง 99% หรือประมาณ 419,000 ครั้ง (ไม่รวม Facebook) เฉลี่ยแล้วมีการ Tweet ถึงถ้อยคำต่างๆ ที่เกี่ยวกับละคร ทั้งชื่อละคร "ทองเนื้อเก้า" และชื่อตัวละครต่างๆ ทั้ง "ลำยอง" , "วันเฉลิม" , "น้องอ้อย" ,"ยายปั้น-ยายแล" กว่าวันละ 6,900 ครั้ง หรือ 286 ข้อความต่อชั่วโมง โดยในตอนจบมีผู้ทวีตเกี่ยวละครเรื่องนี้เกือบ 40,000 ครั้ง ซึ่งถือว่าไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ และเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของคอละครบ้านเราเลยทีเดียว
เห็นอย่างนี้แล้วบรรดาผู้จัด-กองถ่ายละคร รวมถึงทางสถานี น่าจะลองใช้ Social Media เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับแฟนๆ เพื่อผูกความสัมพันธ์สร้าง loyalty พร้อมติดตามฟีดแบ็กจากคนดู ถือเป็นโอกาสดีในการเช็กเรตติ้งละครของเราในแบบที่แทบไม่ต้องลงทุน และหากนักโฆษณา เอเจนซี่ รวมถึงบรรดา Content Provider รู้จักใช้ Social Listening Tool ให้เป็นประโยชน์แล้วก็จะสามารถจับกระแสที่คนพูดถึงละคร รายการ แบรนด์สินค้าของเราบน Social Media ได้ โดยความเห็นที่ได้ก็สามารถนำมาพัฒนาปรับปรุงเนื้อหารายการ ละคร หรือสินค้าของเราได้ถูกใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,903 วันที่ 8 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556