จบ ปวช. ผู้หญิงเรียนวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ไหวไหม จบมาทำไรกันคะ

จบ ปวช. ผู้หญิงเรียนวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ไหวไหม  จบมาทำไรกันคะ

หลานสอบติด วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ที่พระนครเหนือ
จบ ปวช.มา และเป็นผู้หญิง คือหลานมาปรึกษาว่าจะเรียนที่นี่ดีไหม
หลานกังวลอยู่หลายอย่าง เช่น เป็นผู้หญิงจบมากลัวเขาไม่รับ
อีกอย่างจบ ปวช.มากลัวจะคำนวณเยอะ แต่หลานก็บอกว่า
ถ้าจบมามีงานทำก็จะตั้งใจเรียน ถึงแม้รู้ว่าคำนวณอาจจะอ่อนกว่าพวกจบมาสัญมาก็ตาม
แต่ที่ห่วงคือจะหางานทำยาก  คือเราเองก็ไม่ค่อยรู้หรอกว่าคณะนี้เรียนยังไง จบมาทำงานอะไรกันบ้าง
แล้วเขารับผู้หญิงกันไหม รบกวนผู้รู้ด้วยนะคะ เพราะตอนนี้ก็ไม่รู้จะแนะนำหลานยังไง
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
จบ   ปวช   ปริญญาบัตรวิชาชีพ   ต้องขยันเพิ่มเติม   เพราะพื้นฐาน   สายสามัญ   ไม่แน่น
ไม่เลือกงาน   ไม่ตกงาน   เดี๋ยวนี้   สิทธิ์   ผู้หญิง   ผู้ชาย   เท่าเทียมกัน
ทุก   สถาบันการศึกษา   ดีหมด   ขึ้นอยู่กับ   ผู้เรียน   จะมีความขยัน   มาก   แค่ไหน   จะเก็บเกี่ยวเอาความรู้มาได้มากแค่ไหน

แต่ละ   คณะ   สาขา   ภาควิชา   เอก   เน้นคนละด้าน

คณะวิศวกรรมศาสตร์   ทุกสาขา   ภาควิชา   เอก   ต้องได้เรียน   ฟิสิกส์   คณะวิศวกรรมศาสตร์   ฟิสิกส์   คำนวณ   คณิตศาสตร์   ต้องได้

คณะวิศวกรรมศาสตร์
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.ช่างคิด   ชอบประดิษฐ์   คิดค้นสิ่งต่าง   ๆ
.สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่   ๆ   โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม
.ชอบคำนวณ   การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์   และ   คณิตศาสตร์
.มีลักษณะความเป็นผู้นำ
.ความสามารถวางแผน   และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
.ยึดมั่นในหลักเหตุและผล
.ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้   ฯลฯ

สาขา   ภาควิชา   เอก   วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
"เมคคาทรอนิกส์"   มาจากคำว่า   เมคคานิกส์   +
อิเล็คทรอนิกส์   หมายถึง   การนำ   ศาสตร์ทางด้าน
เครื่องจักรกล   มาผนวกรวมกับ   ศาสตร์ทางด้านไฟฟ้า
อิเล็คทรอนิกส์   และ   คอมพิวเตอร์   เพื่อควบคุมการทำงาน
ของระบบอัตโนมัติ   หรือระบบควบคุมอัจฉริยะ   ในการใช้งาน
เครื่องจักรอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม   ยานยนต์   และ   รวมถึง
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อื่น   ๆ   ทั้งในงานวิศวกรรมและในชีวิต
ประจำวัน   โดยการศึกษามุ่งเน้นนำเอาความรู้ทางด้าน
วิศวกรรมแขนงต่าง   ๆ   และคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์เป็นสาขาที่ตอบสนองกับความ
ต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการเทคโนโลยีขั้นสูง
อย่างในปัจจุบันและอนาคต

โอกาสทางวิชาชีพ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ครอบคลุมการประยุกต์ ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้ในงานควบคุมการทำงานของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุม

ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมต่างๆที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยมีความสามารถในด้านต่างๆโดยมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มงานต่างๆ เช่น

การวิเคราะห์และออกแบบระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Automation)
การออกแบบระบบ System Integration
การออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบ FMS (Flexible Manufacturing System)
การออกแบบระบบงานควบคุมคุณภาพโดยใช้ระบบ Digital Image Processing
วางแผนปรับปรุงระบบที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น
ซึ่งเป็นสาขาที่ตอบสนองกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในปัจจุบัน

ตัวอย่างสถานที่ทำงาน: ผู้สำเร็จการศึกษาสเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ อาทิ

โรงงานประกอบรถยนต์
บริษัทผลิตฮาร์ดดิสส์และชิ้นส่วนต่างๆ เช่น Seagate Technologies, Western Digital, Hitachi Global Storage Technologies
บริษัทสำรวจและผลิตผลิตภัณฑ์ด้านปิโตเลียม
บริษัทที่ออกแบบและติดตั้งเครื่องจักรกล เช่น TEAM Consulting Engineering and Management
บริษัทที่ใช้ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต เช่น Sony Technology, Seiko Precision
บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในระบบอัตโนมัติ เช่น Omron Electronics, Siemens, บริษัทโรโบแมค จำกัด
บริษัทที่ปรึกษา/หน่วยงานฝึกอบรม เช่น สถาบันไทย-เยอรมัน
อื่นๆ เช่น บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)   ฯลฯ

โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน
.วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคาร   ทั้งในฐานะผู้ออกแบบ
ควบคุมการติดตั้ง   หรือ   บริหารการใช้งาน   ในระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ   สื่อสารโทรคมนาคม   ระบบควบคุมอัตโนมัติ
รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม
.วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบ
โครงสร้างอาคาร   ระบบขนส่ง   รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
และสิ่งแวดล้อมของเมือง
.วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น   ๆ
.ผู้ออกแบบ   หรือ   บริหารควบคุมการใช้งาน   เครื่องจักรอุปกรณ์   เช่น
ยานยนต์   เครื่องจักรการผลิต   ระบบอาคารสถาน   ฯลฯ
นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่าง   ๆ   ข้างต้นแล้ว   พื้นฐานทางด้าน
วิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่น   ๆ   ได้เป็นอย่างดี
เช่น   นักประดิษฐ์   ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม
รวมถึงตำแหน่งงานอื่น   ๆ   ทั้ง   ภาครัฐและเอกชน   ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่