เวลาเปิดภาพยนต์ดูหลาย ๆ เรื่องจะมีบางฉากที่ผมรู้สึกว่ามันดูโปร่งหรือมีมิติขึ้น (หนังที่ผมดูเป็นแบบ 2 มิติ) ทีนี้ผมเลยลองศึกษาดูว่าจริง ๆ แล้วอะไรทำให้เกิดความรู้สึกว่าฉากนั้นดูมีมิติ
ปกติคนเรานั้นจะรับรู้ความลึก (เห็นภาพ 3 มิติ) เป็นหลักใช้หลักการที่ว่าตา 1 คู่มองภาพต่างกันเอามาประมวลผลผ่านสมองเกิดเป็นความลึกของภาพ (ระยะห่างของวัตถุนั้น ๆ ที่เรามอง) เรียกวิธีการรับรู้ความลึก (Depth Perception) ที่เกิดจาก 2 ตารวม ๆ กันว่า Binocular cues
แต่จะมีคนบางส่วนเป็นโรคสมองรับข้อมูลจากตาเพียงข้างเดียวเรียกว่า Lazy Eye (คนพวกนี้ดูหนังสามมิติที่ใช้เทคนิคฉายภาพต่างกันในตาแต่ละข้างไม่ได้) เสมือนว่าคนกลุ่มนี้จะปิดตาข้างนึงตลอด (ไม่รับข้อมูลจากดวงตาข้างหนึ่ง)
แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีวิธีการรับรู้ภาพ 3 มิติ (ความลึกของวัตถุหรือภาพนั้น ๆ) ผ่านทางการประมวลผลโดยใช้ข้อมูลจากตาเพียงข้างเดียว ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อย่างที่เห็นในรูปภาพนี้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งแต่จริง ๆ ยังมีหลายวิธี
Source :
http://akenon.deviantart.com/art/Monocular-Cues-34065283
ทีนี้ก็มีอยู่วิธีหนึ่งที่เราจะสามารถรับรู้ความลึกด้วยตาเพียงข้างเดียวคือ Parallax
หลักการของ Parallax คือ ภาพจะเปลี่ยนไปเมื่อเปลี่ยนจุดที่มอง ลองดู animation นี้นะครับ
ตำแหน่งของกล้องที่ Frame แรก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Frame สุดท้าย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในภาพด้านบนนี้กล้องจะเคลื่อนที่จากทางขวาไปซ้าย (เปลี่ยนมุมมอง) ทำให้ภาพเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ภาพเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นี่เองมันทำให้เรารู้ว่ากล่องสีเขียวเคลื่อนที่ช้ากว่าเพื่อนและกล่องสีแดงเคลื่อนที่สุด จึงทำให้สมองของเราประมวลผลว่าไอกล่องสีเขียวนั้นอยู่ไกลกว่าสีแดงและสีเหลือง ส่วนกล่องสีเหลืองก็อยู่ไกลกว่ากล่องสีแดง
กรณีเดียวกันกับกล้องเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุถ้าใกล้กว่าก็จะขนาดจะใหญ่ขึ้นไวกว่าวัตถุที่ไกลกว่า
***จริง ๆ มันจะรวมกับอีกวิธีการรับรู้ความลึกคือ Kinetic depth effect ที่เราจะรู้สึกถึงความลึกของภาพเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ แต่จริง ๆ แล้วจะกล้องเคลื่อนที่หาวัตถุหรือวัตถุเคลื่อนที่หากล้องมันก็เหมือนกัน เพราะถ้าเราขับรถด้วยความเร็ว 20 km/hr ไปที่ไฟแดง ถ้ามองอีกมุมนึงก็คือไฟแดงเคลื่อนที่มาหาเราด้วยความเร็ว 20 km/hr นั่นคือถ้านับว่ากล้องเคลื่อนที่ 20km/hr ไปทางซ้ายมันก็มีค่าเท่ากับกล้องหยุดนิ่งและวัตถุทั้งหมดเคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร็ว 20 km/hr
ทีนี้จะมีบางฉากในภาพยนต์ที่เขาจะเคลื่อนกล้องทำให้ภาพช่วงนั้นที่เราดู ๆ มีมิติขึ้น
อย่างเช่น ฉากเปิดของ Star War III
ฉากเปิด กับ Romantic Flight ของ How to Train Your Dragon
ไม่มีวีดีโอฉากเปิดนะครับ
ฉากเปิดและจบของ Brave (Touch the Sky)
ไม่วีดีโอฉากจบเหมือนกัน
ฉากเปิดของ Wall-E ช่วงแรก ๆ
แต่หนังที่ชอบที่สุดในการใช้เทคนิคนี้คือ Tangled (ราพันเซล) จะมีฉากก่อนโคมลอย โคมลอยและก็ฉากตอนออกจากหอคอย
วีดีโอตอนก่อนลอยโคมไม่ค่อยชัดนะครับ แต่ชอบตอนนั้นที่สุดละ (ที่เป็นภาพจากมุมสูงของวัง)
ส่วนอันนี้เป็นการนำเอาหลักการ Parallax มาทำให้ภาพนิ่งดูมีมิติมีชิวิตขึ้นมา
How To Animate a Photo | The 2.5D Effect
เค้าจะใช้วิธีตัดภาพที่ถ่ายออกมาเป็นส่วน ๆ แบ่ง Background ออก วัตถุต่าง ๆ ออก แล้วจัดใหม่ในคอมพิวเตอร์ให้ภาพที่ตัดออกมาอยู่ในระยะที่ต่างกันแล้วก็ใส่แอฟเฟคซูมเข้าออกหรือเลื่อนก็จะได้ภาพแบบที่เห็น
เพิ่มเติม แม้เทคนิคนี้จะมีข้อดีแต่ก็มีข้อเสียตรงที่ว่าถ้าเคลื่อนกล้องในความเร็วบางช่วง (เร็วเกินไป) จะทำให้ภาพเบลอๆ (เหมือนภาพมันเลื่อน ๆ ซ้อน ๆ กัน แทนที่จะลื่นไหล) ซึ่งถ้าใครได้ดูbrave ฉากจบตรงท่าเรือที่เขาหมุนกล้องนั่นแหละครับภาพมันจะเป็นแบบนั้น ซึ่งไอช่วงความเร็วที่ว่านี่ก็ขึ้นอยู่กับ fps เหมือนกัน
จบแล้วครับ ตัวผมเองไม่เคยถ่ายภาพยนต์หรือภาพ (แบบเป็นเรื่องเป็นราว) แล้วใช้เทคนิคนี้แต่ถ้ามีโอกาสได้ลองทำเอนิเมชั่นเล่น ๆ ก็คงไม่ลืมเทคนิคนี้แน่นอน
แก้ไขเพิ่มเติม Tangled ฉาก Waiting for the Lights แต่ภาพไม่ค่อยชัด
Parallax กับภาพยนต์และการถ่ายภาพ (การรับรู้ความลึก)
ปกติคนเรานั้นจะรับรู้ความลึก (เห็นภาพ 3 มิติ) เป็นหลักใช้หลักการที่ว่าตา 1 คู่มองภาพต่างกันเอามาประมวลผลผ่านสมองเกิดเป็นความลึกของภาพ (ระยะห่างของวัตถุนั้น ๆ ที่เรามอง) เรียกวิธีการรับรู้ความลึก (Depth Perception) ที่เกิดจาก 2 ตารวม ๆ กันว่า Binocular cues
แต่จะมีคนบางส่วนเป็นโรคสมองรับข้อมูลจากตาเพียงข้างเดียวเรียกว่า Lazy Eye (คนพวกนี้ดูหนังสามมิติที่ใช้เทคนิคฉายภาพต่างกันในตาแต่ละข้างไม่ได้) เสมือนว่าคนกลุ่มนี้จะปิดตาข้างนึงตลอด (ไม่รับข้อมูลจากดวงตาข้างหนึ่ง)
แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีวิธีการรับรู้ภาพ 3 มิติ (ความลึกของวัตถุหรือภาพนั้น ๆ) ผ่านทางการประมวลผลโดยใช้ข้อมูลจากตาเพียงข้างเดียว ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อย่างที่เห็นในรูปภาพนี้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งแต่จริง ๆ ยังมีหลายวิธี
Source : http://akenon.deviantart.com/art/Monocular-Cues-34065283
ทีนี้ก็มีอยู่วิธีหนึ่งที่เราจะสามารถรับรู้ความลึกด้วยตาเพียงข้างเดียวคือ Parallax
หลักการของ Parallax คือ ภาพจะเปลี่ยนไปเมื่อเปลี่ยนจุดที่มอง ลองดู animation นี้นะครับ
ตำแหน่งของกล้องที่ Frame แรก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Frame สุดท้าย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในภาพด้านบนนี้กล้องจะเคลื่อนที่จากทางขวาไปซ้าย (เปลี่ยนมุมมอง) ทำให้ภาพเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ภาพเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นี่เองมันทำให้เรารู้ว่ากล่องสีเขียวเคลื่อนที่ช้ากว่าเพื่อนและกล่องสีแดงเคลื่อนที่สุด จึงทำให้สมองของเราประมวลผลว่าไอกล่องสีเขียวนั้นอยู่ไกลกว่าสีแดงและสีเหลือง ส่วนกล่องสีเหลืองก็อยู่ไกลกว่ากล่องสีแดง
กรณีเดียวกันกับกล้องเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุถ้าใกล้กว่าก็จะขนาดจะใหญ่ขึ้นไวกว่าวัตถุที่ไกลกว่า
***จริง ๆ มันจะรวมกับอีกวิธีการรับรู้ความลึกคือ Kinetic depth effect ที่เราจะรู้สึกถึงความลึกของภาพเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ แต่จริง ๆ แล้วจะกล้องเคลื่อนที่หาวัตถุหรือวัตถุเคลื่อนที่หากล้องมันก็เหมือนกัน เพราะถ้าเราขับรถด้วยความเร็ว 20 km/hr ไปที่ไฟแดง ถ้ามองอีกมุมนึงก็คือไฟแดงเคลื่อนที่มาหาเราด้วยความเร็ว 20 km/hr นั่นคือถ้านับว่ากล้องเคลื่อนที่ 20km/hr ไปทางซ้ายมันก็มีค่าเท่ากับกล้องหยุดนิ่งและวัตถุทั้งหมดเคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร็ว 20 km/hr
ทีนี้จะมีบางฉากในภาพยนต์ที่เขาจะเคลื่อนกล้องทำให้ภาพช่วงนั้นที่เราดู ๆ มีมิติขึ้น
อย่างเช่น ฉากเปิดของ Star War III
ฉากเปิด กับ Romantic Flight ของ How to Train Your Dragon
ไม่มีวีดีโอฉากเปิดนะครับ
ฉากเปิดและจบของ Brave (Touch the Sky)
ไม่วีดีโอฉากจบเหมือนกัน
ฉากเปิดของ Wall-E ช่วงแรก ๆ
แต่หนังที่ชอบที่สุดในการใช้เทคนิคนี้คือ Tangled (ราพันเซล) จะมีฉากก่อนโคมลอย โคมลอยและก็ฉากตอนออกจากหอคอย
วีดีโอตอนก่อนลอยโคมไม่ค่อยชัดนะครับ แต่ชอบตอนนั้นที่สุดละ (ที่เป็นภาพจากมุมสูงของวัง)
ส่วนอันนี้เป็นการนำเอาหลักการ Parallax มาทำให้ภาพนิ่งดูมีมิติมีชิวิตขึ้นมา
How To Animate a Photo | The 2.5D Effect
เค้าจะใช้วิธีตัดภาพที่ถ่ายออกมาเป็นส่วน ๆ แบ่ง Background ออก วัตถุต่าง ๆ ออก แล้วจัดใหม่ในคอมพิวเตอร์ให้ภาพที่ตัดออกมาอยู่ในระยะที่ต่างกันแล้วก็ใส่แอฟเฟคซูมเข้าออกหรือเลื่อนก็จะได้ภาพแบบที่เห็น
เพิ่มเติม แม้เทคนิคนี้จะมีข้อดีแต่ก็มีข้อเสียตรงที่ว่าถ้าเคลื่อนกล้องในความเร็วบางช่วง (เร็วเกินไป) จะทำให้ภาพเบลอๆ (เหมือนภาพมันเลื่อน ๆ ซ้อน ๆ กัน แทนที่จะลื่นไหล) ซึ่งถ้าใครได้ดูbrave ฉากจบตรงท่าเรือที่เขาหมุนกล้องนั่นแหละครับภาพมันจะเป็นแบบนั้น ซึ่งไอช่วงความเร็วที่ว่านี่ก็ขึ้นอยู่กับ fps เหมือนกัน
จบแล้วครับ ตัวผมเองไม่เคยถ่ายภาพยนต์หรือภาพ (แบบเป็นเรื่องเป็นราว) แล้วใช้เทคนิคนี้แต่ถ้ามีโอกาสได้ลองทำเอนิเมชั่นเล่น ๆ ก็คงไม่ลืมเทคนิคนี้แน่นอน
แก้ไขเพิ่มเติม Tangled ฉาก Waiting for the Lights แต่ภาพไม่ค่อยชัด